|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เนื่องจาก Competency สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในหลายด้านระบบการคัดเลือกพนักงาน การพัฒนาและฝึกอบรมพนักงาน การวางแผนทดแทนตำแหน่งงาน และการบริหารผลการดำเนินงาน กระบวนการในการหา Competency จึงเป็นขั้นตอนสำคัญ และการออกแบบ Competency ที่ถูกต้องนั้นต้องมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ที่เหมาะสม
HR ควรจะรู้ว่า การวิเคราะห์งานเพื่อออกแบบ Competency สามารถทำได้หลายวิธี คือ
การสังเกต (Observation) – การสังเกตพฤติกรรมการทำงานที่สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ของงานที่ดี เพื่อวิเคราะห์ว่าพฤติกรรมหรือความสามารถข้อใดที่พนักงานมีและส่งผลให้งานที่มอบหมายประสบผลสำเร็จ แต่วิธีการสังเกตเป็นวิธีการที่ต้องใช้เวลาและความใกล้ชิดของผู้สังเกตค่อนข้างสูง
การสัมภาษณ์ (Interviews) – การสัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งเพื่อวิเคราะห์หาขอบเขตงานหลัก กิจกรรมของงานที่ทำ รวมถึง ความสามารถที่จะทำให้งานที่มอบหมายของแต่ละตำแหน่งงานประสบความสำเร็จ
การบันทึกประจำวัน (Diaries) – ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งจะต้องเป็นผู้ที่คอยจดบันทึกพฤติกรรมของตนเองไว้ในสมุดบันทึก ซึ่งวิธีการนี้จะเหมาะกับพนักงานที่ต้องรับผิดชอบงานที่ซับซ้อน
การออกแบบสอบถาม (Questionnaires) – พนักงานเป็นผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ ซึ่งคำถามที่ปรากฏอยู่ในแบบสอบถามจะเน้นไปที่ทักษะและคุณสมบัติที่จำเป็นของตำแหน่งงาน เช่น ทักษะการคำนวณ การสื่อสาร การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ ความรับผิดชอบ เป็นต้น
เทคนิคการบันทึกเหตุการณ์หลัก (Critical Incident Techniques) – วิธีการนี้พัฒนาโดย Flanagan (1945) เริ่มจากการกำหนดผู้สังเกตพฤติกรรมก่อน อาจจะเป็นหัวหน้างาน ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา หลังจากนั้นจึงให้ผู้สังเกตุการณ์เล่าถึงเหตุการณ์ที่สะท้อนถึงการแสดงพฤติกรรมของบุคคลที่ต้องการศึกษา Competency เพื่อวิเคราะห์หา Competency ที่เหมาะสมจากเหตุการณ์หลักที่เกิดขึ้น
เทคนิคตารางวิเคราะห์ปัญหา (Repertory Grid Techniques) – วิธีการนี้พัฒนาโดย George Kelly (1958) เป็นการสัมภาษณ์พฤติกรรมที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ประโยชน์ของวิธีการนี้จะเน้นไปที่การให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เล่าถึงทักษะที่จำเป็นและส่งผลให้งานประสบความสำเร็จ
แผนที่ความต้องการของลูกค้า (Customer Contact Maps) – เป็นการศึกษา Competency จากความต้องการของลูกค้าเป็นหลักซึ่งเป็นแนวคิดสำหรับการศึกษาเรื่องการให้บริการลูกค้า (Customer Service) ด้วยการตอบคำถามว่า “อะไรที่พนักงานจำเป็นจะต้องรู้หรือจะต้องทำเพื่อสร้างความพึงพอใจในการติดต่อกับลูกค้า”
ที่สำคัญการนำ Competency มาใช้ต้องระวังการต่อต้านที่เกิดขึ้นในองค์กรจากหลายสาเหตุ เช่น ความไม่ชัดเจนของ Competency ที่นำมาใช้ หรือพนักงานไม่มีส่วนร่วมในการกำหนด Competency เป็นต้น ดังนั้น เพื่อป้องกันการต่อต้านที่อาจจะเกิดขึ้นองค์กรจะต้องให้พนักงานมีส่วนร่วม และผู้บริหารจะต้องสนับสนุนการนำ Competency มาใช้อย่างจริงจัง
ดร. อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
บริษัท ไทยสกิลล์ พลัส จำกัด
|
|
|
|
|