เขาเป็นคนสำคัญในยุคปัจจุบันที่มีประสบการณ์ ในด้านการตลาดมากที่สุด ในบรรดาผู้บริหารระดับสูงของ
เครือซิเมนต์ไทย โดยเริ่มจาก Sale Engineer กลุ่มแรกๆ ของบริษัทอุตสาหกรรมเก่าแก่ของไทย
มาจนถึงผู้มีบทบาท ในการเปลี่ยนวิธีคิดและระบบเพื่อการสร้างเครือข่าย การตลาดสำคัญ
(Sale Engineering) ทั้งในโลกยุคเก่า จนถึงยุค New Economy
ดุสิต นนทะนาคร มีอายุ 54 ปีเเล้ว อายุเท่ากับ ชุมพล ณ ลำเลียง ผู้จัดการใหญ่เครือซิเมนต์ไทยคนปัจจุบัน
และถือเป็นคนรุ่นเดียวของคณะจัดการของเครือฯ ยุคปัจจุบัน ในขณะที่คนรุ่นก่อนทยอยจากไป
(คนสุดท้ายที่กำลังจะออกไป ก็คือ ฉายศักดิ์ แสงชูโต ผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจกระดาษ
ซึ่งมีอายุมากที่สุดในกลุ่ม แม้จะมากกว่ากันเพียง 2-3 ปีก็ตาม) เขาเกิดในครอบครัวข้าราชการฝ่ายปกครองธรรมดาๆ
คนหนึ่งที่ชีวิตต้องระเหเร่ร่อนอยู่พักหนึ่ง จนมาปักหลักและเรียนจบระดับมัธยมที่โรงเรียนวชิราวุธ
(รายละเอียดเรื่องนี้อ่าน จาก life section) โรงเรียนเก่าของผู้จัดการใหญ่เครือซิเมนต์ไทย
คนก่อน (พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา) ซึ่งมีบทบาทบริหารในช่วง เครือซิเมนต์ไทยขยายกิจการมากที่สุด
ในช่วงรุ่งเรืองที่สุดช่วงหนึ่ง จากนั้นเขาเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศที่สหรัฐ
อเมริกา โดยจบปริญญาตรีวิศวกรรมโยธา ที่ Youngtown State University และปริญญาโทวิศวกรรมโครงสร้างที่
The Ohio State University ทั้งสองแห่งที่อยู่ในมลรัฐโอไฮโอ
ดุสิต นนทะนาคร เริ่มทำงานในเมืองไทยครั้งแรก ที่บริษัทค้าวัสดุก่อสร้าง
ในปี 2512 ในช่วงที่บริษัทกำลังปรับโฉม ครั้งใหญ่ เป็นกิจการที่เด่นดังมากในช่วงนั้นโดยการนำคนนอก
- คนไทยที่มีประสบการณ์จากบริษัทฝรั่งในประเทศ และส่วนใหญ่จบการศึกษาจากต่างประเทศ
โดยเข้ามาทำงาน การตลาด ซึ่งปูนซิเมนต์ไทยได้เริ่มให้ความสำคัญครั้งแรกๆ
ในช่วงที่การแข่งขันเริ่มรุนแรงขึ้นจากมีผู้ผลิตปูนซีเมนต์เพิ่ม มากขึ้น
"เป็นจังหวะที่ดีของผม จริงๆ แล้วผมเรียนไม่เก่งนะ เข้ามหาวิทยาลัยไทยไม่ได้
จึงไปเมืองนอก แต่โชคดีตอนกลับมา พอดีเขาต้องการคนเรียนจบจากเมืองนอก "เขาบอกด้วยว่า
อายุส อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการบริษัทค้าวัตถุ ก่อสร้างในขณะนั้นผ่านการศึกษาด้านวิศวกรรมเคมี
และชีวเคมีจาก The Ohio State University เช่นเดียวกับเขาด้วย
เพราะฉะนั้น การขยายเครือข่ายการตลาดและการวางระบบปฏิบัติการหรือ Logistics
ในยุคนั้นเขาก็มองเห็นภาพและมีส่วนร่วมอันคึกคัก ในช่วงปี 2509-2522 ด้วย
นอกจากนี้เขาได้ ร่วมรับผิดชอบโครงการเฟอร์โรซิเมนต์ไทย ซึ่งปูนฯ ได้จ้าง
ที่ปรึกษาต่างชาติ มาสร้างเรือด้วยการใช้ซีเมนต์ แต่แล้วฝรั่ง คนนั้นเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ
ทำให้เขาต้องรับผิดชอบงานนี้แทน จนทำให้โครงการนี้บรรลุไปในที่สุด
"เรื่องเฟอร์โรซิเมนต์ เป็นเรื่องใหม่ในสงครามเวียดนาม อเมริกันจะสร้างเรือเฟอร์โรซิเมนต์เป็นเรือเทียบชายฝั่ง
เพราะการใช้เรือเหล็กมันหนักแล้วมันหลอมเป็นกระสุนปืนได้ดี เขา เลยต้องใช้เป็นเรือทำด้วยปูน
เพราะฉะนั้นธุรกิจนี้เลยไปได้ดี" เขาฟื้นความทรงจำ "ตอนนั้นซีเมนต์ขายได้ไม่ค่อยดี
สินค้า ล้นตลาด ความต้องการน้อย ก็เลยหาโอกาสให้ใช้ซีเมนต์ให้ได้ เอาซีเมนต์มาทำเรือ
ใช้ลวดตาข่ายกรงไก่ แล้วนำมาปาดด้วยซีเมนต์ มันทำให้เบา เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่นิวซีแลนด์และอเมริกา"
ดุสิต นนทะนาคร ขยายความให้เห็นปัญหาการขายปูนซีเมนต์ที่ล้นตลาดในช่วงนั้น
ดุสิตทำงานอยู่ 5 ปีเต็ม ก็ได้รับทุนของบริษัท ศึกษา MBA (ปี 2518-2519)
ซึ่งเป็นหลักสูตรสำคัญที่เครือซิเมนต์ไทย ให้การส่งเสริมในช่วงนั้น อันเป็นผลมาจากการเข้ามาของ
ชุมพล ณ ลำเลียง ผู้บริหารคนสำคัญ ที่มี MBA พ่วงท้าย ในปี 2515
หลังจบการศึกษา MBA จาก University of California, Los Angeles (UCLA)
ก็ทำงานด้านการตลาดต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนจะย้ายมาทำในบริษัทปูนซิเมนต์ไทย
ในขณะที่ความไม่แน่นอนกำลังเกิดขึ้นกับบริษัทค้าวัตถุก่อสร้าง ภายใต้โครงการ
เครือซิเมนต์ไทยที่มีการจัดกลุ่มบริษัทและโครงสร้างการบริหารกันใหม่ในช่วงก่อนหน้านั้น
ซึ่งปัญหาการทำงานไม่ประสานกัน ที่ปรากฏในบริษัทค้าวัตถุก่อสร้างได้ยกเป็นกรณีที่กดดันเสมอ
ต่อมาเขาบุกเบิกขายกระเบื้องหลังคาโมเนียรายแแรก เขาทำงานด้านการจัดจำหน่ายโครงการเฉพาะผู้รับเหมาและราชการ
ไปจนถึงการบุกเบิกสินค้าใหม่อีกหลายชนิดด้วย
ปี 2524 ในช่วงวิกฤติการณ์เศรษฐกิจช่วงหนึ่ง เครือซิเมนต์ไทยซึ่งสร้างหน่วยงานประชาสัมพันธ์ขึ้นมาครั้งแรก
และดุสิต นนทะนาคร ก็คือผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์คนแรก ด้วยบุคลิกของคนติดดิน
และชอบติดต่อเสวนากับผู้คน อย่างเป็นกันเอง ตามบุคลิกของเซลส์แมน เขาจึงกลายเป็น
คนที่เหมาะสมกับตำแหน่ง และเป็นคนที่วางรากฐาน ทำให้หน่วยงานประชาสัมพันธ์ของเครือซิเมนต์ไทย
มีความสำคัญ และได้รับการยอมรับในฐานะหน่วยงานหลักหนึ่งของเครือฯ ตลอดมา
ซึ่งโดยทั่วไปหน่วยงานประชาสัมพันธ์บริษัทอื่นๆ มักจะมีบทบาทในเชิงยุทธศาสตร์กับองค์กรขนาดใหญ่น้อยมาก
และสต๊าฟในยุคบุกเบิกนั้นก็คือ คนที่ทำงานสืบทอดมาในปัจจุบันด้วย โดยเฉพาะ มัทนา
เหลืองนาคทองดี ผู้อำนวยการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์คนปัจจุบัน ก็คือ ลูกน้องรุ่นแรกของเขา
ดุสิต นนทะนาคร ได้กลายเป็น strategic person ไปแล้ว สำหรับงานสำคัญๆ ขององค์กรใหญ่
เพราะหลังจากนั้นประมาณ 1 ปี เขาก็ต้องกลับเข้าสู่งานด้านการตลาดอย่างเต็มตัว
และเต็มรูปแบบครั้งสำคัญ เมื่อบริษัทค้าวัตถุก่อสร้าง เปลี่ยนบทบาทเป็นกิจการค้าขายต่างประเทศ
(International Trading Company) หน่วยงานการตลาดหลักในประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของเครือซิเมนต์ไทย โดยเฉพาะฝ่ายผู้แทนจำหน่าย ถูกโอนมาสังกัดหน่วยงานดูแลธุรกิจซีเมนต์
ดุสิต นนทะนาคร จำเป็นต้องย้ายกลับมารับหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายผู้จำหน่าย
คนแรกในโครงสร้างใหม่
ณ วันนั้น ในปี 2525 ถือได้ว่า ผู้แทนจำหน่าย (dealer) 500 กว่าแห่ง ของเครือซิเมนต์ไทยถือเป็นจุดแข็งสำคัญอย่างยิ่ง
ในยุคโครงสร้างธุรกิจซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง เป็นธุรกิจหลัก มีน้ำหนักมากที่สุดในเครือซีเมนต์ไทย
โดยดำรงความสามารถ ในการแข่งขัน และรักษาฐานะผู้นำตลาดอย่างแท้จริงเอาไว้
อย่างต่อเนื่อง
ที่สำคัญกว่านั้นในช่วงนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์สำคัญในเชิงระบบการขายและการตลาดที่ว่าด้วย
เครือข่ายผู้แทนจำหน่ายโดยตรง ในช่วงนั้น ชุมพล ณ ลำเลียง ในฐานะผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่
ดูแลการตลาดครั้งสำคัญในยามเศรษฐกิจตกต่ำ กำไรของเครือ ซิเมนต์ไทยลดลงอย่างมากในปีถัดมา
เครือซิเมนต์ไทยได้วางแผน ยุทธศาสตร์ในการเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้แทนจำหน่าย
ด้วยการจัดระบบเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในขณะที่ สังคมธุรกิจยังไม่เข้าใจเรื่องนี้เลย
ดุสิต นนทะนาคร มีส่วนร่วมในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนั้นด้วย แผนการสร้างความมั่นคง
ความเข้มแข็งและความ สามารถในการแข่งขัน ของเครือซิเมนต์ไทยในเรื่องนี้ เริ่มจาก
การติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลข้อมูลการค้าที่มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น
ในสำนักงานขาย 50 แห่งของเครือซิเมนต์ ไทยทั่วประเทศ โดยที่สำนักงานขายเหล่านี้
มีความเชื่อมโยงกับ คลังสินค้าที่มีอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ให้เข้ากับผู้แทนจำหน่าย
ประมาณ 500 รายในช่วงนั้น แม้ว่าข้อมูลจะไม่ on-line มายัง สำนักงานใหญ่
แต่ก็เริ่มมีการประมวลข้อมูล และพยายามทำให้ เป็นสำนักงานอัตโนมัติมากขึ้น
(Automation) หน่อความคิดครั้งนั้น ทีมความสำคัญต่อเนื่องในการวาง ระบบ On-line
Communication ในอีก 5 ปีถัดมา แม้ว่าช่วงนั้นจะถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญในการแสวงหาประสบการณ์ที่รอบ
ด้านมากขึ้นจากการค้าในประเทศไปสู่การค้าระหว่างประเทศ แต่ดุสิต นนทะนาคร
ก็ยังพอมองเห็นภาพความต่อเนื่องนั้น มากกว่าคนอื่นๆ
ในราวปี 2530-31 เขาย้ายมาดูแลบริษัทค้าสากลซิเมนต์ ไทย ซึ่งกำลังเอาการเอางานในการสร้างเครือข่ายการค้าต่าง
ประเทศ เป็นการสะสมประสบการณ์ต่อเนื่องอย่างสำคัญ จะ ตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
ในเรื่องพัฒนาและสร้างบุคลากรของฝ่าย บริหาร แต่ก็ทำให้คนคนหนึ่งมีประสบการณ์ด้านการค้าและการตลาดมากที่สุดในเวลาต่อมา
ประสบการณ์ที่สำคัญจากนั้น คือการทำงานร่วมกับคน ที่มีความคิดเห็นและสไตล์การทำงานที่แตกต่างกันอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานในกิจการร่วมทุน ที่อีกฝ่ายมี อิทธิพลต่อกิจการอย่างมาก
โครงการที่ว่านี้ เป็นโครงการผลิตกระจกด้วยการร่วมทุน Guardian Industries
Corp แห่งสหรัฐฯ เป็นโครงการที่สำคัญ ในช่วงนั้นมาก
‘ เป็นโครงการใหม่ที่เข้าแทรกตลาดเก่าที่ธุรกิจนี้ผูกขาด โดยกลุ่มธุรกิจของตระกูลศรีเฟื่องฟุ้ง-พานิชชีวะ
กับ Asahi Group แห่งญี่ปุ่น ซึ่งผูกขาดธุรกิจมานานพอสมควร การเข้ามาของเครือ
ซิเมนต์ไทย ย่อมได้รับการต้านอย่างรุนแรง ทำให้ภาพการรุก ธุรกิจอย่างขนานใหญ่ของเครือซิเมนต์ไทย
ถูกวาดเป็นภาพที่น่ากลัวมากขึ้นในสังคมธุรกิจไทยในช่วงนั้น
‘ ยังมีปัญหาการค้าระหว่างประเทศในย่านนี้ในข้อหา การดัมป์ตลาด เครือซิเมนต์ไทยต้องดำเนินการต่างๆ
อย่าง มากมาย ด้วยการออกหน้าแทน Guardian
‘ Guardian Industries Corp ผู้ร่วมทุน และนำเทคโนโลยี จากสหรัฐฯ มีสไตล์การดำเนินธุรกิจเชิงรุกมาก
ทั้งการค้าและการบริหาร ใช้เวลาพอสมควรทีเดียวในการปรับตัว ซึ่งกันและ กัน
จนทำให้กรรมการผู้จัดการคนไทยคนแรกต้องลาออกไป "เขาทนไม่ได้ที่ฝรั่งมันกักขฬะเหลือเกิน
เป็นฝรั่งอเมริกัน ที่ โรงงานสระบุรี ตอนนั้นยังไม่เริ่มก่อสร้างเลย เริ่มเจรจาเท่านั้นเอง
เขาก็ยื่นใบลาออกจากปูนซิเมนต์ไทย เลย" ดุสิต นนทะนาคร เล่าถึง ผู้บริหารคนไทยที่ชื่อ
ดนัยณัฐ พาณิชภักดิ์ น้องชาย ดร.ศุภชัย พาณิชภักดิ์ ที่ตัดสินใจลาออกหลังจากทำงานร่วมกับ
ฝรั่งเพียง 6 เดือน ทั้งๆ ที่เขาเป็นผู้บริหารเครือซิเมนต์ไทยมานาน ดุสิต
นนทะนาคร ถูกย้ายกลางอากาศให้มารับงานนี้ แบบไม่ทันตั้งตัว สุดท้ายเขาทำงานร่วมกับฝรั่งได้ดี
และสุดท้ายกว่านั้น ก็คือ เมื่อปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจของเครือใหม่ในปี 2542
Guardian Industries Corp แห่งสหรัฐฯ ก็รีบเข้ามาถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท
ร่วมทุนผลิตกระจก ซึ่งมี 2 แห่งไป โดยดุสิตได้ข้อสรุปว่า เป็น การรุกเข้าตลาดไทยและย่านนี้ของบริษัทอเมริกันที่ได้ประโยชน์
มาก ในขณะที่เครือซิเมนต์ไทยต้องลงแรงลงทุนไปมากทีเดียว
ในการปรับโครงสร้างของเครือซิเมนต์ไทยครั้งย่อยๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหารรุ่นใหม่ก้าวขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่
ครั้งใหญ่ในปี 2528 ดุสิต นนทะนาคร ก็เป็น 1 ใน 7 คนนั้น พร้อมกับการกระจายงานอย่างมาก
อันเป็นผลมาจากการก้าว ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ของ ชุมพล ณ ลำเลียง ในช่วงต้น
ปี 2536
ดุสิต นนทะนาคร ได้ดูแลธุรกิจเซรามิก ซึ่งเป็นที่เข้าใจ กันแต่ไหนแต่ไรมาว่า
เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงที่สุด ต้องใช้ความรู้ กลยุทธ์ทางการตลาดที่เข้มข้น
ภายใต้ธุรกิจ เซรามิกของเครือซิเมนต์ไทย ที่อยู่ในช่วงของการสร้างความใหญ่
ให้เหมาะสมกับขนาด และตลาด ทั้งเป็นช่วงการขยายการ ลงทุนร่วมทุนอย่างมากในตลาดต่างประเทศด้วย
โดยเฉพาะใน ระดับภูมิภาค ตามแนวคิดใหม่ภายใต้แรงบีบคั้นของเขตการค้า เสรีอาเซียน
(AFTA)
ประสบการณ์บริหารด้านการตลาด ตั้งแต่ความเป็น Sale Engineer มาสู่นักวางแผน
นักกลยุทธ์ทางการตลาด ระหว่าง กลุ่มธุรกิจที่มีเครือข่ายกว้างขวาง แต่นั่นยังไม่อาจถือว่าเป็นงานที่สุดยอดเท่ากับการจัด
ระบบเครือข่ายและการตลาดใหม่ แนวความคิดในการนำพากิจการก้าวต่อไป และสร้าง
"สะพานเชื่อม" ระหว่างธุรกิจใน ยุคเดิมไปสู่ New Economy สร้างโมเดล E-businees
ในฐานะผู้จัดการใหญ่กลุ่มการค้าที่กำลังเป็นกลุ่มและตัวแทน "เชื่อมตัว"
โมเดลธุรกิจดั้งเดิมของเครือซิเมนต์ไทย ในการนำองค์กรไปสู่องค์กรเพื่อการค้า
การขายและการจัด ระบบการจำหน่ายทั้งในประเทศและภูมิภาค เป็นแกนสำคัญ ในการสร้างเครือข่ายของ
Regional Organization
ดุสิต นนทะนาคร จึงกลายเป็นผู้ทำหน้าที่บริหาร การเปลี่ยนแปลงธุรกิจนี้
โดยเฉพาะหน้าที่ Sale Engineering