Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์16 สิงหาคม 2553
ความแรง 'เฟซบุ๊ก'ไม่ 'โฆษณา' ไม่ได้             
 


   
search resources

Web Sites




โซเซียลมีเดียหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ร้อนแรงในเวลานี้ คงต้องยกให้ 'เฟซบุ๊ก' ที่สามารถผันตัวเองจากเว็บไซต์โนเนม มาเป็นเว็บไซต์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทย เบียด 'ไฮ5' ที่เคยโด่งดังอย่างรวดเร็ว

'เฟซบุ๊ก' เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ปัจจุบันมีสมาชิกในระบบมากกว่า 500 ล้านรายทั่วโลก จากการสำรวจข้อมูลของ 'คอมสกอร์' สำหรับจำนวนสมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันมีมากกว่า 4.5 ล้านราย ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีการเติบโตของผู้ใช้รายใหม่สูงมาก

ด้วยอัตราการเติบโตของเฟซบุ๊กในประเทศไทยที่ก้าวกระโดดจากหลักแสนเป็นหลักล้านกลางๆ ถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ จนทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีจำนวนสมาชิกติดอันดับ 16 ของเฟซบุ๊กทั่วโลกไปแล้ว

คอมสกอร์ยังวิเคราะห์สมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศไทยว่า ประมาณ 72% เป็นคนรุ่นหนุ่มสาวในวัยเรียนและวัยทำงาน มีอายุระหว่าง 18-34 ปี ส่วนใหญ่เป็นสตรีเพศ 53% เทียบกับแฟนคลับเฟซบุ๊กชาย 47% โดยมีอัตราการใช้งานโดยเฉพาะ 1.7 ล้านคนต่อวัน

ด้วยข้อมูลดังกล่าว ทำให้เฟซบุ๊กกลายเป็นสื่อใหม่ที่มีศักยภาพสูง โดยเฉพาะโอกาสในการโฆษณาสินค้าและบริการที่สามารถระบุลึกถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าแมสมีเดีย

จากอัตราการเติบโตดังกล่าวทำให้บริษัท ไอฮับ มีเดีย จำกัด บริษัทที่ได้รับสิทธิ์ในการขายโฆษณาบนเครือข่ายเฟซบุ๊กแต่เพียงผู้เดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องรีบจัดตั้งทีม รวมถึงตั้งสำนักงานขายขึ้นในประเทศไทย

'ประเทศไทยเป็นตลาดขนาดใหญ่มากในเอเชียของเฟซบุ๊ก ขณะเดียวกัน ประเทศไทยเองก็มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เหมาะแก่การลงทุน และมีการเติบโตของการใช้งบประมาณโฆษณาออนไลน์ ทำให้เห็นโอกาสในการขายโฆษณาออนไลน์' จอร์จ ฟู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไอฮับ มีเดีย จำกัด กล่าว

เดิมที่การลงโฆษณาประชาสัมพันธ์บนเฟซบุ๊กในประเทศไทยจะต้องติดต่อผ่าน 'ไอฮับ มีเดีย' ที่สิงคโปร์ แต่หลังจากที่ไอฮับ มีเดียเข้ามาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ทำให้การลงโฆษณาทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น โดยเฉพาะการให้บริการกับเอเยนซีในประเทศไทย โดยผู้ใช้บริการสามารถติดต่อซื้อพื้นที่โฆษณาจากบริษัทโดยตรง หรือผ่านเอเยนซี แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่สนใจลงโฆษณาบนเฟซบุ๊กในประเทศไทยยังเป็นบริษัทแบรนด์ดังๆ ที่ใช้บริการผ่านเอเยนซีเป็นหลัก

รูปแบบโฆษณาบนเฟซบุ๊กนั้น ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเรียกว่า พื้นที่โฆษณาบนหน้าโฮมเพจ หรือ Homepage AD โดยสามารถโฆษณาได้ถึง 4 รูปแบบ ประกอบไปด้วย หนึ่ง โฆษณาที่ให้ผู้บริโภคแสดงความเห็นว่าถูกใจหรือไม่กับเนื้อหาที่ประชาสัมพันธ์ สอง โฆษณาแบบไฟล์วิดีโอ สาม นำเสนอในรูปของโพล และสี่ กิจกรรมการตลาด ซึ่งจะทำการโฆษณาบนพื้นที่ดังกล่าวได้นั้น ทาง ไอฮับ มีเดีย เป็นผู้ดูแลในส่วนนี้แต่เพียงผู้เดียว

ส่วนที่ 2 เป็นการโฆษณาในส่วนที่เรียกว่า AD Space Unit ซึ่งจะเป็นพื้นที่โฆษณาด้านข้างของเฟซบุ๊กที่จะประกาศตำแหน่ง 3 จุดในแต่ละหน้า เป็นพื้นที่โฆษณาที่เหมาะกับผู้ประกอบการทั่วไปที่มีงบประมาณทำประชาสัมพันธ์ที่จำกัด เปิดกว้างให้ธุรกิจทุกประเภทสามารถเช่าพื้นที่ในการทำประชาสัมพันธ์ได้ด้วยตนเองหรือให้ไอฮับ มีเดีย บริหารให้



สำหรับ Homepage ad ซึ่งเป็นพื้นที่โฆษณาที่ทางไอฮับ มีเดีย จำกัด ดูแลอยู่นั้น ทางไอฮับ มีเดียจะทำหน้าที่คอยบริหารจัดการ เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กเห็นสื่อโฆษณา การคลิกดูรายละเอียด หรือมีส่วนร่วมกับสื่อมากน้อยแค่ไหน และจัดทำเป็นรายงานรายสัปดาห์ให้บริษัทที่ใช้บริการลงโฆษณา คิดราคาเป็นรายเดือนจากเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ โดยจ่ายผ่านบัตรเครดิตเท่านั้นในปัจจุบัน

ไอฮับ มีเดีย คิดอัตราค่าบริการในอัตราเริ่มต้นที่ 12,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน โดยจะคิดค่าบริการ 4 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1,000 impression (CPM) รูปแบบของชิ้นงานโฆษณา พัฒนาได้เป็นแบบแบนเนอร์ปรกติ วิดีโอ โพล หรือประกาศงานอีเวนต์ได้ ซึ่งเหมาะสำหรับสินค้าแบรนด์ใหญ่และพรีเมียมแบรนด์เป็นหลัก

นอกจากนี้ ทางไอฮับ มีเดีย ยังมีแพกเกจการขายที่เรียกว่า 'Homepage reach block' สำหรับผู้ที่ต้องการให้โฆษณาปรากฏ 24 ชั่วโมง สามารถเข้าถึงผู้ใช้เฟซบุ๊กที่แอกทีฟจำนวน 1.5 ล้านคน หรือคิดเป็นมูลค่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน

'ในช่วงไตรมาส 3 สำหรับลูกค้าใหม่ที่ซื้อโปรแกรม Reach block จะมีโปรโมชั่นพิเศษซื้อ 1 แถม 1'

สำหรับในพื้นที่หน้าในของเฟซบุ๊ก ที่เรียกว่า AD Space Unit นั้น ถึงแม้จะเป็นพื้นที่ฟรี แต่บริษัท ไอฮับ มีเดีย จำกัด ก็มีบริการมอนิเตอร์ชิ้นงานโฆษณาให้ โดยจะคิดอัตราค่าบริการเริ่มต้นเฉลี่ย 0.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อคลิก (Pay per click) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะเหมาะสำหรับเอสเอ็มอีหรือธุรกิจขนาดเล็ก

จอร์จ ฟู กล่าวอีกว่า ผู้ที่ลงโฆษณาบนเฟซบุ๊กสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ทั้งเพศ อายุ ทำให้สามารถสื่อสารได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย นอกจากการทำกิจกรรมของแบรนด์ต่างๆ บนเฟซบุ๊ก เพื่อนในเครือข่ายจะมีโอกาสเห็นโฆษณาแบรนด์นั้นๆ ด้วย ในลักษณะเป็นไวรัลมาร์เกตติ้ง แตกต่างจากการโฆษณาบนเว็บไซต์อื่นๆ

ปัจจุบัน ไอฮับ มีเดีย มีลูกค้าที่ใช้บริการ Homepage ad ของเฟซบุ๊กอยู่ประมาณ 10 ราย โดยเริ่มมีผู้โฆษณา 4-5 ราย ทำการโฆษณาไปบ้างแล้ว อาทิ รถยนต์ซูซูกิ สวิฟท์ โซนี่ มิสทินแชมพู เครื่องดื่มสเมอร์นอฟ เป็นต้น

ทางไอฮับ มีเดีย ประเมินรายได้โฆษณาบนเฟซบุ๊กในประเทศไทยว่า สิ้นปีรายได้ในประเทศไทยจะเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลัก

'โฆษณาสื่อออนไลน์มีแนวโน้มการเติบโตอีกมาก หลังวิกฤตเศรษฐกิจทำให้องค์กรต้องลดค่าใช้จ่าย และต้องการโฆษณาบนสื่อที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ประกอบกับประเทศไทยมีสัดส่วนการใช้งานสื่อออนไลน์เฉลี่ยบวกลบไม่เกิน 2% ของงบโฆษณารวมทั้งหมด ทำให้ยังมีโอกาสเติบโตอีกมากในอนาคต'   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us