Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์16 สิงหาคม 2553
ผลศึกษาชี้ธุรกิจครอบครัวไทยเสี่ยงล่มสลายชู 'เซ็นทรัล-มิตรผล' ต้นแบบธุรกิจยั่งยืน!             
 


   
search resources

Commercial and business




มหาวิทยาลัยหอการค้า ชี้ธุรกิจครอบครัวในไทยมีสัดส่วนกว่า 90% ของจีดีพี แต่กว่า 90% ยังไม่มีการปรับตัวขาดแผนสืบทอดธุรกิจที่ชัดเจน เสี่ยงต่อการล่มสลายในอนาคต และส่งผลต่อเศรษฐกิจชาติมหาศาล ชู 'เซ็นทรัล-มิตรผล' ต้นแบบธุรกิจครอบครัวที่ยั่งยืน แนะตระกูลใหญ่ตั้งกฎกติกาและสภาครอบครัว เพื่อวางทายาทธุรกิจชัดเจน ลดความขัดแย้ง แบ่งปันผลประโยชน์ลงตัว พร้อมจี้รัฐเก็บภาษีมรดก ส่งเสริมธุรกิจครอบครัวแข็งแกร่ง

ปัจจุบันภาคเอกชนเป็นหัวจักรที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยทั้งในด้านการสร้างเม็ดเงิน และการจ้างงานอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดการพัฒนาในทุกๆด้าน ขณะเดียวกันประเทศไทยก็ยังมีความเหลื่อมล้ำทางสังคมอยู่สูงโดยความมั่งคั่งของประเทศทั้งหมดกระจุกตัวในกลุ่มตระกูลใหญ่ไม่เกิน 50 ตระกูลที่มีอำนาจกุมเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งกว่า 90% จะเป็นลักษณะธุรกิจครอบครัว ที่มีการบริหารงานภายในตระกูลจากรุ่นสู่รุ่น

ดังนั้นหากการวางระบบธุรกิจครอบครัวที่ไม่เป็นสากล ก็อาจจะทำให้ธุรกิจเหล่านี้ถึงการล่มสลาย และกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ตัวอย่างที่ปรากฎเด่นชัดจากบริษัท Reliance ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ยิ่งใหญ่ในอินเดีย ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวตระกูล Ambani ที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุพี่น้องในตระกูลนี้ทะเลาะกันส่งผลกระทบทำให้ตลาดหุ้นร่วงลงมาถึง 12% ภายในวันเดียว กระทบกับจีดีพีของอินเดียถึง 3% และยังมีกรณีที่คล้ายคลึงกับบริษัทนี้อีกมากมายในหลายประเทศ โดยในส่วนของประเทศไทยมีเพียงไม่กี่ตระกูลที่กุมเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหากเกิดปัญหาความแตกแยกอาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจและศักยภาพการแข่งขันของประเทศได้

ธุรกิจครอบครัวมีกำไรสูงกว่าบริษัททั่วไป

จีรเดช อู่สวัสดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากสถิติของธุรกิจทั่วโลกในโลกเสรี แบ่งเป็นธุรกิจครอบครัวประมาณ 80-98% สร้างรายได้ 49% ของ จีดีพี ในสหรัฐ ส่วนในประเทศต่างๆไม่รวมสหรัฐธุรกิจครอบครัวจะมีสัดส่วนสร้างรายได้สูงถึง 75% ของจีดีพี และว่าจ้างแรงงานไม่ต่ำกว่า 85% ของแรงงานทั่วโลก ขณะที่ประเทศไทยมากกว่า 90% ของจีดีพี มาจากธุรกิจครอบครัว นอกจากนี้ 37% ของบริษัทในฟอร์จูน 500 เป็นธุรกิจครอบครัว 60% ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯเป็นธุรกิจครอบครัว

ทั้งนี้จากการศึกษาของ Leach and leahy ได้สำรวจ 325 บริษัทที่มีขนาดใหญ่ในสหราชอาณาจักรพบว่าธุรกิจครอบครัวมีผลกำไรสูงกว่า มีผลตอบแทนสูงกว่า และมีอัตราการเติบโตสูงกว่าบริษัททั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Forbes ที่ระบุว่ากว่า 800 บริษัทที่ซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์พบว่ามี 31 บริษัทที่มีซีอีโอมาจากครอบครัวที่ควบคุมธุรกิจโดยเฉลี่ยจะมีผลกำไรสูงกว่า 15% มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยมากกว่า 14%

ขณะที่ม.หอการค้าไทย ได้ศึกษาและติดตามการดำเนินธุรกิจในครอบครัวของประเทศไทย พบว่ามีปัญหาและอุปสรรคหากจะทำให้ธุรกิจครอบครัวยั่งยืนได้นั้น กิจการครอบครัวจะต้องยืนอยู่บนสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งจึงจะสามารถรอดพ้นสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงได้

สถิติธุรกิจครอบครัวจบสิ้นในรุ่นที่4

อย่างไรก็ตามแม้ว่าธุรกิจครอบครัวจะมีผลประกอบการที่ดี มีความคล่องตัวในการทำงาน รักษาคุณภาพและชื่อเสียงวงศ์ตระกูล เน้นรักษาลูกค้าและรักษาตลาด มีสมาชิกครอบครัวให้การสนับสนุน และถ่ายทอดความรู้ความชำนาญ แต่ในตัวของธุรกิจครอบครัวก็มีปัญหาเกาะกินโครงสร้างภายในเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะขาดความคล่องตัวในการตีราคาหุ้น เข้าถึงตลาดทุนได้ยาก มีความเสี่ยงในการสืบทอดธุรกิจ เกิดความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในครอบครัว มืออาชีพที่ดีจะไม่สนใจจะเข้ามาร่วมงาน ควบคุมต้นทุนได้ยาก และการลงทุนวิจัยพัฒนาจะน้อยกว่าบริษัททั่วไป โดยผลสำรวจพบว่าในธุรกิจครอบครัวรุ่นแรก 100% ผ่านมาในรุ่นที่ 2 จะมีธุรกิจอยู่รอดเพียง 30% ในรุ่นที่ 3 จะอยู่รอด 12% และในรุ่นที่ 4 จะเหลือเพียง 3% สอดคล้องกับความเชื่อที่ว่าธุรกิจครอบครัวจะอยู่ได้ไม่เกิน 3 ชั่วคน

โดยปัญหาหลักของธุรกิจครอบครัวอยู่ที่ผู้บริหารเบอร์1 หรือซีอีโอ จะสวมหมวกอยู่ถึง 3 ใบ ได้แก่ 1.เป็นสมาชิกครอบครัว 2.มีความเป็นเจ้าของ และ3.เป็นฝ่ายบริหาร ซึ่งถ้าหากซีอีโอบริหารงานอย่างไม่สมดุลเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไปก็จะเกิดปัญหาในที่สุด เช่น หากซีอีโอ เน้นการบริหารเป็นหลัก ก็จะทำให้ธุรกิจตกไปสู่คนนอกตระกูลได้ง่าย เพราะ จะไม่สนับสนุนสมาชิกในครอบครัวเข้ามาทำงานในบริษัท หรือถ้าจะเข้ามาทำงานจะต้องมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน โดยจะมีสิทธิและการประเมิณผลเท่าเทียมกันทั้งหมด ผลตอบแทนยุติธรรมต่อทุกคนในองค์กร และการสืบทอดธุรกิจจะขึ้นอยู่กับผลงาน ซึ่งหากเอียงข้างในแนวนี้แน่นอนสมาชิกครอบครัวและผู้ถือหุ้นจะต้องไม่เห็นด้วย และจะเกิดความแตกแยกขึ้นอย่างรุนแรง

สำหรับถ้าผู้บริหารเน้นในเรื่องของผลประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้นเป็นหลัก การบริหารจะเน้นผลกำไรตอบแทน จะมุ่นเน้นทำกำไรระยะสั้นมากกว่าระยะยาว ให้ความสำคัญกับการปันผลมากกว่าการวางแผน การมีส่วนร่วมของครอบครัวในกลยุทธจะมีน้อย และครอบครัวจะเป็นผู้ลงทุนมากกว่า ซึ่งในแนวทางนี้ก็จะทำให้ธุรกิจขาดการวางแผนที่ดีเสี่ยงต่อการปิดกิจการในระยะยาว ส่วนถ้าผู้บริหารจะเน้นในเรื่องของครอบครัวเป็นหลัก จะทำให้ลูกจ้างส่วนใหญ่จะเป็นคนในครอบครัว การแต่งตั้งผู้บริหารจะเน้นที่นามสกุลเป็นหลัก ไม่สามารถรักษามืออาชีพที่ดีได้ ผลประโยชน์ของบริษัทจะย้ายไปสู่สมาชิกในครอบครัว ระบบการเงินจะคลุมเครือไม่แม่นยำ มีความลับเกิดขึ้นในระบบ และวัฒนธรรมองค์กรจะขึ้นอยู่กับวิธีชีวิตของครอบครัว ซึ่งการบริหารแนวนี้ก็จะนำไปสู่การล้มละลายได้ง่าย ดังนั้นจึงเห็นว่าการดำเนินธุรกิจครอบครัวให้คงอยู่รอดได้ภาวะการแข่งขันในปัจจุบันและอนาคตจึงเป็นเรื่องยาก

แนะตระกูลใหญ่ตั้งธรรมนูญครอบครัว

โดยแนวทางการปรับปรุงธุรกิจครอบครัวให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน จะต้องบัญญญัติกฏกติกาที่ชัดเจนของครอบครัว เพิ่อให้เกิดความชัดเจนในผู้สืบทอด นอกจากนี้ที่สำคัญพี่น้องเขยสะใภ้สมาชิกในครอบครัวจะต้องสามัคคี สมาชิกจะต้องถ่อมตนนอบน้อมไม่ฟุ้มเฟ้อ ไม่เช่นนั้นจะเกิดการขูดรีดผลประโยชน์ของบริษัท ต้องดูแลมืออาชีพที่จ้างมาร่วมงานอย่างยุติธรรม เพราะบริษัทยิ่งใหญ่มากขึ้นก็ต้องอาศัยมืออาชีพมากขึ้น มีการจัดการครอบครัวอย่างเป็นระบบ มีแผนสืบทอดธุรกิจที่ชัดเจน มีกลยุทธของบริษัทชัดเจน มีแผนที่สอดคล้องกับองค์กรที่ชัดเจน และที่สำคัญจะต้องมีบุคคลภานนอกครอบครัวที่เป็นที่เคารพของทุกฝ่ายเข้ามาเป็นกรรมการในบอร์ด 2-3 คน เพื่อป้องกันการทะเลาะเบาะแย้งภายในครอบครัว เพราะจะทำให้เกิดความเกรงในคนนอก นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี ซึ่งการทำธรรมนูญครอบครัวควรทำในขณะที่ครอบครัวอยู่ในภาวะปกติมีความกลมเกลียวกัน เพราะถ้าทำในขณะที่เกิดความขัดแย้งจะทำได้ยากมาก เกิดปัญหาแล้วจะแก้ไขยาก เพราะทุกฝ่ายจะไม่มีใครยอมกัน

ที่สำคัญธุรกิจครอบครัวจะต้องยืนอยู่บนสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง โดยจะต้องมีความสำพันธ์กันผ่านทางการสังสรรค์ของครอบครัว จะต้องมีการพบปะพูดคุยทานอาหารเย็นกันสม่ำเสมอ มีการพูดคุยเรื่องธุรกิจทั่วไป และหารือประเด็นต่างๆ ส่วนใหญ่สมาชิกที่เข้าร่วมจะเป็นรุ่นที่ 2-4 มีการประชุมปีละ 1-2 ครั้ง สมาชิก 30-40 คนมีผลประโยชน์ร่วมกัน เลือกตัวแทนที่ประชุม ให้ความเห็นในเอกสารสำคัญต่างๆ โดยกติกาของที่ประชุมครอบครัวจะต้องเป็นบุตรหลานสายตรงอายุมากกว่า 18ปี เขย/สะใภ้ที่แต่งงานเกิน 5 ปี

ทั้งนี้หากสมาชิกครอบครัวมีจำนวนมากขึ้นควรจะเลือกตัวแทนจากความสามารถ 5-8 คน ตั้งสภาครอบครัว และจะต้องไม่มีผู้บริหารที่เป็นสมาชิกครอบครัว โดยสภาครอบครัวจะมีหน้าที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างครอบครัวกับกรรมการบริษัทและซีอีโอ ให้คำแนะนำผู้ที่จะเข้ามาเป็นซีอีโอ หรือกรรมการบริษัท ร่างและแก้ไขข้อบังคับต่างๆของครอบครัว

อย่างไรก็ตามธุรกิจครอบครัวของไทยมีเพียงไม่ถึง10% เท่าที่เห็นก็มีเพียงกลุ่มเครือเซ็นทรัลตระกูลจิราธิวัฒน์ ที่สืบทอดธุรกิจครอบครัวยาวนานกว่า 70ปี และกลุ่มเครือมิตรผลของตระกูลว่องกุศลกิจ ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 50ปี ที่มีธรรมนูญครอบครัว มีการกำหนดกฎกติกาที่ชัดเจนในการสืบทอดธุรกิจ และขอบเขตหน้าที่ของสมาชิกในการเข้ามาบริหารธุรกิจครอบครัว ซึ่งบริษัทครอบครัวอีกกว่า 90% ยังไม่ได้วางระบบนี้ต่างจากในประเทศที่พัฒนาแล้วที่ตื่นตัวในเรื่องนี้มาก

เผยภาษีมรดกจะทำให้ธุรกิจครอบครัวเข้มแข็ง

นอกจากนี้การเก็บภาษีมรดก ก็จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งทึ่จะช่วยเหลือให้ธุกิจครอบครัวมีความเข้มแข็ง เพราะในต่างประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐฯ เก็บภาษีมรดกสูงถึง 50% ทำให้ผู้นำครอบครัวค่อยๆผ่อนถ่ายทรัพย์สินและอำนาจการบริหารธุรกิจให้กับคนในรุ่นลูกเข้ามามีอำนาจบริหารงานแทน ทำให้มีการสั่งสมประสบการณ์และแนวทางการทำธุรกิจจากรุ่รสู่รุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่รอให้เสียชีวิตก่อนแล้วค่อยถ่ายโอนอำนาจและทรัพย์สิน เพราะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้การดำเนินธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นมีความราบรื่นมั่นคง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us