Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553
สาละวิน ลุ่มน้ำแห่งความหวังที่กว้างใหญ่             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 


   
search resources

International
China
เมิ่ง ตี้ กวง




ต้นปี 2552 ผู้จัดการ 360 ํ ได้นำเสนอเรื่องราวของ “เต๋อหง” ว่าเป็นหัวเมืองหนึ่งของหยุนหนันที่กำลังขยายบทบาทมากขึ้นอย่างน่าจับตาในภูมิภาคนี้ และจะก่อผลกระทบต่อไทยในอนาคตอย่างเลี่ยงไม่พ้น ขณะนี้ “เต๋อหง” กำลังแสดงศักยภาพออกมาให้เห็นแล้ว

“เรามีเป้าหมาย มีความหวังที่กว้างใหญ่”

เมิ่ง ตี้ กวง ผู้ว่าการเขตปกครองตนเองชนชาติไต-จิงโพ่แห่งเต๋อหง มณฑลหยุนหนัน สาธารณรัฐประชาชนจีน หรือจังหวัดปกครองตนเองไต้คง บอกกับผู้จัด การ 360 ํ ระหว่างเดินทางมาร่วมสัมมนาวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่จัดขึ้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

พร้อมกับตระเวนเยี่ยมเยียน-ผูกสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องกับเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก ระหว่างวันที่ 8-14 สิงหาคมที่ผ่านมา

เมิ่ง ตี้ กวง เป็นชาวไต หรือไทยใหญ่ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของเขตปกครอง ตนเองฯ เต๋อหงก็มีเชื้อชาตินี้

คณะของผู้ว่าฯ เต๋อหงที่ประกอบไป ด้วยรองผู้ว่าฯ, ทีมเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์, นักวิชาการด้านภาษาไทยของมหาวิทยาลัย ชนเผ่า รวมถึงนักวิชาการด้านชนชาติไตได้ แสดงให้เห็นถึงนัยของคำกล่าวข้างต้น ตลอดระยะเวลาที่เดินทางมาเยือนภาคเหนือ ของไทย

นอกจากจะใช้โอกาสนี้พบปะ-เสนอผูกสัมพันธ์เป็นบ้านพี่เมืองน้องกับจังหวัดเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน และเยี่ยมญาติ-กระชับไมตรีกับจังหวัดตาก ที่ลงนามเป็นบ้านพี่เมืองน้องร่วมกันเมื่อปีกลาย (2552) ให้แนบแน่นยิ่งขึ้นแล้ว

ผู้ว่าฯ เต๋อหงพร้อมคณะยังใช้โอกาส นี้เดินทางสำรวจเส้นทางเชื่อมโยงตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East- West Economic Corridor; EWEC) บางส่วนในเขตไทย (แม่สอด ตาก สุโขทัย พิษณุโลก) ด้วย

เพราะเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่แห่งความหวังและโอกาส

เมิ่ง ตี้ กวงบอกว่าในพื้นที่แถบนี้ ไม่เพียงแต่จะมีแม่น้ำสาละวิน หรือที่คนจีน เรียกว่า “นู่เจียง” สายน้ำที่มีความยาวกว่า 2,800 กม.ที่มีต้นกำเนิดในจีนเชื่อมโยงอยู่เท่านั้น แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมี “ความเป็นคนไต” ผูกโยงเข้าด้วยกันอย่างลึกซึ้งและยาวนาน

และ “คนไต” ที่ว่านี้เองที่เขามองว่า จะเป็นจุดเริ่มต้น นำไปสู่การแสวงหาความสัมพันธ์ที่แนบแน่น ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดีร่วมกันของทั้ง 3 ประเทศ คือ พม่า ไทย จีน ในอนาคต อันจะส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนความอยู่เย็นเป็นสุขของผู้คนในลุ่มน้ำสายนี้

โดยเริ่มต้นพัฒนาจากพื้นฐานวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันของ “คนไตแห่งลุ่มสาละวิน” และการท่องเที่ยวไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจยั่งยืนต่อไป

เมิ่ง ตี้ กวงย้ำกับผู้จัดการ 360 ํ ว่า ด้วยความเป็นคนไตที่มีวัฒนธรรมคล้าย คลึงกันมายาวนาน ทุกฝ่ายสามารถนำมาเป็นจุดเริ่มต้นในความร่วมมือทางวัฒนธรรม นำไปสู่การเรียนรู้และความเข้าใจกัน อันเป็นพื้นฐานไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และภาคการผลิตอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน ในอนาคต

“แนวคิดนี้ทางการจีนทั้งระดับรัฐบาลกลาง-มณฑล มีความคิด และทำมา ตลอด”

เขาขยายความให้ฟังอีกว่าที่เห็นชัด และใกล้ตัวมากที่สุดก็คือ ถนนคุน-มั่น กงลู่ หรือคุนหมิง-กรุงเทพฯ 1,800 กว่ากิโลเมตร ที่วันนี้...ทะลุแล้ว แม้จะเหลือบางช่วงที่กำลังปรับปรุงเพิ่มเติม แต่ก็อีกเพียงเล็กน้อย เท่านั้น ซึ่งเส้นทางสายนี้ทำให้พื้นที่ภาคกลาง-ใต้ของมณฑลหยุนหนัน เชื่อมโยงกับ สปป.ลาวและไทย

ซึ่งเส้นทางสายนี้กำลังก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่แถบนี้

(อ่านเรื่อง “เปิดตลาด (อินโด) จีน” นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนสิงหาคม 2550, “คุน-มั่ง กงลู่ เส้นทางจีนสู่อาเซียน” นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนสิงหาคม 2551 และ “พม่า จุดเปลี่ยน “อาเซียน”?” นิตยสาร ผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนพฤษภาคม 2553 หรือใน www.goto manager.com ประกอบ)

ขณะที่เขตปกครอง ตนเองฯ เต๋อหงที่มีพรม แดนติดกับภาคเหนือของพม่า 543 กิโลเมตร ก็ใช้ยุทธศาสตร์นี้ในการพัฒนา ความร่วมมือด้านต่างๆ กับ พม่ามาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา

โดยทางเต๋อหงได้ร่วมมือกับพม่า จัดงาน “เป้าพอ” หรืองานญาติมิตร จีน-พม่าขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมของทุกๆ ปี ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทำให้เกิดความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน จนทำให้มูลค่า การค้าระหว่างประเทศของ เต๋อหงสูงถึง 70,000 กว่าล้านบาทต่อปี

“ครึ่งแรกของปี 2010 ยอดการค้าต่างประเทศของเต๋อหงเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 50% แล้ว” เมิ่ง ตี้ กวงกล่าวย้ำ

(อ่านเรื่อง “น่งเต่า: หนองเตา หมู่บ้านที่ไทยน่าจะดูเป็นเยี่ยงอย่าง” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2552 หรือ www.gotomanager.com ประกอบ)

เป้าหมายของเขตปกครองตนเองฯ เต๋อหง-บ้านแห่งนกยูง มณฑลหยุนหนันที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 800-1,300 เมตร อุณหภูมิตลอดทั้งปีเฉลี่ย 18-24 ํC และมี ดอกไม้ตลอดทั้งปีนั้น ผู้ว่าฯ เมิ่ง ตี้ กวง บอกว่าจะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ เอเชียใต้ในอนาคต โดยปี 2009 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าเต๋อหงประมาณ 4 ล้านกว่าคน ทำให้มีเม็ดเงินเข้าประมาณ 3,500 ล้านบาท

แน่นอน...ยุทธศาสตร์นี้ เขามุ่งมั่นที่จะใช้ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์แห่งชนชาติไตในลุ่มสาละวิน และเส้นทางการค้าสมัยโบราณ จาก “ไต้คง” เมืองเอกของ เขตปกครองตนเองฯ เต๋อหง ผ่านรุ่ยลี่-มูเซ (พม่า) เป็นเครื่องมือสำคัญมาเกื้อหนุน

ซึ่งเมื่อธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา ผู้จัดการ 360 ํ เคยเดินทางไปร่วมงานแสดงสินค้าพม่า-จีน 2008 ที่จัดขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษมูเซ ประเทศพม่า ตรงข้าม เขตเศรษฐกิจเจียก้าว เขตปกครองตนเองชาติไต-จิงโพ่ แห่งเต๋อหง จีนร่วมกับคณะของจังหวัดตาก

งานดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความ พยายามของจีนที่จะเปิดเส้นทางเชื่อมพรมแดนของเต๋อหงลงสู่พม่า ออกสู่มหาสมุทรอินเดียกับเส้นทางตามระเบียงเศรษฐกิจ EWEC ตลอดจนการใช้ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติ มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันได้เป็นอย่างดี

(อ่านเรื่อง “เต๋อหง” ช่องทางสินค้า จีนที่ไทยไม่อาจมองข้าม นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2552 หรือ www.gotomanager.com ประกอบ)

ผู้ว่าฯ เมิ่ง ตี้ กวงบอกว่าภายใต้ยุทธศาสตร์นี้เต๋อหงได้รับงบประมาณสนับสนุนกว่า 10,000 ล้านหยวน ในการพัฒนาระบบคมนาคมภายในประเทศ ทั้งสนามบินพาณิชย์หมานซื่อ, ถนนและเส้นทางรถไฟที่จะมุ่งไปสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษเจียก้าว (ตรงข้ามเขตเศรษฐกิจพิเศษมูเซ ของพม่า)

ขณะเดียวกันระยะที่ผ่านมา ระดับรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ คือจีนกับพม่า ก็ได้บรรลุความเข้าใจร่วมกันแล้วว่าจะดำเนินการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบก ทั้งถนน-ทางรถไฟ จากชายแดนฯ เจียก้าวเข้า สู่พม่า ซึ่งจะตัดผ่านเขตเศรษฐกิจมูเซ-มัณฑะเลย์-กรุงร่างกุ้ง

ซึ่งส่วนหนึ่งสนองยุทธศาสตร์ออกสู่ทะเลที่มหาสมุทรอินเดีย อีกส่วนหนึ่งจะเชื่อมโยงเข้ากับเส้นทางคมนาคมตามแนวระเบียบเศรษฐกิจ EWEC มาที่เมียวดี (พม่า)-แม่สอด (ไทย) หรือผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำ สาละวิน-สปป.ลาว-เวียดนาม รวมไปถึงการ ต่อเชื่อมเข้ากับเส้นทางคมนาคมจากพม่า-อินเดีย-บังกลาเทศ และยุโรป ที่กลุ่มประเทศภาคีกำลังดำเนินการตามขั้นตอนเจรจาระหว่างประเทศกันอยู่

ผู้ว่าฯ เขตปกครองตนเองฯ เต๋อหง ระบุว่าเฉพาะเส้นทางจากจีน จากเต๋อหง-พม่า เท่าที่ได้รับรู้ผ่านการประชุมร่วมทั้งระดับมณฑลและรัฐบาลกลาง ทราบ ว่าผู้นำทั้ง 2 ประเทศได้บรรลุความประสงค์ นี้ร่วมกันแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างวางแผนดำเนินการในรายละเอียด

“ตอนนี้จีนกำลังวางท่อส่งแก๊สจากพม่าเข้าคุนหมิงอยู่ ส่วนถนน-รถไฟในพม่า ก็ได้บรรลุความเข้าใจกันแล้ว” เขาย้ำ

ในเดือนกันยายน (2553) ทางการจีนจะส่งทีมเจ้าหน้าที่ภาคสนามเข้าไปสำรวจแนวเส้นทางทำถนน-เส้นทางรถไฟ จากชายแดนมูเซไปจนถึงมัณฑะเลย์และกรุงร่างกุ้ง

“ภายใน 3-5 ปีต่อจากนี้ โครงการก่อสร้างถนน และทางรถไฟจีน-พม่าที่ว่านี้ น่าจะเห็นเป็นรูปธรรมได้” เมิ่ง ตี้ กวงบอก พร้อมกับอธิบายอีกว่าแนวทางนี้จะทำให้เต๋อหงกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญ เป็นจุดเชื่อมต่อเข้ากับพม่า มหาสมุทรอินเดีย, ไทย ผ่านเมียวดี-แม่สอด ทะลุไปถึงเวียดนาม ตลอดจนกลุ่มประเทศโซนบังกลาเทศ อินเดีย ฯลฯ ต่อไป

(อ่านเรื่อง “เส้นทางฝันอันดามัน-อินโดจีน” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนพฤษภาคม 2553 หรือ www.goto manager.com ประกอบ)

ผู้ว่าฯ เมิ่ง ตี้ กวงยังอธิบายถึงผลที่ จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน อีกว่า จะเป็นอีกก้าวกระโดดหนึ่งของการค้าจีน-พม่า หลังจากที่มีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา

เขามองว่า เส้นทางคมนาคมที่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นนี้จะกระตุ้นให้เกิดการค้า การท่องเที่ยว การลงทุนในภาคการ ผลิตต่างๆ มากกว่าเดิมอีกมาก

ซึ่งเฉพาะระยะที่ผ่านมาก็มีบริษัทเอกชนของจีนเริ่มทยอยเข้าไปปักหลักลงทุนในพม่า ผ่านตามแนวเส้นทางคมนาคมสายนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดมีผู้ประกอบการ 21 รายที่เริ่มลงมือดำเนินการพัฒนาในภาคการเกษตร-การปลูกพืชแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ จากชายแดนเต๋อหงเข้าไปในพม่า

โดยมีแม่น้ำสาละวินเป็นตัวร้อยรัด และเชื่อมโยงผู้คนตลอดทั้งลำน้ำสายนี้เข้าด้วยกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us