Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์30 สิงหาคม 2553
ลีวายส์ปั้นแบรนด์ใหม่ป้อนเอเชีย             
 


   
search resources

ดีทแฮล์ม (ประเทศไทย), บจก.
Clothings
Levi’s




การวางตำแหน่งทางการตลาดของแบรนด์ลีวายส์ ไว้ในระดับไฮเอนด์ ทำให้ล่าสุดทางผู้บริหารตัดสินใจรุกคืบตลาดเอเชียที่มีอัตราการเติบโตของยอดจำหน่ายในระดับสูง ด้วยการเปิดตัวแบรนด์น้องใหม่โดยเฉพาะในค่ายของลีวายส์เพิ่มขึ้นจากเดิม

ชื่อของซับแบรนด์ หรือแบรนด์ย่อยน้องใหม่ของค่ายลีวายส์ ชื่อ เดนิเซน dENiZEN มีสำนักงานบริหารจัดการแบรนด์นี้ในฮ่องกง และจะนำผลิตภัณฑ์ของแบรนด์น้องใหม่นี้วางจำหน่ายใน 3 ตลาดพร้อมกัน คือ ตลาดในจีน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์

ในการรุกตลาดเอเชียด้วยแบรนด์เดนิเซนซึ่งคาดว่าจะพร้อมทุกด้านในราวปลายปีนี้ ผู้บริหารการตลาดจะยังคงใช้การเปิดร้านค้าภายใต้ชื่อของลีวายส์ ประมาณ 50 แห่ง พร้อมกับมีอุปกรณ์ เครื่องประดับประกอบเสื้อผ้าของแบรนด์น้องใหม่วางจำหน่ายให้เลือกซื้อหากันได้ครบวงจร

สิ่งที่นักการตลาดสนใจคือ การปรับตัวทางด้านกลยุทธ์ของลีวายส์ที่แตกการบริหารจัดการตลาดด้วยการแบ่งแยกแบรนด์น้องใหม่คราวนี้ เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารกลยุทธ์การตลาดครั้งใหญ่ และเป็นครั้งแรกที่มาแนวนี้สำหรับลีวายส์ในการเจาะตลาดเอเชีย

การดำเนินงานทางการตลาดของลีวายส์ยาวนานกว่า 137 ปีแล้ว และที่ผ่านมาแบรนด์ของลีวายส์ก็เป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับ เชื่อถือ และเป็นหนึ่งในแบรนด์ชั้นนำของเอเชียด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับกลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มรายได้ปานกลางถึงรายได้สูง

การเปิดตลาดในเอเชียของลีวายส์ย้อนไปนาน และเริ่มตั้งแผนกบริหารตลาดเอเชีย-แปซิฟิกครั้งแรกตั้งแต่ปี 1995 การตัดสินใจเปิดตัวแบรนด์ใหม่สำหรับตลาดเอเชียของลีวายส์ จึงเป็นการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่แตกต่างไปจากเดิม

เหตุผลที่ลีวายส์ให้ความสำคัญและมุ่งเน้นมาที่ตลาดเอเชียมากเป็นพิเศษมาจากหลายปัจจัย ประการแรก การเติบโตของตลาดจีน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดของการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านแบรนด์ครั้งนี้ของลีวายส์ เนื่องจากการเติบโตของจีนมีความชัดเจน และเป็นโอกาสที่ลีวายส์สามารถฉกฉวยเพื่อเพิ่มการเติบโตของยอดการจำหน่ายได้

ประการที่สอง ในขณะที่ลีวายส์มองเห็นการเติบโตที่ต่อเนื่องและน่าพอใจในตลาดจีน ตลาดญี่ปุ่นที่เคยเป็นเป้าหมายอันดับ 1 ได้ถูกทบทวนและปรับลดบทบาทลง เนื่องจากการเป็นสังคมของคนสูงอายุมากขึ้นของญี่ปุ่น และการอิ่มตัวทางการตลาดของแบรนด์ลีวายในญี่ปุ่น

ในปัจจุบันมูลค่าของมวลรวมผลิตภัณฑ์ภายในประเทศของจีนแซงหน้าญี่ปุ่นไปแล้ว และลีวายส์คาดหมายว่าในปี 2030 มูลค่าของมวลรวมผลิตภัณฑ์ภายในประเทศของจีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ ไปครองดันดับ 1 แล้ว

ประการที่สาม แม้ว่าตลาดจีนจะเป็นตลาดที่มีแนวโน้มของการเติบโตที่สูง แต่มีความแตกต่างอย่างหนึ่งที่ชัดเจนระหว่างตลาดจีนกับญี่ปุ่นคือ กำลังซื้อที่ประเมินจากระดับรายได้ต่อหัวของจีนกับญี่ปุ่นต่างกันมาก

รายได้ต่อหัวประชากรในจีนตกอยู่ที่ประมาณ 3,600 ดอลลาร์ ในขณะที่ของญี่ปุ่นอยู่ที่ 37,800 ดอลลาร์ และ 42,240 ดอลลาร์ในสหรัฐฯ

นั่นทำให้ลีวายส์เห็นว่าควรมีแบรนด์ที่แตกต่างออกไปจากแบรนด์ลีวายที่เป็นแบรนด์หลักของตน เพื่อจะป้อนสินค้าสู่ตลาดในส่วนนี้โดยตรง

ประการที่สี่ คำว่า เดนิเซน dENiZEN ที่ตั้งชื่อแบรนด์ย่อยน้องใหม่ มาจากการพยายามสื่อถึง citizen หมายถึงมนุษยชนที่อาศัยอยู่บนโลก เพียงแต่เติมคำว่า deni เพื่อให้สื่อถึงคำว่า denim ที่หมายถึงผ้ายีนส์ให้มีความเชื่อมโยงกับความเป็นลีวายส์ลงไปในแบรนด์ดังกล่าว ซึ่งทำให้การสร้างแบรนด์ออกมาตามความตั้งใจของลีวายส์ และเป็นการทดสอบออกแบรนด์แยกต่างหากนอกตลาดสหรัฐฯ ครั้งแรกของลีวายส์ด้วย

ระดับราคาของยีนส์น้องใหม่ เดนิเซนของลีวายส์จะมีระดับราคาประมาณ 40-60 ดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าราคาทั่วไปที่ประมาณ 100 ดอลลาร์ของลีวายส์ในตลาดทั่วไป เกือบจะ 50% ทีเดียว เพราะระดับราคาทั่วไปของแบรนด์ของลีวายส์ เป็นระดับราคาที่แพงมากเกินไปสำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่อยู่ระหว่าง 20-40 ปี

แม้ว่าจะลดระดับราคาลงมาแล้วก็ตาม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับแบรนด์กางเกงของผู้ประกอบการท้องถิ่นของจีน ยังถือว่าแบรนด์เดนิเซนของลีวายส์ยังคงแพงมากทีเดียว ดังนั้น จุดขายของลีวายส์ในตลาดเอเชียจึงอยู่ที่การสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ให้เด่นชัด และทำให้ผู้ซื้อต้องตัดสินใจเพิ่มเงินอีกบางส่วนเพื่อแลกเอาสินค้าของลีวายส์มาใช้แทนสินค้าพื้นๆ แบบแมสที่ผู้ประกอบการจีนผลิตออกมา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us