Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553
“เส้นทางสายไหม” สายใหม่ (ตอนแรก)             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 


   
search resources

Transportation




ต้นเดือนสิงหาคม 2553 มีจดหมายด่วนที่สุดจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง มาถึงกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ เพื่อขอให้มีการมอบหมายผู้สื่อข่าวเดินทางไปดูงานกิจการรถไฟความเร็วสูง ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 25-29 สิงหาคม 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำสิ่งที่ได้เห็นได้รู้ในประเทศจีนมาต่อยอดพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย

กำหนดการดูงานดังกล่าวถูกจัดขึ้นอย่างเร่งด่วน ภายหลังการไปเยือนประเทศจีนของสุเทพ เทือก สุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2553 ซึ่งนำมา สู่มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 กรกฎาคม ในการแต่งตั้ง คณะกรรมการศึกษารายละเอียดโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ในโครงการพัฒนากิจการรถไฟในระยะแรกจำนวน 2 โครงการที่เชื่อมเส้นทางหนองคาย-กรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ-ระยอง อันเป็นวาระที่สุเทพเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และได้กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ

ขณะที่กระทรวงคมนาคมในฐานะของหน่วยงานภาครัฐผู้กำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ก็แสดงความกระตือรือร้นต่อโครงการดังกล่าวเช่นกัน เพราะโครงการรถไฟความเร็วสูงดังกล่าวถือเป็นส่วนสำคัญของการเชื่อมโยงระบบรางของประเทศจีนเข้ากับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มต้นจากเมืองคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลยูนนาน ผ่านประเทศลาว เข้ามายังไทยทางจังหวัดหนองคาย เชื่อมต่อไปยังประเทศมาเลเซียที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ไปสุดทางที่ประเทศ สิงคโปร์

สิ่งที่สำคัญสำหรับบรรดานักการเมืองไทย ก็คือโครงการรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว เป็นโครงการ ที่มีมูลค่ามากถึง 2 แสนล้านบาท!

ภาพรวมขั้นต้นของเงินลงทุนจำนวน 2 แสน ล้านบาท ในอนาคตหลังจากที่มีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนไทย-จีน ขึ้นรับผิดชอบและบริหารโครงการแล้ว ฝ่ายไทยเพียงจัดหาที่ดินในเขตรถไฟเพื่อให้จีน สร้างทางรถไฟคู่ขนานไปกับทางรถไฟในปัจจุบัน

ส่วนฝ่ายจีนจะเป็นผู้ออกเงินลงทุน ลงมือก่อสร้างสถานี-ราง รวมถึงจัดหาหัวรถจักรและโบกี้รถไฟเข้ามาวิ่งบนรางดังกล่าว

ปัจจุบันเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงที่จีนพัฒนาขึ้นมาเอง โดยต่อยอดมาจากเทคโนโลยีของ ตะวันตกก็ถือว่าไม่แพ้ชาติตะวันตก แถมยังมีต้นทุน การก่อสร้างและการดำเนินการที่ถูกกว่าอีกด้วย

ดังที่ผมเคยกล่าวไว้แล้วในนิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนเมษายน 2553 ถึง “นโยบายการทูต รถไฟความเร็วสูง (High-Speed Rail Diplomacy)” ว่า เป็นนโยบายต่างประเทศในระดับภูมิภาคและระดับโลก ที่รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนพยายามส่งเสริมและผลักดันให้ประเทศเพื่อนบ้านคล้อยตามไปกับแนวคิดในการสร้างโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงของทวีปเอเชีย โดยใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ขณะเดียวกันก็มีข่าวเผยแพร่ออกมาว่าจีนกำลังศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีการเดินรถไฟแบบใหม่ที่เรียกว่า รถไฟสุญญากาศ หรือ Vacuum Train ที่จะทำให้รถไฟสามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงถึง 600-1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงอยู่ด้วยเช่นกัน[1])

โดยฝ่ายจีนมีจุดมุ่งหมายหลักของการผลักดัน โครงข่ายรถไฟความเร็วสูงของทวีปเอเชีย 2 ประการ คือ

หนึ่ง-การดึงเอาทรัพยากรธรรมชาติจากต่างประเทศเข้ามาหล่อเลี้ยงการเจริญเติบโตของจีน

สอง-กระตุ้นการพัฒนาพื้นที่ในแถบตะวันตก ของประเทศที่สภาพเศรษฐกิจและสังคมยังล้าหลังอยู่ให้ดีขึ้น

ในความเป็นจริง โครงข่ายรถไฟความเร็วสูงของทวีปเอเชียที่มีมูลค่ามหาศาลนับล้านล้านบาทนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครือข่ายความเชื่อมโยงทาง เศรษฐกิจระหว่างกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ในทวีปเอเชีย ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกาและแอฟริกา ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารในโลกตะวันตก อย่างเช่น เอชเอสบีซี และรอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ตั้งชื่อให้ว่าเป็น “เส้นทางสายไหมสายใหม่ (The New Silk Road) เท่านั้น

ย้อนกลับไปในอดีตเมื่อ 2,000 กว่าปีก่อน ในยุคสมัยที่จีนปกครองโดยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ช่วง 202 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง ค.ศ.8) และ อารยธรรมจีนถือเป็นอารยธรรมแถวหน้าของโลก ฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้ได้ส่งนักการทูตนามว่า “จางเชียน” เดินทางออกไปยังดินแดนทางทิศตะวันตกของประเทศจีนเพื่อปฏิบัติภารกิจด้านการทูต ในการจัดการกับชนเผ่าซงหนู ชนเผ่าเร่ร่อนในสมัยโบราณที่รุกรานและปล้นสะดมชาวฮั่นในแถบจงหยวนมายาวนาน

เมื่อสองพันกว่าปีก่อน แม้การเดินทางรอนแรมไปทางดินแดนทางทิศตะวันตกเพื่อปฏิบัติภารกิจทางการทูตของจางเชียนจะไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ตั้งแต่แรก ทว่าการเดินทางครั้งดังกล่าวอาจถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการบุกเบิก “เส้นทางสายไหม (The Silk Road)” อันเลื่องลือระบือโลก

พันกว่าปีต่อมาพ่อค้าและนักเดินทางชื่อก้องโลกอย่างมาร์โค โปโล ได้อาศัยเส้นทางดังกล่าวนี้เดินทางจากเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี เดินทางมาถึง นครหลวงต้าตูของชาวจีน-มองโกล ซึ่งต่อมาประสบ การณ์จากการเดินทางครั้งนั้นได้ถูกเขียนขึ้นเป็นหนังสือ The Travels of Marco Polo ที่บรรยายความมั่งคั่ง ยิ่งใหญ่ อลังการและความก้าวล้ำทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีของชาวจีนให้สังคมตะวันตกได้รับทราบ โดยคำบอกเล่าดังกล่าวได้ดึงดูดพ่อค้า นักเดินทาง นักเสี่ยงโชค นักผจญภัยชาวตะวันตกคนอื่นๆ ให้เดินทางมาแสวงโชคยังดินแดนลึกลับแห่งโลกตะวันออกอีกมากมายนับไม่ถ้วน

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ “เส้นทางสายไหม” มิได้เป็นชื่อเรียกที่มีมาแต่ดั้งเดิม แต่เป็นชื่อเรียกของเส้นทางการค้าโบราณจากจีนไปยังยุโรป ที่เพิ่งถูกตั้งขึ้นเมื่อกลางศตวรรษที่ 19 นักภูมิศาสตร์ ชาวเยอรมันนาม Ferdinand von Richthofen โดยชื่อเส้นทางสายไหมที่ตั้งโดยนักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้นี้ในเวลาต่อมาก็ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการในยุโรปและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

สาเหตุที่เส้นทางการค้าเส้นทางนี้ได้ชื่อว่าเป็น เส้นทางสายไหม ก็เพราะว่าจีนเป็นประเทศแรกของ โลกที่ประดิษฐ์คิดค้นการเลี้ยงหม่อนไหมและการทอผ้าไหมขึ้น ก่อนที่ในเวลาต่อมาผ้าไหมจะกลายเป็น สินค้าส่งออกประเภทแรกและสินค้าสำคัญที่ทำให้ชาวตะวันตกจำนวนมากรู้จักประเทศจีน จนกระทั่งชาวกรีกและโรมันขนานนามประเทศจีนว่า “เซเรส (Seres)” หรือ “ประเทศแห่งไหม”[2]

เส้นทางสายไหมในอดีตถือเป็นเส้นทางการค้า ที่นอกจากจะนำผ้าไหมจากจีนไปสู่สายตาชาวโลกแล้วยังเป็นเส้นทางที่เผยแพร่ “สี่ประดิษฐกรรมอันยิ่งใหญ่ ” ในอดีตของจีนอันประกอบไปด้วยเทคนิคการทำกระดาษ เข็มทิศ ดินปืนและเทคโนโลยีการพิมพ์ รวมไปถึงสินค้าอื่นๆ อย่างเช่น ใบชา เครื่องเคลือบดินเผา ภาษา วัฒนธรรม ปรัชญา จีน ฯลฯ ไปสู่สายตาชาวโลกด้วย

ในทางกลับกันเส้นทางสายไหมเส้นเดียวกันนี้ ก็นำเอาสินค้า วัฒนธรรมของเปอร์เซีย-ตะวันตก พันธุ์พืช สัตว์ เช่น กระจก เพชรพลอย งาช้าง ข้าวโพด ฝ้าย ยาสูบ เครื่องเทศ สมุนไพร สิงโต เสือดาว-เสือดำ ช้าง ฯลฯ ที่สำคัญนำเอาปรัชญา ของพระพุทธเจ้าจากอินเดียเข้ามาเผยแผ่ให้แก่ชาวจีน

ขณะที่เส้นทางสายไหมในอดีตทอดยาวกินระยะทางนับหมื่นกิโลเมตร โดยมีจุดเริ่มต้นที่ประเทศ จีน พาดผ่านเอเชียกลาง เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ตะวันออกกลางและไปสิ้นสุดที่ทวีปยุโรป

เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 กลับมีความเลี้ยว ลดคดเคี้ยวและกินพื้นที่กว้างขวางกว่าในอดีตมาก เพราะเส้นทางสายใหม่นี้ครอบคลุมเส้นทางทางบก ทางน้ำและทางอากาศ เชื่อมโยงเอาผู้คนจากประเทศ จีนเข้ากับผู้คนในทวีปเอเชีย ตะวันออกกลาง ละติน อเมริกา แอฟริกา รวมถึงประเทศไทยเราด้วย

กระนั้นแม้เส้นทางสายไหมสายใหม่นี้จะยังคงมีจุดเริ่มต้น-จุดศูนย์กลาง ณ ประเทศจีน ทว่า สินค้าหลักที่ถูกขนถ่ายและค้าขายบนเส้นทางกลับมิใช่ผ้าไหม เครื่องเคลือบ ใบชา หรืองาช้าง อีกต่อไป แต่เป็นสินค้าอย่างเช่น เครื่องบินพาณิชย์ รถไฟความเร็วสูง รถยนต์ไฟฟ้า ก๊าซ น้ำมัน ทรัพยากร ธรรมชาติ โครงข่ายโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์รุ่นล่าสุด เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก:
[1] Will Clem and Stephen Chen, China Ready to Lead World on Vacuum Train, South China Morning Post, 3 Aug 2010.
[2] วริษฐ์ ลิ้มทองกุล, รองเท้าบนรอยทราย, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์, พ.ศ.2549 หน้า 164-179.

อ่านเพิ่มเติม:
- การทูตรถไฟความเร็วสูง นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนเมษายน 2553
- The New Influence of China นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนธันวาคม 2552
- China’s High-Speed Dream นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2552
- เซี่ยงไฮ้กับบทสนทนาของคนแปลกหน้า นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนธันวาคม 2551
- Sinosphere over Africa นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนธันวาคม 2549   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us