Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน30 สิงหาคม 2553
ชงรัฐตั้งแบงก์ท่องเที่ยว หวังปล่อยกู้ธุรกิจโรงแรม-ใช้ภาษีพันล.ลงทุน             
 


   
search resources

Tourism




ส.อุตฯ ท่องเที่ยว เตรียมชงรัฐจัดตั้งกองทุน หรือธนาคาร เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยว เสนอรูปแบบนำเงิน 1-2% จากการจัดเก็บภาษีนิติบุคคล ภาษีท้องถิ่น และภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาใช้ในการก่อตั้ง เบื้องต้นคาดใช้เงินลงทุน 1 พันล้านบาท ลั่นเป็นธุรกิจที่ทำรายได้เข้าสูงสุดเกือบ 1 ล้านล้านบาท แต่ไม่มีความช่วยเหลือจริงจัง

นายศักรินทร์ ช่อไสว ผู้อำนวยการ สมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า สมาคมโรงแรมมีแนวคิดในการตั้ง กองทุนเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หรือ ธนาคารเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว โดยเฉพาะโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ โดยรูปแบบของกองทุนฯ จะใช้เงินทุนของรัฐบาลเพียง 1-2% ที่ได้จากการจัดเก็บภาษีนิติบุคคล ภาษีท้องถิ่น และภาษีต่างๆของอุตสาหกรม ซึ่งแต่ละปีมีมูลค่าจำนวนมาก ซึ่งหากมีการตัดตั้งได้จริงกองทุนฯดังกล่าวจะมีขนาดเงินทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท และจะสูงถึงหลัก 10,000 ล้านบาทได้

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับประเทศจำนวนมากเป็นอันดับ 1 โดยปี 2553 คาดว่าจะมีรายได้กว่า 9.57 แสนล้านบาท แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 14 ล้านคน คิดเป็นเม็ดเงินกว่า 5.25 แสนล้านบาท และนักท่องเที่ยวในประเทศ 91 ล้านคนครั้ง คิดเป็นกว่า 4.32 ล้านบาท และปี 2554 คาดการณ์อยู่ที่กว่า 1 ล้านล้านบาท

“ท่องเที่ยวทำรายได้ให้ประเทศจำนวนมาก แต่เมื่อเกิดวิกฤตและส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกลับไม่มีเงินทุนเพื่อช่วยเหลือโดยเฉพาะ และต้องไปขอความช่วยเหลือจากคนอื่น และวันนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะมีกองทุน หรือธนาคารเพื่อการท่องเที่ยวเป็นของกลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเอง เพราะที่ผ่านมามีเพียงธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. จึงต้องการให้หันมามองภาคการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นบ้าง” นายศักรินทร์กล่าว

สำหรับแนวคิดในการให้อัตราดอกเบี้ยมองว่าควรจะเป็นอัตราพิเศษ เพราะเป็นธนาคารที่สร้างขึ้นมาเฉพาะกลุ่ม ส่วนหลักเกณฑ์การปล่อยกู้ หรือความเข้มงวดนั้นจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เกิดขึ้น หรือการไม่ชำระหนี้

ทั้งนี้ ช่วงที่ยังไม่มีกองทุนหรือธนาคารดังกล่าวรัฐบาลควรเสนอนโยบายให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการโรงแรมในระยะเวลาที่ยาวขึ้นเหมือนกิจการอื่นที่ 15-30 ปี จากปัจจุบันระยะเวลาอยู่ที่ 7-10 ปีเท่านั้น ซึ่งการศึกษาในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ถ้าเป็นกิจการโรงแรมที่อยู่ในทำเลดีจะมีการให้กู้ระยะยาวถึง 30 ปี

“ถ้าธนาคารในประเทศไทยทำได้ด้วยการให้ผู้ประกอบการโรงแรมกู้ระยะเวลา 15 ปี ปัญหาด้านการเงินของโรงแรมก็จะลดลงมาก ขณะเดียวกันจะทำให้มีเงินมาพัฒนาหมุนเวียนกิจการมากขึ้น และมีโอกาสผ่อนชำระได้เร็วมากขึ้น เพราะไม่มีใครอยากเป็นหนี้ ซึ่งต้องยอมรับว่าโรงแรมขนาดใหญ่ก็จะแบกรับการเงินจำนวนมากอยู่แล้ว เมื่อได้รับผลกระทบก็จะหนักกว่าขนาดเล็ก” นายศักรินทร์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ต้องการให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมทั้งสมาชิกในสมาพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย (เฟสตา) มีส่วนร่วมกับกองทุนดังกล่าวด้วย ขณะที่แนวคิดดังกล่าวจะมีการขยายผลอีกครั้งในวันที่ 15-16 กันยายน 2553 โดยนายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรม และจะมีการลงลึกในรายละเอียดอีกครั้ง

สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวช่วง 4 เดือนที่เหลือ ยอมรับว่ายังไม่เห็นการฟื้นตัวที่ชัดเจน แต่หากการเมืองนิ่งจริงๆ คาดว่าภายใน 6 เดือนจะฟื้นตัวได้ปกติ ซึ่งทุกอย่างยังขึ้นอยู่กับภาวะทางการเมือง เพราะมีผลต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ขณะที่ธุรกิจโรงแรมปรับตัวดีขึ้นในบางจุดหมายปลายทางท่องเที่ยว เช่น ภาคเหนือดีขึ้นกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่กรุงเทพฯลดลง อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามการชุมนุมทางการเมืองที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 กันยายนนี้ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ รุนแรงแค่ไหนจนส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่กำลังจะฟื้นตัว

“ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว หรือไฮซีซันนี้ ยังคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะดีหรือไม่ เพราะยังไม่มีการจองห้องพักล่วงหน้าเข้ามาเลย จากปกติช่วงนี้จะต้องมีจองเข้ามาแล้วจำนวนมาก โดยเฉพาะตลาดเอเชีย” นายศักรินทร์ กล่าว

น.ส.วิไล ลิ่วเกษมศานต์ ผู้อำนวยการ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า หากผู้ประกอบการต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือด้วยการตั้งกองทุนฯหรือธนาคารเพื่อการท่องเที่ยว ควรเปิดเผยข้อมูลทั้งระดับเงินทุนหมุนเวียน ภาระหนี้สินกับสถาบันการเงิน รวมทั้งข้อมูลด้านการทำธุรกิจต่างๆ ของบริษัทให้ทราบด้วย เพื่อให้รัฐบาลประเมินปัญหาโดยรวมได้ เพราะที่ผ่านมาบริษัทขนาดใหญ่มักไม่ให้ข้อมูลทำให้ไม่ทราบปัญหาที่แท้จริง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us