Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2530
บริหารประเทศ : เรแกนสไตล์             
 


   
search resources

โรนัลด์ เรแกน
Political and Government




คำพูดที่ว่า "เรแกนไม่ใช่คนที่ชอบรายละเอียด " ดูเหมือนจะเป็นคำพูดติดปากผู้ที่สนับสนุนประธานาธิบดีและเป็นคำพูดที่ให้ความหมายเป็นนัยว่าที่ท่านประธานาธิบดีสนใจแต่เฉพาะภาพรวม เรแกนจะปล่อยจะปล่อยให้รายละเอียดเป็นเรื่องงของลูกน้องรอง ๆ…ท่านประธานาธิบดีมีสิ่งที่เป็นจุดแข็งขณะเดียวกัน ก็เป็นจุดอ่อนด้วยเช่นกันเช่นกัน

ดูเหมือนว่า คำพูดที่ทำให้ประธานาธิบดีเรแกนต้องเสียหายมากที่สุดตลอด 2 สมัยของการครองตำแหน่ง เห็นจะได้แก่คำพูดสั้น ๆ เพียงห้าคำว่า I AM NOT FULLY INFORMED " ซึ่งเป็นสิ่งที่ประธานาธบดีเรแกนกล่าวถึงสหรัฐลอบขายอาวุธสงครามให้อิหร่าน เพื่อให้อิหร่านช่วยเหลือในการปล่อยตัวประกันและมีการค้นพบในภายหลังว่า เงินที่ได้จากการขายอาวุธนั้น ถูกส่งไปสนับสนุนขบวนการ "คอนทรา" ในนิคารากัว กรณีนี้อาจจะเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองที่อื้อฉาวที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์วอเตอร์เกตเป็นต้นมาแล้ว ก็ยังเป็นบทเรียนและข้อเตือนใจแก่นักบริหารที่มุ่งแต่จะฟังการบรรยาสรุป มองมองภาพรวมแต่ไม่สนใจกับรายละเอียด

จากคำพูดของประธาธิบดีเรแกนดังกล่าวเกี่ยวกับกรณีการขายอาวุธให้อิหร่านดูเหมือนกับท่านประธานาธิบดีกำลังจะบอกแก่ประชาชนอเมริกันว่า เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นจาก นาวาโทโอลิเวอร์ นอร์ธ เจ้าหน้าที่สภาความมั่นคงของรัฐ ซึ่งทำงานอยู่บนถนนฝั่งตรงข้ามทำเนียบขาวกระทำไปทั้งหมด โดยปราศจากความรู้เห็นของกระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงกระลาโหม, หน่วยประมวลข่าวกลาง (CIA) คณะเสนาธิการทหาร และเจ้าหน้าที่ธรรมเนียบข่าว ส่วนผู้ที่รู้เห็นเรื่องนี้มีเพียงคนเดียวคือ จอห์น พอยน์เด็กซเตอร์ ซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาความมั่นคง และเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของนาวาโทโอลิเวอร์ นอร์ธ และก็ไม่ได้หยุดยั้งการกระทำครั้งนี้ของลูกน้องเอาไว้

จากการให้สัมภาษณ์นิตยสารไทม์ ดูเหมือนว่า ประธานาธิบดีเรแกนจะไม่รู้เรื่องเงินไปช่วยเหลือขบวนการ "คอนทรา" เอาจริง ๆ และมาทราบเรื่องในภายหลังเมื่อนายเอ็ดวิน มิส นำข่าวมาแจ้งให้ทราบ แม้ว่าประธานาธิบดีเรแกนจะยอมรับว่า การส่งเงินไปช่วยเหลือขบวนการ "คอนทรา" เป็นสิ่งที่ไม่ "เหมาะสม" แต่ประธานาธิบดีเรแกนก็ปฏิเสธอยู่ตลอดว่า ไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดส่อให้เห็นว่า ประธานาธิบดีเรแกนนั้นดำรงตนเหินห่างจากการทำงานของรัฐบาลเอามาก ๆ นอกจากจะเป็นประธานาธิบดีที่ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของรัฐบาลแล้ว ดูเหมือนว่าปรีะธานาธิบดีเรแกนจะไม่ต้องการรู้ว่ารัฐบาลของตนเองทำอะไรอยู่ในนามของท่าน นักวิเคราะห์ทางการเมืองหลายคนให้ทัศนะว่าไม่น่าประหลาดใจเลยที่สไตล์การทำงานของท่านประธานาธิบดีจะส่งผลให้ท่านเดือนร้อนอย่างทรุกวันนี้ สิ่งที่บรรดานักวิเคราะห์หลายพากันสงสัยก็คือ ท่านรอดตัวมาจนทุกวันนี้ได้อย่างไร

คำพูดที่ว่า " เรแกน ไม่ใช่คนที่ชอบรายละเอียด " ดูเหมือนจะเป็นคำพูดที่ติดปากผู้ที่สนับสนุนประธานาธิบดี และเป็นคำพูดที่ให้ความหมายเป็นในว่า ท่านประธานาธิบดี สนใจแต่เฉพาะภาพรวม และปล่อยให้รายละเอียดเป็นเรื่องขอลูกน้องรอง ๆ ลงไป อย่างไรก็ดี การไม่ใจในรายละเอียดอาจนำไปสู่อันตรายได้ดังจะเห็นได้ว่าการเจรจาลดอาวุธในไอซ์แลนด์ กับนายกอร์บาชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียต ปรีะธานาธิบดีไม่ได้เสียเวลากับการศึกษาประวัติศาสตร์ และแนวความคิดของกลยุทธ์การจำกัดอาวุธของสหรัฐอเมริกา แต่ใช้เวลาไปกับการฝึกซ้อมการขายไอเดียให้กับกอร์บา ชอฟ เรื่องโครงการสตาร์วอร์สหรือที่มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า SDI และใช้เวลาไปในการอ่านนวนิยายเรื่อง RED STORMS RISING ของ TOM CLANCY ที่เป็นนิยายเกี่ยวกับสงครามที่ไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ ระหว่างกลุ่มประเทศสนธิสัญญา NATO และกลุ่มประเทศพันธมิตรของโซเวียต เพื่อเตรียมตัวประธานาธิบดีเกี่ยวกับการเจรจา ประธานาธิบดีเรแกนเจรจาต่อรองกับกอร์บา ชอฟ ด้วยสัญชาตญาณซึ่งอาจจะนำไปสู่การก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในการทำความตกลงลดอาวุธนิวเคลียร์เมื่อผู้นำทั้งสองฝ่ายสนทนาประเด็นปัญหาหลัก ๆ และประเด็นปริกย่อยทางไป แต่ดูเหมือนว่า ผลการเจรจาจะดับความหวังที่จะมีข้อตกลงเรื่องหัวรบนิวเคลียร์ในยุโรปและการใช้โครงการสตาร์วอร์สเป็นข้อต่อรองเสียมากกว่า

หมายกำหนดการทำงานของท่านประธานาธิบดีเริ่มจากการตื่นนอนเวลา 7.30 น. ดูรายการโซว์ตอนเช้าเล็กน้อยและอ่านหนังสือพิมพ์ไปในระหว่างการรับประทานอาหารเช้า เมื่อถึงเวลาเก้าโมงเช้า ท่านประธานาธิบดีก็จะเดินจากที่พักไปยังที่ทำงาน รูปไข่ (OVER OFFICE ) และรับฟังการบรรยายสรุปจากเจ้าหน้าอาวุโส ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือภาวะระกิจที่ท่านต้องทำในวันนั้น การบรรยายสรุปจะกินเวลาประมาณ 30 นาที ซึ่งท่านประธานาธิบดีจะนิ่งเงียบเสียเป็นส่วนใหญ่ หลังจากนั้นก็จะเป็นการบรรยายสรุปของเจ้าหน้าที่สภาความมั่นคง ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 30 นาที หากว่าสภาความมั่นคงจะต้องบรรยายเต็มรูปแบบให้ท่านประธานาธิบดีฟังแลบ้ว สิ่งที่ท่านจะถามโดยทั่วไปจะไม่เกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยายมาแต่ท่านมักจะถามว่า "แล้วผมจะต้องพูดอะไรบ้าง?"

ภารกิจยามเช้าของท่านประธานาธิบดีเริ่มจากรายการโปรโมชั่นเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นการพูดคุยกับสมาคมผลิตภัณฑ์นม แห่งสหรัฐอเมริกา ตามด้วยการร่วมถ่ายรูปกับทีมนักกีฬาที่ชนะเลิศการแข่งขัน ท่านประธานาธิบดีจะรับประทานอาหารกลางวันกับรองประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาทิตย์ละครั้ง

ในช่วงบ่าย ท่านประธานาธิบดีจะรับฟังการบรรยายสรุปโดยกระทรวงการต่างประเทศ หรือการชักซ้อมหัวข้อที่จะพูดคุยกับผู้นำประเทศต่าง ๆ ที่มาเยือนและทุกบ่ายวันพุธ ท่านประธานาธิบดีจะไม่ทำงานในช่วงบ่ายและทุกบ่าย 3 โมงของวันศุกร์ ท่านก็จะเก็บของเรียบร้อยเพื่อไปพักผ่อนสุดสัปดาห์ที่แคมป์เดวิด วันธรรมดาประธานาธิบดีเรแกนจะทำงานถึง 5 โมงเย็น

ประธานาธิบดีเรแกนไม่ต้องอ่านหนังสือมากนัก เพราะทุกครั้งที่ต้องการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย ท่านจะได้รับงานบันทึกข้อดีข้อเสียจากนโยบายนั้น ๆ ยาวหนึ่งหรือสองหน้ากระดาษ นโยบายต่างประเทศจะมีความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ สิ่งที่ท่านประธานาธิบดีจะให้ความสนใจอ่านเป็นพิเศษก็คือ สุนทรพจน์ ของท่าน โดยผู้เขียนสุนทรพจน์จะแต่งเนื้อหาทั้งหมดให้ และท่านประธานาธิบดีจะเพิ่มเติมมุขต่าง ๆ ของท่านเองลงไป ความสนใจในเรื่องสุนทรพจน์ของท่านประธานาธิบดีเรแกนแสดงให้เห็นว่า ท่านประธานาธิบดีทำหน้าฝ่ายการตลาดของนโยบายรัฐบาลและขายความคิดมากกว่าผู้วางแผนหรือกำหนดตัวนโยบาย ท่านประธานาธิบดีจะไม่ค่อยนั่งลงทำงานกับคณะที่ปรึกษา เพื่อตัดสินใจในเรื่องนโยบาย และจะพอใจมากที่สนุก เมื่อคณะที่ปรึกษาสามารถหาแนวทางที่ยุติกันเองได้ และนำข้อยุตินั้นมานำเสนอต่อมติที่ประชุม ซึ่งเป็นงานที่ยากเลยทีเดียวกับคณะที่ปรึกษาของท่านประธานาธิบดี

หลังจากการขายอาวุธให้แก่อิหร่านของรัฐบาลอเมริกันกลายเป็นเรื่องอื้อฉาวประธานาธิบดีต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนขึ้นคณะหนึ่ง ซึ่งมีนายจอห์น ทาวเวอร์ เป็นประธาน กรรมการชุดนี้ซึ่งมีชื่อเรียกว่า คณะกรรมการทาวเวอร์ (TOWER COMMISSION ) ได้ทำการสอบสวน และได้ให้ข้อสรุปบทบาทของประธานาธิบดีเรแกนว่า ท่านประธานาธิบดีไม่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการขายอาวุธให้แก่อิหร่านอย่างละเอียดรอบครอบ และก็ไม่ได้ตระหนักถึงผลที่จะตามมารของการขายอาวุธดังกล่าวอย่างถ่องแท้ คณะกรรมการทาวเวอร์ได้กล่าวถึงการทำงานสไตล์ของประธานาธิบดีว่า เป็นการมอบหมายความรับผิดชอบในการทบทวนนโยบายและปฎิบัติตามนโยบายให้แก่คณะที่ปรึกษาเกือบจะโดยสิ้นเชิง ซึ่งปฏิบัติการที่ซับซ้อน และมีความเสี่ยงสูงเช่นนี้ ประธานาธิบดีได้ให้การแก่คณะกรรมการทางเวอร์ว่า "ไม่เคยได้รับรายงานเลย ว่าแผนการแลกอาวุธกับตัวประกันดังกล่าวจะเป็นอย่างไร " นอกจากนั้นแล้วท่านประธานาธิบดียังไม่ตระหนักการแลกอาวุธกับตัวประกัน เป็นการกระทำที่ขัดต่อนโยบายเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายของท่านประธานาธิบดีเองโดยตรง คณะกรรมการทาวเวอร์ได้ให้ความเห็นว่า สไตล์การบริหารงานของท่านประธานาธิบดีเรแกน ซึ่งบางคนเรียกว่า เป็นความเกียจค้านที่จะใช้ความคิด ได้รับความประคับประคองมาด้วยดี โดยคณะที่ปรึกษาในสมัยแรกของท่านประธานาธิบดี ซึ่งมีความสามารถสูง แต่นับจากที่ประธานาธิบดีได้รับเลือกตั้งกลับเข้าอีกครั้งหนึ่ง ประธานาธิบดีเรแกนก็ถูกแวดล้อมด้วยคณะที่ปรึกษาซึ่งเข้ากันได้อย่างเป็นปี่เป็นขลุ่ย จนเกิดเรื่องราวใหญ่โตในที่สุด

เรื่องราวทั้งหมดของประธานาธิบดีเรแกน นี่ ซึ่งจะเป็นแง่คิดที่ใช้เตือนใจของผู้บริหารที่มุ่งจะมองแต่ภาพรวม และปล่อยให้รายละเอียดเป็นความรับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชา ว่าควรจะพึงประเมินผู้ใต้บังคับบัญชาเสียก่อนว่า ว่าสามารถที่จะทำงานสำเร็จลุลวงตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ และที่สำคัญที่สุดก็คือ การมอบหมายงานให้ลูกน้องไปทำจำเป็นจะต้องมีระบบควบคุมและรายงานผล มิใช่จะเป็นการส่งงานมาทางเดียวจากผู้บริหารลงมาแล้วปล่อยให้ลูกน้องทำไปโดยที่ตนเองไม่สามารถยึดกุมจุดสำคัญ ๆ ของปฏิบัติการไว้ได้ และพาให้งานทั้งหมดอยู่พ้นการควบคุมโดยสิ้นเชิง และกลับมาเป็นปัญหาใหญ่ตรงในภายหลังเหมือนกับที่ประธานาธิบดีเรแกนได้ประสบ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us