Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2530
ไดมอนด์ ทาวเวอร์เจ้าของโครงการเจ้าหนี้ - ผู้ซื้อ             
 

   
related stories

สมชาย ฤทธิ์นพคุณ ก่อนจะมาเป็น ไดมอนด์ทาวเวอร์
สุดยอดสัญญาซื้อขายของ "คนซื้อ " ชื่อสมชาย

   
search resources

Real Estate
Financing
สมชาย ฤทธิ์นพคุณ
สมชายโฮลดิ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล ดีเวลลอปเม้นต์




โดยทั่วไปของเรื่องราวความขัดแย้ง เมื่อถึงที่สุดก็มักจะมาฝ่ายที่ได้กับฝ่ายที่เสีย

เรื่องไดมอนด์ทาวเวอร์นนั้นก็เป็นเรื่องราวความขัดแย้งเรื่องหนึ่ง เพียงแต่แทนที่จะเป็นความขัดแย้ง 2 ฝ่าย ไดมอนด์ทาวเวอร์กับเป็นความขัดแย้งสามเส้า เจ้าของโครงการ -สถาบันการเงิน ที่เป็นเจ้าหนี้ลูกค้าผู้ซื้อห้องชุด

เจ้าของโครงการขัดแย้งกับสถาบันการเงิน เจ้าหนี้ในเรื่องนี้ที่ค้างชำระ

ขัดแย้งกับลูกค้าที่เป็นผู้ซื้อห้องชุดเพราะส่วนหนึ่งอ้างว่าซื้อแล้วแต่ยนังไม่ได้โอนให้เป็นที่เรียบร้อยและยนังมีปัญหาอื่น ๆ อีก

ส่วนสถาบันการเงินเจ้าหนี้กับลูกค้าที่เป็นผู้ซื้อต่างฝ่ายก็ต่างยืนคุมเชิงกัน ซึ่งถ้าหากมีการฟ้องร้องบังคับจำนองเมื่อไร เจ้าหนีและลูกหนี้จะปะทะกันแน่นอนที่สุด

และที่ประหลาดมากที่สุดคือ ความขัดแย้งนี้อาจจะลงเอยด้วยการเสียหายด้วยกันทุกฝ่าย

เจ้าของโครงการนั้นอาจจะหมดตัวพร้อม ๆ กับหมดอนาคต

เจ้าหนี้อาจจะได้เพียงอาคารกับที่ดินจริง ๆ แล้วก็ไม่ค่อยจะคุ้ม

ส่วนลูกค้าหลายสิบรายก็คงจะเสียเงินฟรีไม่ได้ห้องชุดสมใจ ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับความเมตตาปรานีของเจ้าหนี้ที่เข้ามายึด

ก็คงจะพอกล่าวได้ว่า ไดมอนด์ทาวเวอร์ เป็นกรณีที่มีความพิเษศพอสมควรและก็สำคัญยิ่งกว่าและในแง่ที่น่าจะเป็นบทเรียนสำหรับทุกฝ่ายกรณีหนึ่ง

ไดมอนด์ทาวเวอร์เป็นคอนโดมิเนียมที่เริ่มโครงการเมื่อปี 2525 โดยมีบริษัทสมชายโฮลดิ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล ดีเวลลอปเม้นต์ เป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งเจ้าของบริษัทสมชายโฮลดิ้ง ฯ ก็ชื่อสมชาย ฤทธิ์นพคุณ และภรรยาของเขาชื่อดวงตา ก่อนหน้าที่จะตัดสินใจทำโครงการใหญ่แห่งนี้ทั้งคู่โด่งดังมากกับความสำเร็จในการจัดทำโครงการก่อสร้างทาวน์เฮ็าส์ริมถนนวิทยุ

ซึ่งถ้าจะย้อนความหลัง ปี 2525 ที่สมชาย ฤทธิ์พคุณ เริ่มโครงการไดมอนด์ทาวเวอร์นั้นก็คือช่วงปีที่ "คอนโดมิเนียม" กำลังบูมมาก ๆ นั้นเอง

เมื่อบวกกับกับทำเลที่ฃตั้งในย่านสีลมที่กำลังเป็นพื้นที่ทองด้วยแล้ว ใคร ๆ ต่างก็คิดว่าไดมอนด์ทาวเวอร์จะต้องไปได้สวยแน่ ๆ โดยเฉพาะบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจของชาตรี โสภณพณิช ก็คงจะร่วมอยู่ในใคร ๆ นั้นด้วย

ร่วมเสริมกิจได้เป็นสถาบันการเงินที่ประกาศให้กับสนับสนุนโครงการไดมอนด์ทาวเวอร์เต็มตัว

"วงเงิน 110 ล้านบาท ระยะเวลา 2 ปี โดยใช้ที่ดินที่จะทำโครงการจดจำนองค่ำประกันร่วมกับเสริมกิจ " สมชาย ฤทธิ์พคุณ บอกกับ "ผู้จัดการ"

ไดมอนด์ทาวเวอร์นั้นตั้งอยู่บนเนื้อที่ดิน 2 ไร่ 79 ตารางวา สุดซอยสิริจุลเสวกที่แยกจากถนนสิลมเลียบด้านข้างธนาคารไทยทุนสำนักงานใหญ่เข้าไปเพียงราว ๆ ร้อยเมตร ซอยสิริจุลเสวกเชี่ยมต่อเป็ทนรูปตัวยูกับซอยสุรเสนา ทื่อยู่ด้านข้างธนาคารกรุงเทพตลอดจนคนทำงานในย่านนั้นออกมาหาอาหารรับประทานหรือจับจ่ายซื้อของแล้ว ก็จะทราบถึงความยากลำบากในการเข้าออกได้อย่างซาบซึ่ง

บริเวณที่ดินตรงนี้เดิมเจ้าของคือญาติ พลตำรวจโทกฤช ปัจฉิมสวัสดิ์ ชื่อวัลภาปัจฉิมสวัสดิ์ ซึ่งได้จดจำนองไว้กับธนาคารกรุงเทพในวงเงิน 30 กว่าล้านบาท และใกล้หลุด จากการแนะนำของเพื่อนคนหนึ่งสมชาย ซึ่งขณะนั้นกำลังวางโครงการคอนโดมิเนียมอยู่ในหัวก็เลยตัดสินใจจับที่ดินผืนนี้หาเงินไถ่ถอนจำนองพร้อมกับเพิ่มเงิน ให้กับเจ้าของที่ไปจำนวนหนึ่งว่ากันว่าเงินจำนวนน้จ่ายเป็นห้องชุดของไดมอนด์ทาวเวอร์ยจำนวน 8 ยูนิตที่รวมราคาแล้วก็ประมาณ 16 ล้านบาท ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ก็มีข่าวออกมาว่าห้องชุดทั้ง 8 ยูนิตนี้ วัลภา ปัจฉิมสวัสดิ์ ยังไม่ได้รับโอนเป็นกรรมสิทธิ์ให้ถูกต้องเช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ ราย

"สมชายช่วงปี 2525 - 2526 ดูจะมือขึ้นมา เครดิตก็ดี โดยเฉพาะเสริมกิจก็เชื่อฝีมือมากตอนที่โครงการการุณี (ใกล้ ๆ กับไดมอนด์ทาวเวอร์และสนับสนุนโครงการโดยร่วมกับเสริมกิจเช่นกัน ) มีปัญหาและร่วมเสริมกิจจะเลิกให้การสนับสนุนนั้น สมเคยคิดจะเข้าไปเทคโอเวอร์มาทำเหมือนกันคิดดูแล้วกันว่าตอนที่เริ่มจับไดมอนด์นั้นสมชายเชื่อมือตัวเองขนาดไหน " คนที่รู้จักกับสมชาย ฤทธิ์นพคุณ เล่าให้ฟัง

แต่ที่บอกว่าสมชายก้าวเร็วเกินไปก็มาไม่น้อย

ไดมอนด์ทาวเวอร์ขณะเริ่มโครงการนั้นประกาสตัวว่าาเป็นคอนโดมิเนียมสูง 23 ชั้น แบ่งเป็นห้องชุด 150 ยูนิต พื้นที่อาคารทั้งหมด 2,316 ตารางเมตร ที่จอดรถได้กว่า 200 คัน สิ่งอำนวยความสะดวกครบครันพร้อมระบบป้องกันภัย รูปทรงอาคารก็ดูโดดเด่นสง่าแปลกตาจากฝีมือการออกแบบโดยหม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุล

และตามเป้าหมายโครงการจะสำเร็จเสร็จสิ้นภายใน 2 ปี ขายหมดใน 1 ปี วงเงินก่อสร้างราว 135 ล้านบาท ซึ่งถ้าเป็นไปตามเป้าหมายป่านก็คงงมีความสุขกันไปแล้วทุกฝ่ายและสมชายก็คงเป็น "ราชาคอนโดมิเนียม" ไปแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย

"มันเป็นงานชิ้นแรกทีสมชายจะได้มีโอกาสเรียนรู้การบริหารโครงการก่อสร้างใหญ่ สมชายนั้นตลอด 10 กว่าปีที่ก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของกิจการ เขาเติมโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาศัยทุนรอนส่วนตัว การหมุนเงินเพียงวงเงินไม่มาก อย่างทาวน์เฮ้าส์ที่ถนนวิทยุ กไม่ได้มีสภาบันการเงินมาให้การสนับสนุน เขาจังหวะดีและโชคก็ยืนอยู่กับเขา แต่ไดมอนด์ทาวเวอร์เข้าจะต้องเรียนรู้ถึงการ บริหารเงินรู้ทางด้านการตลาด เขาจะอาศัยเพียงความสามารถทางด้านการก่อสร้างเพียงอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไปแแล้ว .."

และดูเหมือนสภานการณ์จะท้าทายการเรียนรู้ของสมชายอย่างพอเหมาะพอเจาะเสียด้วย

ปี 2525 ตลอดไปถึงปี 2526 ตลลาดที่อยู่อาศัยสมัยใหม่ที่เรียกกันว่า "คอนโดมิเนียม " กำลังคึกคัก หลายโครงการประกาศตัวสู้ศึกราวดอกเห็ด

แต่พ้นปี 2526 ไปแล้วสถานการณ์ก็กลับเป็นคนละด้าน

จำนวนพื้นที่ คอนโดมิเนียมเมื่อรวม ๆ กันรวมกันดูเหมือนจะมีอยู่เกินความต้องการภาวะเศรษฐกิจก็เริ่มจะบีบรัดก่อผลสะเทือนทั่วด้าน กำลังซื้อหดตัว

โครงการคอนโดมิเนียมหลายแห่งตัดสินใจระงับโครงการกันหน้าตาเฉย ไม่น้อยแห่งงสร้างไปครึ่งๆ กลาง ๆ ก็ชะงักซึ่งกรณีหลังนี้ก็รวมโครงการไดมอนด์ทาวเวอร์ด้วย

ไดมอนด์ทาวเวอร์นั้นหยุดการก่องสร้างราว ๆ เดือนมิถุนายน 2527 ถายหลังที่ตัวอาคารขึ้นไปถึงชั้นที่ 10 แล้วใช้จ่ายเงินที่กู้จากเสริมกิจไปแล้วราว 60 ล้านบาท ยังไปไม่ถึงครึ่งทาง ด้วยซ้ำ ซึ่งสาเหตคุใหญ่ก็เพราะบรรยากาศรายรอบไม่เอื้ออำนวยส่งผลให้ยอดขายไม่เป็นไปตามแผน และโครงการต้องเผชิญปัญหาสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนัก

ที่จริงก็ไม่ใช่เจ้าของโครงการหลอกที่ตัดสินใจหยุดการก่อสร้าง สมชายพยายามจะให้มีกี่ก่อสร้างต่อไปหัวชนฝา

เพียงแต่ร่วมเสริมกิจไม่เห็นด้วย

"ร่วมเสริมกิจบอกว่าบรรยากาศไม่ดีของให้รอไปก่อน ขืนดันทุรังไปก็ขายพื้นที่ไม่ได้ แต่ระหว่างที่ยอกดอกเบี้ยไม่ได้หยุดด้วย เขายังคิดเต็มไปที่ไม่มีลดเลย .. " สมชายบอกเช่นนั้น

แต่บางคนกับกล่าวว่า ร่วมเสริมกิจต้องการให้สมชายปรับแผนการตลาดและแผนการใฝช้จ่ายเงินสายใหม่ เนื่องจากยอดขายเป็นไปไม่ตามเป้าจะทำให้โครงการมีปัญหาหากดำเนินไปเรื่อย ๆ โดยไม่ปรับตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

ซึ่งความของแห่งเงินก็คงต้องชนะอย่างไม่ต้องงสงสัย

ซึ่งร่วกิจได้เข้ามาทำหน้าที่ช่วยขายห้องชุดของไดมอนด์ทาวเวอร์ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2527 พร้อม ๆ กับการ "พักรบ" ของไดมอนด์ทาวเวอร์ "ผู้ใหญ่ของร่วมเสริมกิจเขาขอเอาไปขายให้เขาบอกว่า ไม่มีปัญหา เพราะลูกค้าเขามาก ให้ช่วยซื้อไปรายละห้องสองห้องเดี๋ยวก็หมด " คนที่ทำงานอยู่กับสมชาย ฤทธิ์นพคุณ บอกกับ "ผู้จักการ"

ก็นับว่าเสริมกิจนี้หายนอกจากจากจะช่วยให้การสนับสนุนทางด้านการเงินแล้ว ยามประสบปัญหาก็ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือโดยไม่ทอดทิ้งเสียอีก แม้ว่าจะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงก็เถอะ

สมชายนั้นก็ต้องซาบซึ้งในน้ำใจไมตรีของเสริมกิจ

ซึ่งจริง ๆ แล้วสมชายในขนาดนั้นเองก็รู้สึกตื้นตันใจมาก

ตรงกันข้ามกับขณะนี้ที่เข้าแค้นความมีน้ำใจเอื้ออารีของเสริมกิจแทบกระอักโลหิต สมชายยคิดว่าถ้าตอนนั้นเขายื่นยันสร้างไดมอนด์ทาวเวอร์ต่อไปไม่หยุดและไม่ต้องฝากความหวังเรื่องการขายพื้นที่ของเจ้าของหนี้ของเขา

บางที่ตอนเขาอาจจะสบายตัวไปแล้วก็ได้

"ร่วมเสริมกิจดึงงานขายไปพร้อมกับให้หยุดการก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2527 กระทั่งสิ้นปีจะขึ้นไป 2528 เขาขายไม่ได้สักห้อง.." สมชาย ยืนยันและเขาคิว่ามันเป็นความคิดที่สมเหตุสมผลเนื่องจากโครงการนี้ยังใช้เงินไม่เต็มวงเงินที่เสริมกิจอนุมัติ

ก็คงเป็นเรื่องที่บอกว่าใครผิดใครถูกนั้นคงยาก เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่สถานะการณ์เศรษฐกิจผันผวน ที่ต่างฝ่ายก็ต่างที่จะพยายามมองออกไปข้างหน้าว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร และสภานะการณ์จะเลวร้ายหรือจะกระเตื้ยงขึ้นหรือไม่ ร่วมเสริมกิจก็น่าจะคิดถูกในฐานะที่เป็นสถาบันการเงินที่ต้องมาความระมัดระวังมาก ๆ ส่วนสมชายก็เป็นธรรมดาสำหรับผู้ประกอบการที่เมื่อลงทุนลงแรงไปแล้วก็อยากจะเสี่ยงต่อไปให้ถึงที่สุด

ไดมอนด์ทาวเวอร์อยู่ในฐานะที่ยากลำบาก ตรงที่เริ่มโครงการไปแล้วเกือบครึ่งถึงประสบความผันผวน หยุดไปเลยก็ไม่ได้ แต่จะเดินต่อไปค่อนข้างลำบาก หลายคนเชื่อว่า โครงการนี้ถ้าจะให้ฟังฝ่าไปถึง ต้องพลิกฟื้น ประการสำคัญทั้งเจ้าของโครงการและแหล่งเงินจะต้องกอดคอร่วทเดินทางอย่างจริงใจ ต่อกันจริง ๆ

ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างพยายามเอาตัวรอดหรือคิดหาช่องทางที่ไม่ยอมเจ็บตัวหรือเจ็บให้น้อยที่สุด

ไดมอนทาวเวอร์นั้นขณะนี้ขณะมีหนี้ค้างชำระกับร่วมเสริมกิจประมาณ 211 ล้านบาท ตัวอาคารสร้างเสร็จสมบูณร์แล้วสร้างจากฝายนอก ส่วนภายในยังมสีจำนวนห้องชุดที่ขายกว่าครึ่งที่ขายไม่ออกและยังไม่ตกแต่งซึ่งถ้าคิดจะตกแต่งก็ต้องใส่เงินเข้าไปอีกนับสิบล้านบาท

แต่ทุกอย่างหยุดชะงักอีกครั้งตั้งแต่ในช่วงกลางปี 2529 พร้อม ๆ กับความขจัดแย้งระหว่างเจ้าของโครงการกับเจ้าหนี้ที่ค้างกันอยู่

เป็นไปได้หรือไม่ที่ปัญหาวันนี้เป็นปัญหาที่มามาจากเรื่อง "ความจริงใจต่อกัน" ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ คู่นี้ที่จุดหักเหลี่ยมก็อยู่ที่การตัดสินใจระงับโครงการไปกว่า 7 เดือนในช่วงปี 2527 และกลายเป็นความราวฉานที่ต่างฝ่ายก็ต่างโยนความผิดให้ใส่ฝ่ายตรงข้าม

ในช่วงต้นปี 2528 สมชายกัดฟันเจรจากับร่วมเสริมกิจและดำเนินการร่วมสร้างคอนโดมิเนียมของเขาต่อ เพราะความล่าช้าค่าวัสดุก่อสร้างที่โก่งราคาขึ้นนรวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่แพงหูฉี่ในช่วงดังกล่าวอันมีผลให้งบลงทุนปานปลายออกไป สมชายก็ตัดสินใใจทยอยนำทรัพย์สินส่วนตัวอื่นมาวางค่ำเพิ่มกับร่วมเสริมกิจ

ก็น่าชมเชยไม่น้อยที่ในที่สุดอาคารก็สร้างเสร็จไปถึงชั้นสุดท้าย

"เราก็พยายามช่วยเขามาก ถ้าไม่ช่วยจะเป็นอย่างที่เห็นนี้หรือ " ดร. ชัยยุทธ์ ปิลันธน์โอวาท กรรมการอำนวยการร่วมเสริมกิจที่ดูแลโครงการไดมอนด์ทาวเวอร์ โดยตลอด พูดกับ "ผู้จัดการ"

เพียงแต่ถ้าถามสมชายเขาก็จะบอกว่าเป็นเพราะเขานำทาวเฮ้าส์ 6 ห้องรวมทั้งที่ดินบนถนนวิทยุอีกบางผืนมาวางค่ำเพิ่มเติมเสียมากกว่า

และก็รวมทั้งฝีมือในการนำพื้นที่ส่วนกลางของโครงการอย่างเช่นส่วนที่เป็นลิฟท์เป็นทางเดินหรือแม้กระทั่งห้องน้ำ รวมไปกรมที่ดินออกเอกสารสิทธิ์ แล้วก็นำไปจำนองไว้กับร่วมเสริมกิจด้วย

"นี้ก็ยนังมีปัญหาถ้าเจ้าของโครงการกับกลุ่มร่วมเสริมกิจตกลงเรื่องหนี้กันไม่ได้ เจ้าหนี้ก็ต้องยึดแล้วพวกของส่วนกลางที่ติดจำนองอยู่ล่ะ จะทำอย่างไร หรือจะให้อยู่ลอย ๆ กลางอากาศลงฟท์ก็ไม่ได้เดินออกจากห้องเพราะเป็นกรรมสิทธิ์ของคนอื่นเขา เขาอาจจะขอสงวนสิทธิ์ไม่ให้ส่วนกลางใช้ประโยชน์ก็เป็นได้ .. " ลูกค้าไดมอนด์ทางเวอร์รายหนึ่งแสดงความวิตก

ไม่ว่าจะเป็นดิ้นร้นเพื่อให้โครงการเดินหน้า ไม่สะดุดอย่างคนที่คนตรอกหรือเนื่องจากเจตนาใดก็แล้วแต่ ในฐานะเจ้าของโครงการแล้ว สมชายก็ดูเหมือนว่าต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างช่วยไม่ได้

สำหรับร่วมเสริมกิจ นั้นก็คงจะช่วยสมชายมากโดยเฉพาะผู้บริหารของร่วมเสริมกิจบางคนถึงกับแน่นำซัพพรายเออร์ให้หลายเจ้า

เดิมสมชายเซ็นสัญญากับค่าวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง แต่ก็เพราะแนะนำจึงต้องเปลี่ยนมาใช้บริการของรายอื่น

อย่างพวกเหล็กก็ใช้เหล็กของศรีกรุง ที่เจ้าของชื่อ ดร.พิชิต นิธิวาสิน ซึ่งเผชิญเป็นกรรมการของร่วมเสริมกิจ หรือแม้แต่หินอ่อนที่ใช้ปูนพื้นก็เป็นหินอ่อนที่ร่วมเสริมกิจจัดหามาให้หลายสิลคันรถสิบล้อและอีกหลายรายการ

สมชายบอกคล้าย ๆ กับว่าเขาไม่สู้ความพอใจกับความช่วยเหลือแบบนี้นัก

"คงเป็นเพราะมีช่วงหนึ่งที่ไดมอนด์มีปัญหาเรื่องการเงินกับซัพพรายเออร์มากร่วมเสริมกิจก็เลยต้องยื่นมือเข้ามาแก้ปัญหาไม่น่าจะเป็นเรื่องซิกเซกอย่างที่ว่ากัน" แหล่งข่าวคนหนึ่งพูดอย่างคนเข้าใจเรื่อง

สมชายนั้นก็ต้องดิ้นรนเกือบจะทุกทางว่าไปแล้วเค้าหน้าตักของเขาก็อยู่ที่ต้องทำโครงการให้เสร็จเพื่อจะได้ขายได้ หากไม่เสร็จคนที่จะเสร็จ คงไม่แคล้วเขาเนื่องจากผู้ซื้อเองลองถ้าจะคสักเงินล้านเศษ หรือเกือบสองล้าน เพื่อซื้อห้องชุดเพียงหนึ่งยูนิตแล้วก็คงต้องการเลือกซื้อโครงการที่ไม่มีปัญหาเป็นธรรมดา

แต่กระนั้นยอดขายก็ไม่ค่อยเป็น ไปตามเป้าเอามาก ๆ

ไดมอนด์ทาวเวอร์ขณะยังมีผู้ซื้อไปแล้วราว ๆ 60 ราย กว่ายูนิตที่โอนกรรมสิทธิ์กันเรียบร้อยและอีกประมาณ 30 ราย ที่บอกว่าจ่ายเงินซื้อจนครบถ้วนแต่ยังโอนไม่ได้ ใน 30 กว่ารายนี้จำนวนหนึ่งเป็นชาวต่างชาติที่กฎหมายอาคารชุดไม่เปิดโอกาสให้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ก็เลยหาทางออกด้วยการทำเป็นสัญญาเช่าโดยที่จ่ายเงินกันเช่นการซื้อขาย ตัวสัญญาหลายฉบับก็ทำกันพิลึกพิลั่นเหมือนกับตั้งใจว่าถ้าเกิดปัญหาก็คงจะเอาผิดเจ้าของโครงการยาก

และก็เพราะลูกค้ากลุ่ม 30 รายนี้เองที่เป็นตัวสนวนจุดความขัดแย้ง สามเส้า

สมชายนั้นพยายามใช้สายสัมพันธ์ที่มี และแผนการตลบาดหลากหลายเพื่อที่จะขายพื้นที่ของไดมอนด์ ซึ่งโดยขั้นตอนแล้วถ้าขายออกไปก็ต้องตกแต่งห้องให้กับลูกค้าและถ้าจะต้องตกแต่งห้องก็ต้องไปเอาเงินกลุ่มเสริมกิจมาทำ จ่ายเงินงวดทาดท้ายกันเรียบร้อยเขาก็จะเอาเงินไปไถ่ถอนจำนองเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้ซื้อ ก็หมุนเวียนเช่นนี้ กระทั่งถึงปี 2529 ทางร่วมเสริมกิจก็ระงับการปล่อยเงินให้กับไดมอนด์เนื่องจากพบว่าสมชายไม่ยอมนำเงินมาลดหนี้และเงินที่ลูกค้าจ่ายก็ไม่มาถึงร่วมเสริมกิจ โดยเฉพาะลูกค้าที่ทำสัญญาเช่า (แต่จ่ายเงินราคาซื้อ) หลายราย

เมื่อร่วมเสริมกิจหยุดปล่อยเงินการตกแต่งภายในก็เดินต่อไปไม่ได้ การขายตรงมีอันหยุดชะงักและก็รวมทั้งกลุ่มลูกค้า 30 รายก็โอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้ ยกเว้นแต่สมชายจะหาเงินมาไถ่ถอน จำนองให้ถูกต้อง

ก็คงไม่ต่างจากวัวที่วิ่งพันหลักนั้นแหละ

ปลายปี 2529 ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้าของ โครงการกับผู้ซื้อห้องชุดยังไม่ปะทุ ที่ปะทุคงมีปัญหาระหว่างเจ้าของโครงการกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของหนี้ที่จะต้องเจรจาเรื่องหนี้กันให้ตก

ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่แปลกแทนที่เจ้าหนี้และลูกหนี้จะคุยกันตรง ๆ กับเป็นว่าจะต้องหาคนกลางเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย

ช่วงนั้นเป็นช่วงที่สมชายวิ่งเข้าหาผู้ใหญ่หลายคนเพื่อขอความช่วยเหลือ รวมทั้งคนหนึ่งที่ซื้อกำจร เชวรัตน์ อดีตผู้จัดการโรงงานน้ำแข็งราชบุรี ผู้ที่เคยลงสมัคร ส.ส ราชบุรีมาแล้ว

กำจร กำจรรู้จักสมชายและภรรยาเผอิญมาซื้อหุ้นห้องชุดของไดมอนด์เอาไว้ห้องหนึ่ง

สมชายเล่าความทุกยากที่เกี่ยวกับหนี้ ที่มากับร่วมเสริมกิจให้กำจรฟัง กำจรอาสาจะช่วยหาทางเจรจาประนีประนอมให้ เพราะความที่กำจรผู้รู้จักกับบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ และบุญเท่งก็สนิทสนมกับประสิทธิ์ กาญจนวัตน์ ประธานแบงก์กรุงเทพ

พูดง่าย ๆ สมชายขอความช่วยเหลือจากกำจร กำจรก็ไปขอความช่วยเหลือจากบุญเท่ง เพื่อให้บุญเท่งไปขอความช่วยเหลือจากประสิทธิ์ โดยให้ประสิทธิ์พูดกับชาตรี และให้ชาตรบอกต่อไปถึงผู้บริหารร่วมเสริมกิจให้ช่วยเห็นใใจสมชายหน่อย

ว่ากันว่าขั้นตอนการเจรจาที่มีโยงใยยาวเหยียดนยี้ ดำเนินไปเกือบจะได้ข้อสรุป ที่ฝ่ายสมชายจะต้องยิยยอมยกไดมอนด์ทาวเวอร์พร้อมกับทาวเฮ้าส์ริมถนนวิทยุให้กับร่วมเสริมกิจโดยสมชายเหลือไว้เพียง 3 ห้อง ที่เป็นภัตตาคารฟูหลิงเหมินกับที่อยู่อาศัย

"ซึ่งถ้าแบบนี้ก็คงพอจะคุยกับร่วมเสริมกิจได้ แต่พอมีการนัดพบที่ห้องอาหารโชกุนโดยฝ่ายร่วมเสริมกิจ ดร. ชัยยุทธ์เป็นคนไปคุยด้วย กับเป็นฝ่ายสมชายเป็นฝ่ายขอทาวน์เฮ้าส์ 6 ห้องที่ถนนวิทยุ ไว้หมด ยกให้เพียงไดมอนด์ทาวเวอร์ การเจรจาก็เลยล้ม จากนั้นก็ไม่มีการคุยกันอีกเลย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ร่วมเสริมกิจก็ได้ยื่นโนติ๊สไปแล้ว และก็คงจะมีการฟ้องร้องกันแน่ ๆ " กำจร เชาวรัตน์ เล่าให้ฟัง

กำจร เชาวรัตน์ ปัจจุบันมีฐานะเป็นประธานนิติบุคคล อาคารชุดของไดมอนด์ทาวเวอร์อยู่ด้วย เขาบอกว่าจากท่าที่ตกลงกันอย่างหนึ่ง กลับจะเอาอีกอย่างหนึ่งของสมชายทำให้เขารู้สึดไม่ค่อยพอใจเพราะทำให้เขาเสียหน้าผู้ใหญ่ที่ไปขอร้องให้ช่วย มันเป็นแรงผลักดันให้เขาต้องตรวจสอบพฤติการณ์ของสมชายอย่างละเอียด และเขสเชื่อว่าเขาได้พบกับตออันเบ้อเร่อจากฝีมือของเจ้าของโครงการเข้าให้แล้ว

- มีการนำพื้นที่ส่วนกลางของอาคารไปจดจำนอง

- มีการดัดแปลงชั้นจอดรถให้กลายเป็นห้องชุดเพื่อขายทำให้ที่จอดรถไม่พอเพียง ต้องไปหาที่จอดรถด้านข้างอาคารที่ไม่ใช่สมบัตรส่วนกลาง

- ติดค้างค่าโทรศัพท์จนต้องถูกตัดสายทั้งตึก

- สิ่งที่อำนวยความสะดวกและการรักษาความปรอดภัยไม่เป็นไปตามที่โฆษณาไว้

และที่หนักมากก็เห็นจะเป็นปัญหาผู้ซื้อกลุ่มหนึ่งที่บอกว่าซื้อแล้วแต่โอนไม่ได้

ดูเหมือนว่านับตั้งแต่ปี 2530 มานี้สมชายนอกจากจะรับมือกับร่วมเสริมกิจแล้วก็ต้องรับมือกับลูกค้ากลุ่มหนึ่งด้วยแล้ว

ไดมอนด์ทาวเวอร์ นั้นก็คงจะเป็นอื่มนไปได้ยาก นอกจากร่วมเสริมกิจจะเข้ามายึดไปพร้อม ๆ กับอนาคตที่มืดมิดของสมชายผู้เป็นเจ้าของโครงการ

ไม่มีใครทราบว่าสมชายจะยังสุขสบายดีหรือให้มาอันต้องขมขึ่นใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น

แน่นอน.. ผู้ที่จะต้องเจ็บปวดที่สุดก็คือผู้ที่ซื้อ โดยเฉพาะผู้ซื้อประเภทที่ยังโอนกรรมสิทธิ๋ไม่ได้ทางหลาย

ไดมอนด์ทาวเวอร์วันนี้ยังดูเด่นเป็นสง่าในย่านสีลม เพียงแต่ภายในนั้นร้อนรุ่มกระทั่งตึกแทบพังทลายทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us