|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
หลังจากการบินไทยถูกดึงส่วนแบ่งตลาดโดยสายการบินโลว์คอสต์ ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของการบินไทยจาก 82% เหลือเพียง 33% แม้การบินไทยจะแก้วิกฤตดังกล่าวด้วยการถือหุ้นในสายการบินนกแอร์ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ แต่ข้อจำกัดของการขยายตลาดของนกแอร์ ทำให้การบินไทยต้องหาแนวทางทำตลาดใหม่
การจับมือกับสายการบินต้นทุนต่ำจากสิงคโปร์ อย่าง ไทเกอร์ แอร์เวย์ส นับเป็นกลยุทธ์ใหม่ที่การบินไทยมองออกในเวลานี้ โดยการจับมือกันครั้งนี้เพื่อตั้งสายการบิน 'ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส' (Thai Tiger Airways) โดยการบินไทยถือหุ้น 51% (แบ่งเป็นการบินไทยจะถือหุ้น 49.8% และกลุ่มบริษัทในเครือของการบินไทย 1.2%) ส่วนอีก 49% ถือหุ้นโดยไทเกอร์ แอร์เวย์ส
โดยการจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำนี้ใช้เงิน 100 ล้านบาท มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท สายการบินนี้จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบสายการบินต้นทุนต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำการบินในเส้นทางภายในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะเอเชียตอนเหนือ และประเทศอินเดีย โดยจะทำการบินเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดที่มีระยะทางทำการบิน 5 ชั่วโมง
ที่สำคัญจะใช้กรุงเทพฯ เป็น Gateway ในการเดินทางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นฐานปฏิบัติการ เมื่อจะต้องเข้าไปแข่งกับโลว์คอสต์ที่มีแอร์เอเชียเป็นเจ้าตลาด 'ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส' จึงต้องจัดหาเครื่องบินใหม่เข้ามาให้บริการ โดยเครื่องบินแอร์บัส เอ 320 ถูกเลือกให้เป็นพาหนะในการนำพาลูกค้าไปถึงทุกหนแห่งเพื่อแข่งขันกับแอร์เอเชียที่ใช้แอร์บัสให้บริการลูกค้าเช่นกัน
โดย 'ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส' ประเดิมรับแอร์บัส 5 ลำแรกในปี 2545 และอีก 5 ลำต่อมาในปี 2555 ส่วนความพร้อมในการเปิดให้บริการจะเป็นช่วงไตรมาส 1 ของปี 2554 โดยจะขายตั๋วโดยสารราคาถูกผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลักถึง 92% เพื่อลดต้นทุน
หลายคนอาจจะมองว่าการเปิด 'ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส' อาจจะไปแย่งส่วนแบ่งการตลาดกับการบินไทย แต่ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มองว่า การเปิดสายการบินนี้แม้จะให้บริการภายในประเทศและในภูมิภาคเหมือนกับการบินไทย แต่จะไม่แย่งส่วนแบ่งตลาดกับการบินไทยอย่างแน่นอน แต่จะไปดึงส่วนแบ่งทางการตลาดจากสายการบินโลว์คอสต์อื่นๆ หรือสร้างโอกาสเพิ่มรายได้ในตลาดมากกว่า ที่สำคัญยังเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวไทยด้วยการนำนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เท่ากับเป็นการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ และเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวทั้งในส่วนของภาครัฐ และภาคเอกชน นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้บริการมากขึ้นอีกด้วย
ไม่ว่า 'ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส' จะออกมาแข่งขันกับสายการบินโลว์คอสต์อื่นๆ จริงอย่างที่ ปิยสวัสดิ์ ว่าไว้หรือไม่ แต่สิ่งที่คนไทยจะได้คือตัวเลือกอีกหนึ่งตัวที่จะทำให้ผู้บริโภคสะดวกกับการเดินทางมากขึ้น
งานนี้ใครจะได้ประโยชน์หรือไม่ได้ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ ผู้บริโภคได้กำไรจากการลงทุนนี้อย่างแน่นอน
|
|
|
|
|