Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2529
ประวัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ             
 

   
related stories

เบื้องหลังการเสนอชื่อเทียม โชควัฒนา เพื่อรับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

   
search resources

Education
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ




มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษา ซึ่งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2517 "ศรีนครินทรวิโรฒ" เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแก่มหาวิทยาลัยนี้ มีความหมายว่า "มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร" คำว่า "วิโรฒ" มาจากคำว่า "วิรฒ" ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่างอกงามหรือเจริญ และเทียบได้กับ "วิรุฬห์" ในภาษาบาลีอันปรากฏในตราของวิทยาลัยวิชาการศึกษาว่า "สิกขา วิรุฬหิ สมปตตา" ซึ่งหมายความว่า "การศึกษาคือการเจริญงอกงาม"

วิทยาลัยวิชาการศึกษานั้นสถาปนาขึ้นจากโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง โดยที่มีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมวิชาชีพและวิทยฐานะของครูอาจารย์ ตั้งแต่เริ่มมานั้นได้ผลดีพอสมควร ได้ผลิตครูประเภทต่าง ๆ นับแต่ครูอนุบาลจนถึงอาจารย์มหาวทิยาลัยกระทรวงศึกษาธิการได้คำนึงถึงความสำคัญ่ของการฝึกหัดครูเป็นอย่างยิ่ง จึงได้พยายามขยายโรงเรียนฝึกหัดครูเป็นลำดับมาจนได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูโดยเฉพาะขึ้นที่ถนนประสานมิตร อำเภอพระโขนง พระนคร เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2492 มีชื่อว่าโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถนนประสานมิตร กิจการของโรเรียนฝึกหัดครูนี้ได้รับการปรับปรุงขยายอาคารสถานที่เป็นลำดับมา ถึงเช่นนั้นก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับนักศึกษาให้ได้เต็มความต้องการ และยังไม่อาจจัดวิทยฐานะทางครูให้ถึงขั้นสูงสุดได้ กระทรวงศึกษาธิการจึงเห็นสมควรปรับปรุงให้ยกวิทยฐานะถึงปริญญาในวิชาการศึกษา เทียบเท่ามาตรฐานของต่างประเทศ เพื่อติดต่อสัมพันธ์กับสถาบันศึกษาชั้นสูงของต่างประเทศได้การปรับปรุงโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงครั้งนี้ยังผลให้กำเนิดแก่วิทยาลัยการศึกษาขึ้น ณ โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถนนประสานมิตร เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2496

เพื่อให้วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้มีอำนาจให้การศึกษาถึงขั้นปริญญาได้โดยสมบูรณ์ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เสนอพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ. 2497 ต่อสภาผู้แทนราษฎรและตราเป็นพระราชบัญญัติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2497

ตามนัยแห่งพระราชบัญญัตินี้ วิทยาลัยวิชาการศึกษามีอำนาจให้อนุปริญญา (อ.กศ.) ปริญญาตรี (กศ.บ.) ปริญญาโท (กศ.ม.) และปริญญาเอก (กศ.ด.) ในวิชาการศึกษาและวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยได้ และอาจจัดให้มีการศึกษาสอบไล่เพื่อรับประกาศนียบัตรตามหลักสูตราและวิธีการที่สภาวิทยาลัยกำหนดได้ด้วย

เพื่อให้ผู้บริหารการศึกษา ครูอาจารย์ ตลอดจนผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องพัฒนาการของเด็กไทยยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วให้การจัดการศึกษาและอบรมสั่งสอนเป็นไปอย่างเหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กและสอดคล้องกับหลักวิชาจิตวิทยา กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ร่วมมือกับองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จัดตั้ง "สถาบันระหว่างชาติสำหรับการค้นคว้าเรื่องของเด็ก" (INTERNATIONAL INSTITUTE FOR CHILD STUDY) ขึ้นในบริเวณวิทยาลัยวิชาการศึกษา ถนนระสนมิตร เมื่อเดือนตุลาคม 2497 เพื่อทำการค้นคว้าวิจัยทางจิตวิทยา เกี่ยวกับความเจริญงอกงามของเด็กในด้านต่าง ๆ และให้วิทยาลัยวิชาการศึกษาทำงานร่วมกับสถาบันระหว่างชาตินี้อย่างใกล้ชิด เมื่อถึงปี 2506 สถาบันนี้ก็ได้รับโอนให้เป็นของรัฐบาลไทยโดยตรง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันสำหรับการค้นคว้าเรื่องเด็กกรุงเทพฯ" BANGKOK INSTIUTE FOR CHILD STUDY (B.I.C.S.) ในปี 2515 เมื่อิวทยาลัยวิชาการศึกษาแยกจากกรมฝึกหัดครูเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันแห่งนี้ก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยโดยสมบูรณ์เป็นต้นมา ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเรียกว่า "สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์"

กิจกรรมของวิทยาลัยดำเนินไปด้วยดี กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ขยายกิจการให้กว้างขวางออกไปอีก โดยออกประกาศโอนแผนกฝึกหัดครูมัธยม พญาไท ปทุมวัน มาเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2498 เรียกชื่อวา "วิทยาลับวิชาการศึกษาปทุมวัน" และได้ขยายกิจการของวิทยาลัยวิชาการศึกษาออกไปสู่สวนภูมิภาค เพื่อช่วยเพิ่มประมาณการผลิตรูให้มากขึ้น ด้วยการจัดตั้ง "วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน" ขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ หมู่ 7 ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสนเริ่มเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2498 ซึ่งจัดได้ว่าเป็นสถาบันชั้นอุดมศึกษาในส่วนภูมิภาคแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรีทางการศึกษา สาขาทั้งสองแห่งนี้ได้เริ่มเปิดทำการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2498

ปี 2510 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ขยายสาขาไปสู่ภาคเหนือคือ "วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก" ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2510

ปี 2511 ได้เปิดสาขาของวิทยาลัยวิชาการศึกษาขึ้นอีก 2 แห่ง คือ "วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม" ที่อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และ "วิทยาลัยวิชาการศึกษา สงขลา" ที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ปี 2512 ได้จัดตั้งสาขาวิทยาลัยวิชาการศึกษาขึ้นในส่วนกลางอีกแห่งหนึ่งเรียกว่า "วิทยาลัยวิชาการศึกษา พรนคร"ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับวิทยาลัยครูพระนคร ในที่ดินของวัดพระศรีมหาธาตุ อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร

1 เมษายน 2513 วิทยาลัยพลศึกษาได้เข้ามาสมทบเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา โดยกรมพลศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ และเรียกชื่อว่า "วิทยาลัยวิชาการศึกษา พลศึกษา"

ตั้งแต่ปี 2512 เป็นต้นมาได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับฐานะของวิทยาลัย แต่เนื่องจากความผันผวนทางเหตุการณ์บ้านเมืองทำให้การพิจารณาเป็นไปอย่างล่าช้า จนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และได้ดอนไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ วิทยาลัยวิชาการศึกษาทั้ง 8 แห่งนี้รวมกันเป็น "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" และเรียกชื่อมหาวิทยาลัยโดยระบุที่ตั้งเช่นที่เคยเรียกมาแต่เดิม ยกเว้นวิทยาลัยวิชาการศึกษาพระนคร ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน"

ในด้านการเรียนการสอนเริ่มรับนิสิตเข้าเรียนตามหลกสูตรปริญญาการศึกษาบัณฑิต ในปีการศึกษา 2496 จนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปัจจุบันกิจการของสถานศึกษาแห่งนี้ได้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ ดังนี้

ปี 2496 เริ่มเปิดสอนตามหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาต่าง ๆ คือ สาขาประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และการบริการการศึกษา

ปี 2498 ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสำหรับบุคคลภายนอก เพื่อเป็นการส่งเสริมวิชาชีพและวิทยฐานะของครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ให้สูงขึ้น

ปี 2499 เปิดสอนขั้นปริญญาโท โดยในขั้นแรกเปิดสอนเฉพาะสาขาจิตวิทยาประชากร โดยร่วมกับสถาบันระดับชาติสำหรับการค้นคว้าเรื่องเด็ก

ปี 2504 เปิดสอนหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต ซึ่งวิทยาลัยวิชาการศึกษาจัดสอนขึ้นเองโดยตรง

ปี 2506 เริ่มเปิดสอนขั้นประกาศนียบัตรชั้นสูงวิชาเฉพาะ

ปี 2517 เริ่มเปิดสอนขั้นปริญญาเอก โดยเปิดสอนในสองสาขาวิชา คือ สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ และสาขาการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตร

ปี 2519 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ในบางแขนงวิชาเพิ่มขึ้น และในปีเดียวกันก็ได้รับหลักสูตรปริญญาการศึกษาบัณฑิต (สาขาครูพยาบาล) ของวิทยาลัยพยาบาลกรุงเทพ กระทรวงสาธารณสุข เข้ามาสมทบ

ปี 2523 ตั้งสถาบันทักษิณคดีศึกษา ที่วิทยาเขตสงขลาซึ่งเริ่มต้นจากโครงการศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้

ปี 2525 จัดตั้งคณะพยาบาลศาสวตร์ขึ้นที่วิทยาเขตบางแสนเพื่อผลิตบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ในระดับปริญญาตรี และเป็นการสนองตอบต่อนโยบายของรัฐที่มุ่งเพิ่มปริมาณการผลิตบุคลากรพยาบาล ให้มีจำนวนเพียงพอที่จะให้บริการด้านการพยาบาลและสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนของประเทศได้อย่างทั่วถึง

ปี 2527 เปิดสอนหลักสูตรขั้นปริญญาโทสาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์และสาขาการศึกษาก่อนวัยเรียน

ปี 2528 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโททางสาขาศิลปศาสตร์

ตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลขึ้นที่วิทยาเขตบางแสนและคณะแพทยศาสตร์ที่วิทยาเขตประสานมิตร

ในด้านการวิจัย ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษานั้น วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้จัดตั้งคณะวิชาวิจัยการศึกษาขึ้นตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อปี 2497 ซึ่งคณะวิชาวิจัยการศึกษาได้ทำการสำรวจและค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ทางการศึกษาหลายเรื่อง และได้เร่มิทำแบบทดสอบมาตรฐานในวิชาต่าง ๆ สำหรับชั้นประถมศึกษาตอนต้น โดยร่วมมือกับกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี 2504 สภาวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้จัดตั้ง "สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา" โดยใช้ขึ้นต่อคณะวิชาวิจัยการศึกษาและให้มีฐานะเป้นแผนกวิชาหนึ่งในคณะวิชานี้ และในปี 2518 ก็ได้ยกฐานะเป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะมีชื่อว่า "สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา" มีหน้าที่บริการทางวิชาการ ทำการวิจัยและสร้างแบบทดสอบมาตรฐานระดับต่าง ๆ ที่สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยาสร้างขึ้นสำหรับใช้กับนิสิตระดับต่าง ๆ และนักเรียนทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีทั้งแบบทดสอบความถนัดทางการเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาต่าง ๆ และได้ให้บริการแก่โรงเรียน หน่วยราชการ ในการทดสอบความรู้และความสามารถของบุคคลด้วย

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒยังได้ร่วมมือกับหน่วยราชการต่าง ๆในด้านบริการทางวิชาการ เช่น ทำการอบรมครู ให้ความรู้เกี่ยวกับการวัดผลการศึกษาตั้งแต่ปี 2513 จัดอบรมทางการแนะแนว บรรณารักษศาสตร์ พลศึกษา เป็นต้นและได้ขยายและปรับปรุงกิจการเหล่านี้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นอีกด้วย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยฯออกเป็น 10 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 สำนักงานอธิการบดี แบ่งหน่วยงานออกเป็น

- กองกลาง

- กองกลางเจ้าหน้าที่

- กองกิจการนิสิต

- กองคลัง

- กองแผนงาน

- กองธุรการวิทยาเขตปทุมวัน

- กองธุรการวิทยาเขตบางเขน

- กองธุรการวิทยาเขตพลศึกษา

- กองธุรการวิทยาเขตบางแสน

- กองธุรการวิทยาเขตพิษณุโลก

- กองธุรการวิทยาเขตมหาสารคาม

- กองธุรการวิทยาเขตสงขลา

ส่วนที่ 2 คณะพลศึกษา แบ่งส่วนราชการออกเป็น

- สำนักงานเลขานุการ

- ภาควิชาพลศึกษา

- ภาควิชาสันทนาการ

- ภาควิชาสุขศึกษา

ส่วนที่ 3 คณะมนุษย์ศาสตร์ แบ่งส่วนราชการออกเป็น

- สำนักงานเลขานุการ

- ภาควิชาจิตวิทยา

- ภาควิชาดุริยางคศาสตร์

- ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์

- ภาควิชาภาษาตะวันตก

- ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก

- ภาควิชาภาษาศาสตร์

- ภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม

ส่วนที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ แบ่งส่วนราชการออกเป็น

- สำนักงานเลขานุการ

- ภาควิชาคณิตศาสตร์

- ภาควิชาคหกรรมศาสตร์

- ภาควิชาเคมี

- ภาควิชาชีววิทยา

- ภาควิชาฟิสิกส์

- ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

- ภาควิชาวาริชศาสตร์
-
ส่วนที่ 5 คณะศึกษาศาสตร์ แบ่งส่วนราชการออกเป็น

- สำนักงานเลขานุการ

- ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา

- ภาควิชาการบริการการศึกษา

- ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาพิเศษ

- ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา

- ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา

- ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

นอกจากนี้คณะศึกษาศาสตร์ยังเป้นคณะที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานการเรียนการ

สอนของโรงเรียนสาธิตซึ่งเป็นศูนย์ฝึกงานด้านเทคนิคการสอน ค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการสอน เป็นที่ทอลอง ฝึกสอนและฝึกงานของนิสิต ตอลดจนการสาธิตและเผยแพร่วิธีการสอนแก่สถาบันที่ต้องการ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีโรงเรียนสาธิตในสังกัดคือ

โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

โรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

โรงเรียนสาธิตพิบูลบำเพ็ญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒบางแสน

ส่วนที่ 6 คณะสังคมศาสตร์ แบ่งส่วนราชการออกเป็น

- สำนักงานเลขานุการ

- ภาควิชาบริหารธุรกิจ

- ภาควิชาประวัติศาสตร์

- ภาควิชาภูมิศาสตร์

- ภาควิชารัฐศาสตร์

- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์

- ภาควิชาสังคมวิทยา

ส่วนที่ 7 คณะพยาบาลศาสตร์ แบ่งส่วนราชการออกเป็น

- สำนักงานเลขานุการ

- ภาควิชาการพยาบาลชุมชน

- ภาควิชาการพยาบาลแม่และเด็ก

- ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์

- ภาควิชาวิจัย ประเมินผล และการบริหารทางการพยาบาล

- ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานการพยาบาล

- ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

ส่วนที่ 8 คณะแพทยศาสตร์ แบ่งส่วนราชการออกเป็น

- สำนักงานเลขานุการ - ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

- ภาควิชาอายุรศาสตร์ - ภาควิชาจักษุ-โสต-ศอ-นาสิก

- ภาควิชาศัลยศาสตร์ - ลาริงช์วิทยา

- ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ - ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม

- ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ - ภาควิชานิติเวชศาสตร์

- ภาควิชารังสีวิทย - ภาควิชากายวิภาคศาสตร์

- ภาควิชาพยาธิวิทยา - ภาควิชาจุลชีววิทยา

- ภาควิชาวิสัญญีวิทยา - ภาควิชาเภสัชวิทยา

- ภาควิชาออโธพีดิกส์ - ภาควิชาชีวเคมี

- ภาควิชาสรีรวิทยา

ส่วนที่ 9 สำนักงานเลขานุการ ในสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์

ส่วนที่ 10 สำนักงานเลขานุการ ในสำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา

ส่วนที่ 11 สำนักงานเลขานุการ ในสำนักหอสมุดกลาง

ส่วนที่ 12 สำนักงานเลขานุการ ในสถาบันทักษิณคดีศึกษา

ส่วนที่ 13 สำนักงานเลขานุการ ในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

ส่วนที่ 14 บัณฑิตวิทยาลัย

สีทางราชการประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คือ เทา-แดง

"สีเทา" หมายถึงสีของสมอง แปลว่า ความคิดหรือปัญญา

"สีแดง" หมายถึงสีของเลือด แปลว่า ความกล้าหาญ

เทา-แดง แปบว่า มีความคิดอย่างกล้าหาญ หรือมีความกล้าที่จะคิด

ตราทางราชการของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้มาจากกราฟของสมการ y=e ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการเพิ่มหรือความงอกงามโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งตรงกับหลักการศึกษาที่ว่า "การศึกษาคือการงอกงาม สิก?ขา วิรุฬ?หิ สม?ปต?ตา"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us