Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2529
มีข่าวร้ายมาบอก อ่านแล้วชวนกัน ฆ่าตัวตายดีไหม             
 


   
search resources

วีรพงษ์ รามางกูร
โอฬาร ไชยประวัติ
ชาตรี โสภณพนิช
Economics




คำว่าเศรษฐกิจโลกตกต่ำดูช่างห่างไกลตัวเหลือเกิน ฟังกันอ่านกันบางทีนึกภาพไม่ออกว่าจะมาเกี่ยวข้องกับเมืองไทยในแง่ไหน หรือมากระทบความเป็นอยู่ของคนไทยอย่างไร

คนที่รู้ไปแล้ว ได้รับผลกระทบไปแล้ว เป็นข่าวไปแล้ว อย่างวิบูลย์ ผาณิตวงศ์ แห่งกลุ่มน้ำตาลบ้านโป่ง สมเจตน์ วัฒนสิทธุ์ แห่งบริษัทศิริวิวัฒน์ ก็ดูเหมือนไม่ได้รับความสนใจจากคนวงนอกเท่าไหร่ โดยอาจจะคิดไปว่าเป็นเรื่องธรรมดาของการประกอบธุรกิจหรือ “เรื่องของชาวบ้าน”

ลองมาฟังทัศนะของนายธนาคารและนักธุรกิจบางคนที่ “ผู้จัดการ” ประมวลมาให้อ่านกันสักหน่อยดีไหม เผื่อจะได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้รับกับมหันตภัยด้านเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศนี้อีกครั้งหนึ่งแล้ว

เริ่มต้นจากชาตรี โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ของแบงก์กรุงเทพส่งจดหมายเวียนลงวันที่ 22 ตุลาคม 2528 ถึงพนักงานทุกคนเล่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่เลวร้ายในทุก ๆ ด้าน และกล่าวถึงสภาพของธุรกิจในเมืองไทยว่าทั้งด้านการค้าขายหรือการลงทุน สามารถพูดอย่างตรงไปตรงมาว่าอยู่ในขั้นวิกฤต

“ผมคิดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันเป็นภาวะที่ผิดปกติ เพราะความเสียหายได้แผ่กระจายเป็นวงกว้างครอบคลุมไปทั่วทุกวงการค้าและอุตสาหกรรม ทั้งอัตราคนว่างงานก็มีสูงขึ้นมากอาจจะเรียกว่าเป็นภาวะที่ตกต่ำมากที่สุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาก็ว่าได้” บางตอนในจดหมายของชาตรี โสภณพนิช ที่สร้างความฮือฮาจนคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์หลายฉบับโค้ดเอาไปเขียนถึง

มาลองฟังความเห็นของ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ รองผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ดูบ้าง ดุเดือดเผ็ดมันไม่แพ้นายใหญ่ของแบงก์กรุงเทพเลย

“เศรษฐกิจที่ซบเซานี้จะก่อให้เกิดผลกระทบหลายด้านต่อธุรกิจเอกชนที่คุ้นเคยกับการเจริญเติบโตระดับสูงในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา และในปีหน้าจะต้องมีปัญหาธุรกิจประสบกับความล้มละลายให้เห็นกันมากขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าหากรัฐบาลไม่ทำอะไร เศรษฐกิจของโลกไม่เอื้ออำนวย หรือพระสยามเทวาธิราชไม่โปรด ปีหน้า (2529) จะเป็นปีที่วิกฤตที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในช่วง 25-30 ปี”

หรือจะเป็นความเห็นของประกิต ประทีปะเสน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่สายสินเชื่อของธนาคารไทยพาณิชย์ก็ออกมาในทำนองเดียวกัน

“ในแง่ความรู้สึกของผมตั้งแต่ทำธนาคารมา ปีนี้เป็นปีที่ร้ายแรงที่สุด ขณะนี้ผมก็พูดกับผู้จัดการสาขาของผมเสมอว่า ถ้าคุณเป็นผู้จัดการสาขาแล้วคุณไม่ผ่าน 2 ปีนี้ คุณยังไม่แกร่ง ใครผ่าน 2 ปี คือปี 2528-2529 ไปได้จะเป็นผู้จัดการที่แกร่ง เพราะคุณจะได้บทเรียนจากลูกค้าที่มีปัญหามากมาย จะได้บทเรียนจากภาวะเศรษฐกิจคราวนี้เยอะมาก”

โดยทั่ว ๆ ไปแม้ว่าสภาพเศรษฐกิจจะซบเซา ตลาดพวกสินค้าอุปโภคบริโภคจะไม่ได้รับผลกระทบเท่าใดนักแต่ในปี 2528 นี้ บริษัทสหพัฒนฯ ยักษ์ใหญ่ของวงการสินค้าประเภทดังกล่าว ยังต้องประสบกับการขาดทุนเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี มิพักต้องไปพูดถึงธุรกิจอื่นหรืออุตสาหกรรมอื่น

ยิ่งมาฟังความเห็นของนักวิชาการภาครัฐบาลอย่างดร.วีรพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กับปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ที่เสนอรายงานหัวข้อ “ภาพเศรษฐกิจส่วนร่วมของไทย” ในการสัมมนาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา เมื่อวันที่ 14-15 ธันวาคม ก็ยิ่งหมดหวังหนักเข้าไปอีก

ในรายงานฉบับดังกล่าวแจ้งว่าจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าระยะ 5-6 ปีต่อไป ปัญหาเศรษฐกิจสำคัญของประเทศโดยเฉพาะปัญหาเรื่องการขาดดุลการค้า การขาดดุลงบประมาณปัญหาภาระหนี้ต่างประเทศ และปัญหาการว่างงานจะทวีความร้ายแรงมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางมรสุมทางเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันสิ่งที่เป็นสัญญาณที่ดีก็คือเสียงจากฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีก็ออกมาให้ความเห็นหลายต่อหลายครั้งในทำนองยอมรับปัญหาว่าเกิดขึ้นจริง และรัฐบาลพร้อมที่จะร่วมกันแก้ไขไปกับภาคเอกชนซึ่งท่าทีเดิมของฝ่ายรัฐบาลมักจะออกมาในรูปที่ปฏิเสธความรุนแรงของปัญหาเศรษฐกิจ สวนทางกับภาคเอกชนมาตลอด

อย่างไรก็ตาม (ขออีกทีเถอะ) “ผู้จัดการ” อยากจะยกความเห็นของประกิต ประทีปะเสน ที่กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของฝ่ายรัฐบาลไว้อย่างน่าสนใจ เป็นการปิดท้ายรายงาน

“เวลาใครว่าเศรษฐกิจไม่ดี ภาครัฐบาลเขาก็ออกมาว่ายังดีอยู่ แต่สักสองเดือนที่ผ่านมาเขาเริ่มออกมาแล้วว่าไม่ดีจริง เรื่องมาตรการแก้ไขที่เป็นหลัก ๆ ผมยังมองไม่เห็น พอเศรษฐกิจไม่ดีรัฐบาลก็ตั้งคณะทำงานขึ้นมาแก้ไข แต่เผอิญคณะที่แก้ไขก็เกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบงานทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลอยู่แล้ว ก็ไม่รู้ว่าเขาจะมองเห็นปัญหาหรือเปล่า ก็หมายความว่าเราต้องการคนใหม่มาดูไหม หรือจะลองดูโดยเอาคนเก่าคณะหนึ่ง คนใหม่คณะหนึ่งช่วยกันมอง ก็อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้ตรงเป้ามากขึ้น”

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us