Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2553
ไชโป๊วอีสานใต้...ขยายได้อีก             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย ยงยุทธ สถานพงษ์
 

   
related stories

'อีสานใต้' จาก 'ชายแดน' สู่ 'Land Link'
โอกาสบนเส้นทาง...สายไหม
กันตรึม...เสียงดนตรีแห่งอีสานใต้

   
search resources

Food and Beverage
โรงงานอุตสาหกรรมเจริญชัย, ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ธนกฤต เจียรวัฒนากร




หัวไชโป๊วหรือผักกาดดองหวาน-เค็ม เมืองสุรินทร์ ต้นตำรับจากเมืองจีน เป็นสินค้าขึ้นชื่อที่อยู่ในคำขวัญของจังหวัดสุรินทร์ ที่ว่า “ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม” เป็นสินค้าที่เติบโตเงียบๆ ส่งขายทั่วประเทศ และส่งกลับถิ่นต้นตำรับอย่างจีน ไต้หวัน และฮ่องกง เป็นที่รู้จักไม่แพ้ผ้าไหมสุรินทร์

ทุกวันนี้ ธณกฤต เจียรวัฒนากร เจ้าของธุรกิจผักกาดดองตราสามผึ้ง ผู้สาน ต่อกิจการอุตสาหกรรมผักกาดดองหวานสูตรแต้จิ๋วจากรุ่นพ่อแม่ ยังคงดูแลธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังมีความต้องการวัตถุดิบสำหรับขยายตลาดไช่โป๊ ซึ่งเป็นการสะท้อนธุรกิจจากอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรที่ซ่อนตัวอยู่ในอีสานใต้

เซี๊ยะง้วนและเอี้ยงใช้ แซ่เจ็ง ชาวจีน ต้นตระกูลผู้ทำอุตสาหกรรมผักกาดดอง พ่อและแม่ของธณกฤตอพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาตั้งรกรากในเมืองไทย เปิดห้องแถวยึดอาชีพปลูกผักกาดและผลิตเป็นผักกาดดองหวาน-เค็มออกขายอยู่ที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่ปี 2517 จนในที่สุดย้ายเข้ามาเปิดเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงงานอุตสาหกรรมเจริญชัย ในตัวเมืองสุรินทร์ แต่ยังคงมีแหล่งเพาะปลูกหัวผักกาดที่ใหญ่ที่สุดประมาณ 1,000 ไร่ อยู่ในพื้นที่เดิมที่อำเภอกาบเชิง

ธณกฤตเปิดเผยว่า หนึ่งในเคล็ดลับของการผลิตผักกาดหวานของตราสามผึ้ง ตั้งแต่เริ่มกิจการถึงปัจจุบันนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ที่การใช้วัตถุดิบหัวผักกาดที่ปลูกในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งสภาพดินและอากาศทำให้ได้ผักกาดหัวเล็กที่มีความละเอียดเหนียวและกรอบเมื่อเทียบกับวัตถุดิบจากแหล่งอื่น

“เราใช้วัตถุดิบจากสุรินทร์เท่านั้น เพราะต้องมีกระบวนการจัดการดูแลตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก โดยเราสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ ติดตั้งเครื่องรดน้ำให้กับผู้ปลูก ซึ่งจะต้องดูแลควบคุมการให้น้ำที่พอเหมาะ เพื่อให้หัวผักกาดมีคุณภาพครบทันการเก็บเกี่ยว สอนกรรมวิธีหมักเกลือตากแห้งที่เป็นสูตรเดียวกัน เพื่อให้รสชาติของหัวผักกาดที่ส่งจำหน่ายให้กับโรงงานเพื่อเข้าสู่กระบวนการหมักดองในโรงงานไม่เพี้ยน”

กระบวนการทั้งหมดที่ธณกฤตเล่ามาตั้งแต่การคัดเมล็ดพันธุ์ การปลูก เก็บ หมักเกลือ ส่งเข้าสู่โรงงาน และกระบวนการผลิตของทางโรงงานเอง คือจุดแข็งที่ทำให้ชื่อเสียง ของผักกาดดองตราสามผึ้งประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักทั่วประเทศมาอย่างต่อเนื่อง และ ได้รับคัดเลือกเป็นสินค้า OTOP ประจำจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่เมื่อปี 2532 รวมทั้งส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านทั้งลาวและกัมพูชา นอกเหนือจากประเทศในกลุ่มที่มีประชากรเชื้อสายจีนเป็นหลัก

สำหรับตราสามผึ้ง ในฐานะมืออาชีพด้านการผลิตผักกาดหวาน ยังมีสูตรพิเศษที่ต่างจากแบรนด์อื่น นั่นคือการผลิตหัวผักกาดหวานหมักน้ำผึ้งแท้ 4 ปี ซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นยาโดยธรรมชาติ มีสรรพคุณขับลมในกระเพาะอาหาร ซึ่งถือเป็นจุดต่างในบรรดาผู้ผลิต หัวผักกาดดองทั้งหมดที่มีผลิตอยู่ เพียงรายเดียวในตลาด และไม่มีขายทั่วไปจะซื้อได้ต้องที่ตัวเมืองสุรินทร์เท่านั้น

“ถือเป็นสูตรลับของตระกูล และยังเป็นที่มาของตราสามผึ้งด้วย เพราะสมัยเปิดโรงงานที่กาบเชิง ตอนหมักหัวผักกาดมีผึ้งป่าเข้ามาดูดน้ำหวานจากการหมักจำนวนมาก แล้วในครอบครัวมีผู้ชาย 3 คน เป็นกำลังสำคัญ เราก็เลยใช้ผึ้งสามตัวเป็นตัวแทนและใช้ชื่อตราสามผึ้งตั้งแต่นั้นมา”

ความต่อเนื่องในการผลิตหัวผักกาดดอง รวมทั้งการรักษาสูตรลับอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจหัวผักกาดที่บางคนอาจจะไม่รู้จักเท่าไรนี้ ยังมีความต้องการขยายกำลังการผลิตอยู่เสมอ แต่ที่ผ่านมาก็ไม่สามารถขยายได้เท่าที่ต้องการ เพราะวัตถุดิบที่ใช้ต้องมีการควบคุมตั้งแต่ต้นทาง มิฉะนั้นคุณภาพและรสชาติจะเสียหายได้

“แหล่งวัตถุดิบเราไม่พอกับความต้องการ แม้หัวผักกาดจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกง่าย สร้างรายได้กว่ามันสำปะหลังหรือปอ แต่ก็ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจหลักที่รัฐส่งเสริม โรงงานต้องส่งเสริมเอง เราต้องสอนเกษตรกรให้รู้วิธีปลูกและการหมัก ทุกวันนี้ถ้ามีเกษตรกรรายใดสนใจ เราก็พร้อมจะให้คำแนะนำและสนับสนุนทันที” ธณกฤตกล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ นอกจากการพัฒนาการผลิตเพื่อขายและจำหน่ายในตลาดเดิมๆ ทั้งในและต่างประเทศ หัวผักกาดดองตราสามผึ้งก็มีแนวคิดว่า การขนส่งสินค้าสู่ประเทศในอินโดจีน ผ่านทางจังหวัดสุรินทร์ ก็เป็นโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจของตราสามผึ้งขยายตลาดและแหล่งวัตถุดิบเข้าสู่ตลาดนี้ในอนาคตอย่างจริงจังมากขึ้น นอกเหนือจากการค้าชายแดนผ่านช่องจอมและช่องสะงำที่ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us