Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2536
อารีย์ ชุ้นฟุ้ง ยังหายใจเป็นน้ำตาล             
 


   
search resources

กลุ่มวังขนาย
Agriculture
อารีย์ ชุ้นฟุ้ง




"คุณอารีย์เป็นคนเก่ง…" คนในวงการน้ำตาลหลายคนยอมรับกับ "ผู้จัดการ" เมื่อถามถึงบุคคลที่ชื่อ อารีย์ ชุ้นฟุ้ง กรรมการผู้จัดการบริษัทน้ำตาลวังขนาย ยักษ์ใหญ่วงการอุตสาหกรรมน้ำตาล เพราะในขณะที่นักอุตสาหกรรมน้ำตาลต่างก็ไม่มีกิจกรรมเนื่องเพราะภาวะการผลิตน้ำตาลตกต่ำ แต่กลุ่มวังขนาย ยังมีการขยายงานสม่ำเสมอ

แต่ในประโยคต่อมาของหลาย ๆ คนก็คือ ความเป็นคนเก่งกับคนดี เป็นคนละเรื่องกัน !!!

เพราะจนวันนี้ ประวัติของอารีย์ยังเป็นปริศนาให้งงกันเล่น

มีหลายคนจำได้เพียงว่า ครั้งหนึ่งในวิถีชีวิต อารีย์ ชุ้นฟุ้ง เคยเป็นหัวหน้ายามอยู่ที่บริษัทสยามคราฟท์ ในจังหวัดราชบุรี ที่เป็นบริษัทผู้ผลิตกระดาษรายใหญ่ของเครือซิเมนต์ไทยในวันนี้ ก่อนที่จะผันตัวเองมาทำธุรกิจด้านน้ำตาล

อารีย์ไม่ปฏิเสธ แต่ไม่เอ่ยถึงเรื่องดังกล่าวมากนักเมื่อถูกถามถึงประวัติ เขามักจะปฏิเสธที่จะเอ่ยถึง เพียงแต่จะบอกเพียงสั้น ๆ ว่า เขาเกิดที่บ้านโป่ง-ราชบุรี ครอบครัวมีอาชีพทางการเกษตรกรเรียนหนังสือมาน้อย ประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาจากการเรียนรู้โดยหนังสือและลงมือทำ ขณะที่ย้ำว่า การเข้าสู่ธุรกิจน้ำตาลของเขานั้น เป็นเรื่องที่เขามีแผนตั้งแต่ยังทำไร่อ้อย ไม่ได้เข้าสู่ธุรกิจนี้ด้วยความบังเอิญ

และอารีย์พอใจที่จะเล่าถึงอนาคตมากกว่าอดีต

"ผมมีแผนที่จะขยายงานในเรื่องน้ำตาล" อารีย์เล่าให้ฟังพร้อมทั้งขยายถึงแผนงานว่า แผนของกลุ่มวังขนายในอนาคตจะอยู่ในภาคอีสาน ที่เขาเริ่มแผนนิคมอุตสาหกรรมไว้ที่นครราชสีมาแล้ว

แผนงานดังกล่าวนั้นเชื่อว่า จะเป็นฐานในอนาคตของกลุ่มวังขนาย ในธุรกิจที่กล่าวกันว่า เป็น SUNSET BUSINESS ในประเทศในวันนี้

แม้จะเป็นธุรกิจที่จะตกดินในวันสองวันนี้ แต่วังขนายไม่มีวันหยุด

"วังขนายยังทำธุรกิจน้ำตาล เพราะช่องว่างของตลาดน้ำตาลยังมีมาก อย่างช่วงนี้ ออร์เดอร์มาก่อนที่จะมีการผลิต" กรรมการผู้จัดการวังขนายกล่าว พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงการย้ายฐานไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า เป็นเพราะภูมิอากาศของอีสานเหมาะสมที่จะปลูกพืชทนแล้งอย่างอ้อยที่จะป้อนโรงงานน้ำตาลในเครือวังขนาย

โรงงานแรกของวังขนายในการขยับตัวไปยังอุตสาหกรรมน้ำตาลในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โรงงานบริษัทน้ำตาลราชสีมา มีทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท จะเริ่มทำการผลิตในฤดูการผลิตปี 2537 ด้วยกำลังการผลิต 40,000 เมตริกตันอ้อย/วัน

ปัญหาของวังขนายในวันนี้ไม่ใช่เรื่องธุรกิจ แต่เป็นเรื่องหนี้สินที่อาจจะมีปัญหาต่อการขยายงาน

โดยเฉพาะปัญหาของหนี้ที่วังขนายมีกับธนาคารทหารไทย

อารีย์เล่าให้ฟังว่า หนี้ของกลุ่มวังขนายมีประมาณ 10,000 ล้านบาท เป็นส่วนของธนาคารทหารไทยมากที่สุดประมาณ 5,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นธนาคารอื่น ๆ เช่น ธนาคารกรุงเทพ

แต่ดูเหมือนว่า ธนาคารทหารไทยเองก็มองหาลู่ทางที่จะแก้ปัญหาหนี้ตัวนี้อยู่ จึงมีการส่งกรรมการจากแบงก์เข้าไปเป็นกรรมการในวังขนายเพื่อช่วยแก้ปัญหา

"เรื่องวังขนายนี่เป็นเรื่องหนักใจของคนในแบงก์ทหารไทยมาก คุณทนงเอง (ดร.ทะนง พิทยะ - กรรมการผู้จัดการใหญ่ แบงก์ทหารไทย) ตอนที่คุณประยุทธ์ (จารุมณี - ประธานแบงก์ทหารไทย) ทาบทามมารับตำแหน่งก็มีเงื่อนไขว่า เรื่องนี้จะต้องเป็นเรื่องของคณะกรรมการ ไม่ใช่เรื่องของกรรมการผู้จัดการใหญ่" คนในวงการเล่าให้ฟัง

ว่ากันว่า แบงก์ชาติเองก็หนักใจเรื่องหนี้วังขนาย แต่ไม่ถึงขั้นมองเป็นหนี้เสีย หากแต่คนในแบงก์ชาติยังงง ๆ กันว่า ทำไมแบงก์ทหารไทยถึงปล่อยสินเชื่อให้กับวังขนายมากทั้ง ๆ ที่แบงก์ทหารไทยได้ชื่อว่า เป็นแบงก์ที่มีการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกหนี้อย่างรอบคอบมากที่สุดแบงก์หนึ่ง

อารีย์ ยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ว่า ความสัมพันธ์นั้นเริ่มมาจากตัวบุคคล คือ ประยูร จินดาประดิษฐ์ ที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยประยูรยังนั่งทำงานอยู่ที่แบงก์ไทยพาณิชย์ เมื่อประยูรย้ายมาที่ทหารไทย วังขนายก็ย้ายการกู้เงินมาใช้ที่ธนาคารทหารไทย

แต่นั่นคือ เรื่องของวังขนาย ไม่ใช่เรื่องของกลุ่มวังขนาย !!!

แผนต่อจากนี้ของกลุ่มวังขนายก็คือ การออกไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งเป้าหมายในตอนนี้ก็คือ การลงทุนในสาธารณรัฐประชาชนลาวและเวียดนาม

อารีย์เปิดเผยถึงการเข้าไปลงทุนในประเทศเวียดนามว่า วังขนายเข้าไปด้วยการร่วมทุนกับคู่ค้าจากญี่ปุ่น คือ กลุ่มนิโช-อิวาย เพื่อตั้งโรงงานผลิตน้ำตาล ขณะที่ในสาธารณรัฐประชาชนลาวนั้น การร่วมทุนกับอนุสรณ์ วงศ์วรรณ ก็มีการเริ่มทำการผลิตน้ำตาลแล้ว

เป็นเครื่องชี้ว่า กลุ่มวังขนายไม่ทิ้งอุตสาหกรรมน้ำตาลแน่นอน

แม้วันนี้ของวังขนายจะมีเครือข่ายมากมายก็ตาม

อารีย์ ยอมรับว่า ธุรกิจของเขาในวันนี้มีมากมายในหลาย ๆ สาขา มีจำนวนบริษัทอยู่ประมาณ 40 บริษัท ซึ่ง "ผู้จัดการ" ศึกษารายชื่อและธุรกิจแล้วพบว่า เครือข่ายของอารีย์ในปัจจุบัน นอกเหนือจากน้ำตาลแล้ว ก็มีอีกหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจรถยนต์ ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งการตั้งบริษัทอิมปอร์ตเอ็กซ์ปอร์ตด้วย

"หลายบริษัทไม่เกี่ยวกับวังขนาย วังขนายเป็นเพียงบริษัทแม่เท่านั้น" อารีย์บอก

แต่อารีย์ยังฝันที่จะเป็นเจ้าพ่อในวงการอุตสาหกรรมเกษตร โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำตาลที่เขาวาดฝันถึงขั้นการสร้างระบบสหกรณ์ขึ้นในภาคอีสาน เพื่อรองรับโครงการขยายฐานของกลุ่มวังขนายไปจากภาคตะวันตก

ขณะเดียวกัน ในส่วนของอุตสาหกรรมที่อีสานนั้น อารีย์ยังวาดฝันที่จะมีการตั้งโรงงานผลิตเยื่อกระดาษจากชานอ้อย โรงงาผนลิตปาร์ติเกิ้ลจากต้นอ้อย หลังจากที่มีการผลิตน้ำตาลแล้ว

แผนงานนิคมอุตสาหกรรมรวมที่นครราชสีมาของเขา จึงเป็นแผนรองรับงานต่าง ๆ ในสมองของเขานั่นเอง

วันนี้ของวังขนายจึงเป็นวันที่น่าศึกษาต่อไป กับการ DIVERSIFY ไปยังหลาย ๆ ธุรกิจทั้ง ๆ ที่ตัวของวังขนายเองมีหนี้สินมาก

คนในอุตสาหกรรมน้ำตาล บอกว่า เรื่องของอารีย์เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและเหมาะยิ่งที่บรรดาโครงการเอ็มบีเอสถาบันต่าง ๆ ควรนำมาเป็นกรณีศึกษาให้นักศึกษาเรียนรู้

กรณีศึกษาของเจ้าพ่อวงการน้ำตาลที่ชื่อ อารีย์ จึงอาจจะต้องมีภาคต่อไป !!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us