|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผู้ผลิตขานรับ "พาณิชย์" ส่งสัญญาณไม่ตรึงราคาสินค้าต่อในเดือน ก.ย.นี้ ยันต้นทุนการผลิตพุ่ง คาดปลายปีจ่อปรับขึ้นราคาเฉลี่ย 5-10% ลั่น ภาคเอกชนไม่กล้าขึ้นราคาสินค้าแพงเกินไป เพราะการแข่งขันสูง อาจเสียส่วนแบ่งตลาด แต่จะไม่เน้นการลดต้นทุน ยันการปรับราคาเป็นคนละส่วนกับสินค้าควบคุม
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานกิตติมศักดิ์ และประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงพาณิชย์จะไม่ต่อมาตรการขอความร่วมมือตรึงราคาสินค้าที่จะหมดในเดือนกันยายน 2553 นี้ โดยระบุว่า ขณะนี้ต้นทุนการผลิตภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมมีทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะวัตถุดิบทั้งในแง่ของพืชผลทางการเกษตรและชิ้นส่วนภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น ภาพรวมคาดว่าราคาสินค้าใน 39 ภาคอุตสาหกรรมของ ส.อ.ท.จะมีการทยอยปรับขึ้นเฉลี่ย 5-10% ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้
สำหรับสินค้าที่ควบคุมราคานั้น รัฐบาลมีการเข้มงวดและสามารถดูแลการปรับราคาให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริงได้ แต่สิ่งที่ภาครัฐควรพิจารณาเป็นพิเศษ คือ สินค้าที่ไม่อยู่ในรายการควบคุมที่จะมีการปรับขึ้นตาม เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวทำให้ช่วงที่ผ่านมาเอกชนต้องพยายามรักษาตลาดเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้จึงสามารถตรึงราคาได้ แต่เมื่อตลาดเติบโตทำให้การแข่งขันลดลงจึงสามารถจะปรับราคาสินค้าได้บ้างตามต้นทุน แต่คงไม่ครอบคลุมทันที
"ตลาดที่แข่งขันสูงถึงอย่างไรผู้ผลิตคงจะไม่ปรับราคาขายอยู่แล้วแต่คงจะใช้วีธีลดต้นทุนให้มากสุดเพื่อชดเชยกับต้นทุนที่สูงเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้ต้นทุนการผลิตรวมส่วนใหญ่ขยับสูงตามทิศทางน้ำมันที่จะสะท้อนไป ค่าขนส่งวัตถุดิบที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ปิโตรเคมี แพ็กเกจจิ้งต่างๆ และค่าแรงงาน"
นอกจากนี้ การที่รัฐบาลมีแนวคิดจะปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็นวันละ 250 บาทต่อวัน หากมีการปรับขึ้นในระดับนั้นจริง จะกระทบต้นทุนต่อต้นทุนการผลิตสินค้าของโรงงานที่ใช้แรงงานจำนวนมาก ซึ่งในที่สุดก็จะสะท้อนออกไปยังราคาสินค้าที่ขยับสูงขึ้น
|
|
|
|
|