Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน29 สิงหาคม 2553
ดัชนีผลผลิตอุตฯ ก.ค.โต 13% รับอานิสงค์ภาคผลิตฟื้นยกแผง             
 


   
search resources

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)




สศอ.เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ก.ค.53 เพิ่ม 13.16% เติบโตต่อเนื่อง 9 เดือน รับอานิสงส์ภาคการผลิตขึ้นยกแผง

นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2553 อยู่ที่ 190.22 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน หลังจากเผชิญภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก เมื่อกลางปี 2551 ต่อเนื่องถึงปี 2552 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตภาพรวมเฉลี่ยร้อยละ 62.40

อุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการขยายตัวของดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตรถยนต์ การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตเครื่องปรับอากาศ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง โดยการผลิตและจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.8 และร้อยละ 73.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลก และของประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งตลาดภายในประเทศได้รับผลดีจากค่ายรถยนต์มีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ออกมาเสนอ เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งรายได้ภาคเกษตรสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว เพราะราคาพืชผลทางการเกษตรสูงขึ้น ทำให้กำลังซื้อจากภาคเกษตรเป็นแรงสนับสนุนหนึ่งที่ส่งผลต่ออัตราการขยายตัว ของการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ

นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากความคึกคักของรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งหลังจากเพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่ตลาดส่งออกผู้ประกอบการมีการปรับแผนการผลิต เพื่อรองรับตลาดส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น โดยทั้งปีคาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1.6 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.10 จำหน่ายในประเทศประมาณ 700,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.53 และส่งออกประมาณ 900,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.05

ส่วนการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.9 และร้อยละ 27.5 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และความต้องการชิ้นส่วนอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์มีอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการในตลาดเทคโนโลยี หรือตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีอัตราการเติบโตสูง ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกที่สำคัญจากคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาจำนวนมาก จึงส่งผลต่อการขยายตัวทั้งด้านการผลิตและจำหน่ายดังกล่าว ตลาดส่งออกสำคัญของไทย คือ จีน และสหรัฐฯ

ด้านเครื่องปรับอากาศ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.2 และร้อยละ 55.6 ตามลำดับ เพราะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวผู้ประกอบการได้ส่งสินค้ารุ่นใหม่ออกสู่ตลาดอย่าง ต่อเนื่อง โดยเน้นพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรับอากาศของประเทศไทยมีขีดความสามารถที่สูงและ ได้มาตรฐาน สามารถผลิตเครื่องปรับอากาศเป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะตลาดยักษ์ใหญ่สหรัฐและสหภาพยุโรป (อียู) ที่มีการออกมาตรการเพื่อปกป้องผู้บริโภคมากมาย จนกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรการเหล่านั้น

ขณะที่การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 และร้อยละ 7.3 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะยางล้อรถยนต์ ซึ่งขยายตัวตามทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีความคึกคักทั้งตลาดภายในประเทศ และการส่งออก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us