Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2536
สายตรวจคอมพิวเตอร์เมื่อกรมตำรวจติดอาวุธเทคโนโลยี             
 


   
search resources

ไพรัช พงษ์เจริญ
Computer




การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานของกรมตำรวจ กำลังเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง หัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญที่มีส่วนในการบุกเบิกผลักดัน คือ พ.ต.อ.ไพรัช พงษ์เจริญ รองผู้บังคับการศูนย์ข้อมูลข้อสนเทศสำนักงานแผนงานและงบประมาณแห่งกรมตำรวจ

พ.ต.อ.ไพรัช สอบได้ที่หนึ่งทั้ง 4 ปีจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และได้ทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อปริญญาโทและเอกที่สหรัฐอเมริกาในสาขาการบริหารงานกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

ในขณะที่เรียนทางปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแซมฮุสตันสเตทนี้เอง เขาได้สัมผัสกับคำว่า "เทคโนโลยี" และ "คอมพิวเตอร์" เป็นครั้งแรก เพราะเป็นวิชาบังคับที่นักศึกษาปริญญาทุกคนต้องเรียน และเป็นวิชาเดียวกับที่ พ.ต.อ.ทักษิณ ชินวัตร ได้เรียนเช่นเดียวกันในฐานะศิษย์ผู้พี่ เรียกว่าทั้งสองคนจบปริญญาเอกจากสถาบันนี้เหมือนกัน และมีอาจารย์ที่ปรึกษาคนเดียวกันด้วย

ไพรัช เพิ่งจะมาสัมผัสกับงานเทคโนโลยีของกรมตำรวจเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2534 โดยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการ ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์ของกรมตำรวจ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาปีเศษที่ผ่านมา เขาได้ทำทุกอย่างเพื่อยกฐานะและภาพพจน์การทำงานของกรมตำรวจ ในด้านการพัฒนางานเทคโนโลยีจนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ของคนทั่วไป

แม้จะมีพื้นฐานความรู้ด้านคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง แต่คำว่าเทคโนโลยีกับงานตำรวจได้ซึมซับในแนวคิดของ พ.ต.อ.ไพรัช อย่างจริงจัง ก็เมื่อเขาได้มีโอกาสเข้าเรียนในหลักสูตรเอฟบีไอ ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อกลางปี 2534 ทำให้เห็นความสำคัญ และได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสามารถในการใช้ระบบข้อมูลอาชญากรรมในการทำคดีสำคัญต่าง ๆ มากมายของเอฟบีไอ และนั่นคือจุดเริ่มต้นขอกงารนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมการปฏิบัติงานของตำรวจไทย

"สายตรวจคอมพิวเตอร์" คือ ความพยายามล่าสุดในการติดอาวุธทางเทคโนโลยีให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เขาใช้เวลาไม่น้อยกว่าครึ่งปี เพื่อผลักดันรถสายตรวจคอมพิวเตอร์ "ต้นแบบ" ออกมาจนเป็นผลสำเร็จและสามารถทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม

สายตรวจคอมพิวเตอร์เป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายจากระบบฐานข้อมูลอาชญากรรม ที่บันทึกอยู่ในศูนย์คอมพิวเตอร์ของกรมตำรวจเข้าสู่คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว ซึ่งติดตั้งอยู่ในรถสายตรวจ โดยผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูล่า 900 มีผลทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในรถสายตรวจตำรวจทางหลวงสามารถเรียกข้อมูลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งติดตั้งในรถมาใช้ได้โดยตรงตลอด 24 ชั่วโมง และในทุกเส้นทางทั่วประเทศรวม 5 ระบบฐานข้อมูล คือ ฐานข้อมูลรถยนต์ รถจักรยานยนต์ทั่วประเทศ ฐานข้อมูลรถหาย ฐานข้อมูลใบขับขี่ ฐานข้อมูลใบอนุญาตพกพาอาวุธปืน และสุดท้ายเป็นระบบฐานข้อมูลใบสั่งจราจร

จากรถสายตรวจคอมพิวเตอร์ "ต้นแบบ" คันแรกนี้ ซึ่งตามแผนงานนั้นจะนำไปสู่การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในรถตำรวจสายตรวจทางหลวงคันอื่น ๆ ต่อไปอย่างไม่จำกัดรวมทั้งสายตรวจของตำรวจ 191 และสายตรวจของสถานีตำรวจต่าง ๆ ประเทศ เพื่อให้ตำรวจที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ใกล้ชิดกับปัญหาอาชญากรรมสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยมีข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ และสามารถเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของปัญหาการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และปัญหาอาชญากรรมอื่น ๆ ด้วย

"ระบบฐานข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงานมากขึ้น ซึ่งตามวัตถุประสงค์ คือ ทางกรมฯ ต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถดึงข้อมูลมาดูได้ ในขณะที่รถวิ่งอยู่ไม่ต้องย้อนกลับมายังส่วนกลาง สร้างให้ตำรวจเกิดความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อเปลี่ยนความคิด อย่างเช่น ในการตั้งด่านตรวจ หากมีข้อมูลที่แน่ชัดสามารถดึงมาดูผ่านจอคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา ทำให้ไม่ไปรบกวนสุจริตชนให้เสียเวลาอย่างทุกวันนี้" รองผู้การวัย 37 ปี กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ตามแผนงานหลังจากส่งรถต้นแบบให้กับผู้ใหญ่แล้วในเดือนสิงหาคม จะมีรถที่ติดตั้งคอมพิวเตอร์นี้ออกมา 10 คันแรกที่จะมีทุกอย่างเหมือนกับรถต้นแบบออกทดสอบวิ่งทั่วทุกภาคทั่วประเทศ ต่อจากนั้นจะทำการประเมินผลทั้งทางด้านข้อมูลและระบบเครือข่ายในระยะเวลา 6 เดือน เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อนำเสนอต่ออธิบดีกรมตำรวจขออนุมัติติดตั้งได้ตามแผนงาน และนโยบายดังกล่าว

"ตามแผนงานแล้ว จะมีรถสายตรวจคอมพิวเตอร์อย่างไม่จำกัดจำนวนทั้งรถสายตรวจทางหลวง สายตรวจ 191 และสายตรวจของสถานีตำรวจปัจจุบันเราใช้เครือข่ายของเซลลูล่าร์ 900 อยู่ ในขั้นนี้เรายังไม่รู้ว่า เมื่อมีการเชื่อมโยงเครือข่ายจากรถสายตรวจหลาย ๆ คันเข้าด้วยกันแล้ว จะมีปัญหาหรือไม่ ในอนาคตอาจจะพัฒนาไปสู่การเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมต่อไป" ไพรัชกล่าว

สำหรับงบประมาณในการใช้จ่ายสำหรับคอมพิวเตอร์ต่อรถสายตรวจหนึ่งคันจะตกประมาณ 125,000 บาทเป็นค่าโทรศัพท์มือถือกับคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว

นอกจาก "รถสายตรวจคอมพิวเตอร์" ซึ่งเป็นผลงานล่าสุดของนายตำรวจหนุ่มคนนี้แล้ว ในช่วงระยะเวลาปีเศษที่ได้เข้ามาจับงานด้านนี้ เขาได้พัฒนา "ระบบฐานข้อมูลอาชญากรรม" เพื่อใช้งานสืบสวนสอบสวน และป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลคดีอาชญากรรม และผลการดำเนินคดี ข้อมูลรถหาย ข้อมูลผู้ต้องหา ผู้ต้องขังและบุคคลพ้นโทษ ข้อมูลหมายจับ ข้อมูลทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ข้อมูลทะเบียนอาวุธปืน ข้อมูลผู้ได้รับอนุญาตพกพาอาวุธปืน ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ตลอดจนตำหนิรูปพรรณผู้กระทำผิด ข้อมูลพิมพ์นิ้วมือ และข้อมูลตำหนิรูปพรรณทรัพย์หาย และข้อมูลแผนประทุษกรรมคนร้าย โดยข้อมูลเหล่านี้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงานในท้องที่สามารถเรียกตรวจสอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อีกส่วนหนึ่งที่นายตำรวจผู้นี้ได้มีส่วนร่วมและผลักดันมาคือ โครงการความร่วมมือทางด้านระบบฐานข้อมูลของตำรวจในกลุ่มอาเซียน 6 ประเทศ การดำเนินการตามโครงการนี้จะมีผลทำให้การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศได้ผลดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างรูปแบบมาตรฐานของข้อมูลอาชญากรรมให้แก่ประเทศสมาชิกเหล่านี้ สามารถจัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์และมีการเรียกใช้ข้อมูลระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว

ถือได้ว่านี่คือการปรับปรุงงานของกรมตำรวจโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ แต่ก็เทคโนโลยีเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานเท่านั้น แต่ความสำเร็จของงานยังคงขึ้นอยู่กับมนุษย์ผู้ใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ ด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us