|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
หนึ่งในกลยุทธ์การแข่งขัน ที่ใช้ได้แทบจะทุกวงการคือ ถ้าสู้เขาไม่ได้ ก็เอาเขามาเป็นพวก
การตัดสินใจของ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทย จำกัด นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนนัท์ ในการร่วมทุนกับสายการบินไทเกอร์ แอร์เวยส์ สายการบินต้นทุนต่ำของสิงคโปร์ จัดตั้ง สายการบิน ไทยไทเกอร์ แอร์เวยส์ เพื่อเป็นโลว์คอสต์แอร์ไลน์แห่งชาติของไทย ก็เข้าตำรานี้ แม้ว่า ไทเกอร์ แอร์เวยส์ จะไม่ได้เป็นคู่แข่งโดยตรงของ นกแอร์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการบินไทยในตลาดสายการบินต้นทุนต่ำ แต่ก็ถือว่า เป็นเสือในสังเวียนเดียวกัน
การลงทุนในครั้งนี้ เป็น กลยุทธ์ในการรักษา และขยายส่วนแบ่งในตลาดโลว์คอสต์ ซึ่งการบินไทยไม่ชำนาญ และไม่อยู่สถานะที่จะลงมาแข่งขันด้วยตัวเองได้ แม้ว่าจะมีนกแอร์ แต่ก็มีข้อจำกัด ที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ ตลอดระยะเวลา 6 ปีของการดำเนินงาน
สายการบิน "ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส" ซี่งเป็นการร่วมทุนระหว่างการบินไทยกับกลุ่มไทเกอร์ แอร์เวย์ส โฮลดิ้ง ซึ่งปจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ มีเป้าหมาย ที่จะชิงส่วนแบ่งผู้โดยสารจำนวนมหาศาลในภูมิภาคอาเซียน และเอเชีย-แปซิฟิก แข่งขันกับเจ้าตลาดอย่างกลุ่ม แอร์เอเชีย ซึ่งขณะนี้เปิดเครือข่ายสายการบินโลว์คอสต์ครอบคลุมถึง 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม
ส่วน นกแอร์ซึ่งเป็นสายการบินลูกที่การบินไทยถือหุ้นใหญ่ 39.5% จะวางตำแหน่งให้พัฒนาเส้นทางบินเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น เนื่องจากยังไม่พร้อมจะขยายเที่ยวบินไปต่างประเทศ อีกทั้งเคยเปิดบินมาแล้วในอดีต เส้นทางกรุงเทพฯ-เดลี แต่ล้มเหลว การดำเนินงานขาดทุนมโหฬาร
ส่วนแบ่งการตลาดในประเทศของการบินไทยและนกแอร์ขณะนี้เหลือเพียง 50% จาก 70-80% สาเหตุเพราะมีสายการบินต้นทุนต่ำของประเทศอื่นเข้ามาแข่งขัน ประกอบกับตลาดของสายการบินต้นทุนต่ำในภูมิภาคนี้เติบโตเร็วมาก โดยส่วนแบ่งการตลาดของการบินไทยในภูมิภาคเหลือ 33% ขณะที่ สายการบินต้นทุนต่ำต่างชาติมีส่วนแบ่งการตลาดในภูมิภาคเพิ่มจาก 2% เป็น 17% โดยใช้ไทยเป็นศูนย์
ไทย ไทเกอร์ แอร์เวยส์ มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท โดยการบินไทยจะลงทุน 100 ล้านบาท ถือหุ้นในสัดส่วน 49.8% และถือหุ้นในนามกองทุนสวัสดิการพนักงานการบินไทย อีก 1.2 % รวมเป็น 51% ส่วนกลุ่มไทเกอร์ ถือหุ้น 49% โดยการบินไทยได้สิทธิ์เป็นกรรมการ 3 คน จากทั้งหมด 5 คน โดยมีผู้บริหารสูงสุดเป็นคนไทย
สำหรับการดำเนินงาน ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 มีแผนในการจัดหาเครื่องบินแอร์บัส A320จำนวน 5 ลำ และอีก 5 ลำ ในปี 255 ทำการบินเส้นทางภายในประเทศและต่างประเทศ เชื่อมโยงจุดบินระยะทางทำการบิน 5 ชั่วโมง ใช้กรุงเทพฯ เป็น Gateway ในการเดินทางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเก๊า ไซง่อน บังกะลอร์ ปีนัง เซิ่นเจิ้น และฮ่องกง ฯลฯ
การลงทุนตั้งสายการบินโลว์คอสตืแห่งชาติครั้งนึ้ ถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญของการบินไทย หลังจากที่นายปิยะสวัสดิ์ เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ได้ 10 เดือน โดยเป็นในแผนการที่จะทำให้การบินไทยก้าวขึ้นเป็นสายการบินชั้นนำ 1 ใน 3 ของเอเชีย และ 1 ใน 5 ของโลก
ที่สำคัญคือ เป็นการตัดสินใจและผลักดันโดยฝ่ายบริหาร ฝ่ายการเมืองคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพียงแต่รับทราบเท่านั้น
|
|
|
|
|