Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2553
Manifesto II             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Political and Government




Manifesto องก์ที่หนึ่งมีอันต้องจบลงไปอย่างกะทันหันก่อนเวลาอันควรด้วยการประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ Dr.Yukio Hatoyama ภายหลังชัยชนะของพรรค Democratic Party of Japan (DPJ) ที่เพิ่งพลิกกลับขั้วทางการเมืองได้เพียง 8 เดือนเท่านั้น

แม้ว่าผลงานเด่นในช่วงสั้นๆ ที่ผ่านมา ยกตัวอย่างการตรวจสอบงบประมาณประจำปีกันอย่างเข้มงวดรวมถึงการหั่นทอนค่าใช้ จ่ายของภาครัฐที่เกินความจำเป็นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน นโยบายลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 25% ภายในปี 2020 เป็นต้น ซึ่งได้ปรากฏต่อสายตาสาธารณชนไปแล้วนั้นแต่ก็มีภารกิจอีกหลาย อย่างที่ยังรอการสะสางหรือกำลังอยู่ในขั้นดำเนินการเช่นการปรับลดราคาค่าทาง ด่วนลงอีก ปัญหาเงินบำนาญ โดยเฉพาะปัญหาการย้ายฐานทัพของสหรัฐอเมริกาออกจากเกาะโอกินาวา ซึ่งเป็นเสมือน ระเบิดเวลาที่ตั้งขึ้นโดยนายกรัฐมนตรี Hatoyama

ครั้นสืบย้อนกลับไปในช่วงสงครามเย็นนั้นเกาะโอกินาวาและหมู่เกาะใกล้เคียงที่สหรัฐอเมริกา ยึดมาได้แต่ครั้ง Battle of Okinawa ใน ปี 1945 ก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในการรักษาแสนยานุภาพทางการทหารในภูมิภาคตะวันออกของทะเลจีน และมหาสมุทรแปซิฟิกเพื่อปิดกั้นการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์และคานอำนาจ กับสหภาพโซเวียตบนคาบสมุทรเกาหลี ในขณะเดียวกันก็คอยให้การสนับสนุนไต้หวัน

แต่ก่อนที่ชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กและคนชราที่เหลืออยู่เพียงหยิบมือจากการรุกรานในช่วง 82 วันบนเกาะแห่งนี้จะได้รับการช่วยเหลือนั้นรอยแผลลึกภายหลังสงครามถูกเปิดให้กว้างขึ้นไปอีกด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวรของกองกำลังสหรัฐฯ ที่ลงหลักปักฐานบนเกาะโอกินาวาได้ตามอำเภอใจ

กลายเป็นตราบาปประทับอยู่ในจังหวัดโอกิ นาวา ซึ่งมีพื้นที่ไม่ถึง 1% ของประเทศแต่กลับมีฐานทัพอเมริกันตั้งอยู่ถึง 14 แห่งคิดเป็นสัดส่วน 5% ของกองกำลังทหารสหรัฐฯ ทั้งหมดภายในญี่ปุ่น

กระทั่งในปี 1972 สหรัฐอเมริกาส่งมอบเกาะโอกินาวาและหมู่เกาะข้างเคียงคืนสู่ญี่ปุ่นภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาความร่วมมือและความปลอดภัยทวิภาคีระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น (Treaty of Mutual Cooperation and Security between the United States and Japan) ซึ่งในเนื้อความมิได้ลงลายลักษณ์อักษรว่ากองกำลังสหรัฐอเมริกาจะเข้าปกป้องญี่ปุ่นหากถูกรุกราน เพียงแต่สหรัฐอเมริกาสามารถคงฐานทัพทั้ง 3 เหล่าทัพไว้ได้บนเกาะโอกินาวา เพื่อรักษาสันติภาพ ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิก

มลภาวะทางเสียง อาทิ จากฐานทัพอากาศ Futemma ซึ่งมีรันเวย์อยู่ท่ามกลางแหล่งชุมชน, จำนวนอุบัติเหตุและอาชญากรรมที่ก่อโดยทหารอเมริกันซึ่งประจำการอยู่บนเกาะโอกินาวา มีให้เห็น อยู่เนืองๆ โดยเฉพาะกรณีทหารอเมริกัน 3 นายลักพาตัวเด็กหญิงอายุ 12 ปีไปกระทำชำเราแล้วหนีกลับเข้าฐานทัพซึ่งถือเป็นเขตพื้นที่ของประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1995 ที่ซ้ำร้ายก็คือทางการญี่ปุ่นไม่สามารถดำเนินคดีได้โดยตรงแม้จะทราบตัวคนร้ายก็ตามที ซึ่งไม่ผิดแผกไปจากการเสียสิทธิ สภาพนอกอาณาเขตในยุคดิจิตอล อีกตัวอย่างหนึ่ง ที่เป็นข่าวก็คืออุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ของทหารอากาศสหรัฐฯ ตกลงกลางมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งบนเกาะโอกินาวา ในปี 2004

คดีอุกฉกรรจ์นอกเกาะโอกินาวาก็มีให้เห็นเป็นระยะ เช่นกรณีที่เพิ่งเกิดเมื่อเร็วๆ นี้ที่ทหารอเมริกันฆ่าคนขับรถแท็กซี่ซึ่งจ้างวานจากแหล่งท่องเที่ยวยามราตรีของกรุงโตเกียวมาส่งที่ฐานทัพของสหรัฐฯ ในเมือง Yokosuka เพียงเพราะไม่มีเงินจ่ายค่าโดยสาร

แม้ว่าในปี 1996 รัฐบาลทั้งสองประเทศได้ตกลงร่วมกันที่จะย้ายฐานทัพออกไปจากเกาะโอกินาวาภายใน 7 ปีแต่ได้เกิดเหตุวินาศกรรมตึก World Trade Center ที่นิวยอร์ก เมื่อปี 2001 ขึ้นเสียก่อน ซึ่งถูกนำมาอ้างในเรื่องความปลอดภัย ภายในภูมิภาคส่งผลให้การดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าวถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

กระนั้นก็ตาม ความสงบสุขบนเกาะโอกินาวา โดยปราศจากทหารอเมริกันกลับมาเป็นความหวังที่ลุกโชนขึ้นอีกครั้งเมื่อพรรค Social Democratic Party (SDP) ชูประเด็นการเจรจาย้ายฐานทัพสหรัฐฯ ออกจากเกาะแห่งนี้ซึ่งได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนชาวโอกินาวาอย่างท่วมท้นใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อคราวล่าสุดและในเวลาต่อมากลายเป็น โจทย์ใหญ่ของรัฐนาวา Hatoyama ซึ่งมีพรรค SDP ร่วมรัฐบาลอยู่ด้วย

แต่ในความเป็นจริงแล้วรัฐบาลญี่ปุ่นจำต้องแบกรับภาระด้วยจำนวนเงินถึง 6 แสนล้านเยนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการย้ายฐานทัพและทหารจำนวนราว 8,000 นาย รวมถึงครอบครัวอีก 9,000 คนไปยังเกาะกวม ซึ่งเป็นดินแดนในปกครองของสหรัฐอเมริกาที่ตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก

อีกทางเลือกหนึ่งคือย้ายฐานทัพไปที่เกาะ Tokunoshima ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัด Kagoshima แต่ก็ถูกคัดค้านเนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้ก็เคยตกอยู่ในชะตากรรมเช่นเดียวกับชาวโอกินาวา เมื่อครั้งที่ถูกทหารอเมริกันเข้าครอบครองในช่วงสงครามเย็น

เหนือเหตุผลอื่นใดคือภาวะผู้นำของ Hato yama ที่ถูกตั้งฉายาให้เป็น happou bijin ที่แปลตามตัวอักษรได้ว่าคนงามแปดทิศ แต่วลีนี้ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงผู้ที่พยายาม เอาอกเอาใจคนรอบข้างเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของตัวเองให้ดูดีในสายตาคนรอบข้าง เข้าทำนองบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น

นั่นอาจเป็นคุณสมบัติที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับปัจเจกชนแต่หาใช่นายกรัฐมนตรีของประเทศไม่ ด้วยเหตุนี้การเจรจากับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงประสบความล้มเหลวและเป็นผลให้พรรค SDP ลาออกจากสถานะพรรคร่วมรัฐบาล

กอปรกับสาเหตุสำคัญอีกประการในกรณีเงินทุนอื้อฉาวของพรรค DPJ ที่เกี่ยวข้องกับ Ichiro Ozawa เลขาธิการพรรคผู้ทรงอิทธิพลจนทำให้เจ้าหน้าที่ของพรรค 3 คนถูกจับกุมและตรวจสอบอยู่ในขณะนี้ซึ่งสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาลและวิกฤติศรัทธาที่ตกต่ำกว่า 20% จากเดิม 70% เมื่อตอนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ในที่สุดเช้าวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา นายก รัฐมนตรี Hatoyama เปิด แถลงการณ์ก้าวลงจากตำแหน่งผู้นำประเทศเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีที่ไม่ สามารถปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับชาวโอกินาวาและกรณีความไม่โปร่งใส ของ เงินทุนพรรค ซึ่ง Ichiro Ozawa ก็ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการของพรรคด้วยเช่นกัน

หากแต่อีก 2 วันถัดมาความผันผวนทาง การเมืองญี่ปุ่นปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น เมื่อ Naoto Kan รองนายกรัฐมนตรีได้รับคะแนนเสียงเฉือนคู่แข่งคนอื่นอย่างเป็นเอกฉันท์ให้เป็นหัวหน้าพรรค DPJ และเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 61 ของญี่ปุ่นซึ่งเป็นไปตามโพลของทุกสำนัก

Naoto Kan เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 1946 ในครอบครัวของชนชั้นกลางซึ่งบิดาประกอบอาชีพ Salary man อยู่ที่จังหวัด Yamaguchi ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จาก Tokyo Institute of Technology ในปี 1970 หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาสอบผ่านเป็นทนายที่ทำหน้าที่ ดูแลเรื่องสิทธิบัตรก่อนผันตัวสู่เส้นทางการเมือง

ชื่อเสียงของ Kan เริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะคนรุ่นใหม่ที่กระตือรือร้นจากบทบาทแกนนำประชาคมและการรณรงค์สิทธิความเท่าเทียมของสตรีในสังคมญี่ปุ่น ต่อมากลายเป็นที่รู้จักของสาธารณชนอย่างกว้างขวางเมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, แรงงานและสวัสดิการสังคมในปี 1996 ซึ่งได้ออกมากล่าวขอโทษประชาชนและแสดงความรับผิดชอบต่อเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายในกรณีการแพร่กระจายเชื้อ HIV ที่ปนเปื้อนมาในโลหิตอันเกิดจากความผิดพลาดของรัฐบาลเมื่อปี 1980

อาจกล่าวได้ว่า Key man ที่อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จตั้งแต่ก่อตั้งพรรค DPJ จนถึงปัจจุบันก็คือ Naoto Kan ผู้ที่พยายามชี้นำกลยุทธ์ Manifesto ของพรรค DPJ มาใช้ปฏิรูปประเทศด้วยแผนนโยบายฟื้นคืนชีพเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ชะงักไป 2 ทศวรรษ

แม้ว่าการเจรจาย้ายฐานทัพอเมริกันออกจากเกาะโอกินาวา ที่อดีตนายกรัฐมนตรี Hatoyama ทิ้งท้ายไว้จะเป็นหน้าที่อันหนักอึ้งที่ไม่อาจละเลยก็ตาม แต่ภารกิจซึ่ง Naoto Kan เลือกที่จะเริ่มดำเนินการก่อนคือการลดหนี้สาธารณะที่มีอยู่ราว 2 เท่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) ให้ได้ภายใน 10 ปี รวมถึงการผลักดันนโยบายการเพิ่มภาษีบริโภคจาก 5% ในปัจจุบันเป็น 10% ในอนาคตอันใกล้

แต่นั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะพรรค DPJ เพิ่งจะพ่ายแพ้การเลือกตั้งวุฒิสภาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าไม่ถึงรายละเอียดของบริบทและความจำเป็นของการเพิ่มภาษีบริโภคเพื่อช่วยปลดหนี้สาธารณะพร้อมกับผลประโยชน์ที่คืนกลับสู่ประชาชนจากการปรับโฉมญี่ปุ่นไปสู่รัฐสวัสดิการเหมือนกับบางประเทศในยุโรปเหนือเช่นสวีเดน ซึ่งเท่ากับว่าการผลักดันนโยบายผ่านสภานับจากนี้จะไม่ราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น

ในเวลาอันยากลำบากนี้ Kan อาจต้องเร่งทบทวนและปรับกลยุทธ์การนำเสนอ Manifesto องก์ที่สองขึ้นมาใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมเป็นเท่าทวีเพื่อเร่งสร้างบทพิสูจน์ด้วยผลงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่งหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้วอาจไม่มีโอกาสสำหรับ Manifesto องก์ที่สามให้เห็นบนเวทีการเมืองญี่ปุ่นอีกต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us