Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544
จากบคส. ถึง CDC             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 

   
related stories

ดุสิต นนทะนาคร sales engineering

   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
ค้าวัสดุซิเมนต์ไทย, บจก. - CDC
Construction
จรัส ชูโต
อายุส อิศรเสนา ณ อยุธยา
ค้าวัตถุก่อสร้าง, บจก.




บ่อยครั้งที่แนวคิดง่ายๆ และพื้นๆ มักจะถูกต้องและใช้ได้ยาวนาน ไม่ว่าเหตุการณ์จะเปลี่ยนแปลงมากมายเพียงใด

เครือซิเมนต์ไทยจัดตั้งบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าครั้งแรก ในปี 2505 ในนามบริษัทค้าผลิตก่อสร้าง จำกัด ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นค้าวัตถุก่อสร้าง จำกัด (บคส.) ในอีก 2 ปีถัดมาในสถานการณ์ที่มีแรงกดดันหลายประการ

"ภายใต้แรงบีบคั้นในช่วงการพัฒนาสาธารณูปโภค อย่างขนานใหญ่ ในช่วงสินค้าเกษตรไทยส่งออกได้อย่างมาก พร้อมกับการไหลมาของเงินทุนซีกโลกตะวันตกด้วยการลงทุน ทางตรง และเงินช่วยเหลือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จึงต้อง กระโจนเข้าสู่การขยายตัวผลิตปูนซีเมนต์อย่างต่อเนื่อง การขยาย โรงงานภายใต้เงินกู้ในประเทศในขณะนั้นไม่เพียงพอ จึงต้อง กู้เงินจากต่างประเทศเป็นครั้งแรก รวมทั้งแรงบีบคั้นจาก การแข่งขันที่เริ่มต้นจากธุรกิจผูกขาด เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขัน เพิ่มขึ้น (บริษัทชลประทานซีเมนต์ ก่อตั้งปี 2498 และบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวงก่อตั้งปี 2512 ภายใต้การเจริญเติบโต ที่ต่อเนื่องนับสิบปี" (จากหนังสือ "ยุทธศาสตร์ความใหญ่ เครือซิเมนต์ไทย โดยวิรัตน์ แสงทองคำ)

คำอรรถาธิบายนี้ ครอบคลุมพอสมควร ที่ทำให้บริษัท ที่เน้นการผลิตประเภท ผลิตเท่าใดก็ขายเท่านั้น ในยุคการค้าผูกขาดต้องปรับตัว

ปูนซิเมนต์ไทยในช่วงนั้นได้เปิดฉากขยายกำลังการผลิตขนานใหญ่ครั้งแรกๆ ในประวัติศาสตร์ ด้วยการสร้างโรงงานใหม่ที่ทุ่งสง (2509) แก่งคอย (2514) รวมทั้งขยายการผลิตสินค้า เกี่ยวเนื่อง

การเกิดขึ้นของ บคส. มีความหมายต่อพัฒนาการและแนวคิดใหม่ของเครือซิเมนต์ไทยอย่างสนใจในอีกมิติหนึ่ง ที่ว่า ด้วยการสร้างและพัฒนาบุคลากรแนวใหม่ในองค์กร

นั่นคือการเข้ามาของบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาดีจาก ต่างประเทศ มีประสบการณ์จากบริษัทต่างประเทศในประเทศไทย และประสบการณ์ที่สำคัญที่เครือซิเมนต์ไทยต้องการขณะนั้นก็คือ ประสบการณ์ด้านการตลาด

อายุส อิศรเสนา ณ อยุธยา คือ คนสำคัญคนแรกที่เข้ามา ในบริษัทแห่งนี้ในตำแหน่งที่นับว่าสูงสำหรับคนไทย ในยุคที่ฝรั่ง เป็นผู้จัดการใหญ่ ในปี 2509 และจากนั้นคือ การพัฒนาและสร้างฐานการจัดหน่ายสินค้าของเครือซิเมนต์ไทยในประเทศ อย่างมั่นคง และมีความต่อเนื่องในปัจจุบัน

อายุส ถือได้ว่าเป็นคนที่มีประสบการณ์อย่างโชกโชน คนหนึ่ง เคยเป็นเสรีไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็น คนหนึ่งที่เดินทางจากสหรัฐฯ ด้วยการไปกระโดดร่มลงที่จีน แผ่นดินใหญ่ แล้วลักลอบเข้าประเทศไทย หลังจากสงครามจบลง เขาเดินทางไปทำงานที่สหรัฐฯ กับบริษัทแอบบอต ลาบอราตอรี่ ซึ่งผลิตยา อยู่ 5 ปี ก่อนจะเดินทางกลับมาทำงานกับเชลล์ที่ ประเทศไทยถึง 13 ปี

นอกจากนี้เขายังมีบทบาทในการชักชวนคนอื่นๆ มาด้วย ไม่ว่าจะเป็น จรัส ชูโต (จากเอสโซ่) และอมเรศ ศิลาอ่อน (จาก เชลล์) ในบันทึกความทรงจำครบรอบ 72 ปีของปูนซิเมนต์ไทย ของเขา ระบุไว้ว่า "ขณะที่ผมทำงานอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของเชลล์ ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีโอกาสได้พบกับหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ กรรมการของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยในขณะนั้น และ ได้รับการทาบทามให้ร่วมงานด้วย ผมจึงเริ่มงานกับบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2509 หลังจากนั้นอีกราวเดือนเศษๆ ก็ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทค้าวัตถุก่อสร้าง"

อายุสได้ชื่อว่า เป็นบุคคลสำคัญของเครือซิเมนต์ไทยที่ พัฒนาการตลาดสมัยใหม่ของปูนใหญ่ในยุคเริ่มปรับปรุงบริษัท จากผลิตเท่าใดขายเท่านั้น และเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของ เครือซิเมนต์ไทยด้วย เขาเกษียณไปเมื่อปี 2522 ในตำแหน่งรอง ผู้จัดการใหญ่

"ผมเป็นหนี้บุญคุณเชลล์เป็นอย่างมาก ที่ให้ประสบการณ์ด้านการตลาดกับผม ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ดีที่ปูนซิเมนต์ไทย คือ เมื่อบริษัทปูนซิเมนต์ไทยมีเป้าหมายจะเพิ่มยอดขาย วิธีการ ที่ผมนำมาใช้ได้อย่างดี คือ การเพิ่มจำนวนผู้แทนจำหน่าย โดยได้ตัดสินใจสร้างเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายในต่างจังหวัด และกรุงเทพฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงระบบการขนส่ง สินค้าของเครือฯ" อายุสกล่าวไว้ในหนังสือบันทึกความทรงจำ อีกตอนหนึ่ง ซึ่งเขาย้ำอย่างหนักแน่นเป็นงานที่ภูมิใจเป็นพิเศษ บคส.ดำเนินการอย่างครึกโครมในช่วงนั้น เพราะมี "เลือดใหม่" ที่ระดมนักการตลาดที่มีประสบการณ์ชั้นยอดของ เมืองไทยมารวมกัน คนหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงก็คือ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ก็คือ อมเรศ ศิลาอ่อน ซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงยาวถึง 6 ปีเต็ม ขณะเดียวกัน จรัส ชูโต ก็เข้ามาในระยะใกล้เคียงกับ อายุส มาสร้างระบบงานด้านปฏิบัติการ ซึ่งตามโครงสร้างปัจจุบัน ถือเป็นกิจการเฉพาะที่มีความสำคัญมากในเรื่อง Logistics

จรัส ชูโต ทำงานที่ บคส. 8 ปีก็ขึ้นเป็นรองผู้จัดการ และในปี 2519 เขาก็ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแทน อายุส ในช่วงที่ บคส. กำลังประสบปัญหาการขาดทุนติดต่อกันมา หลายปี เขาได้วิเคราะห์ไว้ในบันทึกความทรงจำว่า "ภาวะการตลาดแข่งขันอย่างรุนแรง ทั้งด้านปริมาณและราคา ในขณะที่ ต้นทุนการผลิตของบริษัทอยู่ในเกณฑ์สูงมาก ประกอบกับการจัด จำหน่ายสินค้าบางชนิด ประสบการขาดทุนตลอดมาเป็นเวลา ยาวนาน รวมทั้งปัญหากำลังคนมีมากกว่างาน" ซึ่งเขาใช้ความพยายามในการแก้ปัญหาบริษัทจนมีกำไรในปี 2520

จรัส ชูโต อยู่ บคส. จนถึงช่วงที่กิจการนี้เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในปี 2522 ซึ่งเขาก้าวมาเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ และในปีถัดมาก็ดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ ในฐานะคนในคนแรก

เป็นที่ยอมรับกันว่า การเปลี่ยนบทบาทของบริษัท ค้าวัตถุก่อสร้างอย่างมากมายเกิดขึ้นในช่วงสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นผู้จัดการใหญ่ กอปรกับนโยบายของรัฐบาลที่พยายามผลักดัน ให้มีการส่งออกสินค้ามากขึ้น แทนที่การผลิตเพื่อทดแทน การนำเข้า จนกระทั่งบีโอไอ ให้การส่งเสริมกิจการค้าระหว่าง ประเทศขึ้น สมหมาย ฮุนตระกูล เป็นผู้หนึ่งที่มิได้รับอิทธิพล ของโมเดลธุรกิจญี่ปุ่นอย่างมาก โมเดล "โซโกะ โซฉะ" จึงถูกนำ มาใช้ในเครือซิเมนต์ไทยอย่างรวดเร็วมากเป็นพิเศษ

ในปี 2522 บริษัทค้าวัตถุก่อสร้าง จึงเปลี่ยนชื่อบริษัท ค้าสากลซิเมนต์ไทย พร้อมกับเปลี่ยนบทบาทอย่างมาก ให้เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าเครือซิเมนต์ไทยไปยังตลาดต่างประเทศ พร้อมกับมีหน้าที่เป็นศูนย์กลางการจัดซื้ออุปกรณ์ ชิ้นส่วน วัตถุดิบจากต่างประเทศด้วย

งานด้านจัดจำหน่ายภายในประเทศทั้งมวล ซึ่งเป็นหน้าที่ หลักที่ถูกวางรากฐานสำคัญในยุคอายุส อิศรเสนา ณ อยุธยา ถูกโอนมาอยู่สายการตลาด ของเครือซิเมนต์ไทย พร้อมกับ การเกษียณอายุของเขาไปในช่วงนั้น อย่างไรก็ตาม อมเรศ ศิลาอ่อน ผู้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ก็รับผิดชอบ สายการตลาดนี้ ต่อเนื่องมาอีกหลายปี จากนั้นราวๆ ปี 2525-2528 เครือซิเมนต์ไทยก็ปรับโครงสร้างบ้างเล็กน้อย หน่วยงานนี้ ก็คือหน่วยงานที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจซีเมนต์ต่อเนื่องจนถึงปี 2541

จากแผนการปรับโครงสร้างภายใต้การแนะนำของบริษัท ที่ปรึกษา McKensey & Company หน่วยงานด้านจัดจำหน่าย ทั้งหมดในประเทศ ก็กลับมารวมอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ค้าวัสดุซิเมนต์ไทย (Cementhai Distribution) หรือ CDC ในปัจจุบัน

ภายใต้โครงสร้างใหม่ CDC จะมีบริษัทลูกที่ดูแลงาน ด้านสำคัญต่างๆ ดังนี้

‘ การจัดจำหน่ายในประเทศ-บริษัทซิเมนต์ไทยการตลาด

‘ การจัดจำหน่ายต่างประเทศ-บริษัทค้าสากลซิเมนต์ ไทย

‘ การกระจายสินค้าและบริหารการขนส่ง-บริษัทซิเมนต์ ไทยโลจิสติกส์

ในที่สุดการรวมพลังความชำนาญเฉพาะด้านที่เกิดขึ้น เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ก็ถูกนำมาใช้อีกครั้งหนึ่งจะโดยตั้งใจหรือไม่ ก็ตาม

และนี่ก็คือ อีกยุคหนึ่งของการสร้างพลังของเครือฯ การจัดจำหน่ายที่เข้มแข็งขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้การเดินทางที่สลับ ซับซ้อนก็มักจะมาถึงความคิดที่พื้นฐานที่สุดเสมอ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us