Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553
น้ำมันรั่วกระทบสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ             
โดย มานิตา เข็มทอง
 


   
search resources

Environment




วิกฤตการณ์น้ำมันรั่วในน่านน้ำอ่าวเม็กซิโกจากแท่นขุดเจาะน้ำมัน Deepwater Horizon ของบริษัท British Petroleum กลายเป็นความหายนะครั้งใหญ่ที่ถูกจารึกไว้บนหน้าประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น ด้วยน้ำมือของมนุษย์อีกครั้ง...เหตุการณ์น้ำมันรั่วไม่ใช่เรื่องใหม่ หากเกิดขึ้นหลายครั้งหลายครา แต่ดูเหมือนประวัติศาสตร์ไม่ได้สอนอะไรให้กับมนุษย์ในการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำรอยขึ้นอีก

น้ำมันรั่วในครั้งนี้ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกที่เกิดขึ้นในแคลิฟอร์เนียเมื่อ 100 ปีก่อน ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1910 จากแท่นขุดเจาะของบริษัทน้ำมัน Lakeview ครั้งนั้นน้ำมันที่รั่วมีปริมาณสูงถึง 9 ล้าน บาร์เรล และรั่วนานถึง 14 เดือนจึงสงบ สำหรับน้ำมันรั่ว Deepwater Horizon ครั้งนี้มีปริมาณน้ำมันออกมาทั้งสิ้นประมาณเกือบ 5 ล้านบาร์เรล ยังดีที่เทคโนโลยีในโลกสมัยใหม่สามารถหยุดการรั่วได้ภายใน 4 เดือน นับจากแท่นขุดเจาะระเบิดเมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา แต่ผลกระทบยังคงอยู่อีกยาวนาน

คราบน้ำมันจากน้ำมันรั่วครั้งนี้ครอบคลุมบน พื้นผิวน้ำในอ่าวเม็กซิโกเป็นพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 6,500 กิโลเมตร ยังไม่รวมปริมาณน้ำมันที่อยู่ใต้พื้นทะเลที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าอีกจำนวนมหาศาล ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีรายงานข่าวว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย South Florida พบว่า กลุ่มน้ำมันที่พบในใต้ท้องทะเลตอนเหนือของอ่าวเม็กซิโกมาจากน้ำมันที่รั่วจากแท่นขุดเจาะ Deepwater Horizon สอดคล้องกับการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์จาก NOAA (National Oceanic and Atmospheric Administration) ที่เชื่อว่าปริมาณน้ำมันรั่วที่ตรวจพบลึกลงไปประมาณ 3,300-4,300 ฟุตใต้ทะเลในอ่าวเม็กซิโก มาจากแท่น ขุดเจาะ Deepwater Horizon เช่นเดียวกัน ข่าวผล การศึกษาของทั้ง 2 สถาบันที่ออกมา เป็นเหตุให้นักสมุทรศาสตร์และนักชีวท้องทะเลจากหลายสถาบันตื่นตัวและวิตกกังวลว่า วิธีการจัดการคุมน้ำมันด้วยการใช้สารเคมีเพื่อทำให้คราบน้ำมันแตกตัวและเจือจางลงบนพื้นผิวทะเล ส่งผลให้คราบน้ำมันแตกเป็นอนูเล็กๆ และตกลงสู่พื้นทะเลจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเลไม่มากก็น้อย

จากข้อมูลของกรมประมงและสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุว่า น้ำมันรั่วส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติในหลายทาง แต่จะมาก น้อยเพียงใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำมันที่รั่ว สภาพภูมิอากาศ ฤดูกาลที่เกิด ประเภทของชายฝั่ง และความแรงของคลื่นลม เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว น้ำมันแบ่งออกเป็นหลายประเภท ตามความหนาแน่น ตั้งแต่น้อยไปมาก ซึ่งน้ำมันส่วนใหญ่มีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำ เมื่อผสมกับน้ำจึงลอยอยู่เหนือผิวน้ำมองเห็นเป็นประกาย สะท้อนเมื่อมีแสงกระทบ การสลายของน้ำมันและการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างดังที่กล่าวไว้ข้างต้น สำหรับประเภทของน้ำมันที่รั่วในกรณี Deepwater Horizon นั้นเป็นน้ำมันดิบชนิดเบาหรือที่เรียกว่า light crude เป็นน้ำมันดิบที่มีความหนาแน่นต่ำ มีการระเหยได้ระดับปานกลาง และสามารถทิ้งคราบตกค้างได้มากถึง 1 ใน 3 ของปริมาณที่รั่วออกมาแล้วระยะหนึ่งตามชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบ โดยมีแนวโน้มก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษได้ในระยะยาว

น้ำมันรั่วก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติและการตั้งถิ่นฐานของสัตว์ ผ่านทางการสัมผัส ทางการกลืนกิน ทางการหายใจ และการดูดซึม น้ำมันที่ลอยอยู่ เหนือผิวน้ำสามารถปนเปื้อนอยู่ในบรรดาแพลงก์ตอน รวมไปถึงสาหร่ายทะเล ไข่ปลาและ ตัวอ่อนของบรรดาสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังหลากชนิด หาก ปลากินเหยื่อ หรือสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบจากน้ำมันเหล่านี้เข้าไป ก็จะได้รับสารพิษ เจือปนเข้าไปในตัวปลาด้วย และเมื่อมนุษย์บริโภคสัตว์ทะเลมีสารพิษตกค้างก็จะได้รับสารพิษไปด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน...วิบากกรรมห่วงโซ่อาหารกำลังเกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ และจะกลับคืนมาสู่มนุษย์อย่างทันตาเห็น

ในกรณีน้ำมันรั่ว Deepwater Horizon นี้กระทบพื้นที่ในชายฝั่งเม็กซิโกครอบคลุมหลายรัฐด้วยกัน ได้แก่ รัฐแอละบามา รัฐฟลอริดา รัฐเทกซัส รัฐหลุยเซียนา และรัฐมิสซิสซิปปี โดยมีสิ่งมีชีวิตตาม ธรรมชาติหลายสายพันธุ์ในพื้นที่เหล่านี้ที่ทางกรมประมงและสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติแห่งสหรัฐอเมริกา ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ได้แก่ สัตว์และพืชที่กำลังจะสูญพันธุ์และมีแนวโน้มจะสูญพันธุ์ในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำมันรั่วในครั้งนี้ ได้แก่ สัตว์เลี้ยง ลูกด้วยนมจำพวกปลาพะยูน West Indian หนูชายหาดจำพวก Alabama Beach Mouse หนู Perdido Key Beach Mouse หนู Choctawhat-chee beach mouse หนู St.Andrew beach mouse หนู Key Largo cotton mouse หนูนาชายเลน (Florida salt march vole) หนูข้าว (Rice rat) หนู Key Largo woodrat กระต่ายชายหาด (Lower Keys marsh rabbit) กวาง Key Deer เสือดาวฟลอริดา (Florida panther) และหมีดำ (Louisiana)

ส่วนพวกนกต่างๆ ได้แก่ นก Piping plover นกกระสา Wood stork นกกระสา Whooping crane นก Everglades snail kite นกกระจอก Cape Sable seaside sparrow นก Roseate tern นกกระสา Mississippi sandhill crane และ นก Interior least tern

สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ เต่าทะเล Logger-head เต่าทะเล Leatherback เต่าทะเล Kemp’s Ridley เต่าทะเล Alabama red belly เต่าทะเล Green sea เต่าทะเล Hawksbill เต่าทะเล Ringed map เต่าทะเล Yellow blotched map และจระเข้อเมริกัน

ประเภทปลา ได้แก่ ปลา Gulf sturgeon และปลา Pallid sturgeon

แมลง ได้แก่ ผีเสื้อ Schaus swallowtail butterfly

หอยทาก ได้แก่ Stock Island tree snail

และพืชชายเลน จำพวก Beach jacque-montia ต้น Florida perforate cladonia ต้น Garbers spurge ต้นกระบองเพชร Key tree cactus และ ต้น Beautiful pawpaw

นอกจากนั้นยังมีสัตว์ป่าอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ นกกระทุงสีน้ำตาล นกอินทรีหัวสีขาว นกนางนวล ซึ่งอาศัยและหากินอยู่ตามผิวน้ำ หากเปื้อนน้ำมัน ทำให้ไม่สามารถบินได้ตามปกติ ความสามารถในการดำน้ำเพื่อหาอาหาร หรือการลอยตัวเหนือผิวน้ำจะลดน้อยลง ทำให้จมน้ำตายในที่สุด ยิ่งกว่านั้น คราบน้ำมันที่ติดตามขนทำให้อุณหภูมิในร่างกายของนกต่ำกว่าปกติ ทำให้หนาวตายในน้ำ ที่เย็นจัดได้ ส่วนไข่นกก็สามารถได้รับอันตรายได้ หากแม่นกพ่อนกที่นั่งกกไข่มีคราบน้ำมันติดอยู่ตามตัว นอกจากนี้ยังมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใช้ชีวิตอยู่กับระบบนิเวศวิทยาตามชายฝั่งที่น่าเป็นห่วงอีกหลายชนิด เช่น แรคคูน และสกังค์ เป็นต้น

แม้ว่า ทางวิทยาศาสตร์จะยังไม่พบข้อมูลผลกระทบระยะยาวต่อสิ่งมีชีวิตและสัตว์ตามธรรมชาติเหล่านี้ที่อยู่ในหรือใกล้กับพื้นที่วิกฤติ แต่ผลที่เกิดทันทีที่สัตว์เหล่านั้นกลืนน้ำมันเข้าไป เห็นได้ชัดเจน คือ ระบบภูมิต้านทานของร่างกายหยุดทำงาน อวัยวะถูกทำลาย ผิวหนังเกิดการระคายเคือง มีแผลเปื่อย และมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อระบบภูมิต้านทานถูกทำลาย ทำให้นำไปสู่การอักเสบ ของแผล ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียชีวิตในที่สุด ส่วนพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปส่งผลในการหาอาหาร และป้องกันตัวเองในการถูกล่า ในระยะยาวสามารถส่งผลต่อการสืบพันธุ์ และจำนวนประชากรของสัตว์เหล่านี้ได้ โดยเฉพาะเต่าทะเลที่ชอบเข้ามาวางไข่ริมชายฝั่งทุกๆ ปี

นอกจากนี้ยังมีพวกสัตว์น้ำที่มีเปลือกทั้งหลาย เช่น กุ้ง หอย ปู ที่ได้รับสารพิษจากน้ำมันเข้าไป อันสามารถส่งผ่านไปยังผู้ที่บริโภคต่อไปได้ ยิ่งกว่านั้น น้ำมันยังส่งผลต่อการวางไข่ของปลาและตัวอ่อน ของปลาที่ไวต่อสารพิษ ทำให้ประชากรปลาลดลง หรือปลายังคงมีชีวิตแต่มีสารพิษตกค้าง หรืออาจจะเปลี่ยนรูปร่าง มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ตัวเล็ก แต่มีตับใหญ่ การเต้นของหัวใจและชีพจรผิดปกติ ครีบสึก และระบบการสืบพันธุ์ถูกทำลาย ส่วนพืชตาม ชายฝั่งและในทะเลที่ได้รับผลกระทบ เช่น สาหร่ายทะเลทั้งหลายอาจแห้งตายเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากที่พื้นที่ได้รับการจัดการกำจัดน้ำมัน พืชเหล่านี้จะกลับมาขยายพันธุ์ต่อไป

นอกจากนี้ผลการสำรวจกรณีน้ำมันรั่วในอดีต พบว่า จะเกิดการตกตะกอนทับถมนานถึง 30 ปีหลังจากที่เกิดการรั่วไปแล้ว ในบริเวณใต้หาดทราย ใต้บึงป่าชายเลน ซึ่งส่งผลกระทบต่อถิ่นอาศัยของสัตว์และพืชตามธรรมชาติเหล่านี้อย่างแน่นอน

เหตุการณ์ครั้งนี้จะเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกของมนุษย์ที่มีต่อการดำรงชีวิตและธรรมชาติได้หรือไม่ ฤาจะกลายเป็นเพียงตะกอนทับถมลงสู่ก้นทะเล

ข้อมูล: กรมประมงและสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติแห่งสหรัฐอเมริกา JAG Reports จาก NOAA www.consumerenergy report.com   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us