Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2530
เชิดชู โสภณพนิช ผู้เดินตามรอย "ชิน" แต่คนละเส้นทางกับ "ชาตรี"             
 


   
search resources

เชิดชู โสภณพนิช
ชาตรี โสภณพนิช
ชิน โสภณพนิช
Stock Exchange




เชิดชู เป็นลูกชายคนสุดท้องของเจ้าสัวชิน โสภณพนิช ครั้งหนึ่งเชิดชูเคยประสบเคราะห์กรรมแทบเอาตัวไม่รอด แต่เมื่อฟื้นคืนสติกลับบอกว่า

เขานั้นเฉลียวฉลาดมากขึ้น และตั้งใจจะตามรอยผู้พ่อให้จงได้

ในวันฟ้าใสใต้เดือนพฤษภาคมเสียงสวดขานรับการเป็นภิกษุสงฆ์ที่ดังทุ้มกังวานออกมาจากพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาสบ่ายวันนั้น ช่างมีมนต์ขลังทำผู้คนซึ่งชุมนุมกัน ณ ที่นั้นล้วนเกิดศรัทธาร่วมไปกับความปรารถนาของหัวใจคน ๆ หนึ่งที่มาต่อพระบวรพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

เป็นงานบวชที่จัดขึ้นอย่างไม่มีพิธีรีตรองและสิ้นเปลืองอะไรมากนักของชัย โสภณพณิชกรรมการผู้จัดการบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด 5 ของชิน โสภณพนิช อัครมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของเมืองไทย !!

งานเดียวกันตรงเชิงบันไดพระอุโบสถ ชายหนุ่มวัยกลางคนในชุดลำรองแขนสั้นสีขาวลายเทายาวยาวสวมแว่นตาหนาเตอะนั่งทอดหุ่ยอย่างคนอารมณ์ดี "ผมอยากเข้าไปฟังพระสวด แต่นั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิไม่ได้เพราะเจ็บสะโพก" เข้าตอบคำถามพลางอัดควันบุรี่ท้าทายความแข็งแกรงของปลอดอย่างรุนแรงหลายครั้งตติดต่อกัน

จากบุคลิกท่าทางดูเปิ้น ๆ เหมือนคนไม่รู้ร้อนรู้หนาวต่อเหตุการณ์ใด ๆ เชื่อเหลือเกินว่าถ้าไม่รู้จักหรือคุ้นเคยกันมาบ้าง ความรู้สึกแรกที่ต้องยัดยืดให้กับชายคนนี้อาจจะมองว่าเขาเป็นคน "บวม ๆ ที่พบกับความผิดหวังอะไรบางอย่างในชีวิต "

แต่ถ้าได้เข้าไปใกล้ชิดพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนถึงความสุขุมลุ่มลึกต่าง ๆ แม้แต่กลองไม้ขีดไฟที่ใช้ซึ่งประทับตรา "คลับเมด" สถานพักผ่อนตากอากาศที่สมบูรณ์ของโลก กับนาฬิกาโรแลกซ์เรือนทองหน้าปัดส่งประกายแวววาวที่สวมใส่อยู่ ย่อมบ่งถึงผู้มีอันจะกินและมีรสนิยมวิไลไม่น้อยเลยของคน ๆ หนึ่ง

"ลมเย็นดีนะ เงียบสงบสุขจัง ผมชอบอะไร ๆ ที่มันเรียบง่ายอย่างนี้" เขาพูดด้วยน้ำเสียงที่ออกจะรัว ๆ อยู่สักนิดพร้อมกับกรวดสายตาชื่นชมความอลังการ์ของงาน จิตรกรรมไทยที่ระดาดาษทั่วทุกซอกทุกมุมพระอุโบสถหลังงามอย่างให้สาแก่ใจตนเองและ "ผู้จัดการ" ได้รับรู้จากวันนั้นอีกว่า

เขาเป็นคนที่รักและภาคภูมิใจในงานศิลปกรรมแบบไทย ๆ ที่คงความหนักแน่นสวยงามละเอียดลึกซึ้งในตัวเองอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว "ผู้จัดการ" พบว่าภาพ เขียนสีน้ำมานที่ประดับเด่นอยู่บนฝาผนังห้องทำงานของเขาที่อาคารใหญ่ริมถนนสีลมนั้น เป็นภาพเขียน ซึ่งมีอายุนานกว่าครึ่งทศวรรษและภาพเขียนนี้เขาสืบเสาะหามาด้วยตนเองเสียด้วย

"เคยคิดว่าถ้ามีเวลาอยากจะค้นภาพเขียนดี ๆ อย่างนี้อีก " เขาเปิดเผยความตั้งใจบางอย่างที่อยากจะกระเบียดกระเสียดภาระหน้าที่การงานที่แสยจะสับสนวุ้นวายในแต่ละวันออกไปพ้นจากสิ่งเหล่านี้

เขาคนนี้ - เชิดชู โสภณพนิช ลูกชายคนสุดท้องหัวแก้วหัวแหวนของชิน โสภณพนิช ที่ได้รับการยอมรับและกล่าวขวัญอย่างเงียบ ๆ ว่า เป็นนักธุรกิจที่มีสตริปัญหาเฉลียวฉลาดมากที่สุด เมื่อเทียบกับวัย 40 กว่า ๆ เท่านั้นเอง และยังเป็น " โสภณพนิช " คนเดียวเท่านั้นเองที่ใคร ๆ ก็บอกว่าพิมพ์ประพายละม้ายคล้ายคลึงกับเจ้าสัวชินแทบทุกระเบียบนิ้ว ไม่ว่าจะเป็นบุคลิก ! กระทั้งความสามารถในการทำงาน

เชิดชูเองเคยปรารถนาว่า "ใครในโสภณพนิชจะเป็นอย่างไรก็ช่าง เขาไม่ชอบอะไรที่เป็นครอบครัวของเพียงเดินตามรอยเท้าพ่อเท่านั้น "

ในเมื่อรอยเท้าพ่อประทับความยิ่งใหญ่ไว้ในประวัติศาสตร์ธุรกิจเหลือคณานับแล้วรอยเท้าของเชิดชูกำลังจะมาถึงในวัย 40 ปี ที่เป็นจุดเริ่มต้นความรุ้งโรจน์ล่ะจะเป็นอย่างไรกัน!!! ??

ประมาณเดือนสิงหาคม ปี 2521 หนังสือพิมพ์ทุกฉบับตีพิมพ์ลูกชายคนโปรดของอัครมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของเมืองไทย อุบัติเหตุถูกรถชนอาการเป็นตายเท่ากันอย่างครึกโครม และลือลั่นมากไปอีกเมื่อความรู้สึกแรกของผู้ป่วยที่พื้นขึ้นมา เขาพร้ำถามใคร ๆ ว่า…

"หุ้น..หุ้น..หุ้นเป็นเป็นยังบ้าง " จากนั้นก็แน่นิ่งไปกว่า 2 อาทิตย์ คำถามแรกของเขาที่วูบวาบนั้นจะจริงหรือเท็จแค่ไหนยังไม่อาจยืนยันได้ กระทั้งเจ้าตัวเองยังปฏิเสธว่าไม่ได้พูดอย่างแน่ ทว่าคนที่อยู่ในเหตุการณ์หลายคนยืนยันว่า ผู้ป่วยละเมอถามถึงเรื่องหุ้นจริง ๆ!!!!

ช่วงนั้นตลาดหุ้นกำลังบูมอย่างสนั่นหวั่นไหว โดยเฉพาะหุ้นปูนซิเมนต์จ่ายเงินปันผลอย่างงดงาม ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ได้เชื่อว่า เป็นนักเล่นหุ้นมือฉมังและเขานี้แหละที่เป็นผู้เสนอให้แบงก์กรุงเทพเข้าไปกรวดซื้อหู้นปูน ฯ เข้ามาไว้หลายแสนหุ้น ประจวบเหมาะช่วงนั้นใคร ๆ ต่างก็ติดตามหุ้นปูนฯอย่างใกล้ชิด

เป็นไปได้ไหมว่าคนที่ซื้อหุ้นเอาไว้มากมายอย่างเขาและแบงก์กรุงเทพ จะต้องลั่นไกความรู้สึกถามถึงความเป็นไปในเรื่องหุ้นไม่ว่าสถานการณ์ของตัวเองในขนาดนั้นจะเป็นอย่างไรก็ตาม เรื่องนี้นักจริตวิทยาให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ" ว่า ความรู้สึกฝังใจนี้เป็นไปได้ คล้ายกับเป็นความหวังกังวลแสดงออกมาโดยที่เจ้าตัวอาจไม่รู้เรื่องในขนาดที่ตคัวเองกำลังป่วยไข่อยู่

เอาเถอะถึงอย่างไรก็ตาม! สิ่งที่ปรากฏตามมารภายหลังก็คือว่า แบงก์กรุงเทพฟันกำไรจากการซื้อขายหุ้นปูนซิเมนต์ในเที่ยวนั้นอย่างบานเบอะ และทำให้ใครทั้งหลายต่างรู้จักและติดตามชื่อ "เชิดชู โสภณพนิช " ทายาทคนสุดท้องของตระกูลที่เป็นต้นความคิดเรื่องนี้อย่างขะมักเขม้น

"เขามีแววเหมือนพ่อ ผมดูว่าเขาเก่งมากเลยทีเดียว อาจจะเก่งกว่าทุกคนในตระกูลเกี่ยวกับเรื่องเล่นหุ้นก็เป็นได้ คิดดูเอาว่าเขาเข้ามาบริหารงาน บงล.กรุงเทพธนาทรไม่ทันเท่าไร อายุก็สามสิบกว่า ๆ ทว่าสามารถทำให้โบรคเกอร์รายนี้ผงาดขึ้นมาอยู่ในระดับ 1 ใน 10 ได้อย่างสง่าผ่าเผย" โบรคเกอร์รายหนึ่งกว่ากล่าวถึงเชิดชู ย้อนหลังไปเมื่อเหตุการณ์ในปี 2521

เชิดชู เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2489 เป็นบุตรคนสุดท้องของชินกับบุญศรี สำเร็จ การศึกษาชั้นประถมต้นที่เซนต์คาเบรียลแล้วไปเรียนต่อระดับไฮสคูลที่มิววิลด็ ซอมเมอเซท ประเทศอังกฤษ และสำเร็จปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยลอดดอนที่ทนี้ทำให้เขากลายเป็นคนที่มีเพื่อนฝูงที่เป็นนักเล่นหุ้นระดับโลกหลายคนในปัจจุบัน

เชิดชูเริ่มต้นชีวิตการทำงานเฉกแรกเช่นเดียวกับชิน ผิดกับลูกคนอื่นที่เข้าทำงานบริษัทชินวางพื้นฐานไว้ให้หมดแล้ว ต่างกันที่ว่าเขานึกสนุกกับการเป็นข้าราชการมากกว่าเป็นลูกจ้างเอกชน จึงได้สมัครสอบเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วก็กลายเป็นคนนอกคนเดียวในรุ้นนั้นที่ได้รับเลือกให้เข้าทำงาน คนอื่น ๆ เป็นนักเรียนทุนของกระทรวงการคลั่งทั้งสิ้น

"คุณพ่อไม่สู้พอใจนักที่เห็นไปสมัครสอบ แต่ท่านก็ไม่บังคับ ผมบอกไปว่าการเข้าไปเรียนรู้และทำความรู้จักกับคนกับระบบราชการอาจจตะช่วยกิจการของตัวเองได้มากในวันข้างหน้า " เขากล่าวกับ"ผู้จัดการ"

ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เชิดชู ได้มีโอกาศร่วมงานกับอาจารย์ ป๋วย อึงภากรณ์ สมหมาย ฮุนตระกูล กับอาจารย์ป๋วยเขายอมรับว่า ได้รับความรู้ในการทำงานอย่างมากมาย เป็นผู้ใหญ่ที่เขานับถือโดยไม่ต้องตะขิดตะขวงใจ 4 ปีที่แบงก์ชาตินอกจากประสบการณ์ ความสนุกสนานในการทำวานเชิดชู ยังได้ผู้พันกับยังเติร์กแบงก์ชาติในยุคปัจจุบันอีกหลายคนไม่ว่าจะเป็นเอกมล คีรีวัฒน์

ความผันแปรของระบบราชการกับความอยากรู้อยากทำในสิ่งที่ชอบทำทำให้เศรษฐกร ฝ่ายปริวรรตเงินตราต่างประเทศ (FOREIGN REMITTANCE ) อย่างเขาต้องตัดสินใจลาออกจากราชการหันเหชีวิตเข้าสู่วงการธุรกิจของครอบครัวอย่างเต็มตัวเมื่อปี 2516

"มันอึดอัดนะ มีขั้นตอนมากเกินไปกระมัง ก็รู้ว่าถ้าอยู่ไปแล้วจะทำที่ตัวเองชอบทำไม่ได้ก็อย่าทำดีกว่า " เขาย้อนความหลังสุดท้ายของการรับราชการแบงก์ชาติให้ฟัง

ก้าวแรกของธุรกิจของตระกูล เชิดชู ถูกส่งตัวไปเป็นผู้จัดการธนาคารกรุงเทพสาขาฮ่องกงในปีเดียวกันนั้นเอง ที่นั้นเขามีโอกาสได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับอู่เข่ง แซ่ตั้ง หรือ โรบิน ชาน หรือ ระบิล โสภณพนิช พี่ชายคนโตต่างมารดา ความสัมพันธ์ของคู่น้องคู่นี้แนบสนิทกว่าทุก ๆ คน เชิดชูเองมักกล่าวยกย่อระบิลโดยปราศจากช่องวางในหัวใจ "พี่เขาสอนผมมาก" เขาพูดกับ"ผู้จัดการ" สั้น ๆ เมื่อคุยถึงระบิล โสภณพนิช

แหล่งข่าวกล่าวในธนาคารกรุงเทพตั้งข้อสังเกต " ผู้จัดการ" ว่า ตามที่มีการแต่งตั้งระบิล โสภณพนิช เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ท่ส่อให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบางอย่างของธนาคารกรุงเทพนั้น นอกจากจะต้องจับตาบทบาทของระบิลแล้ว อีกคนหนึ่งที่ควรมองไม่น้อยก็เป็นเชิดชูคนนี้นั้นแหละ

"ระบิลเขาเชื่อถือฝีกมือน้องคนเล็กมาก อีกอย่างสองคนนี้ยังไปมาหาสู่กันเป็นประจำ เชิดชูเองเขามีธุรกิจเกี่ยวกับหุ้นในฮ่องกงมากและช่วยบริหารเงินให้พี่ชายด้วย ครั้งหนึ่งเชิดชูเคยลาออกจากการเป็นกรรมการแบงก์ไปแล้วก็จริง แต่เมื่อโรบิลกลับมาไม่แน่เขาอาจจะกลับมาอีกครั้งก็ได้ !

กล่าวกันว่าเป็นเหตุผลใหญ่ที่ชินส่งลูกชายคนเล็กไปทำงานที่ฮ่องกง เป็นเพราะต้องการฝึกปรือวิทยายุทธการเล่นหุ้นที่เป็น "หนึ่ง" ให้กับเขา เพราะที่ฮ่องกงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งชุมนุมมือเซียนเรื่องหุ้นจากทั่วทุกมุมโลก สองปีในฮ่องกงเชิดชูยอมรับว่า "ผมได้เห็นกลเม็ดการเล่นหุ้นอย่างมากมาย"

ชินค้าทองคำเคยพลาดพลั้งอย่างไร ? ก้าวแรกสู่วงการหุ้นของเชิดชูก็เจ็บไม่น้อยไปกว่ากัน!!!

เชิดชูลงไปซื้อหุ้นในตลาดหุ้นของฮ่องกงวันแรกที่ลงเล่นราคาหุ้นราคาหุ้นบางตัวลดลงเหลือแค่ 5-6% ของราคาที่เขาซื้อไว้ 10% และต่อมาราคาหุ้นก็พุ่งกับขึ้นมาทว่ามันขึ้นมาไม่ถึงราคาที่ซื้อ ทำให้ต้องประสบกับการขาดทุนไปไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว "ผมไม่ปลงนะ ถ้าปลงก็เลิกยุ้งเรื่องหุ้นแล้ว มันกับให้ข้อคิดกับเราว่ารักจะเป็นนักเลงหุ้นที่เก่งอย่าได้ไปตามชาวบ้าน ต้องศึกษาข้อมูลทุกด้านให้ละเอียด "

"พ่อเคยเจ็บยิ่งกว่านี้ เคยขาดทุนมาไม่รู้กี่มากน้อย เรายังดีที่ฐานแน่นพอควรผมเลยตั้งใจไว้ว่าจะเรียนรู้กลวิธีเรื่องหุ้นให้ถึงที่สุด " เขากล่าวสรุปถึงวิถีชีวิตที่กลายมาเป็นคนค้าเงิน

กลับจากฮ่องกงเข้ามาเป็นกรรมการแบงก์กรุงเทพ ได้ไม่ทันเท่าไหร่ก็ขอลาออกให้พี่ชาย (ชาญ) เป็นแทนด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่าแบงก์กรุงเทพเป็นองกรใหญ่จนเกินไป ขณะที่ตัวเองอยากทำงานที่มีพนักงานซึ่งมีความสามารถเพียง 20-30 คนเท่านั้นพอ ดังนั้นจึงมาเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้จักดาร บลง. กรุงเทพธนาทร โบรคเกอร์อีกรายหนึ่งในเครือแบงก์กรุงเทพเมื่อปี 2519

กรุงเทพธนาทร อ่อนวัยนั้นจริงอยู่แต่ด้วยมานสมองหลักแหลมและเฉียบลึกของเชิดชูและทีมงานที่ได้ชื่อว่าสิงห์สนามในตลาดหุ้นอาทีเช่น สุรินทร์ เจริญชนาพร โยธินอารี ร่วมกันปลุกปั้นให้บริษัทโตขึ้นอย่างน่าเกรงขาม ทรัพย์สินในปี 2519 ที่มีเพียง 700 กว่าล้านคล้อยหลัง 10 ปีกลับสูงขึ้นถึง 1,402,215,086 บาท (เล่นเอาสิ้นเอเซียกับร่วมเสริมกิจ) สองบริษัทผู้พี่อดชำเลืองตาด้วยความฉงนงงงวยไม่ได้

"แปลกแยกกันนะชาจรีเขาเล่นหุ้นแบบ TECHNICAL ANALYSIS คือเก็งกำไรขึ้นลงตามยตลาดเล่นแบบฉาบฉวยอย่างนี้มองรระยะสั้นอาจจะเหนือกว่า ส่วนเชิดชูเขาผสมผสานกันทั้ง FENDAMENTAL ANALYSIS ที่ต้องวิเคราะห์ตามมูลฐานโดยรอบด้านกับ TECHNICAL ANALYSIS เขาเล่นแบบลงทุนระยะยาวมากกว่าเก็งกำไรซึ่งเป็นการเล่นที่พัฒนาในตลาดโลก ถ้ามองในพื้นฐานนี้เชิดชูอาจจะเด่นกว่าในอนาคต " มือหุ้นชื่อดังรายหนึ่งกว่า

และก็กล่าวกันอีกว่าถึงแม้แบงก์กรุงเทพจะมีเซียนหุ้นอยู่ในสังกัดเป็นกุรุส ๆ ทว่าถึงคราวใช้งานเกี่ยวกับเคราะห์เรื่องสำคัญ ๆ ผู้ใหญ่ในแบงก์ยังให้เกียรติเชิดชูเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยอย่างจริงใจ

"เชิดชูเขาแทบจะไม่แตกต่างเจ้าสัวชินเลย เก่งมากในเรื่องหุ้น เสียอย่างเดียวเขาเงียบไปหน่อย " ผู้ใหญ่แบงก์คนหนึ่งกล่าว

ล่าสุดเชิดชูสำแดงความเก่งกาจออกมาให้เห็นอีกแล้ว เมื่อหุ้นของเมตัลบอกซ์ที่เขาซื้อเก็บไว้เมื่อ 3 ปีก่อนในราคาไม่กี่สิบบาท เพราะช่วงนั้นเมตัลบอกซ์ค่อนข้างระส่ำระสายพอสมควร ทว่าหุ้นของเมตัลบอกซ์กับเป็นหุ้นที่บูมมากในธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นหุ้นอีกตัวหนึ่งที่กลายเป็นจุดสนใจของนักเลงหุ้น

งานนี้เชิดชูฟันกำไรมากกว่าที่เคยซื้อมาร่วม 30 เท่าตัวเลยทีเดียว !!!

ลูกเล่นในตลาดหุ้นของกรุงเทพธนาทรยุคเชิดชูแพรวพราวพอตัวเลยทีเดียวที่นี่เคยถูกกล่าวขานกันมากกว่าเป็นแหล่งที่ทำอ๊อบชั้นสูงแห่งหนึ่ง จนตลาดหลักทรัพย์ต้องจับตาอย่างไม่คลาดครา เรื่องอ๊อบชั้นนี้ถือเป็นการนอกเกมอย่างหนึ่งเรื่องเชิดชูให้การปฏิเสธว่า "บริษัทและตัวเขาเองไม่เคยกระทำ "

มารวย ผดุงสิทธิ์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์คนปัจจุบันกล่าวถึงโบรคเกอร์ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งแต่ละรายขึ้นชื่อลือชาในความร้ายกาจ และบางรายก็กะล่อนกลมกล่อมจนทำเอาผู้จัดการหลายคนเด้งออกจากเก้าอี้อย่างเจ็บซ้ำน้ำใจมาแล้ว "ผมไม่กลัวความร้ายของโบรคเกอร์ ใครจะมากำแหงว่าเป็นคนเลี้ยงตลบาดหลักทรัพย์ไม่ได้ เราต้องมาร่วมหัวจบท้ายกัน"

ไม่รู้ว่ากรุงเทพธนาทรร่วมอยู่ในขบวนการที่น่าสะพรึงกลัวนั้นหรือเปล่า ? แต่ที่แน่ ๆ คนเล่นหุ้นให้ความเชื่อถือกรุงเทพธนาทรไม่น้อย อย่างที่เรียกว่าเวลากรุงเทพธนาทรไปเคาะกระดานโป๊ก ๆ ที่กระดานไหนคนก็เฮไปที่กระดานนั้น ส่วนใหญ่ไม่ผิหวังด้วยซิ !!!

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นหลักประกันในอนาคตของลูกจ้าง ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่ง บงล. กรุงเทพธนาทร เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ให้บริการเรื่องนี้ (มีด้วยกัน 9 บริษัท) เดิมทีเดียวที่กระทรวงการคลังมีการคัดเลือกตัวผู้บริหารกองทุน แรก ๆ ทำท่าว่า บงล. ธนสยาม จะเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบ เพราะเป็นบริษัทเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงมานาน

ทว่าถึงที่สุดกลับเป็น บงล. กรุงเทพธนาทร ที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้จัดการกองทุนเลี้ยงชีพ งานนี้ชี้ให้เห็นถึงสายสัมพันธ์เก่า ๆ สมัยที่เชิดชูเป็นพนักงานแบงก์ชาติที่ส่งผลตอบแทบกับมาอย่างน่าชื่นใจ และผลของการเป็นผู้จัดการกองทุน ฯ ก็ทำให้บริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจจากหลายบริษัทฯ หลายห้างร้านเป็นผู้แนะนำจัดตั้งกองทุน

ถึงตรงนี้คงหายคลางแคลงใจแล้วว่าผิดไหม ? ที่เชิดชูเสียเวลาส่วนหนึ่งไปกับการรับราชการ !!

ชินเคยพลาดมาครั้งหนึ่งในเกมการเมืองที่หา "ไม้กันหมา" ในยุคที่แบงก์กรุงเทพกำลังเติบโตสุดขีด กระทั้งยุคแบงก์กรุงเทพลำพองกับความมหึมาของตน ชินก็ต้องพลบาดในเรื่องนี้อีก ก็จำกันได้ว่าสมัย 2519 ช่วงนั้นวิกฤติการณ์ทางการเมืองอึมครึมและน่ากลัวมาก ความรู้สึกที่ประเทศไทยจะกลายเป็นโดมิโนพากันหวั่นไหวขายทรัพย์สินเตรียมตัวหนีไปอยู่ต่างประเทศกันจ้าละหวั่น

ระยะนั้นเป็นยุคที่ราคาหุ้นเซ็งสุดขีด การเคลื่อนไหวซื้อขายเงียบหงอยซึมเซาตอนนั้นหุ้นแบงก์กรุงเทพตกลงมาเหลือเพียง 219 บาท ก็แทบจะหาคนมาซื้อแทบไม่ได้แม้แต่คนแบงก์เอง จะมีก็แต่เสรี ทรัพย์เจริญ แห่งราชาเงินทุนที่ต่อมาต้องเป็นขมิ้นกับปูนกับแบงก์กรุงเทพ เท่านั้นที่กว้านซื้อหุ้นเก็บไว้ถึง 300,000 หุ้น จนเป็นผู้ที่ถือหุ้นใหญ่โดยปริยาย

ปรากฏว่าสถานการณ์ทางการเมืองไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด กอปรกับรัฐบาล ได้รับมาตราการภาษีโดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่บริษัทจดทะเบียนโดยเสียในอัตราร้อยละ 35 ทำให้การตื่นตัวลงทุนในตลาดหลักทรัพย์พื้นตัวอย่างรวดเร็ว

ยิ่งได้แรงจากภาระเศรษฐกิจทั่วไปที่เริ่มมาชีวิตชีวามากขึ้นในปี 2520 เยเป็นผลให้สถานการประกอบการของแบงก์กรุงเทพและแบงก์อื่น ๆ ดีตามอย่างทันตาเห็น ราคาซื้อขายหุ้นในตลาดพุ่งสูงขึ้นราวกับหลังมือเป็นหน้ามือ ครั้งนั้นเสรีโกยกำไรจาก การขายหุ้นได้ถึง 60 บาท ต่อหุ้น คำนวณดูเอาว่าเป็นเงินเท่าไร ?

เชิดชูเองก็เริ่มก้าวขึ้นสูงตลาดหุ้นเช่นเดียวกัน มันเป็นความผิดพลาดทั้งของตัวเขาและแบงก์กรุงเทพที่คาดคะเนข่าวสารการเมืองผิดไป จากจุดนั้นเองที่ต้องทำให้เชิดชูสนใจข่าวการเมืองมากขึ้น จนถึงกับทำหนังสือการเมืองเศรษฐกิจชื่อ "จุตรัส "

"มันรเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เขาต้องลงมาสนใจข่าวการเมืองอย่างใกล้ชิดซึ่งก็ไม่มาอะไรดีไปกว่าการทำหนังสือประเภทนี้ขึ้นมา อาศัยความเป็นสื่อมวลชนเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารป้องให้กับการทำธุรกิจ" แหล่งข่าวท่านหนึ่งกล่าวถึงความเป็นคนมองการไกลของเชิดชู ที่ได้พัฒนาบริโภคข่าวสารขึ้นมาอีกระดับคล้ายกับชินสมัยเล่นทองคำจะมีแหล่งข่าวคอยป้อนข้อมูลให้อย่างยุ่บยั่บ และจากการที่ได้มาสัมผัสอาชีพสื่อมวลชน เลยเป็นผลพลอยได้ที่ทำให้เชิดชูเป็นคนแบบกันเองพูดจาเข้ากับใครได้ง่ายกว่าคนอื่น ๆ ใน "โสภณพนิช"

อดีตผู้ร่วมงานที่ "จุตรัส " กล่าวถึงเชิดชูว่า สิ่งที่เขาสนใจมากที่สุดก็คือเรื่องการเมือง ในการประชุมวางแผนงานข่าวเชิดชูจะเน้นเรื่องการเมืองเป็นพิเศษ ไม่ได้พูดถึงเรื่องเศรษฐกิจมากนัก ทั้งที่หนังสือเล่มนี้วางคอนเซปท์หนักไปทางด้านเศรษฐกิจอามจเป็นไปได้ว่าเชิดชูรู้เรื่องเศรษฐกิจดีอยู่แล้วก็เป็นได้

เขากล่าวถึงความสำเร็จของ "จุตรัส" ว่า "เป็นสิ่งที่ผมไม่เคยลืมเลย " !!!

"ผู้จัดการ" ได้เสนอความมุ่งหวังตั้งใจอย่างสูงสุดของชาตรีที่ต้องการเป็นหมายเลขหนึ่งไปแล้วว่า ชาตรีกำลังมองความเป็นไปได้ทางธุรกิจนอกเหนือความมีคุณธรรมน้ำมิตรที่คนรุ้นพ่อได้ยืดถือ ปฏิบัติ ชาตรีกำลังเดินแต้มคูอย่างรอบคอบเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นนักอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์แบบ

เชิดชูเองก็เชื่อมั่นว่า "พี่ชาตรีเขาคงทำได้นะ" !!!!

ส่วนเชิดชูมีรายงานข่าวว่า เขาเองสนใจธุรกิจอุตสาหกรรมไม่น้อยไปกว่าพี่ชาย ทุกวันนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ กับอุตสาหกรรมส่งออกอยู่เงียบ ๆ เช่นกัน ผลประกอบการและการบริหารงานภายในบริษัท ฯ 6 แห่งเหล่านี้ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ เขาพลิกคันปูมต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง

เชิดชูคิดว่าอุตสาหกรรมส่งออกและสิ่งทอของประเทศไทยจะไปได้สวยในอนาคต !!!

เขาพร้อมที่จะเข้าไปซื้อหุ้นบริษัท ฯ เหล่านั้นเก็บไว้ในกำมือ แม้ว่าในบางบริษัท ฯ เขาจะไม่เชื่อมั่นในการบริหารก็เถอะ …

"ผมให้ความสนใจมากแต่ไม่ขอบอกชื่อนะ ว่ามีบริษัทไหนบ้าง ถ้าผมซื้อคิดว่าไม่พลาดแน่นอน" เขาบอกกับ "ผู้จัดการ" สั้น ๆ เมื่อถูกถามถึงเรื่องนี้

"ผมซื้อเพื่อขายต่อเอากำไรเท่านั้น" คำตอบในลำดับถัดมาที่เขาต้องการจะบอก

แต่เชื่อไหม!? นักเล่นหุ้นมือฉมังทั้งในอดีตและปัจจุบันหลายคนบอกว่า เชิดชูคงไม่เล่นหุ้นเพื่อเก็งกำไรอย่างเดียวหลอก? เขาเป็นคนมองไกลที่จะลุงทุนในระยะยาวอีกด้วย อายุ 40 กว่า ๆ คิดหรือว่าเชิดชูจะหยุดตัวเองไว้ที่ตลาดหุ้น !?

เชิดชูมีเพียงแต่จะตามรอยเท้าพ่อ เขาอาจเป็น "โสภณพนิช" ที่มองอะไรไกลกว่าจุดที่เป็นอยู่โดยไม่ให้กระโตกกระตากเลยแม้แต่น้อย เขาบอกว่า "พี่ชาตรีสนใจอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ในฐานะนายแบงก์แต่ผมสนใจแต่ตัวเก่า ๆ ที่เห็นว่ามันไม่ดีและจะต้องทำให้ดีขึ้น"

เชิดชูมีความเชื่อมั่นในตัวเองมาก ขึ้น ช่วงแรก ๆ ที่ก้าวเข้าสู่ตลาดหุ้นดูเป็นคนเงียบขรึม แต่ภายหลังถูกรถชนสลบไปถึง 2 อาทิตย์ ซึ่งหลายคนคิดว่าความทรงจำของเขาเสี่ยมถอยไปมาก ไม่ฉลาดแหลมคมเหมือนที่เคยผ่านมา แต่ถ้าถามถึงข้อนี้เชิดชูจะตอบอย่างอารมณ์ดีว่า …

"ผมว่าผมฉลาดขึ้นเสียอีก "

เชิดชูสูงต่ำไล่เลี่ยกับชิน เขาชอบเล่นกอล์ฟกับแบดมินตัน ทว่าในวัย 40 ยังดูแข็งแรงกระปรี้กระเปร่า ยังมีงานที่ถ้าทำความฉลาดที่เพิ่มขึ้นของเขาอีกมากมายหลายเรื่อง จึงทำให้ไม่สามารถเล่นกีฬาที่ชอบได้อย่างที่เลย ระหว่างพูดคุยกับ "ผู้จัดการ" ที่กินเวลาชั่วโมงเศษ ๆ นั้นไม่น้อยกว่า 35 นาที เชิดชูขอตัวออกไปรับโทรศัพท์ทางทางไกลจากต่างประเทศ

สิ่งที่พูดคุยกันไม่พ้นเรื่องหุ้น .. หุ้น ..และหุ้น..

ฮ่องกงเป็นฐานเล่นหุ้นสำคัญระดับโลก เชิดชูย นั่งบินไปดูเรื่องหุ้นที่นั้นเป็นประจำ และมีข่าวคราวปรากฏเนื่อง ๆ ว่าเขาและโรบิล ชาน กว้านซื้อหุ้นเก็บไว้มากมาย นอกจากนี้นักเล่นหุ้นต่างชาติที่เข้ามาสร้างความคึกคักในตลาดหุ้นบ้านเราส่วนใหญ่ก็มาจากฮ่องกงทั้งสิน คนพวกนี้ว่ากันว่าเชิดชูรู้จักเป็นอย่างดี

กลุ่มลงทุนเหล่านี้นับว่ายิ่งขยายตัวใหญ่ในประเทศไทย ก้าวเดินของพวกเขาน่าให้ความสนใจไม่น้อย!?

นิวยอร์ค ตลาดหุ้นที่นั้นคึกคักมานานแล้ว เพื่อนนักเรียนอังกฤษของเชิดชูเป็นเซียนหุ้นมือฉมังอยู่ที่นั้นก็หลายสิบคน และถ้าพูดถึงดาวโจนส์ทุกคนในตลาดหุ้นก็จะรู้จักดี ในตลาดหุ้นที่นิวยอร์นั้นว่ากันว่าดัชนีราคาหุ้นของดาวโจนส์เป็นที่เชื่อถือของนักเล่นหุ้นกันมาก

และมีเสียงพูดถึงกันมากว่า เชิดชูนั้นมาความสัมพันธ์กับคนกลุ่มดาวโจนส์ไม่น้อยนักเล่นหุ้น ชาวไทยคนหนึ่งที่เคยไปดูเคาะกระดานยังตลาดหุ้นนิวยอร์บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่ามีนักเล่นหุ้นจากประเทศไทยกลุ่มหนึ่งกำลังเป็นที่กล่าวขวัญกันมากในหมุ่นักเล่นหุ้นที่นั้น

นักเล่นหุ้นที่นั้นเป็นใครกัน!! เป็นไปได้ไหม? ที่จะเป็นกลุ่มเชิดชู โสภณพนิช!!!

ก็นั้นนะสิ "ผู้จัดการ" เองก็อยากรู้เช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us