Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2553
ส่งออกข้าว: เวียดนามกำลังเบียดแซงข้าวไทย             
 


   
search resources

Import-Export
Agriculture




การส่งออกข้าวของไทยในปี 2553 ยังเผชิญปัญหาทั้งในด้านการลดปริมาณการนำเข้าข้าว จากการที่ประเทศผู้นำเข้าข้าวหันไปบริโภคธัญพืชชนิดอื่นๆ ทดแทน รวมทั้งยังเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรงจากเวียดนามที่สามารถส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยและเวียดนามเริ่มมีระดับใกล้เคียงกันมากขึ้น คาดว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 เวียดนามจะสามารถส่งออกข้าวได้เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ 3.4 ล้านตัน ในขณะที่ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยต่ำกว่าปริมาณเฉลี่ยต่อเดือนที่เคยส่งออกได้ กล่าวคือ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการส่งออก รายเดือนแล้ว ปรากฏว่าปริมาณการส่งออกข้าวของไทยเริ่มต่ำกว่า ในปี 2552 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม (ยกเว้นในเดือนมีนาคม)

นอกจากนี้ ปริมาณการส่งออกดังกล่าวยังต่ำกว่าเมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามติดต่อกัน 2 เดือน ซึ่งนับ เป็นครั้งแรกของประวัติการส่งออกข้าว แสดงให้เห็นถึงความรุนแรง ของการแข่งขันในการส่งออกข้าวในตลาดโลก ส่งผลให้ไทยทบทวน เป้าหมายการส่งออกข้าว และปรับลดเป้าการส่งออกลงเหลือ 8.0-8.5 ล้านตัน จากเดิมในช่วงต้นปีวางเป้าหมายไว้ที่ 9.0 ล้านตัน

ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 มูลค่าการส่งออกข้าวเท่า กับ 2,021 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 แม้ว่าการส่งออกข้าวของไทยในปีนี้จะประสบ ปัญหา แต่ตลาดส่งออกที่ช่วยประคองสถานการณ์การส่งออกข้าว ได้แก่ ฟิลิปปินส์ที่เพิ่มขึ้นมากเป็นประวัติการณ์จากการชดเชยการที่ฟิลิปปินส์ไม่ปรับลดภาษีนำเข้าข้าวตามกรอบข้อตกลงอาฟตา

ส่วนเบนินเพิ่มการนำเข้าข้าวนึ่งจากไทยเพื่อส่งออกไปยังไนจีเรียอีกต่อหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกข้าวนึ่งจากไทยไปไนจีเรียเผชิญอัตราภาษีนำเข้าในเกณฑ์สูง กอปรกับมูลค่าการส่งออกข้าวในปี 2552 นั้นอยู่ในเกณฑ์ต่ำมากเป็นประวัติการณ์เช่นกัน จากการที่ไทยต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากเวียดนาม ที่ใช้กลยุทธ์ราคาแย่งชิงตลาดส่งออกข้าวจากไทย สถานการณ์ส่งออก ข้าวไทยเริ่มมีปัญหาชัดขึ้น หลังจากปริมาณการส่งออกข้าวของไทย ในเดือนเมษายน ต่ำกว่าเวียดนาม และในเดือนพฤษภาคม 2553 ก็ยังคงต่ำกว่าเวียดนามต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การส่งออกข้าวของไทย

เนื่องจากราคาข้าวของเวียดนามอยู่ในระดับต่ำกว่าไทยอย่างมาก จากที่ในช่วงปลายปี 2552 ส่วนต่างระหว่างราคาข้าวไทยและเวียดนามขยับเข้ามาอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ปริมาณส่งออกข้าวมีแนวโน้มช่วงไตรมาสที่ 2 เหลือเพียงเดือนละ 600,000 ตัน จากที่ไทยเคยส่งออกเฉลี่ยเดือนละ 700,000 ตัน ทำให้คาดว่า ช่วงครึ่งแรกจะส่งออกได้เพียง 4 ล้านตันเท่านั้น ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 11.0

สำหรับการส่งออกข้าวในปี 2553 คาดว่าอาจมียอดรวม ประมาณ 8.0-8.5 ล้านตัน ลดลงจาก 9.5 ล้านตัน ที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี เทียบกับ 8.62 ล้านตันในปี 2552 และการยกเลิกหรือชะลอส่งออกข้าวไทยอาจลดลงในปีนี้จากระดับสูงสุดในรอบสองปีที่ 2 แสนตัน โดยการผิดนัดชำระเงินจะลดลงในช่วงครึ่งหลังปี 2553

อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศคาดว่าข้อ ตกลงที่ทำในช่วงไตรมาสสองนี้ไม่มีแนวโน้มผิดนัดชำระเงิน ผลจากราคามีเสถียรภาพ ผิดกับข้อตกลงที่ทำไว้ก่อนหน้านี้หรือในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2552 และไตรมาสแรกปี 2553 ซึ่งมีความเสี่ยงผิดนัดชำระเงินสูง ทั้งนี้การผิดนัดชำระเงินอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อ ผู้ซื้อที่จองซื้อข้าวล่วงหน้าตั้งแต่ต้นปีขอยกเลิก ชะลอการซื้อหรือเจรจาต่อรองราคาใหม่ หลังจากราคาข้าวร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี โดยส่วนใหญ่อยู่ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาข้าวดิ่งลง 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันจากระดับเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี

ในด้านราคาข้าวส่งออกของไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าวขาว 5% ราคา เอฟโอบีในเดือนพฤษภาคม 2553 ลดลงเหลือ 400 ดอลลาร์/ตัน จากที่เคยอยู่ในระดับ 600 ดอลลาร์/ตันในช่วงปลายปี 2552 เนื่องจากเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรงจากเวียดนาม โดยการลดค่าเงินด่องของเวียดนามที่ส่งผลให้ราคาข้าวของเวียดนามมีแนวโน้มลดลง และเวียดนามประมูลข้าวส่งออกไปตลาดฟิลิปปินส์ทั้งหมด ในขณะที่ไทยส่งออกฟิลิปปินส์ได้เพิ่มขึ้นจากการชดเชยความเสียหายที่ฟิลิปปินส์ไม่ได้ปรับลดภาษีนำเข้าข้าวตามข้อตกลงอาฟตา

คาดว่าในปี 2553 เวียดนามยังจะสามารถรักษาปริมาณการส่งออกข้าวได้ใกล้เคียงกับปี 2552 ที่ระดับเกือบ 6 ล้านตัน ส่วนไทยนั้นยังไม่มีคำสั่งซื้อล็อตใหญ่ที่จะช่วยดึงราคาข้าวของไทยให้สูงขึ้น ทำให้คาดการณ์ว่าภาวะการส่งออกข้าวในช่วงที่เหลือของปี 2553 ยังไม่มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น นอกจากจะมีการระบายสต็อก ของรัฐบาลเพื่อการส่งออกทั้งในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล และการเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกประมูลข้าวในสต็อกเพื่อการส่งออก ซึ่งน่าจะทำให้ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นได้ แต่คาดว่าจะส่งผลให้ราคามีแนวโน้มลดลง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ราคาข้าวของเวียดนาม ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2553 กล่าวคือ ราคาข้าว 5% ของเวียดนามเพิ่มขึ้นไปอยู่ในระดับ 365 ดอลลาร์/ตันหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ซึ่งส่งผลให้ความแตกต่างระหว่างราคาข้าวไทยและเวียดนามแคบลงเหลือ 88 ดอลลาร์/ตัน จากที่เคยอยู่ในระดับ 126.1 ดอลลาร์/ตัน ในเดือนเมษายน 2553 คาดว่าราคาข้าวส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้น่าจะอยู่ในระดับทรงตัว แต่จะกระเตื้องขึ้นได้ถ้ามีคำสั่งซื้อล็อตใหญ่เข้ามา

สาเหตุที่ไทยส่งออกข้าวได้น้อยลง เป็นผลมาจากตลาดโลก ยังไม่มีความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น เนื่องจากหลายประเทศหันไปบริโภคสินค้าชนิดอื่นทดแทนข้าว เพื่อที่จะชะลอการนำเข้าข้าว เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี เป็นต้น นอกจากนี้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคยุโรป ทำให้ประเทศในแถบแอฟริกา ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของไทยที่ใช้เงินยูโรในการค้า ชะลอการนำเข้า เนื่องจากเมื่อเงินยูโรอ่อนค่า ทำให้ราคาข้าวไทยแพงขึ้นในสายตาผู้นำเข้าในแอฟริกา

ประเด็นที่ยังต้องติดตามคือ ผลกระทบของปัญหาฝนทิ้งช่วงที่ทำให้รัฐบาลขอความร่วมมือชาวนาให้เลื่อนการปลูกข้าวนาปี ไปอีก 1 เดือนเป็นเดือนกรกฎาคมนั้นจะส่งผลกระทบต่อปริมาณ ข้าวที่จะเข้าสู่ตลาดมากน้อยเพียงใด และนโยบายการระบายสต็อก ข้าวของรัฐบาลที่อยู่ในระดับ 6 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งนับว่าอยู่ในเกณฑ์สูงเป็นประวัติการณ์ โดยปริมาณสต็อกข้าวนี้เป็นปัจจัยสำคัญ ที่กดดันราคาข้าวส่งออกของไทย

นอกจากนี้ ปัญหาฝนทิ้งช่วงในประเทศไทยซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตข้าว ก็ไม่ได้สร้างความกังวลให้กับประเทศผู้นำเข้าข้าว เนื่องจากสต็อกที่อยู่ในเกณฑ์สูง ส่วนในตลาด ต่างประเทศต้องติดตามสภาพอากาศที่แปรปรวนอาจสร้างความเสียหายให้กับทั้งประเทศผู้ผลิตและผู้นำเข้าข้าว ซึ่งส่งผลให้สถานการณ์การส่งออกข้าวของไทยเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยเฉพาะ ตลาดอินเดียที่คาดว่าจะกลับมาส่งออกข้าวขาวอีกครั้ง ซึ่งน่าจะมีประกาศอย่างเป็นทางการหลังเดือนกันยายน 2553 ทำให้การส่งออกข้าวของไทยที่เข้าไปแทนที่อินเดีย ทั้งในตลาดแอฟริกาและตะวันออกกลางจะเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวของโลกในปี 2553/54 เพิ่มขึ้นเป็น 459.4 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 4.0 จากการคาดการณ์ว่าปรากฏ การณ์เอลนิโญที่ไม่รุนแรงมากนักส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิต ข้าวในตลาดโลกไม่มากนัก รวมทั้งการคาดการณ์ถึงภาวะมรสุมที่อยู่ในระดับปกติ ซึ่งจะช่วยให้ปริมาณการผลิตข้าวกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยเฉพาะในอินเดียและฟิลิปปินส์ กล่าวคือ ปริมาณการผลิตข้าวของอินเดียจะกลับมาอยู่ในระดับ 99.0 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ส่วนปริมาณการผลิตข้าวของฟิลิปปินส์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 10.8 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน คาดการณ์ว่าประเทศผู้ผลิตข้าวสำคัญของโลก 10 อันดับแรกมีปริมาณการผลิตข้าวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจีน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าประเด็นที่จะต้องติดตามคือ อินเดีย จะกลับมาส่งออกข้าวขาวในปี 2554 หรือไม่ ส่วนสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถส่งออกได้มาก ขึ้นเช่นกัน ซึ่งเท่ากับว่าในปี 2554 ไทยอาจต้องเผชิญการแข่งขัน เพิ่มขึ้นจากอินเดียและสหรัฐฯ การนำเข้าข้าวของทั้งฟิลิปปินส์และจีนจะไม่ใช่ปัจจัยในการผลักดันตลาดข้าวในปี 2553 เนื่องจากปริมาณการผลิตข้าวของทั้งสองประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่อาจจะสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ปลูกข้าวของประเทศต่างๆ

ขณะที่ปริมาณการค้าข้าวในตลาดโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 31.4 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 โดยเฉพาะการส่งออกข้าวของสหรัฐฯ อินเดีย และปากีสถาน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการแข่งขันในการส่งออกข้าวในปี 2554 มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยสหรัฐฯ จะเข้ามาแข่งขันในตลาดที่บริโภคข้าวเมล็ดยาวของไทย และไทยก็ยังเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากเวียดนาม เช่นเดิม ส่วนอินเดียและปากีสถานมีแนวโน้มจะดึงตลาดข้าวนึ่งในแอฟริกาและตะวันออกกลางกลับไป

ส่วนประเทศที่เป็นผู้นำเข้าข้าวสำคัญของโลก ในปี 2554 ฟิลิปปินส์ยังคงเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวอันดับหนึ่ง แต่คาดว่าปริมาณการนำเข้าลดลงอันเป็นผลมาจากปริมาณการผลิตข้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับไนจีเรียมีแนวโน้มนำเข้าข้าวมากขึ้นในปี 2554 จะกลายเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวอันดับสองของโลก แต่ปริมาณการนำเข้ายังน้อยกว่าในปี 2552 ประเทศที่น่าจับตามอง คือ อิหร่านและซาอุดีอาระเบีย ที่คาดว่าจะมีปริมาณการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น

การส่งออกข้าวของไทยเผชิญกับหลากหลายปัญหา ซึ่งเป็นสัญญาณเชิงลบตั้งแต่ต้นปี และดูเหมือนจะยังไม่ฟื้นตัวง่ายๆ เสียด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us