Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน29 สิงหาคม 2553
ยูเอฟพี"กู้แบงก์ญี่ปุ่นลดทุน จ่อแผนธุรกิจต้นน้ำ 5ปีโกย1.5หมื่นล.             
 


   
search resources

ยูเนี่ยนโฟรเซนโปรดักส์, บจก.
Frozen food




“ยูเอฟพี” เปิดฉากรุก วางแผน 5 ปีเข้าตลาดหุ้น ตั้งเป้ารายได้ทะลุ 15,000 ล้านบาท ชี้ต้องเร่งสร้างผลกำไร และลดต้นทุนดำเนินงานให้ได้ หันกู้แบงก์ญี่ปุ่นดอกเบี้ยต่ำ จ่อแผนเพาะเลี้ยงกุ้งเองหวังลดต้นทุนการผลิต ผนึกพันธมิตรต่างประเทศขยายตลาด

นายอนุรัตน์ โค้วคาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดและฝ่ายปฎิบัติการ บริษัท ยูเนี่ยนโฟรเซนโปรดักส์ จำกัด หรือ ยูเอฟพี เปิดเผยว่า บริษัทฯวางแผนภายใน 5 ปีจะนำบริษัทฯเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนมาขยายกิจการ รวมทั้งตั้งเป้ารายได้เพิ่มเป็น 15,000 ล้านบาท จากปัจจุบันรายได้ประมาณ 10,000 ล้านบาทของทั้งกลุ่ม หลังจากที่ยูเอฟพีก่อตั้งมาครบ 30 ปี

อย่างไรก็ตามการที่บริษัทฯยังไม่เข้าตลาดหุ้นเวลานี้ เนื่องจากว่าต้องการที่จะลดต้นทุนการดำเนินงานให้น้อยลงและสร้างกำไรให้มากกว่าเดิม ตอนนี้กำไรรวม 6% ก่อนหักดอกเบี้ย ซึ่งถ้าหักแล้วเหลือไม่มาก แม้ว่ารายได้จะสูงก็ตามเพราะต้นทุนสูง รวมทั้งการพยายามที่จะแสวงหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เช่น เวลานี้เริ่มทดลองกู้จากแบงก์เอสเอ็มบีซีของญี่ปุ่นในเครือซูมิโตโมกู้ประมาณ 1,000 ล้านเยนแล้ว ซึ่งดอกเบี้ยของแบงก์ญี่ปุ่นต่ำประมาณ 3% กว่า แต่ของแบงก์ไทยประมาณ 6.5%

ทั้งนี้บริษัทฯมีแผนลงทุนสร้างธุรกิจต้นน้ำ คือ การเพาะเลี้ยงกุ้งเอง ซึ่งสังเกตให้ดีพบว่าบริษัทขนาดใหญ่ที่ทำธุรกิจนี้ ก็ล้วนแต่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯและมีการเพาะเลี้ยงเองแทบทั้งสิ้น เช่น เครือซีพี ทียูเอฟ เป็นต้น แม้ว่าจะต้องใช้เงินลงทุนสูงก็ตาม แต่ว่าจะช่วยลดต้นทุนได้มากในระยะยาว เพราะกุ้งเป็นต้นทุนของเราสูงถึง 70% ซึ่งจะทำให้เราเติบโตมากขึ้น

โดยปัจจุบันเครือยูเอฟพีเป็นผู้ส่งออกกุ้งแช่แข็งอันดับต้นๆของไทย มียอดส่งออกปีละประมาณ 7,500 - 10,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 5-10% ทุกปี มีส่วนแบ่งตลาดส่งออกประมาณ 10% ของไทย จากมูลค่าที่ไทยส่งออกกุ้งแช่แข็งประมาณ 75,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้รายใหญ่ในตลาดนี้ เช่น รูบิคอน ทียูเอฟ ไทยรอยัล เป็นต้น

แผนธุรกิจที่วางไว้จากนี้ นายอนุรัตน์ กล่าวว่า 1.การรักษาฐานลูกค้าเดิม จะร่วมมือกับกลุ่มอควาสตาร์ พันธมิตรรายใหญ่จากอเมริกา พัฒนาเมนูอาหารแช่แข็ง ให้เป็นอาหารพร้อมทาน การร่วมมือกับเคียวคูโยะของญี่ปุ่น ลงทุน 30 ล้านบาท ในการแล่ปลาซาบะในไทย ปีที่แล้วเริ่มทดลอง 1,000 ตัน ปีนี้จะเพิ่มเป็น 2,500 ตัน และอีก 2 ปีจะเป็น 6,500 ตัน สร้างยอดรายได้อีก 400 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ในยุโรปจะขยายช่องทางตลาดอีก โดยเฉพาะพันธมิตรร้านแมคโดนัลด์ที่จะรับวัตถุดิบไปประกอบอาหารจากเดิมมีกว่า 12 ประเทศแล้ว

2. การแสวงหาตลาดใหม่ เช่นที่น่าสนใจ คือ รัสเซียและตะวันออกกลาง ซึ่งมีความต้องการสูงมาก หรือการเริ่มส่งบะหมี่สำเร็จรูป นู้ดเดิ้ลควิก ไปจำหน่ายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นที่สิงคโปร์เดือนหน้า ทั้งนี้จะใช้งบการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กว่า 30 ล้านบาทต่อปี

โดยตลาดหลักของยูเอฟพีนั้นแบ่งสัดส่วนออกเป็น อเมริกา 50% เอเชีย 23% ยุโรป 20% และในไทย 7% ขณะที่สัดส่วนตลาดส่งออกไปต่างประเทศของผู้ประกอบการไทยนั้นแบ่งเป็น อเมริกาและแคนาดา 40% เอเชีย 30% ยุโรป 15% และ ตะวันออกกลาง 15%

ปัจจุบันยูเอฟพีมีบริษัทฯในเครือรวม 8 แห่งคือ บ.ไบรท์ซี จำกัด ทำอาหารแช่แข็งแบรนด์ ไบรท์ซี ยอดขายประมาณ 170 ล้านบาทต่อปี 2.บ.ห้องเย็นพงษ์ทิพย์ จำกัด ดูแลจัดเก็บสินค้าและวัตถุดิบ มีรายได้ 62 ล้านบาท 3.บ.พรานทะเลมาร์เก็ตติ้ง จำกัด จำหน่ายสินค้าอาหารแบรนด์ พรานทะเลให้กับคนไทย และมีแผนจะส่งออกด้วย ทั้ง พร้อมปรุง พร้อมรับประทาน มีรายได้ 1,400 ล้านบาทต่อปี

4.บ.พี.ที.อินเตอร์ฟิชเชอรี่ จำกัด ดูแลเรือประมงของบริษัทมี 13 ลำ 5.บ.เคแอนด์ยู เอ็นเตอร์ไพรส์ จ. โดยการร่วมทุนระหว่างยูเอฟพีกับบริษัท เคียวคุโย ของญี่ปุ่น ผลิตซูชิท้อปปิ้งขายที่ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา ยอดขาย 1,500 ล้านบาท 6. บ. ยูแอนด์มี ไฟน์ ฟู้ด จำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ ยูแอนด์มี ให้กับลูกค้าปลายทางในกลุ่มยุโรป และแมดโดนัลด์ รายได้ 400 ล้านบาท และ7.บ.พรานไพรอินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด ผลิตผักที่มีคุณภาพ รายได้ 180 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us