Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553
ทำไมต้องถ่านหิน             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ บ้านปู

   
search resources

บ้านปู, บมจ.
ชนินท์ ว่องกุศลกิจ
Mining




> ถ้าดูพอร์ตที่คุณชนินท์เล่าให้ฟัง ตอนนี้มีที่อินโดนีเซียเป็นหลัก และจีน แล้วก็มีธุรกิจไฟฟ้า คุณชนินทร์บอกว่าต้องมีประเทศที่ 3 ยังอยู่ในย่านนี้หรือเปล่า

คือที่เราดู เดิมที่ดูไว้คือออสเตรเลีย หรืออาจจะไปถึงระดับแอฟริกาใต้ ทำไมเป็น 2 ประเทศนี้เพราะว่าถ่านหินมีใน 2 ประเทศนี้ค่อนข้างเยอะ และเป็นเรื่องการส่งออกด้วย แล้วเราก็ไปดูแล้วว่ามันมีแนวโน้มที่จะเราจะเข้าไปทำได้ ดูมาหลายปี

> คิดว่าน่าจะได้ข้อสรุปเมื่อไร

ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาสที่เราจะลงทุนได้ อย่างปัจจุบันเราก็ลงไปแล้ว เราซื้อหุ้นกิจการที่ออสเตรเลีย ถึงเมื่อวานขึ้นไป 19% ก็เป็นเรื่องการมองระยะยาวในเรื่องของถ่านหิน แล้วก็มันหมาย ความว่าอุตสาหกรรมถ่านหินโตอยู่เรื่อยๆ สาเหตุที่โตเพราะว่า demand ในเอเชียสูง หลักๆ ก็คงเป็นอินเดียกับจีน แล้วก็มีอินโดนีเซีย หรือเวียดนาม ที่เศรษฐกิจโตเร็วและคนเยอะด้วย

> มีประเด็นหนึ่งที่อยากจะถาม คือว่ากระแสเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ทุกวันนี้พูดกันค่อนข้างมาก อย่างเรื่องน้ำมันรั่วที่อ่าวเม็กซิโก ของบีพี ปัญหาก็คือทุกวันนี้คนเริ่มมองพลังงานฟอสซิลในเชิงลบ มากขึ้น

มันไม่มีทางออกเท่านั้นเอง อย่างเม็กซิโกที่เป็นข่าวอยู่นี่ ยังไม่รู้จะเป็นยังไงเลย นี่ด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่ง มันก็เหมือนกับว่าจะต้องให้ใบอนุญาตในการสำรวจน้ำมันหรือก๊าซเพิ่มขึ้น เพื่อ ให้มันทันกับความต้องการใช้ของประเทศ ในอเมริกานะ ขณะเดียวกันคนก็พูดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอ่าวเม็กซิโก จะทำให้ ต้นทุนของน้ำมันสูงขึ้น ซึ่งก็น่าจะมีส่วนจริง ผมคิดว่าอย่างนั้นนะ อันที่จริงแล้วมันก็จริงทั้ง 2 ส่วน

ในแง่ของถ่านหินเอง ต้นทุนก็สูงขึ้นเรื่อยๆ เหตุผลเพราะ มันไปในส่วนที่ไกลขึ้น ลึกขึ้น หรืออีกส่วนหนึ่งก็คือว่า ในการขออนุญาตทำอะไรต่างๆ ยาวขึ้น ยากขึ้น เนื่องจากคนก็รู้ว่ามันมีผลกระทบ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นมันก็คงต้องปรับตัวว่า ในระหว่างการใช้กับการหามา ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกด้านหนึ่ง เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ทำอย่างไรให้มีผลกระทบน้อยที่สุด ก็คงจะมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ

อย่างผลกระทบสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันผมว่าเรื่องที่เรากังวล กันมาก ภาวะโลกร้อนหรืออะไรก็แล้วแต่ มันมาจากตัวคาร์บอน ไดออกไซด์ ตัวนี้ วิธีแก้ของมันก็มีนะ แต่ก็มีต้นทุนเพิ่มขึ้น อันหนึ่งที่เขาทำกันอยู่ ก็คือว่าพอเผาแล้ว เอาคาร์บอนไดออกไซด์ฝังกลับไปในบ่อก๊าซหรือบ่อน้ำมันเก่า ก็ทำได้

พลังงานทดแทนอื่นที่เข้ามานี่ ตอนนี้ตัวที่ชัดสุดคิดว่าน่า จะเป็นนิวเคลียร์เท่านั้นที่ใหญ่ นิวเคลียร์นี่ทำกันเป็นพันๆ เมกะ วัตต์ เมืองไทยตั้งไว้สี่พันเมกะวัตต์ ก็จะเป็นลักษณะนั้น ก็มีข้อจำกัดที่ต่างกันออกไป คนก็กลัวในเรื่องความปลอดภัย ในเรื่อง การดูแล จะต้องดูแลมันต่อหลังโรงไฟฟ้าหมดอายุ

สรุปแล้วมันก็ต้องรวมๆ ในหลายประเทศ อย่างญี่ปุ่นก็จะมีนิวเคลียร์ มีก๊าซ มีถ่านหิน ถ้าเป็นในอเมริกาก็จะเป็นก๊าซ ถ่านหิน นิวเคลียร์ ก็เหมือนกัน แต่นิวเคลียร์นี่หยุดไปนานแล้ว

> เพราะฉะนั้นสรุปได้ว่า อย่างไรยังคงต้องใช้ถ่านหิน

ถ้าในอินเดียอย่างนี้ สมมุติการเติบโต 8% ก็ต้องใช้พลังงานเพิ่ม ขั้น 10-12% แล้วไฟฟ้าเขาขาดมานาน มันไม่ค่อยมีทางเลือกเท่าไร เพราะก๊าซก็ไม่ได้มีเยอะ น้ำมันก็เหมือนกัน แล้วต้นทุนที่ต่ำก็ไปที่ถ่านหินก่อนเป็นต้น เพราะฉะนั้นอินเดียก็จะนำเข้าเยอะ นอกเหนือจากส่วนที่เขามีอยู่ในประเทศ

> เพราะฉะนั้นการเริ่มให้น้ำหนักมาทางถ่านหินมากกว่าไฟฟ้าในแผน 5 ปีข้างหน้า หมายความว่า จะไม่สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มอีกแล้วหรือเปล่า ปัจจุบันมีอยู่ที่บีแอลซีพี โรงไฟฟ้าราชบุรี ที่หงสา และในจีนอีก 3 แห่ง

หงสานี่คงเป็นโครงการที่เราคงทำต่อเนื่องไป พัฒนามาแล้ว 4 ปีกว่า ตอนนี้ก็เริ่มจะหาเงินกู้ หาเงินกู้ได้ก็คงจะเริ่มก่อสร้างปลายปีนี้ ก็ใช้เวลาอีก 5 ปีกว่าจะเสร็จ ตรงจุดนั้นเราถืออยู่ 40% เป็นโครงการขนาดใหญ่ ก็คงมีอันนั้นอันเดียว ซึ่งที่นั่น ก็มีส่วนของเหมืองอยู่ด้วย

คิดว่าส่วนอื่นที่จะโตขึ้นมา คงไม่ค่อยมี ถ้ามี ก็เป็นครั้งคราว ที่จะมีส่วนเสริม กับโครงการถ่านหิน เช่นในจีน เพราะฉะนั้นถามว่าสัดส่วนมันจะได้ไหม เราคุยว่า ถึง 10 หรือ 15% เป็นไฟฟ้า หรือว่าพลังงานทดแทน เราไปรวมกันอยู่ในนี้ มัน ก็คงอยู่ที่ growth ของส่วนที่เหลือ เราก็วาง อยู่ว่าจะให้มันโตอย่างไร เพราะฉะนั้นมันจะถูก dilute ไปส่วนหนึ่ง ด้วยการเติบโตที่สูงขึ้นที่เราลงทุนไปในถ่านหิน

> เพราะฉะนั้นถ่านหินจะเป็น 90% ของพอร์ต

คิดว่า 85-90 แถวนี้คือนอกเหนือจากโอกาสการเติบโตทางการตลาด ก็เป็นเรื่องความชำนาญการบริหารงานที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เราก็เน้นว่าเราจะทำยังไงให้เราแข่งขันได้มากขึ้น ทำได้เนี้ยบกว่า แล้วก็มีความหลากหลายมากกว่าคนอื่น มีความยืดหยุ่นมากกว่า มีท่าเรือที่ดีก็ เน้นพวกที่มันจะเสริมให้เรามีขีดความสามารถในการแข่งขันที่มันสูงขึ้นไปอีกหรือว่าได้รับการยอมรับจากลูกค้ามากขึ้น ซึ่งตัวหลังนี่ 5 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นมาเยอะมาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us