Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2536
OPEN-MARKET OPERATIONS เครื่องมือที่จำเป็นของแบงก์ชาติภายใต้ระบบการเงินเสรี             
 


   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Banking and Finance




และแล้วก็ถึงยุคที่อำนาจของแบงก์ชาติในการกำหนดทิศทางทางการเงินของประเทศเริ่มถูกตั้งถามว่า ยังศักดิ์สิทธิ์อยู่หรือไม่ จากกรณีที่ใช้วิธี "การขอความร่วมมือ" จากธนาคารพาณิชย์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงมาเมื่อสองเดือนที่แล้ว กว่าที่แบงก์พาณิชย์จะยอมลดดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าทั่วไปลง 0.25% ทางแบงก์ชาตต้องทำสงครามเย็นหรือสร้างแรงกดดันกับบรรดานายแบงก์เป็นเวลานานกว่า 3 อาทิตย์

เครื่องมือที่แบงก์ชาติจะใช้สำหรับการบริหารนโยบายทางการเงินภายในประเทศที่สำคัญ ภายใต้ระบบการเงินที่มีแนวโน้มเสรีมากขึ้น ได้แก่ การปรับอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (BANK RATE) การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย (LIGVIDITY RATIO) และการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล (OPERN-MARKET OPERATIONS)

การใช้เครื่องมือข้างต้นจะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินในระบบ จึงถือเป็นเครื่องมือการควบคุมเชิงปริมาณ ต่างจาก "การขอความร่วมมือ" ที่เป็นการควบคุมเชิงคุณภาพ

การประกาศลดแบงก์เรตจาก 11% เป็น 10% เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา แบงก์ชาติมีเจตนาสำคัญที่จะลดต้นทุนการกู้เงินของแบงก์พาณิชย์ เพื่อที่แบงก์พาณิชย์จะได้ลดดอกเบี้ยเงินให้กู้กับประชาชนทั่วไป แต่เนื่องจากวงเงินกู้ที่กำหนดไว้ต่ำเพียง 1% ของยอดเงินรับฝากและต้องเป็นการกู้สำหรับการขาดดุลหักบัญชี หรือเพื่อดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเท่านั้น เครื่องมือดังกล่าวจึงไม่มีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่การกู้เงินจากต่างประเทศสามารถกระทำได้อย่างสะดวกยิ่ง ไม่จำเป็นต้องอาศัยเงินจากแบงก์ชาติเป็นแหล่งพึ่งพิงสุดท้าย

ขณะที่การเปลี่ยนแปลง LIGVIDITY RATIO จะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการขยายตัวของเงินฝากและสินเชื่อ จึงทำให้หลายประเทศปฏิเสธที่จะใช้เครื่องมือดังกล่าว

"แบงก์ชาติจะใช้ LIGVIDITY RATIO เป็นเครื่องมือก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจช่วงนั้นต้องการได้รับการเยียวยาอย่างฉับพลัน เช่น การเพิ่ม LIGVIDITY RATIO จากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 8 เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ภายหลังวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งที่ 1" เจ้าหน้าที่ฝ่ายการธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

แต่คงจำได้ว่า การเพิ่ม LIGVIDITY RATIO ในครั้งนั้นได้ส่งผลให้เกิดภาวะเงินตึงในปีถัดมา และทางการต้องปรับลดเหลืออัตราร้อยละ 7 ตามเดิมในปีถัดมาทันที

OPEN-MARKET OPERATIONS จึงเป็นเครื่องมือเดียวของทางการที่ทำให้ดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลงตามกลไกตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทยการใช้เครื่องมือดังกล่าวจะกระทำผ่านตลาดซื้อคืน โดยทางการเข้าทำการซื้อหลักทรัพย์ ซึ่งคือการอัดฉีดเงินเข้าระบบเมื่อต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัวและจะกระทำตรงกันข้ามในกรณีที่เศรษฐกิจกำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ

ทำไมแบงก์ชาติไม่ใช่ OPEN-MARKET OPERATIONS เป็นเครื่องมือแทรกแซงให้ดอกเบี้ยลดลงในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อสอดคล้องกับบรรยากาศระบบการเงินเสรีในปัจจุบัน

ฐานิสร์ จาตุรงคกุล (นักเศรษฐศาสตร์การเงิน) ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพ ที่ติดตามการดำเนินงานของแบงก์ชาติมานานได้ตั้งข้อสังเกตให้ "ผู้จัดการ" ฟังอย่างสนใจว่า "จำนวนพันธบัตรที่เหลือในระบบมีไม่มากเพียงพอที่แบงก์ชาติจะเข้าทำการซื้อ (OPEN MARKET PURCHASE) แล้วจะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย…แบงก์ชาติจึงไม่ทำเพราะทำไม่ได้"

ปัจจุบันแบงก์พาณิชย์ต้องดำรงสินทรัพย์ตามกฎหมายในอัตราร้อยละ 7 ของยอดเงินรับฝากในรูปลักษณ์ต่าง ๆ คือ (1) เงินฝากที่แบงก์ชาติไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 ของยอดเงินฝาก (2) ถือไว้ไม่เกินร้อยละ 2.5 ของยอดเงินฝาก และ (3) หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่ปราศจากภาระผูกพัน

โดยทั่วไป แบงก์พาณิชย์จะถือพันธบัตรในสัดส่วนที่จะทำให้การดำรงสินทรัพย์ครบร้อยละ 7 ของยอดเงินฝากตามกฎหมายเท่านั้น เพราะไม่เพียงผลตอบแทนที่ต่ำ แต่ตลาดรองที่แทบจะไม่มีสภาพคล่องเลย ทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะถือพันธบัตรไว้ แบงก์พาณิชย์จะเลือกถือพันธบัตรในสัดส่วนสูงที่สุดที่สามารถทำได้ คือ ประมาณร้อยละ 3-4 ของยอดเงินฝากเท่านั้น

แม้ทางการจะประกาศยกเลิกให้ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องถือหลักทรัพย์ร้อยละ 5.5 เพื่อการเปิดสาขาในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หาได้ช่วยให้จำนวนพันธบัตรในระบบเพิ่มเท่าจำนวนดังกล่าวไม่ เพราะไม่ทุกประเภทของพันธบัตรที่สำรองเพื่อการเปิดสาขาจะสามารถนำมาซื้อขายในตลาดซื้อคืนกรณีพันธบัตรไอเอฟซีทีเป็นตัวอย่างได้ชัดเจน

ขณะเดียวกัน แบงก์พาณิชย์ต้องนำพันธบัตรจำนวนร้อยละ 1 ของยอดเงินฝากไปไว้ที่แบงก์ชาติเพื่อเป็นหลักประกันในการกู้เสมอ ดังนั้นด้วยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ จำนวนพันธบัตรรัฐบาลที่อยู่ในมือธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันมีไม่มากพอ ที่แบงก์ชาติจะเข้าทำการซื้อ (OPEN-MARKET PURCHASE) เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในตลาด แล้วจะส่งผลให้ดอกเบี้ยลดลง

หนทางเดียวที่แบงก์ชาติจะใช้เครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องพัฒนาตลาดรองพันธบัตรให้มีขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องมากขึ้น

"ตลาดรองเรายังเล็กมากต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน นอกเหนือจากระบบการโอนเงินที่ยังไม่สะดวก ซึ่งขณะนี้ทางแบงก์ชาติก็เร่งทำอยู่" ศิริชัย สาครรัตนกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของแบงก์ชาติที่ดูแลเรื่องการพัฒนาตราสารหนี้มาเป็นเวลานานกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ความจำเป็นที่ต้องแก้ไขข้อกำหนดตามกฎหมาย มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการพัฒนาตลาดรอง เพื่อขจัดอุปสรรคในการใช้เครื่องมือดังกล่าว

เพราะตามข้อกฎหมายระบุเฉพาะ 1. พันธบัตรรัฐบาล 2. พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่แบงก์ชาติเป็นนายทะเบียน และกระทรวงการคลังค้ำประกันทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเท่านั้นที่สามารถทำการซื้อขายในตลาดซื้อคืน

ที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง คือ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องพิจารณาอนุญาตให้เปิดธนาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ระบบการเงินมีการแข่งขันกันอย่างเสรีจริง ๆ เป็นการลดอำนาจการตั้งราคาตามใจชอบของแบงก์พาณิชย์ในปัจจุบันไปในตัว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us