กนท. ไฟเขียว กฟผ. แปลงสภาพเป็นบริษัท ก่อนเสนอ ครม. อนุมัติ ใน การประชุมวันนี้
(14 ต.ค.) โดยให้กระทรวงพลังงานปรับโครงสร้างองค์กรต่างๆ ของบริษัท ให้แข็งแกร่งขึ้น
ด้าน ผู้ว่าฯ กฟผ. เผยแผนเตรียมเป็นบริษัท 1 ม.ค. 47 หลังจากนั้น จดทะเบียนในตลาดหุ้น
1 มี.ค. 47 แต่ราคายังไม่ได้กำหนด เชื่อสร้างความคึกคักให้ตลาดหุ้นไทยได้ เพราะเป็นหุ้นมาร์เกตแคปใหญ่สุดในตลาดหุ้นไทย สินทรัพย์รวมกว่า 3.6 แสนล้านบาท
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
(กนท.) เปิดเผยหลังประชุม กนท. วานนี้ (13 ต.ค.) ว่าที่ประชุม กนท. พิจารณาแล้ว
มีมติเห็นชอบแนว ทางแปลงสภาพการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นบริษัททั้งองค์กร
โดยใช้ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 และมอบหมายกระทรวงพลังงานดำเนินการให้เกิดความชัดเจนเรื่องโครงสร้างกิจการไฟฟ้าอนาคต
การกำกับดูแล โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า โครงสร้าง องค์กร รวมถึงแผนจัดหาไฟฟ้าอนาคต
ก่อนแปลงสภาพ กฟผ.
โดยมอบให้กระทรวงพลังงานทำหน้าที่แกนกลางประสานงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง
และให้ทุกหน่วยงานอำนวยความสะดวกดำเนินงานที่เกี่ยวกับกระบวนการแปลงสภาพและจดทะเบียนดังกล่าว
ซึ่งวันนี้ (14 ต.ค.) จะนำผลประชุมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
กฟผ.เข้า ตลท. 1 มี.ค. 47
เขาคาดว่า กฟผ.จะเข้าตลาดหุ้นได้ 1 มี.ค. 2547 สัดส่วนกระจายหุ้น นายสมคิดกล่าวว่าตอนนี้ยังไม่กำหนดสัดส่วนที่แน่นอน
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงยึดแนวทางเดิม คือรัฐบาลรักษาสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ คาดว่าจะกระจายหุ้นได้ไม่เกิน
30% ของทุนชำระแล้วของ กฟผ. ซึ่งเชื่อว่า กฟผ.จะเป็นบริษัทมูลค่าตลาด (Market Capitalization)
ใหญ่ที่สุดในน.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมว.กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ตอนนี้รัฐบาลเน้น
ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งกระทรวงพลังงานดำเนินการเรื่องการใช้พลังงาน
ไฟฟ้า ซึ่งปีที่แล้วขยายตัว 8% จากปี 2544 ปีนี้ น่าจะขยายตัวมากขึ้น
เพราะฉะนั้น กฟผ. ต้องเตรียมตัวลงทุนเพิ่ม ซึ่งเงินจากการกระจายหุ้นเพื่อแปรรูปและเข้า
ตลาดฯ มี.ค. 2547 จำนวนหนึ่งจะใช้หนี้เก่า ที่เหลือจะลงทุนโครงการอนาคต ซึ่งวานนี้
บอร์ด กนท. ตั้งคณะกรรมการดูแล 3 ส่วน
คือ คณะกรรมการดูแลและศึกษาโครง สร้างกิจการ กฟผ. ส่วนที่ 2 ศึกษาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า
ส่วนที่ 3 ศึกษามูลค่าทรัพย์สิน กฟผ.ทั้งหมด เพื่อเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์
โดยกระทรวงพลังงาน จะรับหน้าที่หลัก ศึกษาโครงสร้างกิจการ กฟผ.ต่อไป
นายสิทธิพร รัตโนภาษ ผู้ว่าฯการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า
ตามแผนงาน กฟผ. จะกลาย เป็นบริษัทจำกัดตั้งแต่ 1 ม.ค. 2547 เป็นต้นไป จะจดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์ได้ 1 มี.ค. 2547 ซึ่งจะทำให้บรรยากาศ การลงทุนในตลาดฯ คึกคักขึ้นต่อเนื่อง
เนื่องจากหุ้น กฟผ.จะมีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีหุ้นเข้าตลาดฯ ซึ่งปัจจุบันยังตอบไม่ได้เรื่องราคา
หรือมูลค่าตลาดรวม กฟผ. ว่าจะมีเท่าไหร่ ต้องให้ที่ปรึกษาการเงินพิจารณา แต่ตัวเลขที่ประเมิน
ณ สิ้น มิ.ย. กฟผ.สินทรัพย์ประมาณ 3.6 แสนล้านบาท มูลค่าบัญชี ประมาณกว่า 2 แสนล้านบาท
การดำเนินการ จะมีที่ปรึกษาการเงินทั้งหมด 6 ราย ประกอบด้วย บล.ไทยพาณิชย์ บล.ทิสโก้
บล.ภัทร บริษัท เจพีมอร์แกน บริษัท มอร์แกน สแตนเลย์ และบริษัท ซิตี้กรุ๊ป 3 บริษัทหลังจากแดนมะกันทั้งหมด
แนวทางแปลงสภาพการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ประกอบด้วย กระบวนการดำเนินงานสำคัญ 2
ส่วน ส่วนแรก คือ กระบวนการแปลงสภาพเป็นบริษัท ส่วนที่ 2 กระบวนการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ซึ่งที่ประชุมวานนี้เห็นว่า ความสำเร็จกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจ กิจการไฟฟ้าในตลาดหลักทรัพย์
รวมถึง กฟผ. การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่จะดำเนินการต่อไปอนาคต
จะเกิดขึ้นได้ ต้องชัดเจนเรื่องโครงสร้าง กิจการไฟฟ้าอนาคต ซึ่งจะกำหนดบทบาทธุรกิจ
และโอกาสการลงทุนขององค์กร
ความชัดเจนการกำกับดูแล เพื่อทำหน้าที่ดูแลกิจการไฟฟ้า ราคาค่าบริการ คุณภาพบริการ
และการลงทุน เพื่อให้เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค และผู้ลงทุน นอกจากนี้ ยังต้องชัดเจนเรื่องโครง
สร้างอัตราค่าไฟฟ้า โครงสร้างองค์กร รวมถึงแผนจัดหาไฟฟ้าอนาคต
ที่ประชุม กนท. พิจารณาแล้ว มีมติเห็นชอบ แนวทางแปลงสภาพ กฟผ. เป็นบริษัททั้งองค์กร
โดยใช้ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2543 และมอบหมายกระทรวงการคลังดำเนินการให้เกิดความชัดเจน
เรื่องโครงสร้างกิจการไฟฟ้าอนาคต การกำกับดูแล โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า โครงสร้าง
องค์กร รวมถึงแผนจัดหาไฟฟ้าอนาคต ก่อนแปลงสภาพ กฟผ.พร้อมจะจดทะเบียนเป็นบริษัททันตามกำหนด
เห็นชอบเสนอ ครม.เพื่ออนุมัติตามแนว ทางดังกล่าว โดยให้มีคณะกรรมการเตรียมการตั้งบริษัท
ตามองค์ประกอบมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ เพื่อพิจารณารายละเอียดบริษัทที่จะตั้งใหม่ต่อไป