Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์10 สิงหาคม 2553
โฉมใหม่ “SME ตีแตก” ย้ำเกมรุกKBANKครองตลาดเอสเอ็มอี             
 


   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์, บมจ.
SMEs
TV Program




นับจากการปูพรมรุกสร้างแบรนด์ K-SME ของธนาคารกสิกรไทยอย่างหนักหน่วงผ่านทุกช่องทาง พร้อมด้วยโปรเจกต์ใหญ่อย่าง “รายการ SME ตีแตก” ร่วมกับเวิร์คพอยท์ฯ ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และโด่งดังไปทั่วเมือง จนถึงขนาดมีพ่อค้าหัวใสทำเป็นดีวีดีออกมาขายกลายเป็นข่าวคราวในหน้าหนังสือพิมพ์ ทั้งหมดเป็นดัชนีชี้วัดกระแสความแรงของรายการ พร้อมกับตอกย้ำภาพของเคแบงก์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นถึงเป้าหมายที่ต้องการจะเป็นธนาคารเพื่อเอสเอ็มอี

หากวัดผลในเบื้องต้นในแง่ความสำเร็จของรายการ SME ตีแตก ปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “ในแวดวงธนาคาร รายการนี้ถือเป็นนวัตกรรมด้านเครื่องมือสื่อสารการตลาดรูปแบบใหม่ เจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ อายุระหว่าง 30-45 ปี เราออกอากาศมาแล้ว 6 เดือน นำเสนอไป25 ธุรกิจ ผลตอบรับที่ได้ถือว่าดีมากทั้งในแง่คนมาออกรายการ และคนดูรายการ แม้ธุรกิจในสัปดาห์นั้นจะตีโจทย์ไม่แตก แต่วันรุ่งขึ้นยอดขายจะพุ่งเป็นเท่าตัว เพราะรายการเรากลายเป็นช่องทางในการโปรโมทธุรกิจของเขาไปในตัว”

นอกจากนี้จากการสำรวจพบว่า ผู้ที่ชมรายการ 80% รู้สึกชื่นชอบเนื้อหาของรายการ เพราะให้ทั้งความรู้และสาระบันเทิง เป็นไปตามที่เคแบงก์ต้องการ แม้ว่าการใช้สื่อโทรทัศน์ที่ไม่ใช่แค่การซื้อเวลาในช่วงสั้นๆ เพื่อออกสปอตโฆษณา แต่คือการโดดลงมาเป็นเจ้าของรายการเสียเอง ที่มีเวลาออกอากาศกว่า 1ชม. ต่อสัปดาห์เป็นเวลา 1 ปี กลายเป็นการใช้เม็ดเงินซื้อสื่อในจำนวนที่ไม่น้อย แต่เมื่อเทียบกับผลตอบรับที่ได้ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะนอกจากเคแบงก์จะสามารถนำเสนอเนื้อหาต่างๆ เกี่ยวบริการทางการเงินของตัวเองได้อย่างเต็มที่แล้ว ยังสามารถสร้างแบรนด์ให้ติดปากในกลุ่มแมสหรือคนจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

“การทำตลาดรายย่อยแค่สร้าง Awareness ไม่พอ ต้องทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจด้วย” ปกรณ์กล่าว

ส่วนผลตอบรับในแง่ของยอดลูกค้าใหม่ที่เข้ามาใช้บริการ K-SMEหลังรายการได้ออกอากาศไปแล้ว ทำให้แบรนด์ K-SME เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น ปกรณ์เล่าว่า ลูกค้ามี Brand Awareness ต่อ K-SMEสูงเป็นอันดับ 1 ถึง 44% มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ K-SME Start-up Solution ช่วงครึ่งปีแรกแล้ว 20,216 ราย จากเป้าทั้งปี 30,000 ราย สอดคล้องกับจำนวนการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจเริ่มต้นที่สูงถึง 937 ราย คิดเป็นวงเงิน 275 ล้านบาท เทียบกับปี 2552 ที่ยังไม่ได้ทำรายการ มียอดขอสินเชื่อเพียง 500 ราย คิดเป็นวงเงิน 150 ล้านบาท เรียกได้ว่าการสร้างแบรนด์ K-SMEผ่านรายการ SME ตีแตกของเคแบงก์ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดีและสามารถเพิ่มฐานลูกค้าได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ผ่านมาแล้ว 6 เดือน รูปแบบรายการที่เป็นการนำเสนอธุรกิจใหม่ๆ ที่น่าสนใจ รวมถึงคำวิจารณ์จากกูรูการตลาดฝีปากกล้า ถือเป็นรูปแบบที่ค่อนข้างลงตัวแล้ว แต่เพื่อเพิ่มสีสันของรายการและสร้างแบรนด์ K-SME ให้เข้าถึงความเป็นแบรนด์มหาชนในใจผู้ประกอบการมากขึ้น ล่าสุดจึงได้ปรับรูปแบบรายการ SME ตีแตกให้มีการเดินสายสัญจรไปถ่ายทำรายการในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเริ่มต้นเทปแรกที่ จ.อุดรธานี กับธุรกิจ “เด่นซาลาเปา” ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อในจังหวัด แม้ว่าความเป็นรายการโทรทัศน์จะเป็นสื่อแมสที่สามารถเข้าถึงผู้ชมได้ทั่วประเทศอยู่แล้ว แต่การลงพื้นที่ไปตามจังหวัดต่างๆ ก็จะทำให้แบรนด์ K-SME รวมถึงชื่อของเครือเคแบงก์เข้าใกล้ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น แม้ว่าฐานลูกค้าเอสเอ็มอีของเคแบงก์ส่วนใหญ่กว่า 60% จะเป็นลูกค้าในต่างจังหวัดอยู่แล้วก็ตาม ซึ่งเคแบงก์ตั้งเป้าผู้ชมรายการ ณ สิ้นปี 2553ประมาณ 1 ล้านคน โดยในช่วงแรกที่ทำรายการมีผู้ชมประมาณตอนละ 650,000 คน สูงสุด 840,000 คน ถือว่าเป็นเรทติ้งค่อนข้างสูงของรายการในรูปแบบ Edutainment   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us