Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2530
ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของยุโรป พวกเขากำลังมาแรงและขึ้นเร็ว             
 


   
search resources

Stock Exchange
Venture Capital
Funds




พร้อมกับกระแสเฟื้องฟูของกองทุน VENTURE CAPITAL FUNDS และตลบาดหุ้นนอกระบบแบบ OVER - THE- COUNTER นักประกอบการรุ่นใหม่ของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกเริ่มแสดงตัวขึ้นมาเสมือนดอกเห็ดฤดูฝน พวกเขาร่ำรวยกันอย่างน่าอิจฉา นอกเหนือจากคุณค่าที่จะเป็นความหวังให้ยุโรป

เรื่องขึ้นปรกติของนิตยสาร "ฟอร์จูน" ฉบับเมื่อเร็ว ๆ นี้ ขึ้นต้นเรื่อง ไว้อย่างวิริศมาหราว่า คลื่นแห่งกิจกรรมผู้ประกอบการที่ ไม่เคยปรากฏมาก่อนหลังสงครามครั้งที่ 2 กำลังพาดผ่านยุโรปตะวันออก ด้วยความเฟื้องฟู่ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นในรอบ 7 ปี ของกองทุน VENTURE CAPITAL FUNDS และอีกอย่างหนึ่งที่ฟูเฟื่องด้วยคือ ตลาดหุ้นแบบ OVER THE - COUNTER ซึ่งผู้รู้บางท่านบอกว่าเป็นซื้อขายหุ้นนอกตลาด หุ้นแบบนี้ซื้อขายกันในกลุ่มบริษัทใหม่ ๆ ของยุโรป

ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจใหม่ในยุโรปบรรดาใจให้ชาวยุโรปจำนวนมากขึ้นทุกทีมองเห็นว่า ผลตอบแทนจากการตั้งบริษัทใหม่จะมีค่าสูงเกินความเสี่ยง และถ้าแนวโน้มนี้ยังดำเนินต่อไปซึ่งท่าทีจะเป็นเช่นนั้นมาก ก็อาจนำไปสู่การเยียวยาอาการป่วยไขทางเศรษฐกิจที่หนักที่สุดของยุโรป อันได้แก่ปาญหาการว่างงานที่เพิ่มเป็นสองเท่าและความไม่สามารถเพิ่มปริมาณหุ้นในขนาดที่เหมาะของตลาดหลักทรัพย์ที่กำลังเติมโตได้

อังกฤษถือธงนำลิ่ว

สาเหตุที่อังกฤษไปเร็วกว่าเพื่อนพ้องในทวีปเดียวกัน เป็นเพราะนายกรัฐมนตรีหญิง มาร์การ์เรต แธตเชอร์ แห่งพรรคอนุรักษ์นิยม ได้พยายามสร้างสิ่งที่เธอเรียกว่า "วัฒนธรรมวิสาหกิจ" โดยผ่อนคลายข้อจำกัดนานาประการให้แก่ธุรกิจเกินใหม่ตั้งแต่การตัดทอนอัตราสูงสนุดของภาษีรายได้จาก 98% เหลือเพียง 60 % การผ่อนคลาดข้อปฏิบัติในเรื่องหลักทรัพย์ ไปจนถึงในการให้สินเชื่อภาษีแก่เอกชนที่ลงทุนในบริษัทตั้งใหม่ เธอได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้แปลเปลี่ยนภาคธุรกิจขนาดย่อมที่ครั้งหนึ่งเคยตกต่ำมาแล้วของประเทศ ให้กลายเป็นตัวสร้างงานอย่างขนาดใหญ่

ในอิตาลีนั้น มีบริษัทเกินใหม่เพิ่มขึ้น 3 เท่า ตั้งแต่ปี 1982 และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ได้มีการออกกฎหมายฉบับหนึ่งอนุญาตให้ธนาคารต่าง ๆ จัดตั้งฝ่ายปฎิบัติการเงิน VENTURE CAPITAL เพื่อช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กที่มาความคิดริเริ่มได้เติมโตเร็วขึ้น ส่วนที่เนเธอร์แลนด์นั้นก็คุยโวว่า ตลาดหุ้น OVER - THE - COUNTER ของ ตนสมบูรณ์มาก และกองทุน VENTURE CAPITAL ก็มีจำนวนถึง 650 ล้านเหรียญสหรัฐ ยิ่งใหญ่เยอรมันตะวันตกเสียอีก

"ทุกวันนี้คุณบอกให้ใครใครอย่างตรงไปตรงมาได้เลยว่า ท้องฟ้านั้นมีขีดจำกัดเสียแล้ว " บาส อัลเบิร์ทส ชาวดัทช์วัย 34 อดีตนักธุรกิจคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเขาเป็นเศรษฐีคนใหม่คนหนึ่ง ในฐานะเจ้าของหุ้นส่วนคนหนึ่งใน PIE MEDICAL ซึ่งดำเนินการมาได้ 6 ปี โดยมีมูลค่าหุ้นประมาณ 3.5 ล้านเหรียญ บริษัทนี้เป็นผู้ผลิตเครื่องสแกนเนอร์ ที่ใช้คลื่นเสียงตรวจสอบอวัยวะต่าง ๆ ของรางกายที่เอกซเรย์เข้าไปไม่ถึง

ในเยอรมันตะวันตกเองซึ่งนายแบงก์คงจังเหงื่อตกกับการสนับสนุนบริษัทที่มีประวัติน้อยกว่า 15 ปี แต่ก็ปรากฏว่ามีบริษัทที่ปรึกษาใหม่ราว 300 แห่งกระโดดขึ้นมาเสนอข้อแนะนำว่าด้วยการเริ่มต้นธุรกิจผู้ประกอบการของสวีเดนก็เช่นกัน ได้รับความเชื่อถือเพิ่มขึ้น"รัฐบาลได้พบแล้วว่าเขาต้องการพวกเรา" เบอร์เย แรมสโบร วัย 49 เจ้าของกิจการ SYS TEM 3R อันเป็นบริษัทผลิตเครื่องจักรกลที่รุ่งเรืองมากแห่งหนึ่ง โดยมียอดขายในปี 1986 ถึง 31 ล้านเหรียญฯ แรทสโบร นั้นต่างกับแรมโบ้ตรงที่ไม่ห่าม แถมชอบขี่ารถโรสรอยซ์แบบเซคัลแฮนด์อย่างภาคภูมิซึ่งถือว่าหรูมากแล้วในสวีเดน

คนยุโรปก้าวเข้าออกมาประกอบธุรกิจของตัวเองนี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษามาไม่นานจากมหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัยเทคนิคชั้นนำของยุโรป โดยเริ่มจากคนกลุ่มเล็ก ๆ แล้วค่อย ๆ ขยายเพิ่มขึ้นด้วยจำนวนผู้จัดการ ระดับสูงที่มาจากบริษัทใหญ่ ๆ รวมทั้งสมชิกของกลุ่มคนที่สามารถจำนวนมหาศาลที่ยุโรปมองข้ามเสมอมานั้นก็คือ ผู้หญิง สิ่งที่น่าสประทับใจเกี่ยวกับพวกเขาเห็นจะเป็นคุณภาพที่มาอยู่ในตัวของพวกเขานั้นเอง

ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของ "โลกใบเก่า " หรือยุโรปนี้ ให้ความสำคัญด้านการตลาดมากกว่าคนรุ่นก่อนพวกเขา ดังที่ อลัน ชูการ์ วัย 40 ปี แห่งอังกฤษกล่าวว่า "เราผลิตสินค้าที่ประชาชนต้องการ ไม่ได้ สนองอีโก้ของนักวิทยาศาสตร์บางคน" ซูการ์นั้นเป็นผู้ที่ก่อตั้งบริษัท AMSTRAD ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำยอดขายเมื่อปีกลายได้ถึง 450 ล้านเหรียญ ฯ เพิ่มขึ้นจากปี 1980 ประมาณ 18 ล้านเหรียญ ฯ ด้วยมูลค่าเครื่องเล่นเทป วิดีโอ และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ราคาถูกที่ทำจากเอเชีย

ซูการ์เดิมโตขึ้นมาจากสังคมคนงาน ณ ขอบฟ้าตะวันออกของกรุงลอนดอน และเริ่มอาชีพของตน ด้วยการขายเสาอากาศวิทยุติดรถยนต์จากด้านหลังของรถตู้ที่เช่าเขามาแต่ขณะนี้ซูการ์เป็นเจ้าของหุ้นที่มามูลค่ากว่า 650 ล้านเหรียญฯ หรือมากเป็น 45 เท่า จาก 6 ปีก่อน

บอกแล้วผู้หญิงคือผู้สามารถไม่แพ้ชาย ตัวอย่างคือ คาเธอรีนเนอ การซีแอร์ สาวฝรั่งวัย 27 ปี เจ้าของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเริ่มกิจการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ด้วยทุนรอน 1.5 ล้านเหรียญ ฯ เธอให้ความเห็นทำนองเดียวกับซูการ์ว่า " การยืดติดกับงานวิจัยบริสุทธิ์ เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อธุรกิจไฮ - เทค "บัณฑิตสาวหมาด ๆ จาก INSEAD หนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของยุโรปยังกล่าวด้วยว่า " สำหรับเรานั้น การตลาดและยุทธวิธีมาก่อน "

กลุ่มคนรุ่นใหม่ยังเอาใจใส่ต่อพนักงานที่ขยันขันแข็งด้วย ส่วนใหญ่มากใช้วิธี STOCK OPTIONS คือเปิดโอกาสเจ้าของกิจการของตนเองด้วย ซึ่งเร่องดูจากกรณี ของ อลิซเบธ กลัค วัย 31 ปี หนึ่งในจำนวนผู้หญิงอังกฤษ 350,000 คน ที่ประสบความสำเร็จจากการเช้าธุรกิจของตนเองนับแต่ปี 1979 โดยบริษัท PROGRMMES ซึ่งทำรายได้ปีละ 18 ล้านเหรียญฯ ของเธอ จะสนับสนุนพนักงานไฟแรงให้ริเริ่มให้ธุรกิจของพวกเขาเอง ตัวเธอเองก็เริ่มมาจากเงินที่กูมา 800 เหรียญฯ และอาศัย "ขอบหน้าต่างในสำนักงานของเพื่อนคนหนึ่ง " เปิดกิจการ PROGRAMMES เมื่อปี 1981

บริษัทของเธอเป็นกิจการโทรศัพท์ที่ใช้การตลาดโดยตรงแห่งแรกและโตเร็ว ที่สุด เธอว่างั้น และบอกว่า "ทุกคนเริ่มงานที่นี้โดยใช้เวลา 6 เดือนกับงานโทรศัพท์ และถ้าหากพวกเขามีไอเดียที่ดี เราก็จะให้โต๊ะทำงานของพวกเอง และถ้าไป ได้ดี เราก็จะช่วยเหลือทางด้านการเงิน "

แรงผลักดันและความใฝ่ฝัน

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่คนยุโรปที่ออกมาทพธุรกิจของตัวเองทุกวันนี้ก็คือความอยากกระหายในความเติมโตซึ่งไม่มีนักในหมู่ผู้ประการรุ่นเก่า บริษัท PIE MEDICAL ของบาส อัลเบิร์ทส มียอดขายเมื่อปี 1686 จำนวน 15 ล้านเหรียญ ฯ และนับเป็นบริษัทเนเธอร์แลนด์แห่งแรกที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินทุน VENTUYRE CAPITAL โดยมาหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในงานหุ้น OVER - THE COUNTER ของอัมสเตอร์ดัม เขากล่าวว่า "ถ้าเราไม่มีโชคพอที่จะได้ทางเลือกสายนี้ละก็ มีหวังต้องไปพยายามเติมโตเหมือนธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่ของชาวดัทช์ทำกัน ซึ่งเชื่องช้ามาก"

แรงผลักดันทำนองกันนี้ยังทำได้ทำอดีตเซลส์แมนขายรองเท้าชาว ไอวิช ที่ชื่อ เจฟ รีด วัย 32 สามารถขอการสนับสนุนของบริษัท BALLYGOWAN SPRING WATER ที่กำลังเติมอย่างรวดเร็วของเขาจากบริษัทเงินทุน ANHEEUSER BUSCH เพียงสองหลังจากเลิกการทำการ

สภาพการประกอบการที่กำลังรุ่งอยู่ในปัจจุบันนี้ นรับเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในการบรรยากาศการเมืองและสังคมของยุโรป ทั้งเมื่อ "2-3 ปีที่แล้วนี้เองคำว่าผู้ประกอบการ ยังเป็นคำที่ใคร ๆ ต้องร้องยี่อยู่เลย " คำพูดของรีซาร์ด แบรนสัน เศรษฐกิจใหม่อีกราย วัย 36 ผู้ก่อตั้งและประธาน VIRGIN GROUP อันเป็นกลุ่มเครือบริษัทธุรกิจบันเทิงและการหย่อนใจ พร้อมด้วยบริษัทสาขาอีก 19 ประเทศ ความคิดดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วจริง ๆ จนเป็นที่ยอมรับของนักธุรกิจที่ใฝ่ฝันจะทำเงินก้อนโต

"เมื่อสิบปีที่แล้ว ถ้าใครเห็นรถโรสรอยซ์ พวกเขาก็จะพูดทำนองว่า -ทำไมเขาต้องขี่เจ้านั่นด้วยนะ มาเดี๋ยวนี้คำถามคงเป็นว่า - ทำยังไงที่ผมจะได้มันมาประดับบารมีสักคัน " แอนโทนี มาร์ติน ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินสำหรับธุรกิจแบบครอบครัว วัย 46 กล่าวไว้เป็นปรัชญา

แบรนสันเป็นผู้ที่ประกอบการที่เริ้ดหรูคนหนึ่ง เขาใช้เวลาพักผ่อนกับเรือเร็วข้ามอแอตแลนติค และล่องบัลลูนเล่นสบายเฉิบบางครั้งก็สนุกกับงานฉลองประเภทที่ครั้งหนึ่งเคยมีสำรองไว้เฉพาะดาราดังไม่ก็เชื่อพระองค์เท่านั้น เขาเริ่มต้นธุรกิจของตนเมื่อปลายทศวรรษ 1980 โดยการขายโฆษณาบางชิ้นในราคา 20,000 เหรียญฯ จากตู้โทรศัพท์ที่ไฮสคูลของเขาเอง ต่อมาได้ออกนิตยสารระดับชาติที่ประสบความสำเร็จฉบับหนึ่งแล้วก็ย้ายเข้าวงการค้าปลีกแผ่นเสียงและการบันทึกเสียง

"เรามีกฎที่เคร่งครัดอันหนึ่งว่า ร้านใหม่จะต้องเปิดทำการในวันแรกของเดือน" แบรนสันว่าถึงมองมอตโต้ของตนเอง โดยให้เหตุผลตามมาว่า "วิธีนี้เรามีเวลาถึงสองเดือน" แบรนสันว่าถึงมอตโต้ของตนเอง โดยให้เหตุผลตามมาว่า "วิธีนี้เรามีเวลาถึงสองเดือนที่จะหาเงินสดมาจ่ายบิลล์อย่างไงล่ะ" ต่อมาเขาหันไปเปิดกิจการสายการบินนอกเส้นทาง VIRGIN ATLANTIC ซึ่งบินจากลอนดอนถึงนิวยอร์ค และไมอามี่ เมื่อฤดูใบไม้ล่วงที่แล้ว VIRGIN ได้จัดตั้งทุนจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์กรุงลอนดอน 68 ล้านเหรียญ ฯ แบรนสันยยังได้วางแผนที่จะสร้างสาขาบริษัทสหรัฐเพื่อบุกตลาดธุรกิจแผ่นเสียงอันมหึมาขอวอเมริกาลงได้ด้วย

ทรัพย์สินส่วนตัวของแบรนสันปัจจุบันมีถึง 350 ล้านเหรียญ ฯ โดยประมาณรวม ทั้งเกาะส่วนตัวแห่งหนึ่งในหมู่เกาะวอร์จิน (ซึ่งอยู่ในบริเวณหมู่เกาะอินเดียตะวันตกด้านตตะวันออกของของเปอร์โตริโก โดยซีกตะวันออกเป็นประเทศอังกฤษ และซีกตะวันตกครอบครองโดยสหรัฐฯ) ในการหยั่งเสียงครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ เขาติดกลุ่มในฐานะบุคคลที่เยาวชนอังกฤษนิยมชมชอบมากที่สุดรองจากเจ้าฟ้าชายชาร์ลส และสันตะปาปา จอห์น ปอลที่ 2

เดวิด บรูช วัย 39 แม้ไม่โอ่อ่าอย่างแบรนสัน แต่ก็มีประสบการทำนองเดียวกัน เขาลาออกจากงานมาเปิดกิจการร้านขายเหล้าแบบลูกโซ่ (A CHAINOF PUBS) ซึ่งผลิตเบียร์ของตนเองมาตั้งแต่ปี 1978 เพื่อนพ้องต่างสงสัย ตอนที่เขาบอกว่าจะไปทำงานที่เป็น "งานจริง ๆ " เสียที ปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของ PUB หลายแห่งมีพนักงาน 120 คน และยอดขายถึง 4.5 ล้านเหรียญ ต่อปี

เขา กล่าวว่า "ค่านิยมทางสังคมที่ค่อยขัดขวางไม่ให้คุณเริ่มต้นทางธุรกิจของตัวเองได้เปิดทางให้พิสูจน์และผมก็ไม่ใช่คนแปลกประหลาดอีกต่อไปแล้ว"

ถนนสายนี้มุ่งสู่ความร่ำรวย

กล่าวกันว่าการยึดกุมความนิยมของผู้คน และพยายามสร้างความร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็วในอังกฤษนั้น ไม่มีอะไารมากไปกว่าความสำเร็จของตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทาะเบียนของลอนดอนซึ่งลอกแบบจากตลบาดหุ้น OVER -THE - COUNTER ของสหรัฐฯ โดยมีบริษัทซื้อขายหุ้นในสังกัดอยู่ 368 แห่ง ในมูลค่ากว่า 7.5 พันล้านเหรียญ ฯ และได้กำเนิดเศรษฐกิจขึ้นมาถึง 300 ราย เป็นอย่างน้อย นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการในปี 1980 เป็นต้นมา

"ROLES MOUDELS นับเป็นอำนาจอันทรงพลังในการพัฒนาอุตสาหกรรมซิลิคอน" เจฟฟรีย์ เทย์เลอร์ หัวหน้าฝ่าย VENTURE CAPITAL ของ INVES TORS IN INDUSTRY ซึ่งเป็นองค์กรณ์พัฒนายักษ์ใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนด้วยธนาคารหลายแห่งกล่าว "เดี๋ยวนี้เรากำลังเอาวิธีนี้ขึ้นมาใช้ (ในอังกฤษ)

จากข้อเสนอที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนถอนตัวได้ เมื่อพวกเขานำบริษัทขนาดย่อมออกสู่มหาชน ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ทะเบียน แสดงบทสำคัญในการดึงดูเงินทุน VENTURE CAPITAL เข้ามากขึ้น ตามข้อมูลของบริษัทตามที่ปรึกษาสหรัฐ ฯ VENTURE ECONOMICS ได้ชี้ว่าบริษัทเงินทุน VENTURE CAPITAL ได้เพิ่มขึ้นจากจำนวน 27 แห่งในปี 1981 เป็น 126 แห่งในขณะนี้ "เพียงช่วง 5 ปีเท่านั้นที่อุตสาหกรรม VENTURE INDUSTRY ขาวอังกฤษก้าวไปสู่ระดับที่มั่นคง ซึ่งสหรัฐ ฯ ต้องใช้เวลา 25 ปี กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ " ซูซาน ลอยด์ หัวหน้าสำนักงาน VENTURE ECONMOICS ที่กรุงลอนดอน กล่าว

หันไปมองด้านฝั่งทวีปบ้าง ฝรั่งเศสดูจะเป็นประเทศที่เข้ากันได้ดีที่สุดกับความกระตือรือร้นของผู้ประกอบการอังกฤษอย่าง คริสโตเฟอ โชซอง วัย 32 ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มทุน VENTURE CAPITAL แห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นจากนักธุรกิจรุ่นเยาว์ 23 คน จึงเรียกขานกันในนาม "กลุ่ม 23 " " กล่าวว่า "เมื่อ2-3 ปีก่อน ขั้นสุดยอดของความสำเร็จคือการไต่ไปถึงยอดของบริษัทข้ามชาติแต่เดี๋ยวนี้คนหนุ่มสาวในฝรั่งเศส พอใจที่จะแสวงหาแนวทางของตัวเองมากกว่า "

บุรุษที่สร้างตัวเองอีกคนคือ เบอร์นาร์ด ทาปี ผู้เป็นดาราเพลงป๊อปยอดนิยมอันดับสองในหมูวัยรุ่น จากการสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้ ถึงแม้เจ้าตัวบอกว่า ตนได้ซื้อบริษัทแห่งหนึ่งเคยล้มละลายไปแล้วในราคาถูก แล้วเปลี่ยนให้กลายเป็นอาณาจักรธุรกิจส่วนตัวที่ทำงานได้ปีละ 1,000 ล้านเหรียญฯ อาชีพอย่างหนึ่งของเขาได้แก่ การจัดแข่งขันเรือระยะทาง 250 ฟุต โดยลูกเรือรุ่นเยาว์กว่า 18 ปีนอกจากนี้ทาปียังเป็นเจ้าของรายการโทรทัศน์ใยอดนิยม AMBITIONS ซึ่งเป็นรายการเกี่ยวกับการสำรวจหาแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ของการเริ่มต้นธุรกิจใหม่

แม้คำว่าผู้ประกอบการ (ENTRE PRENEUN) ซึ่งเป็นรากศัพท์ของภาษาฝรั่งเศสเอง แต่การฟื้นตัวเองการประกอบการในประเทศนี้เริ่มขึ้นในปี 1983 เมื่อพรรคสังคมนิยมได้ส่งเสริมการพัฒนาเข้าปกครองประเทศโดยได้ใช้อำนารอย่างเฉียบขาดฉุดรั่งให้พ้นจากการกระโจนลงเหวเศรษฐกิจ รัฐบาลสังคมนิยมได้ส่งเสริมการพัฒนาตลาดหุ้น OVER - THE - COUNTER ของฝรั่งเศษ และเสนอ แรงจูงใจในการลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงการกำหนดช่วงปลอดภาษี 5 ปี สำหรับบริษัทใหม่ในปี 1985 เพียงปีเดียว บริษัทเกิดใหม่ในฝรั่งเศษ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และยิ่งฝ่ายอนุรักษ์นิยมกลับสู่อำนาจเมื่อปีกลายด้วยแล้ว แนวโน้มนี้ยิ่งเร่งขึ้นไปอีก

จากการสำรวจของรัฐบาลเมื่อไม่นานมานี้ พบว่าจำนวนคนฝรั่งเศสที่แสดงความตั้งใจจะเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองภายในปีที่ถึง เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของปี 1984 คือ 800,000 รายทีเดียว มอริเชนีโอ หุ้นส่วนของบริษัทเงินทุน VENTUER CAPITAL ที่ชื่อ ALAN PATRICOF ASSOCIATES ซึ่งสำนักงานประจำกรุงปาริส กล่าวว่า "การหมุนเวียนของลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง 50% ในช่วง 6 เดือนก่อนและมาการปรับปรุงคุณภาพขึ้นด้วย" ยอดสุทธิของเงินทุนประเภทนี้ในฝรั่งเศสอาจจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ภายในสิ้นปีนี้เป็นจำนวนรวม 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

จากลูกค้ามาเป็นนายตัวเอง

ราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาด OTC ซึ่งเป็นชื่อย่อยของ OVER - THE - COUNTER ทำให้มูลค่าในตลาดรวมของบริษัทที่สังกัดอยู่ 185 แห่ง สูงถึง 16 พันล้านเหรียญ และสร้างผลกำไรสูงลิบให้กับนายทุนประเภทนี้ และเก็บเกี่ยวมหาศาลบรรดาเศรษฐีใหม่ฝรั่งเศส เศรษฐีหน้าใหม่หนึ่งในจำนวนนี้ได้แก่ ณอง มิเซล ออลาส วัย 37 แห่งเมืองลีอองส์ ซึ่งเคยทำงานอิสระในฐานะที่ปรึกษาด้านการป้อนข้อมูลคอมพิวเตอร์เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ก่อนหันมารับการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจจจัดหาซอฟท์แวร์ ทางบัญชี ป้อนให้กับบริษัทขนาดย่อมและขนาดกลาง

ผลกำไรจากยอดขายและการดำเนินงานเมื่อปีที่แล้วของบริษัท ออลาส ที่ชื่อ CIGID สูงถึง 27 ล้านเหรียญ และ 5 ล้านเหรียญ ฯ ตามลำดับ และนับตั้งแต่การเปิดขายหุ้นมหาชนมูลค่า 50 ล้านเหรียญ ฯ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ราคาหุ้นของ CIGID ได้กระโดดขึ้นไปเป็น 6 เท่าตัว เพิ่มมูลค่าหุ้น 40 % ของออลาสเองให้มาค่าถึง 130 ล้านเหรียญฯ

หนทางที่ส่งผลกลับมาอย่างสุโขเช่นนี้เป็นนจุดเริ่มต้นดึงดูดคนยุโรปผู้กล้าหาญ 2-3 รายถึงกับยอมลาออกจากบริษัทใหญ่ ๆ มาแสวงหาหนทางบของตนเอง ผู้อพยพจากบริษัทดังกล่าวนี้ คนหนึ่งคือ ฟิลิปอ แปร์ริน วัย 36 ผู้ใช้เวลาถึง 13 ปี ผ่านงานระดับผู้จัดการมาแล้วหลายแห่ง แรกก็ที่ ROUSSEL UCLAF ผู้ผลิตรายใหญ่ของฝรั่งเศส แล้วต่อมาก็ที่ ABBOTT LABO RAPORIES เขาได้เข้าหุ้นรับอดีตนักบริหารอุตสาหกรรมยาอีก 2 ราย และด้วยการสนับสนุนจากเงินทุน VENTURE CAPITAL จำนวน 2 ล้านเหรียญฯ แปร์ริน ก็สามารถเปิดกิจการบริษัทแห่งหนึ่ง เมื่อเดือนมกราคมที่แล้ว ชื่อ ANOTECH ๆได้มุ่งเป็นซัพพรายเออร์ ในด้านยาเกี่ยวกับพันธุกรรมเป็นแห่งแรกให้แก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ในฝรั่งเศส

"แม้กระทางเมื่อสองปีก่อน ยังนับว่ายากที่จะดึงเงินทุนแบบนี้มาที่นี้" แปร์ริน ผู้จบเอ็มบีเอ. จากคอร์แนล แห่งสหรัฐฯกล่าว

อดีตผู้บริหาร MOTOROLA ชื่อ ณองลุก กรองด์ - คลีมองต์ วัย 47 เป็นอีกผู้หนึ่งที่อยู่ในกลุ่มที่หาไม่ค่อยได้ในยุโรป เพราะเป็นผู้จัดการบริหารข้ามชาติที่ลาออกจากบริษัทถึงสองครั้งสองครา เขาเริ่มต้นบริษัทของตนเองเป็นครั้งแรกในต้นทศวรรษที่ 1970 ในฐานะผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์รายหนึ่งทางตอนใต้ของฝรั่งเศส โดยอาศัยทุนรอนจำนวนเล็กน้อย ภรรยาของเขาคุมงานฝ่ายบริหารและการเงิน ขณะที่กรองด์ - คลีมองต์ดูแลด้านการตลาดและฝากเทคนิค แต่เมื่อนายทุนจากซาอุดิอาระเบียระงับการให้ทุนเพิ่มเพื่อขยายงาน กรองด์ - มองต์จึงถึงกลาลล่องจุ๊น และกลับไปที่ MOTOROLA อีกครั้ง "ครั้งนั้นสอนให้ผมรู้ถึงความสำคัญของการเงินที่มั่นคง และยุทธวิธีที่ชัดเจนจากจุดเริ่มต้น" เขากล่าวถึงบทเรียนที่ได้รับในครั้งแรก

ปัจจุบันธุรกิจล่าสุดของ กรองด์-มองต์ คือบริษัท EUROPEAN SILICON STROCTURES ที่รู้จักกันในนาม ES2 ซึ่งปัญหาการเงินจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะมีบริษัทเครือข่ายที่ดำเนินการโดย ADVENT INTERNATIONAL อันเป็นข่ายงานต่างประเทศของ TA ASSOCIATES แห่งบอสตัน กลุ่มบริษัทเงินทุนที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา ได้ลงทุนใน ES2 ด้วยถึง 46 ล้านเหรียญฯ บริษัทES2 ผลิตไม่โคซิพแบบสั่งทำ โดยใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ที่ลดทอนเวลาการผลิตได้อย่างมากในการทำชีพรุ่นเล็ก ๆ

กรองด์ - คลีมองต์ พยายามหลีกเลี่ยงสงครามอัตราราคา ที่ทำลายผู้ผลิตชีพไปมากแล้ว โดยหันมาให้ความสนใจกับตลาดที่มีช่องว่างอยู่สำหรับอุตาสาหกรรมในยุโรปซึ่งโดยทั่วไปจะผลิตอีเล็กทรอนิกส์ในจำนวนตำกว่า 20,000 หน่วย เป้าหมายของเขาคือ ยอดขายปีละ 100 ล้านเหรียญฯ ในระยะ 5 ปี

ขณะเดียวกันความวิตกที่จะถูกทิ้งห่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ในการแข่งขั้นด้านเทคโนโลยี ทำให้ยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมยุโรปเริ่มหันไปหาบริษัทขนาดย่อม และบริษัทเกิดใหม่อย่าง ES 2 มากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้ง โอลิเวตตี้ ฟิลิปส์ และซาบ รวมทั้งบริษัทอื่น ๆ ร่วมเป็นเจ้าของ ES2 ถึง 50 %ขณะที่ ADVENT และบริษัทเงินทุนอื่น ๆ ถือหุ้น 30 % และส่วนที่เหลือเป็นส่วนพนักงานระดับสามัญต่าง ๆ ในบริษัทเอง

กองทุน VENTURE CAPITAL ที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมันตะวันตก คือ TECHNO- VENTURES MANAGEMENT ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่เมืองมิวนิค ได้เปิดบริการเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ด้วยเงินทุนจำนวน 40 ล้านเหรียญฯ โดยมีบริษัทซีเมนส์ ซึ่งเป็นบริษัทอิเลกทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมัน เป็นผู้ลงทุนรายสำคัญรายหนึ่ง และเมื่อเร็ว ๆ นี้กลุ่มบริษัทแห่งใหม่รายหนึ่ง ที่ชื่อ EUROVER TURES ที่ได้รับการสนับสนุนจากยักษ์จำนวนหนึ่ง รวมทั้งโดโอลิเวตตี้ วอลโว่ พิเรลลี และ เซนต์ โกแบง ได้ระดมเงินทุนขึ้นมาถึง 225 ล้านเหรียญฯ

วิธีการซื้อช่วงการจัดการ หรือ MANAGEMENT BUYOUTS เป็นกุลแบจอีกดอกหนึ่งที่ไขความสามารถในเชิงประกอบการภายในบริษัทยุโรปออกมา อย่างเช่นกรณีของบริษัท ซีเมนส์ ภายหลังที่มีการชักชวนจากนายทุน VENTURE CAPITAL อิสสระหลายคน จึงได้ตกลงเมื่อสองปีที่แล้วจำขายวิธีการของตนในการทดสอบวงจรไอซี. ให้แก่พนักงานผู้ที่พัฒนาระบบนี้ขึ้นมา "บริษัทใหญ่" ของยุโรปมากมายแก่ตัวเสียก่อนที่จะตระหนักเรื่องในข้อนี้ " กรองด์-คลีมองต์ แห่ง ES กล่าว "การซื้อช่วงโดยผู้จักการเหล่านี้ บ่อยครั้งเป็นทางที่ดีที่สุดในการตอนกิ่งต้นโอ๊กยักษ์เหล่านี้

การตอนกิ่งด้วยวิธีการดังกล่าว ในอังกฤษนั้นเป็นที่นิยมโดยกว้างขวางมาแล้ว จากข้อมูลของศูนย์วิจัยทางด้านนี้ของมหาวิทยาลัย นอททิงแฮม ชี้ว่า เงินจำนวนมากกว่า 2.5 พันล้านเหรียญฯ ได้จ่ายไปกับการตกลงซื้อช่วง 250 ราย เมื่อปีกลาย เทียมกับจำนวน 50 ล้านเหรียญฯ สำหรับ 52 รายในปี 1979 อย่างไรก็ตาม บนฝั่งทวีปกลับเป็นที่นิยมน้อย และอยู่ในอัตราที่ขึ้น ๆ ลง ๆ อาจเป็นเพราะนายทุนและผู้จัดการฝั่งทวีปมีความเป็นอนุรักษ์นิยมมากกว่า นอกจากนั้นส่วนใหญ่ยังเป็นบริษัทส่วนใหญ่ยังเป็นบริษัทขนาดกลางที่มีครอบครัวเป็นเจ้าของ โดยขนาดนี้เป็นพวกรุ่นที่3 โดยกว่าที่จะให้พวกเขาพร้อมที่จะขยายการจัดการออกไปก็คงตกราว ๆ รุ่นลูกรุ่นหลานของพวกเขาอีกทีหนึ่ง

เคลาส นาธูซิอูส ผู้ริเริ่มกองทุน VEN TURE CAPITAL รายแรกของเยอรมานตะวันตกกล่าวว่า "นับตัวได้เลย จะมีสัก 2 ในพันรายที่ยอมรับการซื้อช่วงการจัดการในเยอรมัน"

การซื้อช่วงโดยผันบรรดาผู้จักดาไปให้กับผู้ประกอบการนี้ คงจะทำให้นักการเมืองที่หมกมุ่นอยู่กับปัญหาการว่างงานดีใจอยู่ไม่น้อย เพราะวิธีดังกล่าวจะช่วยสร้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่า ๆ กับธุรกิจใหม่ ในการศึกษาเรื่องนี้ของอังกฤษที่เกิดขึ้นในปี 1979 นักวิจัยที่มหาวิทยานอททิงแฮม พบว่า การจ้างงานโดยเฉลี่ยเริ่มลดลงเพราะบริษัทที่มีปัญหากำลังจะสะสางตัวเองแต่นับจากนั้นมาอัตราการจ้างงานก็เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 11 ก่อนปี 1983

MACRO4 ของอังกฤษซึ่งผลิตซอฟท์แวร์ระบบพิเศษสำหรับเครื่องเมนเฟรมของ ไอบีเอ็ม เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ถูกดึงไปอยู่ในความดูแลของนักจัดการเมื่อปี 1984 จากการซื้อช่วงที่ ADVENT INTERNA TIONAL ให้การสนับสนุนด้านการเงินอยู่เป็นผลให้กำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 5 เท่าในช่วงสองปี นับจำนวนเงินมากกว่า 4 ล้านเหรียญฯ และพนักงานก็เพิ่มมากขึ้นเกือบสองเท่า เทอร์รี่ เคลลี่ กรรมการผู้จักการของบริษัทคาดคะเนว่า บริษัทจะเติมโตโดยรวมถึง 40 - 50 % "ในไม่กี่ปีข้างหน้า"

กฎระเบียบที่ยังเป็นปัญหา

ผู้อยากบินสูงของยุโรปดูเหมือนกำลังจะเผชิญกับข้อจำกัดมากกว่าคู่ค้าอเมริกัน จากประสบการณ์ของเปาโล วิททาดินี วัย 29 ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบอคโคนีที่มีชื่อแห่งมิลาน ซึ่งได้เอาข้อสังเกตของพนักงานส่งสารมอเตอร์ไซค์ที่ส่วเสียงคำรามลั่นถนนใจกลางเมืองลอนดอน ระหว่างที่เขาเรียนภาษาอังกฤษอยู่ที่นั้น กลับไปริเริ่มกิจการของตัวเองโดยร่วมกับหุ้นส่วนคนหนึ่ง เมื่อปี 1984 บริษัท PONY EX PRESS หรือ "ม้าเร็ว" เป็นบริการส่งของทางมอเตอร์ไซค์แห่งแรกของอิตาลี โดยปีที่แล้วได้ขยายสาขาออกไปอีก 4 เมืองใหญ่ ทำให้ยอดบินลิ้วสูงถึง 2.7 ล้านเหรียญฯ และสร้างงานนอกเวลาให้กับวัยรุ่นสิงห์มอเตอร์ไซค์ได้อีกถึง 10,000 คัน

นับจาก PONY EXPRESS เริ่มกิจการมา ปรากฏว่ามีบริษัททำนองเดียวกันถึง 200 แห่ง กระจายไปทางคาบสมุทรอิตาลีเลยทีเดียว แต่ปัญหาของวิททาดินี กลับไม่ใช่การแข่งขัน หากเป็นเรื่องระเบียบข้อบังคับเพราะภายใต้กฎหมายอิตาลีนั้น บริการส่งด่วนถูกห้ามโดยปริยายในการส่งเอกสารพวกจดหมาย บันทึกข้อความ หรือการสื่อสารอื่นใดที่มีลายเซ็น ทั้งนี้จะต้องได้รับการประทับตราจากเจ้าหน้าที่ ที่สำนักงานไปรษณีย์ของรัฐเสียก่อน ซึ่งมีอำนาจบังคับทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองการผูกขาดนี้ด้วย

นอกจากการเสียค่าปรับของพนักงานมอเตอร์ไซค์ของ PONY EXPRESS ซึ่งไม่ค่อยสนใจกฎระเบียบแล้ว สำนักงานไปรษณีย์กลางกำลังจะออกข้อบังคับใหม่ ๆ ตามมาอีกมากมาย "ความจริงเราอยากจะขยายกิจการออกไปทางด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่นการส่งอาหาร หรือส่งยา " วิททาดินีกล่าว "แต่สิ่งแรกที่เราต้องการคือ การรับรองทางกฎหมายมรสิทธิที่เรามีอยู่"

ภาวะกฎระเบียบฟ้องเช่นนี้ หรือที่เรามักเรียกกันว่า "เรด -เทป " หรือระบบเช้าชามเย็นชาม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การจ้างงานในภาคบริการของยุโรปยังตามหลังอเมริกา และญี่ปุ่น ภาคบริการที่ไม่อาจเติมโตได้ส่วนนี้ยังส่งผลให้ภาวะการจ้างงานของยุโรปยังติดกึกอยู่ที่ 11 % มาตั้งแต่ 1982 ในขณะที่บริการด้านนี้ของสหรัฐ ฯ ได้ช่วยงานมากถึง 21 ล้านอัตราในช่วงสิบปีที่แล้ว

แม้จะมีแรงกระตุ้นจากผู้ประกอบการใหม่ ๆ จนทำให้กำแพงแห่งกฎระเบียบค่อย ๆ ลดลงมาบ้าง แต่ก็เป็นไปอย่างเชี่ยงช้า อิสซาเบล รูบิโอ วัย 28 จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาด้านธุรกิจชั้นนำของสเปน INSTITUTO DE EXPRESA บอกเล่าว่า เมื่อครั้งที่เธอพยายามเปิดร้านครัวซองแห่งแรกของตนเองขึ้นที่กรุงแมดริดเมื่อ 3 ปี ก่อน เธอต้องผ่านด่านระเบียบข้อบังคับที่หยุมหยิม และบ่อยครั้งขัดกันเองถึง 45 ข้อ กว่าจะได้รับใบอนุญาตดำเนินการได้ ทุกวันนี้ผลของการรณรงค์ของเธอในเรื่องนี้ทำให้ธุรกิจใหม่ ๆ ในสเปนสามารถผ่าพ้นระเบียบทุกอย่างในมีอยู่ภายใต้หน่วยงานของรัฐบาลแห่งเดียวเท่านั้น

นอร์แบร์ท วาลแตร์ วัย 42 นักเศรษฐศาสตร์นำรุ่นใหม่คนหนึ่งของเยอรมันตะวันตก ที่กำลังวิจัยทฤษฎีของตนที่มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ในสหรัฐฯ ในขณะนี้ เชื่อว่าอาจมีการเชี่ยมโยงที่น่าสนใจระหว่างการเกิดของธุรกิจ กับการเกิดจริง ๆ ของคนเรา เพราะยิ่งมีการแข่งขันกันมากขึ้น ซัพพรายที่มีจำกัดของงานบริษัทที่มีอยู่ ให้ผู้มีความสามารถให้หันไปแสวงหาหนทางของตนเอง "ในช่วง 120 ปีที่แล้วในสหรัฐฯ ดูเหมือนว่าอัตราที่เพิ่มของการเกิดทุกครั้ง จะตามมาด้วยระรอกของบริษัทธุรกิจที่เกิดใหม่สหรัฐฯ ที่เพิ่มเป็น 6 เท่าตัว ตั้งปลายทศวรรษที่ 1950 เป็นต้นมา การเพิ่มขึ้นของธุรกิจเกิดใหม่ในปัจจุบันของยุโรป ซึ่งมีอัตราการเกิดเพิ่มขึ้นช่วงหลังสงคราม ให้หลังของอเมริกามาแล้วหนึ่งทศวรรษก็อาจเป็นเหมือน "เสียงกัมปนาทที่ดังขึ้นก่อนพังทลายของภูเขาน้ำแข็ง " ที่จะตามก็เป็นได้

นิตยสารฟอร์จูนฉบับเดียวกันสรุปท้ายไว้ว่า ทฤษฎีที่ว่ามายังไม่มีใครที่พร้อมจะยืนยัน แต่ว่าทัศนคติที่มีต่อการประกอบการในยุโรปมีการปรับปรุงอย่างเห็นได้ชัด เกินกว่าที่ใครจะคาดการณ์ไว้เมื่อสิบปีที่แล้ว "ตอนนี้ผู้คนกำลังพูดกันถึงการสร้างผู้ประกอบการ" ฮวน เอฟ . คาดา วัย 36 นายทุน VENTURE CAPITAL และผู้อำนวยการทั่วไปของสถาบันการจัดการระหว่างประเทศ ประจำกรุงเจนีวา อันเป็นสภาบันธูรกิจชั้นนำของยุโรปกล่าวไว้ "ทางหมดที่พวกเราได้ทำมาแล้วในยุโรปก็คือการสร้างสรรค์บรรยากาศที่เป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริมให้พวกเขาออกมาจากห้องแคบ ๆ "

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจของยุโรปอยู่ในภาวะที่แข่งขันได้ ผู้นำทางการเมืองจะต้อง เล็งเห็นความสำคัญของการบำรุงรักษา และปรับปรุงบรรยากาศดังกล่าว ส่วนที่เหลือจากนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการยุโรปดูแลกันไปเองต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us