|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลได้กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2552/2553 ที่ตันละ 965 บาท ล่าสุดจากการประเมินสถานการณ์ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายราคาเฉลี่ยจะสูงกว่าตันละ 1,000 บาทอย่างแน่นอน โดยประเมินจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 32.75 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และราคาน้ำตาลทรายดิบส่งออก (โควตา ข.) ที่ 19.91 เซ็นต์/ปอนด์ ซึ่งราคาอ้อยในระดับนี้น่าจะสร้างความพึงพอใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย
ประกิต ประทีปะเสน ประธาน คณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคม โรงงานน้ำตาลทราย ระบุว่า ทางกลุ่ม ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลมีความหวังและจะพยายามผลักดันให้ราคาอ้อยของฤดูการผลิตปี 2553/2554 อยู่ในระดับ 1,000 บาท ต่อตัน เพื่อให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยรู้สึกมั่นคงในอาชีพ ป้อนผลิตผล ให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลต่อไป
ทั้งนี้ จากการสำรวจพื้นที่ปลูกอ้อยในปัจจุบันพบว่า มีพื้นที่ เพาะปลูกอ้อยเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 3 แสนไร่ ทำให้ปัจจุบันมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยทั้งประเทศรวมประมาณ 6.7-7 ล้านไร่ ซึ่งหากฝนตกตามปกติควรจะได้ปริมาณอ้อยประมาณ 74-75 ล้านตัน แต่ในช่วงต้นฤดูเพาะปลูกปีนี้ เกิดปัญหาภัยแล้ง กระทบต่อผลผลิตอ้อยด้วย จึงคาดว่าจะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบเท่าๆ กับปีที่ผ่านมา คือ ประมาณ 68 ล้านตัน
อย่างไรก็ตาม ราคาอ้อยต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐ เพราะน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ในแต่ละปีจะส่งออกไปขายต่างประเทศประมาณ 2 เท่าของการบริโภคในประเทศ “นอกเหนือจากราคารับซื้ออ้อยในระดับ 1,000 บาทต่อตัน ทางฝ่ายโรงงานน้ำตาลก็พยายามส่งเสริมให้ได้คุณภาพอ้อยที่ดีขึ้น โดยการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การเตรียมดิน การให้ปุ๋ย ให้น้ำ กำจัดศัตรูพืช กระทั่งการเก็บเกี่ยว ซึ่งหากคุณภาพดีค่าความหวานดี ก็จะได้ราคาอ้อยที่ดีด้วย”
ประกิตกล่าวย้ำว่า หากทำเต็มที่แล้วราคายังไม่เป็นไปตาม เป้าหมาย ก็อาจต้องพึ่งการสนับสนุนจากกองทุนอ้อยและน้ำตาล ทรายด้วย ตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งกองทุนฯ ที่ให้รักษาเสถียร ภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อผลประโยชน์ของ ชาวไร่อ้อยและโรงงาน เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจัยที่มีผลต่อราคาอ้อยในปี 2553/2554 ประการหนึ่งอยู่ที่ การจัดสรรน้ำตาลทรายที่จำหน่ายในประเทศ (โควตา ก.) กับส่งออก (โควตา ค.) ซึ่งปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาน้ำตาลทรายใน ตลาดโลกโดยเฉลี่ยสูงกว่าราคาน้ำตาลทรายในประเทศ ทำให้น้ำตาลทรายในประเทศบางส่วนถูกนำออกไปนอกประเทศตามแนวชายแดน และผู้ผลิตสินค้าส่งออกที่ต้องใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบ ก็หันมาใช้น้ำตาลโควตา ก. ด้วย
กรณีดังกล่าวทำให้น้ำตาลทรายภายในประเทศไม่เพียงพอ ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกอยู่ที่ประมาณ 18 เซ็นต์ ต่อปอนด์ เมื่อแปลงเป็นเงินบาทแล้ว ราคาจะต่ำกว่าราคาน้ำตาล ทรายในประเทศ ดังนั้น หากในรอบปีนี้จัดสรรโควตา ก. มากขึ้น ก็จะทำให้ราคาอ้อยอยู่ในระดับที่ดี แต่ก็ไม่ควรให้มากจนเกินพอดี เพราะอาจจะทำให้น้ำตาลล้นตลาดและต้องขอส่งออกอีก
ความผกผันของราคาอ้อยและน้ำตาลดูเหมือนจะเป็นเรื่อง ที่หลีกเลี่ยงได้ยาก การรักษาดุลยภาพของ 2 อุตสาหกรรมที่เกี่ยว เนื่องกันนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญจำเป็นที่ต้องคำนึงถึงทั้งในส่วนของเกษตรกร ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้บริโภคด้วย
ก่อนที่กรณีดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์อ้อยหวาน-น้ำตาลขมในอนาคต
|
|
|
|
|