Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2553
สุรินทร์ พิศสุวรรณ ปลุกเอสเอ็มอีใช้โอกาสในอาฟตา             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
search resources

SMEs
สุรินทร์ พิศสุวรรณ
เขตการค้าเสรีอาเซียน




นโยบายยกเลิกภาษีสินค้าเหลือศูนย์เปอร์เซ็นต์ ภายใต้การเปิดเสรีการค้าอาฟตา (AFTA) ของ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้เริ่มต้นมากว่าครึ่งปี หลังจากประกาศใช้เมื่อเดือนมกราคม 2553 แต่ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยยังไม่แน่ใจจะใช้โอกาสนี้อย่างไร

สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน รับตำแหน่งนี้มากว่า 2 ปี ได้แสดงความคิดเห็นบทบาทของไทยในเวทีอาฟตา และการค้าโลก ภายในงานสัมมนาหัวข้อ “วาระเร่งด่วน SME กับแนวทางการค้าใหม่ ใต้กรอบ AFTA” ของธนาคารทหารไทย

ในมุมมองของเลขาธิการอาเซียนเห็นว่า การเปิดเสรีการค้าอาฟตาคือ การเปิดตลาดของกลุ่มประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา เพื่อให้เกิดการค้าขายในกลุ่มอาเซียนเพิ่มมากขึ้น

สุรินทร์ชี้ให้เห็นโอกาสของอาฟตา โดยเฉพาะจำนวนประชากรของ 10 ประเทศ มีถึง 592 ล้านคน เป็นตลาดที่กำลังเติบโตในทุกด้าน

ตลาดอาเซียนมีการค้ากับตลาดอื่น ในปัจจุบัน 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐหรือร้อยละ 26 แม้จะน้อยกว่ากลุ่มการค้าของนาฟตาที่มีถึงร้อยละ 48 หรือกลุ่มการค้าในยุโรปมีร้อยละ 60

แต่กลุ่มตลาดอาเซียนจะทำการค้าเพิ่มขึ้นทุกปี เช่นในปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และในปี 2555 เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 35 ตามลำดับ ตลาดอาเซียนจะกลายเป็นหัวรถจักรที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกต่อไป จึงไม่ควรมองข้ามเพราะกำลังการซื้อขายสินค้าจากเดิมอยู่ในตะวันตกกำลังเคลื่อนย้ายมาสู่ตะวันออก

สุรินทร์ได้ชี้เป้าหมายให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีว่า กลุ่มลูกค้าใหม่ที่รออยู่ข้างหน้า คือกลุ่มลูกค้าระดับกลาง หรือ middle class ในกลุ่มประเทศอาเซียนปัจจุบันมีลูกค้าในระดับกลางจำนวน 156 ล้านคน เป็นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสินค้าคุณภาพสูง สินค้าที่มีทางเลือก ไม่ต้องการจำกัดใช้สินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง

สินค้าหลักที่ให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต หรือเป็นฮับ เป็นผลิตภัณฑ์สินค้า ระดับกลางน้ำ และปลายน้ำ โดยเฉพาะชิ้นส่วนรถยนต์ เหมือนดังเช่นรถยนต์ยี่ห้อ ฟอร์ด สามารถสร้างมูลค่าธุรกิจให้กับบริษัทจากข้อตกลงอาฟตา เพราะสามารถ นำเข้า-ส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ไปจำหน่ายในกลุ่มอาเซียนโดยไม่เสียภาษี

เขาชี้ให้เห็นจุดอ่อนของกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีไทยว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นกิจการของครอบครัวรุ่นปู่ตกทอดมาถึงรุ่นพ่อและ มาถึงรุ่นลูก

การศึกษาของรุ่นลูกที่เข้าไปสืบทอดธุรกิจส่วนใหญ่จะจบจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศ มีชื่อเสียง และสิ่งที่ไปเรียนรู้ส่วนใหญ่เป็นด้านการตลาด เพื่อมาขยายธุรกิจของครอบครัว แต่สิ่งที่เรียนรู้น้อยคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของสินค้า เพราะสินค้ายังมีรูป รส กลิ่นเหมือนเดิมเช่นในอดีต จะทำให้การแข่งขันในต่างประเทศไม่ประสบผลสำเร็จ รวมถึงความรู้ด้านภาษาเป็นเรื่องจำเป็น เพราะการค้าต้องมีการต่อรอง

“นักธุรกิจต้องกล้าออกไปเสี่ยง รัฐบาลสนับสนุนด้านนโยบาย ส่วนธนาคาร ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ซึ่งการออกไปทำธุรกิจ ในต่างประเทศไม่จำเป็นต้องไปใหญ่โต แต่ เมื่อไปแล้วต้องมีความรู้ เรียนรู้การต่อรอง และใช้เครื่องมือต่อรอง”

สุรินทร์ยังชี้ให้เห็นอีกว่า การค้าเสรีอาฟตา รวมไปถึงการค้าเสรีในรูปแบบอื่นๆ ล้วนเป็นโอกาสของนักธุรกิจไทย หากนักธุรกิจไม่พร้อมลงไปแข่งขันก็จะกลายเป็น การเปิดโอกาสให้คนอื่น หรือประเทศอื่นๆ เข้ามาใช้กฎระเบียบเสรีทางด้านการค้าในกลุ่มอาเซียน สร้างผลประโยชน์ให้ตัวเอง จะกลายเป็นเรื่องน่าเสียดายสำหรับประเทศไทย

สิ่งที่เลขาธิการอาเซียนพยายามทำและกระตุ้นให้นักธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 700 คนเข้าร่วมฟังในงานสัมมนาในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเขาต้องการให้นักธุรกิจไทยก้าวออกไปแข่งขัน เพราะจากประสบการณ์ร่วมทำงานในฐานะเลขาธิการอาเซียน มีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับนักธุรกิจไทย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ในอาฟตา

นอกจากการเรียนรู้ธุรกิจในอาฟตาแล้ว นักธุรกิจไทยยังต้องเรียนรู้กฎระเบียบการค้าอื่นๆ เช่น G8 G20 หรือองค์การการค้าโลก (WTO) เพราะกลุ่มการค้าเหล่านี้ จะมีผลกระทบต่อธุรกิจไทยทุกด้าน เนื่อง จากกฎเกณฑ์การค้าโลกรัดกุมขึ้น

เป้าหมายการกระตุ้นกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีในประเทศไทยประมาณสองล้านแปดแสนราย

(จากการรายงานของธนาคารทหาร ไทย) ที่จ้างงานจำนวนกว่า 11.85 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของจีดีพีรวม เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจภาคเอกชน

สุรินทร์เชื่อว่าภาคเอกชนคือหลักสำคัญในการแข่งขันของไทย และการมีเครือข่ายทั่วโลกของเอกชนยังช่วยประคับประคองให้เศรษฐกิจไทยดำรงอยู่ได้ในปัจจุบัน ในขณะที่ภาคการเมืองและภาคสังคมยังมีปัญหา

“AFTA สำหรับคุณ FTA สำหรับคุณ แต่ถ้าเราไม่พร้อมที่จะปลิ้นแขนเสื้อไปลุย มันจะผ่านเราไป แล้วเราจะโวยวายว่ารถไฟ ไม่รอ ไม่ได้” คำกล่าวทิ้งท้ายของสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us