|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โครงข่ายเส้นทางคมนาคมทางบกที่เชื่อมระหว่างไทย ลาว และเวียดนาม กำลังมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางหลวงสาย 8A และ 12 ที่ได้เพิ่มบทบาทมากขึ้น จนใกล้จะทัดเทียมกับเส้นทางหมายเลข 9 ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดีอยู่แล้ว
หนังสือพิมพ์ชายแดนอาณาเขตของเวียดนาม มีรายงานเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่าคณะกรรมการประชาชนจังหวัดห่าติ๋ญพร้อมกับแขวงบอลิคำไซ (สปป.ลาว) ได้จัดพิธีเปิดหลักเขตชายแดนที่ 476 ที่ช่องทางนานาชาติเกิ่วแตรว-น้ำพาว
ผู้เข้าร่วมพิธีมีตัวแทนคณะกรรมการ ชายแดนแห่งชาติ (กระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม) แกนนำจังหวัดห่าติ๋ญ พร้อมกับตัวแทนสถานกงสุล สปป.ลาวประจำด่าหนัง และกงสุลเวียดนามประจำแขวงบอลิคำไซ
ตามความตกลงระหว่างรัฐบาลเวียดนามและรัฐบาลลาว จังหวัดห่าติ๋ญ และแขวงบอลิคำไซ มีหน้าที่ก่อสร้างหลักเขตจำนวนรวม 24 หลัก (1 หลักใหญ่ 3 หลักกลาง และ 20 หลักเล็ก)
หลังปฏิบัติงาน 5 เดือน หลักเขตที่ 476 ได้แล้วเสร็จ รับรองคุณภาพทางเทคนิค ศิลปะ ตามความต้องการที่กำหนด ไว้
หลักเขตใหญ่สูง 1.6 เมตร น้ำหนัก 1 ตัน ทำด้วยหินแกรนิตขนาดใหญ่ บนแต่ละด้านที่หันไปทางฝ่ายเวียดนามและฝ่ายลาว มีการติดตราประจำชาติสองประเทศ หมายเลขหลักเขตและปีที่ก่อสร้าง การออกแบบมีลักษณะหนักแน่น และมีเอกลักษณ์เฉพาะด้วยลานหลักเขต สวนไม้ดอก-ไม้ประดับ
หลักเขตตั้งอยู่ที่กึ่งกลางช่องทางนานาชาติเกิ่วแตรว (ในตำบลเซินกิม 1 อำเภอเฮืองเซิน จังหวัดห่าติ๋ญ เวียดนาม) และน้ำพาว (บ้านเติง เมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว) ตั้งอยู่ข้างทางหลวงหมายเลข 8A ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีฐานะทาง ยุทธศาสตร์สำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การป้องกันประเทศรักษาความมั่นคงของสองประเทศ เวียดนาม-ลาว
หลักเขตใหญ่ 476 เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี ไว้วางใจ เข้าใจซึ่งกันและกัน แสดงถึงความสัมพันธ์ มิตรภาพ ประเพณีพิเศษเวียดนาม-ลาว ตั้งใจก่อสร้างแนวชายแดนสันติภาพ เสถียรภาพ มิตรภาพ ความร่วมมือ และการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน เปิดโอกาสให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของสองประเทศเวียดนาม-ลาว
มองจากทางฝั่งเวียดนาม ทางหลวง หมายเลข 8A มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่เมืองโห่ง หลิญ (กม.482 ของทางหลวงหมายเลข 1A) ผ่านอำเภอดึ๊กเถาะ (ข้ามสะพานด่อตราย สามแยกหลากเถี่ยน สี่แยกบ่าเวียน) สะพานลิญก๋าม ขึ้นอำเภอเฮืองเซิน (เหนิ่ม เมืองโฝเจิว สะพานห่าเติน เมืองเตยเซิน) ถึงช่องทางเกิ่วแตรว (ชายแดนเวียดนาม-ลาว) รวมระยะทาง 85.3 กิโล เมตร
ผิวถนนกว้าง 6-16 เมตร ปูด้วยคอนกรีต ลาดยาง
ตลอดแนวถนนในเวียดนามจะผ่าน สะพานใหญ่-เล็ก 36 แห่ง ในจำนวนนี้มีสะพานใหญ่ 2 แห่งคือสะพานลิญก๋าม ยาว 228.8 เมตร และสะพานห่าเตินยาว 171.7 เมตร
ช่วงกิมเซิน-ชายแดนเวียดนาม-ลาวทางลาด หน้าผาสูง เหวลึก หรือดินถล่มหลายแห่ง
(อ่านเรื่อง “เส้นทางฝัน อันดามัน-อินโดจีน” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนพฤษภาคม 2553 หรือใน www.goto manager.com ประกอบ)
เมื่อเข้ามาในเขตลาว ทางหลวงหมายเลข 8A จะวิ่งมาทางตะวันตกเพื่อบรรจบกับถนนสาย 13 ใต้ ที่แยกบ้านเหล่า แขวงบอลิคำไซ หากเลี้ยวขวาสามารถเลียบ แม่น้ำโขงไปถึงนครหลวงเวียงจันทน์
ช่วงก่อนถึงเวียงจันทน์ เส้นทาง 13 ใต้จะผ่านเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ซึ่ง อยู่ตรงข้ามกับบึงกาฬ อำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองคาย ที่กำลังได้รับการยกระดับขึ้นเป็นจังหวัดใหม่ลำดับที่ 77 ของประเทศไทย และมีการตั้งความหวังไว้ว่าจะมีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-ปากซัน) ขึ้นที่นี่
แต่หากเลี้ยวซ้ายที่แยกบ้านเหล่า จะผ่านแขวงบอลิคำไซลงไปยังเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดนครพนมของไทยได้
โดยที่จังหวัดนครพนมปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 ที่คาดว่าจะเปิดใช้งานได้ประมาณปลายปีหน้า (2554)
เมื่อสะพานแห่งนี้สร้างเสร็จจะเป็นเส้นทางจากไทยผ่านลาวทางถนนหมายเลข 12 ที่สามารถเชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 8A หรือเข้าสู่เวียดนามโดยตรงไปเลยก็ได้ โดยระยะทางจากชายแดนไทย ผ่าน สปป. ลาวไปถึงชายฝั่งทะเลเวียดนามจากจุดนี้ ยาวไม่ถึง 300 กิโลเมตร
(อ่านเรื่อง “เส้นทางสู่ทะเลเวียดนาม ที่สั้นที่สุด” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนมกราคม 2552 หรือ www.goto manager.com ประกอบ)
ทั้งทางหลวงหมายเลข 8A และหมายเลข 12 ถือเป็นโครงข่ายการคมนาคมทางบกที่กำลังมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกเหนือจากเส้นทางหมายเลข 9 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-เว้) เพราะปลายทางของถนนทั้ง 2 เส้น คือภาคกลางตอนบนของเวียดนาม ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังมณฑลกว่างสีของจีนได้ไม่ไกลนัก นอกจากนี้ยังมีท่าเรือน้ำลึกหวุงอ๊างและเซินเยือง ซึ่งเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเวียดนามอีกด้วย
|
|
|
|
|