Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน10 สิงหาคม 2553
ส่งออกฉุดไม่อยู่"พาณิชย์"ขยับเป้าโต20%ห่วงปัญหาขาดแรงงาน-ค่าขนส่งแพง             
 


   
search resources

กระทรวงพาณิชย์
Import-Export




“พรทิวา”สั่งขยับเป้าส่งออกอีกรอบ คาดปีนี้โต 20% มูลค่า 1.89 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หลังประเมินล่าสุดตลาดส่งออกทั้งเก่า ทั้งใหม่ โตฉุดไม่อยู่ พร้อมปรับแผนการตลาดใหม่ เน้นรุกเป็นรายสินค้า รายประเทศ ที่จะมีผลต่อยอดส่งออกโดยตรง ห่วงปัญหาขาดแรงงาน ค่าขนส่งแพง กระทบ ส่วนบาทแข็ง น้ำมัน ถ้าไม่หวือหวา ไม่มีปัญหา

นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์จะปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยในปี 2553 ใหม่ เป็นขยายตัวไม่น้อยกว่า 20% มูลค่ากว่า 1.89 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการปรับเพิ่มเป้าส่งออกอย่างเป็นทางการ หลังจากที่เดิมเคยประเมินไว้ว่าทั้งปีจะขยายตัว 14% มูลค่า 1.73 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ในการแถลงตัวเลขการส่งออกเดือนมิ.ย.2553 ก็ได้มีการประเมินเป้าหมายใหม่ไว้แล้วในเบื้องต้นว่าจะขยายตัวได้ 19%

การปรับเป้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากทิศทางการส่งออกในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้ จะยังคงขยายตัวได้ดีขึ้นต่อเนื่อง โดยตลาดสำคัญๆ ของการส่งออกไทยจะมีการขยายตัวมากขึ้น เช่น สหรัฐฯ จะขยายตัว 20% อาเซียน 30% สหภาพยุโรป 11% ญี่ปุ่น 18% จีน 50% อินเดีย 25% รัสเซีย 50% และตะวันออกกลาง 12% เป็นต้น ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์มีแผนที่เพิ่มกิจกรรมด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง 2553 อีกประมาณ 20-22 กิจกรรม

นางพรทิวากล่าวว่า สำหรับกลยุทธ์การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง จะมุ่งเน้นการส่งออกโดยเจาะจงตลาดให้มากขึ้น หากตลาดไหนมีศักยภาพ ก็จะเพิ่มกิจกรรมด้านการตลาดเข้าไปเสริมให้มากขึ้น เพื่อผลักดันการส่งออกของไทย รวมทั้งได้ขอให้หัวหน้ากลุ่มสินค้า (Chiefs of Product - COP) ที่รับผิดชอบเป็นรายสินค้าไปหารือร่วมกับหัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อคิดค้นกิจกรรมด้านการตลาดให้เหมาะสมกับตลาดนั้นๆ ด้วย

ทั้งนี้ ได้แบ่งกลุ่มตลาดออกเป็น 3 กลุ่มที่จะทำการผลักดันการส่งออก คือ กลุ่มแรกเป็นตลาดที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจขั้นสูง โดยเป็นประเทศที่กำหนดทิศทางและมาตรฐานการค้าระหว่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ซึ่งการส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีสัดส่วน 33.2% มูลค่าการส่งออก 30,933 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 28.3%

กลุ่มที่ 2 เป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ได้แก่ อาเซียน 9 ประเทศ จีน ฮ่องกง เอเชียใต้ รองรับการส่งออกของไทยเป็นสัดส่วน 44.2% มูลค่าการส่งออก 41,091 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 50.2%

กลุ่มที่ 3 เป็นตลาดที่มีศักยภาพและอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับรองลงมา ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกา และยุโรปตะวันออก รองรับการส่งออกของไทยเป็นสัดส่วน 18.8% มูลค่าการส่งออก 17,493 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 28.3%

นางพรทิวากล่าวว่า ปัจจัยลบที่คาดว่าจะกระทบกับการส่งออก เท่าที่ประเมินในขณะนี้ น่าจะเป็นปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ที่จะทำให้การขยายตัวของภาคการผลิตเพื่อส่งออกมีปัญหาตามไปด้วย และยังมีปัญหาในเรื่องของต้นทุนค่าขนส่ง โดยเฉพาะค่าระวางเรือที่สูงขึ้นตามอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ซึ่งได้ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคมเพื่อขอให้ช่วยดูแลในเรื่องนี้ไปแล้ว

ส่วนปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า เท่าที่ประเมินในขณะนี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย เพราะขีดความสามารถในการแข่งขันไม่ได้ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาค หลังจากที่ค่าเงินมีการแข็งค่าในทิศทางเดียวกัน และผู้ส่งออกเองก็ไม่มีความกังวล หากเป็นการแข็งค่าที่มีเสถียรภาพ ขณะที่ราคาน้ำมันที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้นั้น หากยังอยู่ในระดับเฉลี่ย 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ก็ไม่น่ามีผลกระทบต่อต้นทุนการส่งออกมากนัก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us