Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2553
'อีสานใต้' จาก 'ชายแดน' สู่ 'Land Link'             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย ยงยุทธ สถานพงษ์
 

   
related stories

โอกาสบนเส้นทาง...สายไหม
ไชโป๊วอีสานใต้...ขยายได้อีก
กันตรึม...เสียงดนตรีแห่งอีสานใต้

   
search resources

Commercial and business
International
สุรัตน์ คูณวัฒนาพงษ์
ชวลิต องควานิช




ความคิดนี้กำลังจะเปลี่ยนรูปแบบชายแดนไปสู่การค้าระหว่างกันของประเทศในภูมิภาคอินโดจีนในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้านี้ โดยเปลี่ยนพื้นที่ชายแดนให้เป็นประตูสู่สากล มีการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อพัฒนาการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว

จึงถึงเวลาที่คนไทยต้องเริ่มเปลี่ยนการรับรู้เสียใหม่ ว่าเส้นเขตแดนทางการค้านั้นไม่ได้สิ้นสุดลงที่ชายขอบของประเทศ แต่นับจากนี้ทุกพื้นที่ชายแดนของประเทศ เป็นประตูสำคัญที่จะเชื่อมเส้นทางการค้าให้ขยายออกไปไม่รู้จบ

ต้องเปิดหูตาให้กว้างเพื่อรับรู้การเคลื่อนไหวจากทุกประเทศ ตั้งแต่ความเคลื่อนไหวที่สุดแผ่นดินตะวันออก จนจรดอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ที่เวียดนาม มองตลาดทะลุเหนือสุดของประเทศออกไปหรือ แม้กระทั่งไกลไปสุดฝั่งทะเลอันดามันในฝั่งพม่าหรืออินเดียก็ไม่ควรละเลย เพราะนับจากนี้คำว่าชายแดนหมดความขลังที่จะเป็นข้อจำกัดใดๆ สำหรับโลกการค้าหรือแม้กระทั่งการติดต่อไปมาหาสู่กันของคนเราอีกแล้ว

พื้นที่อีสานใต้ 4 จังหวัด ซึ่งมีพื้นที่เขตแดนที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน หลายจุดไม่มีภูเขาหรือสันปันน้ำให้เห็นเส้นแบ่งชัดเจน ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่ที่มีเขตแดนติดกับเพื่อนบ้านทั้งลาว กัมพูชา และเลยไปนิดเดียวก็ถึงเวียดนาม

จึงต้องเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนรอยตะเข็บเป็นเส้นทางเชื่อมโยงเศรษฐกิจ ดังนั้น หากไทยไม่เริ่มผลักดันพื้นที่ชายแดนเสียแต่วันนี้ ไทยอาจจะต้องเจอปัญหาใหญ่ในอนาคต ที่ไม่สามารถเกาะเกี่ยวกระบวนการค้ามิตรภาพแห่งประเทศในอินโดจีน และอาจถูกทิ้งให้โดดเดี่ยว ทั้งที่ไทยได้ชื่อว่าพัฒนาด้านเศรษฐกิจมาก่อนใครๆ ในภูมิภาคนี้

พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางการทหารและการปกครองมาช้านาน หากจะย้อนไปก็สามารถอ้างอิงได้ถึงอาณาจักรขอมโบราณกันเลยทีเดียว เพราะบริเวณนี้เคยเป็น เขตเส้นทางราชมรรคาของกษัตริย์ขอมตามหลักฐานที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ รวมทั้งยังมีหลักฐานหลงเหลือให้สืบค้นมากมาย ซึ่งในแง่นี้ก็แสดงให้เห็นว่า พื้นที่อีสานใต้รวมถึง พื้นที่ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาและลาว เคยมีความเป็นสากลและการค้าระหว่างกันมาแล้วเนิ่นนาน

แต่ครั้งนี้คือแผนของการก้าวสู่ยุคการค้าไร้พรมแดนภายใต้การพัฒนาและเทคโนโลยี อันทันสมัย มีถนน ระบบโลจิสติกส์ และเครื่องทุ่นแรงทุ่นเวลาอย่างรถยนต์และเงินทุนเป็น ตัวขับเคลื่อน ซึ่งเป็นวัฏจักรที่กำลังทำให้พื้นที่อีสานใต้กลับมามีบทบาททางการค้าที่คึกคัก อีกครั้งเช่นในอดีตอันไกลโพ้น เป็นที่ที่เชื่อมโยงไทยกับเพื่อนบ้านทั้งลาว กัมพูชา เวียดนาม หรือแม้แต่ชายฝั่งอันดามันผ่านประเทศพม่า

ความคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แต่การขับเคลื่อนอย่างจริงจังดูเหมือนว่าเอกชนจะเป็นผู้เล่นหลักเสียมากกว่า ไม่ต่างจากการลงทุนของธุรกิจไทยในต่างประเทศ ที่เอกชนต้องพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก ทั้งที่รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ต่างก็มีนโยบายและแผนการพัฒนาพื้นที่ที่เอื้อประโยชน์ในทิศทางเดียวกับ ภาคเอกชน แต่การดำเนินงานกลับแผ่วเบาเสียจนบางครั้งมองไม่เห็นความน่าจะเป็น

“ผมเข้าไปลงทุนค้าไม้ในลาวตั้งแต่ 10 ปีก่อน ถึงตอนนี้เปลี่ยนไปเยอะ สมัยก่อน บางทีซื้อไม้จ่ายเงินแล้วเอาไม้ออกไม่ได้ แต่เดี๋ยวนี้มีระเบียบข้อปฏิบัติ ถ้าสะดุดก็หยิบขึ้น มาพิจารณาตามระเบียบกันได้เลย” สุรัตน์ คูณวัฒนาพงษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด สุรินทร์ เล่าประสบการณ์ลงทุนที่ต้องเริ่มจากพึ่งพาตัวเองก่อนเป็นหลัก

นอกจากธุรกิจ สุรัตน์ยังเปิดกิจการโรงงานสาวไหมอยู่ห่างจากบริเวณช่องจอม ประมาณ 10 กิโลเมตรในฝั่งไทยอีกด้วย ซึ่งทำให้เขาเห็นว่าประเทศไทยยังมีโอกาสขยาย การขายไปยังเพื่อนบ้านอีกมาก จากการพัฒนาการค้าบริเวณด่าน โดยเฉพาะถ้าสามารถ พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้ราบรื่นควบคู่กันไป จากสินค้าปลากรอบ ปลาร้า ที่ขนจากฝั่งเขมรเข้าไทยเป็นประจำผ่านช่องทางนี้ ก็น่าจะขยายสู่สินค้าประเภทอื่นได้อีกมากมาย

“ช่องจอมคือเส้นทางการค้าที่มีมาแต่โบราณ ทำไมจะกลับมาเจริญทางการค้าอีกครั้งไม่ได้ ถ้ารัฐบาลไทยหันมาพัฒนาอย่างจริงจัง แทนที่จะเบี่ยงเบนไปที่เส้นทางอื่นเพื่อแก้ ปัญหาที่เกิดขึ้น” สุรัตน์กล่าว

อีกด้านหนึ่งนั้น หอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีชายแดนติดกับ สปป.ลาว โดยมีด่านช่องเม็กเป็นด่านสากล ก็พยายาม นำเสนอเส้นทางเศรษฐกิจเชื่อมโยงทั้งภูมิภาคจากไทยถึงเวียดนาม ออกจีน ทะลุ พม่า โดยภาคเอกชนลงทุนออกเดินทางเพื่อ สำรวจเส้นทางด้วยตัวเองเป็นวงกลมจาก อุบลฯ-ช่องเม็ก-เข้า สปป.ลาวผ่านปากเซ-น้ำตกคอนพะเพ็ง-เข้ากัมพูชาผ่านด่านดงกะลอ-สตึงเตร็ง-กระเจ๊ะห์-แล้วเข้าเวียดนาม ที่ด่านฮัวลือ (ล็อกนินห์)-โฮจิมินห์-ด่านม็อกไบ-กลับมาพนมเปญ-เสียมเรียบ-แล้วเข้าไทยทางช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ หรือเส้นทางอื่นๆ โดยเฉพาะเส้นทางระหว่างลาว-กัมพูชา-สู่ท่าเรือน้ำลึกของเวียดนามที่บินห์ดินห์และโฮจิมินห์

“ทุกวันนี้เพื่อนบ้านเราทำถนนตามเส้นทางนี้ทยอยเสร็จ เหลืออีก 20% ก็จะเสร็จหมดแล้ว เขาเชื่อมกันหมดกัมพูชา ลาว เวียดนาม และจีน ผมออกสำรวจและ เสนอรัฐบาลมาตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว ปี 2542 นายกชวน (หลีกภัย) มาประชุมหอการค้าทั่วประเทศที่อุบลฯ ผมเสนอเส้นทางเหล่านี้ กับรองนายกฯ ศุภชัย (พานิชภักดิ์) ผมบอก รัฐบาลไม่ต้องทำอะไรเลย แค่สนับสนุนเพื่อนบ้านให้เขาเคลื่อนไหวในจุดนี้ได้ก็จะได้ประโยชน์กับภูมิภาคอีสานใต้แล้ว” ชวลิต องควานิช อดีตประธานหอการค้าจังหวัดอุบลฯ กล่าว

ขณะที่เอกชนลงมือทำและเคลื่อน ไหวจริงจัง ในส่วนของภาครัฐเพิ่งจะมีกรอบ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศรายภาคของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 มาตรา 53/1 และมาตรา 53/2 บัญญัติให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนในท้องถิ่น และใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด

ในกรอบยุทธศาสตร์นี้มีแนวคิดชัดเจนที่จะพัฒนาการเชื่อมโยงระหว่างไทยกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยเน้นผลของการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร และการท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจตามแนวตะวันออกสู่ตะวันตก (East West Economic Corridor) และแนวเหนือจรดใต้ (North South Economic Corridor) โดยบอกชัดเจนให้แต่ละภาคและกลุ่มจังหวัดให้ความสำคัญพิเศษกับการพัฒนาชุมชนเศรษฐกิจชายแดน เพื่อรองรับการพัฒนา เศรษฐกิจเชื่อมโยงระหว่างประเทศ

แต่แน่นอน เมื่อยุทธศาสตร์นี้เป็นแค่กรอบ การจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่อยู่ที่คนนำไปปฏิบัติ

ในกลุ่มอีสานใต้หลายจังหวัดต่างพัฒนาตัวเองเพื่อให้สอดรับกับแนวทางการพัฒนา ระดับภูมิภาค โดยนำจุดเด่นในพื้นที่มาเป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนา เกี่ยวกับการเกษตร ผ้าไหม และศักยภาพการท่องเที่ยว ซึ่งล้วนเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจ ที่มีจุดแข็งอยู่เดิมในพื้นที่

ตัวอย่างเช่น จังหวัดสุรินทร์ เฉพาะปี 2552 ที่ผ่านมาจัดงบประมาณสำหรับแผนพัฒนาตามโครงการสามด้านนี้ประมาณ 130 ล้านบาท จากงบประมาณสำหรับการพัฒนา ของจังหวัดรวมประมาณ 250 ล้านบาท โดยเน้นไปที่การพัฒนาเกษตร การท่องเที่ยว และผ้าไหม ตามลำดับจากมากไปหาน้อย

ทุกเซกเมนต์เน้นพัฒนาโดยใช้ตลาดนำ หาตลาดที่ผู้บริโภคต้องการ หากเป็นสินค้าเกษตรก็ต้องไปตามแนวเกษตรอินทรีย์ ควบคู่ไปกับการเพิ่มความสามารถทางการผลิตและแข่งขัน ตลาดผ้าไหมจากตลาดเฉพาะกลุ่มก็พัฒนาสู่การใช้ตลาดนำการผลิต สร้างเครือข่ายผู้ผลิตให้มีคุณภาพและทันตลาด และพัฒนาบริหารจัดการ และพัฒนาระบบข้อมูลผลิตภัณฑ์ผ้าไหม รวมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็นแม่เหล็กสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจให้กับพื้นที่

ตัวอย่างจังหวัดอุบลราชธานี โดยหอการค้าอุบลฯ ก็มีแผนงานตอบโจทย์กรอบยุทธศาสตร์โดยตรง และทำมานานก่อนกรอบยุทธศาสตร์จะออกมา โดยเริ่มจัดตั้งคณะกรรมการการก่อตั้งโครงการวงกลมเศรษฐกิจสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน ตั้งแต่ปี 2534 เพื่อพัฒนาการค้าและการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอินโดจีน ไทย-ลาว-เวียดนาม-กัมพูชา เรียกได้ว่าแนวคิดของการพัฒนาบทบาทภูมิภาคที่รัฐบาลกำหนดกรอบไว้ เริ่มคล้อยตามสิ่งที่เอกชนได้นำร่องมาก่อน

คณะกรรมการการก่อตั้งฯ นี้ออกสำรวจเส้นทางใน 4 ประเทศตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยไม่สนใจว่าภาครัฐจะพัฒนาแผนการค้าในภูมิภาคนี้ไปอย่างเนิบช้าแค่ไหน เพราะถ้ารอนานไปอีก 5-10 ปี ไทยอาจจะเป็นประเทศที่ไม่มีบทบาทใดๆ ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจภูมิภาคนี้อย่างมีนัยสำคัญ

“ประเทศอื่น ลาว กัมพูชา เวียดนามมาแรง เขาตื่นตัวมากกับการพัฒนาเศรษฐกิจ อาจจะเป็นเพราะเขามองออกว่าเขาน่าจะได้ประโยชน์จริงๆ ไม่เหมือนคนไทยที่มองคนละ มุม ไม่ค่อยหมุนเข้ากรอบอาเซียน ทั้งที่หอการค้าอุบลฯ เรากระตุ้นเรื่องนี้มาตลอด” ชวลิต กล่าว

ชวลิตเล่าว่าเขาจับตามองศักยภาพความได้เปรียบของจังหวัดอุบลฯ ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมต่อสู่การค้าอินโดจีนมาตลอด ตั้งแต่ปี 2542 เขาเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลและนักธุรกิจทั้งท้องถิ่นและจากภายนอกมองเห็นว่าจังหวัดชายแดนอย่างอุบลฯ จะสามารถ เป็นประตูสู่สากลได้ โดยเฉพาะเมื่อการค้าในกรอบอาเซียนเริ่มทำงานอย่างเต็มตัวในปี 2558 เพราะใกล้ทั้งลาว กัมพูชา และเวียดนาม

เส้นทางที่เขานำเสนออดีตรองนายกรัฐมนตรีศุภชัย พานิชภักดิ์ ภายใต้รัฐบาลชวน หลีกภัย เป็นเส้นทางที่เขาและทีมออกเดินทางไปเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง เพื่อนำเสนอ ภาพการเชื่อมต่อเศรษฐกิจสู่กลุ่มอินโดจีนต่อภาครัฐ แม้ว่าบางช่วงของเส้นทางที่ออก สำรวจ จากอุบลฯ ผ่านปากเซไปถึงกอนตูม และท่าน้ำเรือน้ำลึกบินห์ดินห์ของเวียดนาม จะยังเป็นเพียงทางเกวียนเสียด้วยซ้ำ

ทั้งหมดที่ทำก็เพื่อหวังว่าจะทำให้นักลงทุนมองเห็นเหมือนที่เขาเห็น ว่าในอนาคตอุบลฯ จะเป็นจุดที่ทำให้ไทยเกาะเกี่ยวเข้ากับวงกลมเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอินโดจีนโดยไม่ถูกทิ้งให้โดดเดี่ยว และหากนักลงทุนมองออกว่าการขนส่งสินค้าทางเรือไปยังตลาดโลก ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงท่าเรือแหลมฉบังแห่งเดียว แต่สามารถอาศัยท่าเรือน้ำลึกของเวียดนามที่มีอยู่หลายแห่ง และกำลังก่อสร้างเพิ่มเติมอยู่อีกนั้น อีสานใต้ก็น่าจะเป็นพื้นที่น่าลงทุน มากขึ้นในสายตาของนักลงทุน

แต่ดูเหมือนคำว่า ‘อีสานใต้’ อาจจะฟังดูห่างไกลจากการเป็นศูนย์กลางการค้าระดับภูมิภาค บางคนยังเข้าใจว่าเป็นพื้นที่กำลังพัฒนา แม้กระทั่งบริษัทใหญ่ๆ ในเมืองไทยก็ไม่ค่อยสนใจพิจารณามาลงทุน

หลายรายยอมเสี่ยงไปลงทุนต่างประเทศ เพียงเพราะมองประชากรที่หนาแน่นระดับหลายสิบหรือร้อยล้านคนในพื้นที่เดียว โดยขาดการมองภาพการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของกลุ่มอินโดจีน

“ถ้าเรามองแค่อุบลฯ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ไปถึงโคราช ยโสธร อำนาจเจริญ กลุ่มนี้รวมกัน 10 ล้านคนนะ อุบลฯ 1.8 ล้าน ศรีสะเกษ 1.5 ล้าน สุรินทร์ 1.5 ล้าน โคราช 2 ล้าน ลาวตอนใต้ 4 แขวง คอนพะเพ็งมาถึงกัมพูชา รวมกันอีก 14 ล้าน รวมไปถึงเวียดนามตอนกลาง กวางตรี เว้ ดานัง กวางนาม กวางไง กอนตูม ยาไล ไปถึงบินห์ดินห์ กลุ่มนี้อีก 42 ล้าน คน 70 ล้านคนไปมาหาสู่กัน ถึงแม้เขาเพิ่งพัฒนา เพิ่งเปลี่ยนการปกครองแต่ผมมองว่าอนาคตเขาต้องโต แล้วปัจจุบันมันก็เหมือนที่เราคิด”

จนถึงปัจจุบันก็คงต้องสรุปว่าวิธีมองแบบชวลิตก็ยังไม่เข้าตานักลงทุนเท่าไร เพราะ จากข้อมูลการลงทุนเฉพาะในอุบลฯ ช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ชวลิตบอกว่าเขาเห็นการลงทุน ของรายใหญ่เพียงรายเดียว คือโรงงานของ บริษัทก้าวหน้าไข่สด ซึ่งสามารถรับซื้อวัตถุดิบปีละ 60,000 ตัน เพื่อผลิตอาหารสัตว์ ทำโครงการจ้างเลี้ยง คอนแทร็กฟาร์มมิ่ง และส่งไก่สดแช่แข็ง ไก่สดปรุงสำเร็จส่งตลาดญี่ปุ่น และยุโรป มูลค่าปีละ ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท

ชวลิตยังคงติดตามสิ่งที่เสนอต่อรัฐบาลไปอย่างต่อเนื่องและย้ำว่าถึงเวลาแล้ว ที่คนไทยต้องมองพื้นที่อีสานใต้เสียใหม่ ว่า นี่คือ “ประตูสู่สากล” เหมือนที่ลาวเปลี่ยนมุมมองต่อประเทศตนเองจาก “Land lock” สู่ “Land link” และแม้ว่าวันนี้ลาวจะยังส่งสินค้าที่ผลิตได้ โดยเฉพาะจากเหมืองแร่ผ่านไปยังท่าเรือแหลมฉบังของไทย แต่เมื่อเส้นทางที่ลาวเชื่อมถนนทุกเส้นออกไปยังเวียดนามทยอยแล้วเสร็จเมื่อไร ก็ใช่ว่าสินค้าลาวจะต้องยึดการใช้บริการที่เดิมต่อไปเสียเมื่อไร เพราะจากอุบลฯ ไปออกทะเลที่บินห์ดินห์ของเวียดนามระยะทางรวมแค่ 760 กิโลเมตร เท่าๆ กับระยะห่าง จากจีน ซึ่งชวลิตถือว่า “ใกล้” สำหรับการขนส่งสินค้า

จากฝั่งตะวันออกที่เวียดนาม เป้าหมายไกลสุดของฝั่งตะวันตกของอีสานใต้ คือฝั่งทะเลอันดามันในประเทศพม่า ซึ่งชวลิตเชื่อว่าอีสานใต้จะทำหน้าที่ในบทบาท ของ Land link ได้อย่างดี สำหรับการขนส่งสินค้าไปมาระหว่างอันดามันไปสู่ทะเลจีนใต้โดยไม่ต้องอ้อมแหลมมะละกา ที่จะช่วยประหยัดเวลาในการขนส่งไปได้อีกหลายวัน โดยจากอุบลฯ วิ่งเข้าสุรินทร์ บุรีรัมย์ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี แล้วไปออกท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่า

ปัจจุบันเวียดนามใช้ท่าเรือน้ำลึกที่บินห์ดินห์ และโฮจิมินห์ ซึ่งที่โฮจิมินห์ยังอยู่ระหว่างสร้างท่าเรือน้ำลึกอีก 2 แห่งโดย ญี่ปุ่น และการลงทุนระหว่างเกาหลีและไต้หวัน เป้าหมายคือจะเป็นท่าเรือสำหรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ที่สามารถวิ่งถึงอเมริกา ได้โดยไม่ต้องแวะขนถ่ายสินค้า ไม่ต้องแวะ แหลมฉบังของไทย ซึ่งเมื่อท่าเรือทั้ง 2 แห่ง แล้วเสร็จอัตราการขนส่งสินค้าจากท่าเรืออาจจะแซงหน้าแหลมฉบังก็ได้ แม้ว่าตอนนี้ ท่าเรือที่บินห์ดินห์จะขนส่งสินค้าอยู่ไม่ถึง 2% ดานัง 1% ไฮฟอง 10% ที่เหลือหลักๆอยู่ที่โฮจิมินห์

“เวียดนามมองเส้นนี้เหมือนเราเพราะประหยัดค่าขนส่ง ใกล้กว่าอีสต์เวสต์ คอร์ริเดอร์ประมาณ 300 กิโลเมตร แต่ตอนนี้ยังสะดุดที่พม่า แม้แต่จีนนอกจากมี เส้นทางอาร์สามเอที่มีเป้าหมายที่กรุงเทพฯ แต่เขาก็มี Central sub-corridor ที่มุ่งไปฮานอยและโฮจิมินห์เช่นกัน”

เมื่อมองไกลออกไปจากชายแดนอีสานใต้ของไทย หากไม่หลับตามองก็คง จะเห็นได้ชัดว่าถนนทุกสายจากจีนมุ่งยังภูมิภาคอินโดจีนขยายเครือข่ายครอบคลุมครบ ทั้งในไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม และสิ่งที่นักลงทุนไทยควรจะต้องรู้อีกก็คือมีการลงทุนขนาดใหญ่ทั้งจากเกาหลี ญี่ปุ่น หรือแม้แต่มาเลเซีย ซึ่งไม่มีพื้นที่ติดกับกลุ่มประเทศในลุ่มน้ำโขงต่างก็เข้ามาลงทุนอย่างคึกคักในประเทศเหล่านี้

แม้กระทั่งเวียดนามก็ขยายการลงทุนไปในลาวและกัมพูชา ทั้งภาคบริการ การเกษตร และอุตสาหกรรม เช่นการเช่าที่ดินหลายล้านไร่เพื่อปลูกยางพาราเตรียมส่งขายจีน ผ่านเส้นทางเหล่านี้ ซึ่งนักลงทุนไทยควรจะเริ่มถามตัวเองอย่างจริงจังได้แล้วว่า คิดและจะก้าวไปอย่างไรกับกลุ่มเพื่อนบ้านในอินโดจีน

“ของไทยพูดมาก่อนใคร ได้แต่พูดว่าจะไปลงทุน จนเขาถามว่าเมื่อไรจะมา และจนคนอื่นเขาเข้าไปลงทุนและเชื่อมโยงกันไปถึงไหนต่อไหน ตอนนี้อะไรที่เชื่อมเวียดนาม ก็จะไปเชื่อมจีนทั้งหมด เหมือนปลูกยางพาราก็ส่งจีน นอกจากถนนก็มีรถไฟความเร็วสูง ที่ทั้งจีนและเวียดนามจะเชื่อมถึงกันและมีเป้าหมายมาถึงลาวและกัมพูชา ทุกอย่างเกือบสมบูรณ์แล้ว เหลือแค่ทำถนนเชื่อมจนครบตั้งแต่ชายแดนกัมพูชา รัตนคีรีไปถึงชายแดน เวียดนาม จากด็อกนินห์ ไดลิน เข้าโฮจิมินห์ เป้าหมายไปจีนทั้งนั้น ถึงตอนนี้ถ้าบอกว่าประเทศไทยได้เปรียบทุกอย่างผมว่าไม่ใช่ เราได้เปรียบแค่ที่ตั้งภูมิศาสตร์ แต่เราไม่ทำอะไรเลย ผมถือว่าเร็วสุดไม่เกิน 10 ปี โครงสร้างจะเปลี่ยน วงกลมเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ อาจจะไม่มีไทย”

ดังนั้น ด้วยความมั่นใจที่ชวลิตแสดงให้เห็น แม้นักลงทุนไทยอาจจะยังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะเดินผ่านประตูการค้าที่ยังเล็กอยู่นี้ แต่สำหรับชวลิตและกลุ่มผู้บริหารหอการค้า ยังคง เดินหน้าเพื่อปูทางรับเส้นทางเศรษฐกิจที่เชื่อมั่นว่าจะเกิดขึ้นแน่นอนนี้ต่อไป

สิ่งที่พวกเขาทำได้ตอนนี้คือการเร่งให้เกิดการพัฒนาเส้นทาง ขยายถนนจากกรุงเทพฯ ไปถึงอุบลฯ ให้เป็นถนน 4 เลนตลอดเส้นทาง โดยล่าสุดอยู่ระหว่างการประมูลเส้นทางช่วง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ไปถึง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ หรือถนนหมาย เลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ช่วงที่ยังเป็น 2 เลนให้เป็น 4 เลน มูลค่า 1,500 ล้านบาท ถนนหมายเลข 2085 (ขุขันธ์-กันทรลักษ์) และถนนหมายเลข 2178 จาก อ.พิบูล มังสาหารไปช่องเม็ก มูลค่างาน 720 ล้านบาท ซึ่งไม่สามารถทำได้ตลอดเส้น ขาดอีก 14 กิโลเมตร ซึ่งชวลิตยืนยันว่ามีแผนจะหางบมาทำให้เป็น 4 เลนทั้งเส้น

“ในฐานะจังหวัดชายแดนเราสามารถขอเงินกู้ในกรอบของ GMS ได้สิ่งที่เราทำไว้ตอนนี้ก็หวังว่าอย่างน้อยเป็นตัวดึงคน ดึงนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในพื้นที่ได้ง่ายและมากขึ้นก่อน และก็เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่ทำได้ตอนนี้ แล้วใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวนำการค้า สร้างเศรษฐกิจให้เพื่อนบ้านดี ไปพร้อมๆ กับเศรษฐกิจในบ้าน เพราะอย่างน้อยถ้าเพื่อนบ้านรวย เราในฐานะคนอยู่ติดกันก็สบายใจ เขาก็จะมีเงินมาซื้อสินค้าเรา” ชวลิตกล่าวทิ้งท้าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us