|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผลประกอบการกลุ่มบริษัทสามารถและบริษัทในเครือไตรมาสสองมีรายได้เป็นที่น่าพึงพอใจของผู้บริหาร รายได้ 4,255 ล้านบาท รายได้รวม 8,869 ล้านบาท ทำให้คาดหวังไว้ว่าในสิ้นปีนี้รายได้รวมจะเป็นไปตามเป้าคือ 2 หมื่นล้านบาท และจะเป็นการก้าวกระโดดอีกครั้ง
สิ่งที่วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีความปรารถนาว่ากลุ่มสามารถน่าจะสร้างรายได้มากกว่า 2 หมื่นล้านบาท ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพราะในอดีตโดยเฉพาะปี 2549 สร้างรายได้กว่า 3 หมื่นล้านบาท
รายได้ดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลายประการจากทั้งผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะผลกระทบการเมืองทำให้โครงการลดน้อยลง
แต่ครึ่งปีหลัง ปี 2553 วัฒน์ชัยมั่นใจว่าจะเป็นปีแห่งการ เปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง จนส่งผลให้รายได้รวมเติบโตแบบก้าวกระโดด
ธุรกิจหลักที่จะสร้างรายได้หลักให้กับกลุ่มธุรกิจมี 3 กลุ่ม คือ บริษัทสามารถเทลคอม จำกัด ที่คาดว่าจะมีโครงการใหม่ทำให้มีมูลค่าเพิ่มอีก 8 พันล้านบาท จากการให้บริการติดตั้งเทคโนโลยีสื่อสารให้กับหน่วยงานรัฐ เช่น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือติดตั้งระบบออโตเมติกส์มิเตอร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โครงการ ส่วนใหญ่ที่ได้มาเป็นไปในรูปแบบเทิร์นคีย์ ทำให้ในปัจจุบันบริษัทมีโครงการอยู่ในมือทั้งหมด 15,000 ล้านบาท
แต่ธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กลุ่มสามารถเป็นอันดับหนึ่งตลอด หลายปีที่ผ่านมา คือธุรกิจจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไอโมบาย ไตรมาสที่ 2 มีรายได้ 2,048 ล้านบาท แต่บริษัทได้ปรับแผนธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายและเทคโนโลยี โดยกลุ่มเป้าหมายบริษัทจะเน้นลูกค้าระดับกลางมากขึ้น จากเดิมที่ให้ความสำคัญลูกค้าระดับ ล่าง เพราะเห็นว่าแม้จะสามารถจำหน่ายสินค้าได้ปริมาณมาก แต่รายได้และกำไรกลับไม่คุ้มค่า
นอกจากนี้บริษัทจะใช้จังหวะและโอกาสที่ประเทศไทยกำลัง พัฒนาระบบโทรศัพท์เข้าสู่ยุค 3G บริษัทรับมือด้วยการนำโทรศัพท์ รุ่นใหม่รองรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และ 3G ทำให้บริษัทคาด ว่าจะมียอดขายจากโทรศัพท์มือถือรวม 4 ล้านเครื่อง
สิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ให้เห็นยุทธวิธีการทำตลาด 3G ของกลุ่มสามารถคือ การบริการโทรศัพท์ในรูปแบบเอ็มวีเอ็นโอ (MVNO: Mobile Virtual Network Operator) จำหน่ายโทรศัพท์มือถือ 3G ให้กับบริษัท ทศท เมื่อปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ 85,000 ราย มีลูกค้ามากที่สุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่น
ทำให้บริษัทคาดหวังไว้ว่าจะมีลูกค้าเพิ่มเป็น 1 แสนรายและ จากแนวโน้มลูกค้าที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้บริษัทมีแผนจะขยายให้บริการเต็มรูปแบบด้วยการลงทุนเพิ่ม เช่น ระบบจัดเก็บค่าบริการ (บิลลิ่ง) และระบบคอลเซ็นเตอร์ต้องใช้เงินลงทุนอีก 1 พันล้านบาท
แผนธุรกิจของกลุ่มสามารถหากประเมินโดยรวมยังไปได้ดี แต่ก็มีกิจการที่ไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น ธุรกิจจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ไอโมบาย บริษัทได้ปิดกิจการในประเทศเวียดนามไปหนึ่งแห่ง ตั้งแต่ ปลายปี 2552 แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะเปิดมาเป็นเวลา 3-4 ปี แล้วก็ตาม ทั้งนี้เป็นเพราะเกิดการทุจริต
ในขณะที่อินโดนีเซียได้ลดจำนวนพนักงานลง เพราะปัญหา เศรษฐกิจที่ผ่านมาค่าเงินผันผวน จึงได้มอบหมายให้ตัวแทนจำหน่าย เป็นผู้ดูแล ส่วนมาเลเซียยังดำเนินกิจการต่อไป
การทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือในต่างประเทศบางครั้งก็ยากเกินกว่าที่จะควบคุมได้ แต่สำหรับเวทีภายในประเทศบริษัทสามารถ ยังแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ
โดยเฉพาะได้แสดงความสนใจเข้าร่วมประมูล 3G ด้วยการ ร่วมมือกับพันธมิตร บริษัท เอเชียต้า (AXIATA) ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันถือหุ้นของบริษัทอยู่ 24%
แต่โอกาสนี้จะเหมาะกับบริษัทสามารถฯ หรือไม่ บริษัทบอกว่าจะรู้คำตอบเร็วๆ นี้
|
|
|
|
|