Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน3 สิงหาคม 2553
เปิดแผน "ทีจี" ตั้งโลว์คอสต์ "ไทยเกอร์แอร์" ดับอหังการแอร์เอเชีย             
 


   
search resources

การบินไทย, บมจ.
สายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ส
Low Cost Airline




"การบินไทย" จับมือ "ไทยเกอร์แอร์" ตั้งโลว์คอสต์แข่ง "แอร์เอเชีย" เตรียมเซ็นเอ็มโอยู วันนี้ วงในแฉข้อมูลลึก “บิ๊กการบินไทย” ดอดหารือบอร์ดหนุนซื้อหุ้น ” ไทเกอร์ แอร์เวย์ส” 51% อ้างอุดจุดอ่อนเปิดเกมชิงตลาดภูมิภาค เขี่ยนกแอร์แค่ในประเทศ พร้อมแฉเด็ก ปชป.เดินตามรอยหางแดง ใช้กลยุทธ์ไม่ต่างกลุ่มชินคอร์ปซื้อหุ้นไทยแอร์เอเชีย จนครองตลาด Low Cost “ปิยสวัสดิ์” เปิดเกมล็อบบี้บอร์ด

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยแผนการลงทุนสายการบินต้นทุนต่ำแห่งชาติ (national low cost airline) โดยเตรียมจับมือกับกลุ่มไทเกอร์แอร์โฮลดิ้งส์ ธุรกิจในเครือเทมาเสก เพื่อเปิดดำเนินการ "ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส" ขึ้นในเมืองไทย ในวันที่ 2 สิงหาคม 2553 นี้ การบินไทยเตรียมจะลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจเบื้องต้น (MOU) กับกลุ่มไทเกอร์ แอร์เวย์ส โฮลดิ้ง ซึ่งปัจจุบันไทเกอร์ฯจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และจะเริ่มเปิดบินตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป

โดยวางเป้าหมายเพื่อเข้าไปชิงส่วนแบ่งผู้โดยสารระหว่างประเทศจำนวนมหาศาลในภูมิอาเซียน และเอเชีย-แปซิฟิก แข่งขันกับเจ้าตลาดอย่างกลุ่ม แอร์เอเชีย ซึ่งขณะนี้เปิดเครือข่ายสายการบินโลว์คอสต์ครอบคลุมถึง 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ส่วน นกแอร์ซึ่งเป็นสายการบินลูกที่การบินไทยถือหุ้นใหญ่ 39.5% จะวางตำแหน่งให้พัฒนาเส้นทางบินเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น เนื่องจากยังไม่พร้อมจะขยายเที่ยวบินไปต่างประเทศ อีกทั้งเคยเปิดบินมาแล้วในอดีต เส้นทางกรุงเทพฯ-เดลี แต่ล้มเหลว การดำเนินงานขาดทุนมโหฬาร

รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า เมื่อวันที่ 30 กรกฎคม 2553 ที่ผ่านมา ได้มีการเรียกประชุมคณะกรรมการบริษัท การบินไทย ในวาระพิเศษโดยฝ่ายบริหารต้องการหารือนอกรอบกับบอร์ดบางส่วนในเรื่องแผนการลงทุนสายการบินต้นทุนต่ำแห่งชาติ โดยการบินไทยจะเข้าไปซื้อหุ้นของไทเกอร์ แอร์เวย์ส ในสัดส่วน 51% โดยนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD) และฝ่ายบริหารการบินไทยเสนอแผนการตั้งสายการบินตันทุนต่ำ (Low Cost Airline) ว่าเป็นการดำเนินการภายใต้กลยุทธ์ TG100 Strategy โดยจะให้ ไทเกอร์ แอร์เวย์ส บินในเส้นทางภูมิภาค

ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายบริหาร (EMM) ได้ประชุมเมื่อสัปดาห์ผ่านมาเห็นชอบแผนดังกล่าวและเตรียมเรื่องเสนอบอร์ดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 และหากได้รับความเห็นชอบได้เตรียมกำหนดลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในความร่วมมือการร่วมทุน (Joint Venture) กับ ไทเกอร์ แอร์เวย์ส ในวันนี้ (2 สิงหาคม 2553)

ก่อนหน้านี้ฝ่ายบริหารการบินไทยได้เคยนำเสนอที่ประชุมบอร์ดแล้วอย่างไม่เป็นทางการเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา โดยกำหนดยุทธศาสตร์ ไทเกอร์ แอร์เวย์ส ชิงส่วนแบ่งตลาดในภูมิภาคซึ่ง นกแอร์ ไม่สามารถตอบสนองให้การบินไทยได้

ด้านนายปิยสวัสดิ์เคยกล่าวก่อนหน้านี้ โดยระบุว่า การบินไทยตั้งนกแอร์ เมื่อ 6 ปีก่อน ถือหุ้น 39.5% ล่าสุดได้ร่วมมือกันตามแผนกลยุทธ์ Two-Brand Strategy เพื่อทำการบินร่วม (Code share) ในเส้นทางภายในประเทศ เช่น พิษณุโลก, อุบลราชธานี และเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน แต่นกแอร์มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนเครื่องบิน ส่วนตลาดการบินในภูมิภาคซึ่งมีจุดบินที่น่าสนใจอีกมาก ทั้ง ฮานอย คุนหมิงแต่เป็นจุดอ่อนของการบินไทยที่ไม่สามารถเปิดการตลาดได้อย่างเต็มที่ ซึ่งต้องจะต้องแก้ไขในเรื่องนี้

สำหรับแผนดำเนินงานของไทเกอร์แอร์เวย์สระยะแรก หลังจากการบินไทยเข้าถือหุ้นใหญ่แล้ว คือ จะใช้เครื่องบิน A 320 จำนวน 3 ลำ ทำการบินในเส้นทางภูมิภาค โดยการบินไทยจะต้องใช้เงินประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 51% ในไทเกอร์แอร์เวย์ส โดยส่วนหนึ่งจะใช้กองทุนสวัสดิการพนักงานการบินไทย ส่วนที่เหลืออีก 49% จะเป็นของผู้ถือหุ้นเดิม คือ สิงคโปร์แอร์ไลน์ และไรอันแอร์ ซึ่งสิงคโปร์ แอร์ไลน์ มีกลุ่ม เทมาเส็กเป็นผู้ถือหุ้น ดังนั้นการที่ผู้บริหารการบินไทย ภายใต้การนำของนายปิยสวัสดิ์ทำอยู่ในขณะนี้ไม่ต่างจากตอนที่กลุ่มชินคอร์ปซื้อหุ้นแอร์เอเชีย และทำให้เกิดไทยแอร์เอเชีย เป็นสายการบินต้นทุนต่ำเข้ามาเปิดทำการบินภายในประเทศไทยได้ และไทยแอร์เอเชียเข้ามาใช้ไทยเป็นฮับแย่งตลาดการบินไทยโดยตรง และกลายเป็นผู้ครองตลาดในภูมิภาคในขณะนี้

“ตอนนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลถูกครหาว่า นโยบายเสรีการบินเอื้อให้ไทยแอร์เอเชีย ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือชินคอร์ป ซึ่งมีกลุ่มเทมาเส็กถือหุ้นอยู่ด้วย ทำให้ไทยแอร์เอเชียเข้าข่ายทำผิด พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจการบิน ในกรณีสัดส่วนการถือหุ้นไม่เป็นไปตามที่กำหนด เนื่องจากตามกฎหมายกำหนดให้สัดส่วนการถือหุ้นของธุรกิจสายการบินจะต้องมีสัดส่วนของคนไทยรวมไม่ต่ำกว่า 51% ซึ่ง ไทยแอร์เอเชีย ถือหุ้นโดย บริษัท แอร์เอเชีย 49 % และบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทยในสัดส่วน 51 % แต่ใน ชินคอร์ปฯ มีต่างชาติถือหุ้นอยู่กว่า 35%”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us