|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เป็นเวลากว่า 3 ปี ที่ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ขนาดกลางและขนาดเล็กรวมกว่า 31 บริษัท รวมตัวกันในนามบริษัท ไทย โลจิสติกส์ อัลลายแอนซ์ จำกัด หรือ TLA โดยมุ่งหมายให้การรวมกลุ่มดังกล่าวมีศักยภาพในการให้บริการโลจิสติกส์ที่ครบวงจร และมีขีดความสามารถที่จะแข่งขันกับต่างชาติได้
แต่ดูเหมือนว่าเวลาที่ผ่านไป จะไม่ได้ช่วย ให้ TLA สามารถแสดงบทบาทในการก้าวสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้ แม้ผู้ประกอบการที่เข้ามาร่วมกันจะมาจากทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจรถขนส่ง กลุ่มธุรกิจตัวแทนออกของ กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้า และกลุ่มธุรกิจคลังสินค้า ซึ่งน่าที่จะทำให้การดำเนิน การของ TLA เป็นไปอย่างครบวงจรก็ตาม
“ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า TLA มีปัญหาในเรื่องโครงสร้าง และการบริหารจัดการภายใน ซึ่งการรวมตัวกันด้วยบริษัทในแวดวง โลจิสติกส์ไทยมากขนาดนี้ นับเป็นมิติใหม่ที่น่าจะรังสรรค์ประโยชน์ ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ และนี่คือสิ่งท้าทายที่ต้องพิสูจน์” เจศฎา นันทพูลทรัพย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เบทเทอร์ เอ็กซ์เพรส จำกัด ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ TLA คนล่าสุดบอก
ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจคือ บริษัทที่มาเข้าร่วมเป็น TLA มี จำนวนรถขนส่งสินค้ารวมนับพันคัน มีเครือข่ายครอบคลุมเกือบทุก มิติของโลจิสติกส์และมียอดรายได้รวมกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งการรวมกลุ่มดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์ความเป็น เลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีด้วย
เจศฎาเชื่อว่าในระยะสั้น หลังการเปิดเสรีโลจิสติกส์ผู้ประกอบการบางส่วนจะปรับตัวเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายจากต่าง ประเทศ แต่ในระยะยาวเมื่อกฎระเบียบผ่อนคลายมากขึ้น อำนาจ การต่อรองด้านราคาของผู้ประกอบการต่างชาติจะเพิ่มขึ้น และจะกลายเป็นเวทีที่ผู้ประกอบการไทยต้องมาแข่งขันเพื่อรอรับงานจากบริษัทต่างชาติแทน
“การเปิดเสรีภาคบริการ โดยเฉพาะโลจิสติกส์กำลังเปลี่ยน ภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เราคุ้นเคย วันนี้บริษัทจากต่างประเทศกำลังทยอยรุกคืบเข้ามา บริษัทโลจิสติกส์ระดับโลกสามารถขาดทุนที่ประเทศไทยได้เป็น 10 ปี เพราะมีกำไรจากทั่วโลก ขณะที่บริษัท คนไทยขาดทุนไม่ได้ หากเราไม่รวมกลุ่มและสร้างกลไกในการแข่งขัน อนาคตของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมคงไม่มีให้เห็นอีก”
เขาเชื่อว่าหนทางที่จะทำให้การรวมกลุ่มนี้มีโอกาสและศักยภาพในการแข่งขันในระดับสากลอยู่ที่การพัฒนาและสร้างเครือข่ายที่ทำให้ TLA มีลักษณะเป็น total logistics access โดยเฉพาะในบริบทของสังคมไทยซึ่ง TLA มีความชำนาญการ
ประเด็นที่เจศฎาให้ความสนใจที่จะผลักดันในห้วงเวลานับจากนี้ อยู่ที่การสร้างเครือข่ายการตลาดโลจิสติกส์ในต่างประเทศทั่วโลกขึ้นมา ด้วยความเชื่อที่ว่าธุรกิจผู้รับจัดการขนส่ง (freight forwarder) ในต่างประเทศจะมีรายใหม่ๆ เกิดขึ้นมาตลอดเวลา บริษัทเหล่านี้ต้องการหาเครือข่ายในแต่ละประเทศที่แข็งแกร่ง สามารถช่วยรองรับสนับสนุนงานของเขาได้
“ในทางกลับกัน เราก็หวังว่า เขาจะเป็นเครือข่าย door to door ของเราไปยังต่างประเทศในอนาคตเช่นกัน นี่เป็นสิ่งที่ผมอยากจะสร้างให้เกิดมากกว่าจะมุ่งภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งกระทรวงพาณิชย์สามารถช่วยโปรโมตในต่างประเทศว่า TLA เป็น บริษัทคนไทยที่มีเครือข่ายที่แข็งแกร่ง พร้อมจะสนับสนุนงานของบริษัทในต่างประเทศอย่างเต็มที่”
แนวความคิดของเจศฎาว่าด้วยอนาคตของ TLA จาก Thailand Logistics Alliance มาสู่การเป็น Thailand Total logistics Access ดูจะไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการเป็นบริษัทกลางที่เกิดจากการรวมกลุ่มของบริษัทย่อยที่รอคอยและตั้งรับการเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว
|
|
|
|
|