Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553
เงินบาทแข็งค่าโจทย์ที่ใหญ่ของ ธปท.             
 


   
search resources

Financing




ความกังวลต่อแนวโน้มการชะลอตัวและ/หรือความเสี่ยงต่อการกลับไปถดถอยอีกครั้ง (Double-Dip Recession) ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงจังหวะเดียวกันกับที่ข้อมูลเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศทั่วโลก ล้วนบ่งชี้ถึงพัฒนาการของเศรษฐกิจที่ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการขยายตัวและกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ช่วงเวลาของการชะลอตัวอย่างพร้อมเพรียงกันนับตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 2/2553 เป็นต้นมา

ท่ามกลางสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความเสี่ยงในช่วงขาลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถูกตอกย้ำอย่างชัดเจนจาก แถลงการณ์หลังการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งมี มติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไป พร้อมประกาศแผนการกลับเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวได้ส่งผลให้อัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ร่วงลงพร้อมๆ กับค่าเงินดอลลาร์ที่ดิ่งลง แตะระดับต่ำสุดในรอบ 15 ปีเมื่อเทียบกับเงินเยนจากกระแสความ อ่อนแอของเงินดอลลาร์ดังกล่าว

เมื่อรวมเข้ากับแรงขายเงินดอลลาร์ของผู้ส่งออกและแนวโน้มที่แข็งแกร่งโดยเปรียบเทียบของภูมิภาคเอเชีย ได้ส่งผลต่อเนื่องให้เงินบาททะยานข้ามแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยาที่ระดับ 32.00 ขึ้นทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 28 เดือนใกล้ 31.65 บาทต่อดอลลาร์และกลายมาเป็นสกุลเงินที่แข็งค่าเป็นอันดับที่สองของ เอเชียในปีนี้ โดยเป็นรองจากเงินริงกิตมาเลเซียเท่านั้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินสถานการณ์ แนวโน้ม และประเด็นสำคัญของค่าเงินบาทว่าการฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นของเงินบาทตั้งแต่ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2553 หลังจากที่เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศช่วงกลางเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ได้รับแรงหนุนจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความอ่อนแอของเงินดอลลาร์แรงขายเงินดอลลาร์ของผู้ส่งออกอันเนื่องมาจากดุลการค้าที่บันทึกยอดเกินดุลสูง และกระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคเอเชียซึ่งตลาดการเงินของไทยก็ได้รับอานิสงส์นี้ด้วยเช่นกัน

ความอ่อนแอของเงินดอลลาร์จากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงแล้วประมาณ 7% จากระดับสูงสุดในรอบ 15 เดือนที่ทำไว้ในช่วงต้นมิถุนายน 2553 หลังจากที่ความกังวลต่อวิกฤติด้านการคลังในยุโรปได้ลดระดับลง สวนทางกับทิศทางของเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาแย่กว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

ขณะที่เฟดยอมรับว่า อัตราการฟื้นตัวของผลผลิตและการ จ้างงานชะลอลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากเฟดจะยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อสนับสนุนให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความต่อเนื่องแล้ว เฟดยังระบุว่า จะนำเงินต้นที่ได้รับจากการครบกำหนด ไถ่ถอนตราสารหนี้และหลักทรัพย์ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนองที่ออกโดยหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ มาลงทุนใหม่ในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวอีกด้วย ทั้งนี้ ความเสี่ยงในช่วงขาลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นชนวนสำคัญที่ทำให้วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดถูกเลื่อนออกไปเป็นช่วงครึ่งหลังของปี 2554 เป็นอย่างเร็ว ซึ่งทำให้คาดว่า ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐฯ น่าจะยังคงเป็นปัจจัยลบของเงินดอลลาร์ต่อไปอีกระยะหนึ่ง

การเกินดุลการค้าเป็นอีกปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของเงินบาท เพราะอานิสงส์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และกรอบความตกลงการค้าเสรีส่งผลให้การส่งออกของไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 เติบโตมากเกินคาดถึงประมาณ 37.0% ทำให้ไทยบันทึกยอดเกินดุลการค้าได้สูงถึงประมาณ 6.78 พันล้าน ดอลลาร์ รายได้ที่อยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศดังกล่าวเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีแรงซื้อเงินบาทในตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ และหนุนให้เงินบาทปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเงินบาทสามารถแข็งค่าทะลุแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยาที่ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ได้ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม 2553 นอกจากนี้ เศรษฐกิจเอเชียนำการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเป็นความจริงเสมอ แม้ว่าเศรษฐกิจชั้นนำของโลกอย่างกลุ่ม G-3 (สหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่น) จะพลิกกลับมาขยายตัวได้แล้วในปีนี้ อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวที่ ยังคงมีความเปราะบางจากปัญหาการว่างงานในระดับสูง และความจำเป็นต้องรักษาวินัยทางด้านการคลังอย่างเคร่งครัด กรณีดังกล่าวคาดว่า โมเมนตัมของการ ขยายตัวของเศรษฐกิจกลุ่ม G-3 น่าจะไม่มีความราบรื่นมากนัก ซึ่งภาพดังกล่าวจะตรงกันข้ามกับเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียที่แม้จะมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 แต่ก็มีอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยเปรียบ เทียบ ซึ่งย่อมจะทำให้เอเชียยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจของนักลงทุนเช่นเดิม

ขณะเดียวกันเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเป็นอีกปัจจัย ที่ช่วยหนุนค่าเงินบาท ปัจจัยทางการเมืองในประเทศที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญมากนักหลังจากการประกาศยุติการ ชุมนุมในย่านราชประสงค์ เป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้กระแสเงินทุนจากต่างประเทศทยอยไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดการเงินไทยทั้งในส่วนของตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร เนื่องจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยยังคงมีความแข็งแกร่ง ขณะที่การคาดการณ์ถึงแนวโน้มขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ทำให้ส่วนต่าง ระหว่างอัตราดอกเบี้ยของไทยและสหรัฐฯ กว้างขึ้นตามไปด้วย นับจากต้นปี 2553 กลุ่มนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจในต่างประเทศที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Foreign Companies: FCO) มี สถานะเป็นผู้ซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรเป็นมูลค่าสะสมประมาณ 98.75 พันล้านบาท โดยแรงซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรได้เร่งตัวสูงขึ้นค่อนข้างมากในช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2553 เป็นต้นมา (ค่า เฉลี่ยของการเข้าซื้อสุทธิสูงประมาณ 2.37 พันล้านบาทต่อวัน เทียบกับค่าเฉลี่ยประมาณ 1.38 พันล้านบาท และ 652.1 พันล้าน บาทต่อวันในเดือนกรกฎาคม และมิถุนายน 2553 ตามลำดับ)

ขณะที่ในส่วนของตลาดหุ้นนั้น นักลงทุนต่างชาติได้ทยอย กลับมาเป็นผู้ซื้อสุทธิตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งก็ทำให้สถานะขายสุทธิสะสมในหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ลดลงมาเหลือเพียง 3.68 พันล้านบาทเท่านั้น (ข้อมูล ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2553)

แม้ว่าสัญญาณของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในหลายๆ ภูมิภาคของโลกในช่วงที่เหลือของปี 2553 (และอาจลากยาวไปในปี 2554) จะมีความชัดเจนมากขึ้น แต่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ที่แข็งแกร่งกว่าโดยเปรียบเทียบของเอเชีย (รวมถึงไทย) น่าที่จะเป็นสภาวะแวดล้อมที่ดึงดูดให้มีกระแสเงินทุนไหลเข้าสู่ภูมิภาคต่อไป ขณะที่ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของเอเชียและอัตราดอกเบี้ยในกลุ่มประเทศชั้นนำอย่างสหรัฐฯ ยูโรโซนและญี่ปุ่น น่าที่จะมีแนวโน้มกว้างขึ้นอีกในช่วงหลายเดือนข้างหน้าเช่นกันซึ่งก็เป็นไปตามวัฏจักรของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธนาคารกลางหลายแห่งในเอเชียที่เริ่มขึ้นก่อน

นอกจากนี้ คาดว่าไทยน่าที่จะยังคงบันทึกยอดเกินดุลการ ค้าในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ซึ่งก็เป็นนัยว่าแรงขายเงินดอลลาร์ ของผู้ส่งออกน่าจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทได้ต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี 2553

อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินประเด็นสำคัญสำหรับเงินบาทในห้วงเวลาจากนี้ว่าเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นทดสอบ ระดับ 31.50 บาทต่อดอลลาร์ ภายในสิ้นปี 2553 โดยมีแรงหนุนที่สำคัญจากดุลการค้าที่คาดว่า น่าจะยังคงบันทึกยอดเกินดุลในระดับที่เกินว่า 5.0 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยและแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในช่วงหลายเดือนข้างหน้า นั้น น่าที่จะทำให้ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของไทยและสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 1.75% ภายในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็ยังเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินดอลลาร์ด้วยเช่นกัน

ขณะที่ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอาจหลีกเลี่ยงได้ยากและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจยังคงต้องเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาท ความเสี่ยงในช่วงขาลงของเศรษฐกิจโลกในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยสหรัฐฯ และจีนน่าจะมีโมเมนตัมของการขยายตัวที่ชะลอลง ขณะที่ผลของมาตรการรัดเข็มขัดทางด้านการคลังที่มีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรปอาจมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี น่าที่จะทำให้เงินดอลลาร์ยังคงได้รับแรงหนุนกลับมาบ้างในบางจังหวะในฐานะที่เป็นสกุลเงินที่ปลอดภัย

ดังนั้น แม้เงินบาทจะยังคงอยู่ในแนวโน้มแข็งค่า แต่ความเคลื่อนไหวของค่าเงินอาจมีความผันผวนมากขึ้น ซึ่งก็เป็นนัยว่า ธปท.ก็อาจจำต้องทำหน้าที่ในการดูแลเสถียรภาพของค่าเงิน บาทอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความผันผวนมีสาเหตุจากกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ อีกปัจจัยหนึ่งที่หนุนค่าเงินเอเชียรวมถึงเงินบาทในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี คาดว่ามาตรการดูแลกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย ระหว่างประเทศของทางการในภูมิภาคเอเชีย (และของทางการไทย) อาจจะมุ่งเป้าไปที่การชะลอการไหลเข้าของเงินทุนเก็งกำไร ควบคู่ไปกับการเตรียมแผนการรับมือในกรณีที่กระแสการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนำไปสู่สถานการณ์ที่ทำให้มีการไหลออกของเงินทุนอย่างฉับพลัน

ประเด็นทางด้านความสามารถในการแข่งขัน คงต้องยอมรับว่า การแข็งค่าของเงินบาทในอัตราที่มากกว่าสกุลเงินอื่นๆ ที่เป็นคู่ค้า/คู่แข่งของไทย อาจจะทำให้ความสามารถในการแข่งขัน ของสินค้าส่งออกของไทยด้อยลงไปบ้างโดยเปรียบเทียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีสินค้าเกษตรบางประเภทที่ต้องเผชิญกับคู่แข่ง อย่างเวียดนามซึ่งน่าจะมีความได้เปรียบไทยจากค่าเงินด่องที่ยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีก หลังจากที่ธนาคารกลางเวียดนามประกาศปรับลดค่าเงินดองอีก 2.0% โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2553 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ภาคการส่งออกของไทย (ที่ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นและไม่ได้ถูกกำหนดจากอัตราแลกเปลี่ยนเพียงปัจจัยเดียว) น่าที่จะยังคงสามารถรักษาทิศทางการเติบโตได้ต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ารวมถึงอานิสงส์จากกรอบการค้าเสรี แม้ว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออกอาจมีค่าเฉลี่ยที่ลดลงมาที่ 17.0% หลังจากที่ขยายตัวสูงถึง 37.0% ในช่วงครึ่งปีแรกก็ตาม โจทย์ในการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยและการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ส่งออก-นำเข้า น่าจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญมากนักในช่วงหลายเดือนข้างหน้า แต่ก็คงจะต้องเตรียมรับมือกับโจทย์ของการรักษาความสามารถในการแข่งขันในยามที่คู่แข่งของสินค้าส่งออกของไทยบางรายมีความได้เปรียบด้านค่าเงินมากขึ้น ท่ามกลางแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงหลายเดือนข้างหน้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us