Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2553
สเปนเพิ่งซึ้งถึงความหมายของชาติ             
 





หลังจากเป็นทีมชนะเลิศฟุตบอลโลก สเปนจึงเพิ่งตระหนักถึงความหมายของความเป็นชาติ

หลังการฟาดแข้งนัดสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2010 ที่ Johannes-burg สิ้นสุดลง ในเมืองหนึ่งที่อยู่ไกลออกไป 5,000 ไมล์ ชาวกรุงมาดริดกำลังพร้อมใจกันร้องเพลงเดียวกัน “Yo soy espanol, espanol, espanol!” (ฉันคือคนสเปน คนสเปน คนสเปน) แต่อาจจะหาใครที่ซาบซึ้งกับเพลงนี้มากไปกว่า Mahbubul Alam ไม่ได้อีกแล้ว หลังจากเฝ้าติดตามชมการฟาดแข้งนัดชิงชนะเลิศระหว่างสเปนกับฮอลแลนด์ ผ่านกระจกร้านกาแฟแห่งหนึ่งในเมืองหลวงของสเปนอย่างยาวนานเพราะมีการต่อเวลาแข่งขัน ร่างทั้งร่างของเขาต้องสั่นเทิ้มด้วยความดีใจสุดขีด พร้อมๆ กับที่เขาร้องตะโกนออกไปอย่างสุดเสียง ด้วยประโยคเดียวกับคนสเปนทั้งประเทศว่า I am Spanish, Spanish, Spanish! และในนาทีนั้น ความจริงที่ว่า Alam เป็นเพียงคนต่างด้าวชาวบังกลาเทศในสเปน ก็ดูจะถูกลืมไปจนหมดสิ้น

ในประเทศที่มี 2 จังหวัดคือ Catalonia กับ Basque Country ซึ่งต่างมีภาษาและมรดกวัฒนธรรมของตัวเอง และต้องการแยกตัวเองออกจากสเปน ฟุตบอลกลายเป็นสนามแข่งของ การเมืองเชิงสัญลักษณ์ ความเป็นศัตรูคู่อาฆาตระหว่างทีม Barcelona (ซึ่งมีสโลแกนว่า “เป็นมากกว่าทีมฟุตบอล” อันมีนัยทางการเมือง) กับ Real Madrid นั้น หาใช่เพียงคู่แข่งในเกมกีฬา หากแต่มาจากข้อเท็จจริงที่ว่า การได้สนับสนุนทีมบาร์เซโลนา ดูจะเป็นทางออกเดียวที่ชาวคาตาลันจะได้มีโอกาสแสดงตัวตนของตัวเอง ตลอดเวลาที่ต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของผู้นำเผด็จการนายพล Franco มานาน 40 ปี เหตุผลก็เพราะ Franco เป็นแฟน ตัวยงของทีม Real Madrid นั่นเอง และชาวคาตาลัน ซึ่งฝันถึงขนาดจะส่งทีมฟุตบอลของตัวเองไปบอลโลกในวันใดวันหนึ่ง เกลียดการเชียร์ทุกๆ ทีมที่มีคำที่เกี่ยวข้องกับสเปน

แต่ในปีนี้ การที่ทีมชาติสเปนมีนักฟุตบอลถึง 5 คนมาจาก คาตาโลเนีย ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป แม้ว่าก่อนวันฟาดแข้งฟุตบอล โลกนัดสุดท้ายเพียงวันเดียว ได้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ในบาร์เซ โลนา มีผู้ประท้วงเข้าร่วมถึง 60,000-1,100,000 คน เพราะไม่พอใจ คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญสเปน ที่ห้ามคาตาโลเนียใช้คำว่า “ชาติ” หรือใช้ภาษาคาตาลันแทนที่ภาษาสเปน แต่ในคืนถัดมา ซึ่งเป็นนัดชิงชนะเลิศระหว่างสเปนกับฮอลแลนด์ มีคนประมาณ 75,000 คน พร้อมใจกันออกไปชมเกมการแข่งขันบนจอขนาดยักษ์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สเปน ที่รัฐบาลท้องถิ่นคาตาโลเนีย ยอมติดตั้งจอยักษ์กลางแจ้ง เพื่อให้ชาวเมืองได้เชียร์ทีมชาติ สเปน และเมื่อ Andres Iniesta ยิงเข้าประตู และเป็นเพียงประตู เดียวที่ตัดสินชัยชนะของสเปน ชาวบาร์เซโลเนีย ซึ่งหลายคนถึงกับเอาธงชาติสเปนมาห่อตัว ต่างโห่ร้องพร้อมกันด้วยความปีติสุดขีด

ขณะเดียวกันที่ Lavapies ย่านที่รวมคนต่างด้าวหลากหลายเชื้อชาติในกรุงมาดริดของสเปนตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ที่นี่มีทั้งร้านค้าส่งของคนจีนที่ตั้งติดกับเขียงเนื้อของคนโมร็อกโก หญิงชาวเปรูกำลังซื้อผลไม้จากร้านขายของชำของคนเซเนกัล แต่ในคืนนั้น ทุกคนมีเชื้อชาติเดียวกันหมด ทุกคนใส่เสื้อสีแดง อัน เป็นสีของสเปน Jose Romero ชาวเอกวาดอร์ที่อาศัยอยู่ในละแวก นี้ ลงทุนทาสีเจ้า Spot สุนัขสีดำขาวของเขาด้วยสีธงชาติของสเปน

Azhar Abbas มาจากปากีสถาน เขาแสดงท่าทางปลาบ ปลื้มใจ ตั้งแต่การแข่งขันยังไม่เริ่มด้วยซ้ำ ราวกับรู้ว่าสเปนจะชนะ เขายืนยันว่า เขารู้จริงๆ ว่าสเปนจะต้องชนะแน่นอน เพราะ “นี่เป็นประเทศที่ดีมาก” Abbas บอก ที่นี่ไม่เหมือนเยอรมนี ไม่เหมือนอิตาลีที่ดูถูกคนต่างด้าว แต่ชาวสเปนไม่มีความรังเกียจเดียดฉันท์ใดๆ ต่อคนต่างด้าว และเพราะกลัวว่าเพียงแค่สเปนเป็น ประเทศที่ดีต่อคนที่พลัดบ้านพลัดเมืองมา อาจจะยังไม่เป็นหลักประกันเพียงพอให้สเปนชนะ Abbas จึงไปที่มัสยิด และ “สวดมนต์ขอพร ให้ Fernando Torres” ด้วย

ที่ Baobab ร้านอาหารของ ชาวแอฟริกันในละแวกเดียวกัน ชาวบังกลาเทศ หญิงชาวจีน ชาวเซเนกัล ในเสื้อยืดสีแดงอีกกลุ่มใหญ่ รวมทั้ง ชาวสเปนเองต่างเกาะติดอยู่ที่หน้าจอทีวีเครื่องเดียวของร้าน โดยไม่ยอมลุกไปไหน และเมื่อเท้าของ Nigel De Jong กองกลางทีมชาติฮอลแลนด์ไปถูกเอาหน้าอกของ Xabi Alonso กองกลางทีมชาติสเปนเข้า ทุกคนต่างก็พร้อมใจกันร้องด่ากรรมการเป็นเสียงเดียวกัน แม้จะด้วยสำเนียงอันหลากหลายก็ตาม

บรรยากาศที่ร้านเคบับ Hasan Keyf ที่อยู่ใกล้ๆ กัน ก็ไม่ต่างกัน หนุ่มๆ โมร็อกโกราว 20 คน นั่งละเลียดจิบแฟนต้าอยู่ที่โต๊ะซึ่งคลุมด้วยธงชาติสเปน อยู่ๆ ก็ร้องตะโกนลั่นพร้อมกันว่า Viva Espana อย่างครึกครื้น “พวกเขาคือพระเจ้า” Mohammed Dauud กล่าวถึงทีมชาติสเปน Dauud อายุ 22 ปี อพยพมาจาก โมร็อกโกตั้งแต่อายุ 12 เขาบรรยายความจงรักภักดีที่มีต่อทีมสเปน ว่า เพราะสเปนเป็นประเทศที่เขาอยู่ เป็นทุกอย่างของเขา เมื่อถาม กลับว่า หมายความว่าเขาเชียร์ทีม Real Madrid อย่างนั้นรึ Dauud ตอบหน้าตาเฉย “จะบ้าเหรอ! ผมเป็นสาวก Barcelona ต่างหากเล่า”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us