|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ถือเป็นวาระแห่งชาติในช่วงที่ผ่านมาสำหรับภาคการท่องเที่ยวของประเทศได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบต่างๆ ทั้งจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ปัญหาความไม่สงบทางการเมือง และการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับภาคการท่องเที่ยวของประเทศ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2552 ประกาศให้การท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda) เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ใช้ความพยายามทุกรูปแบบในการช่วยกู้วิกฤตให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศกลับฟื้นตัวได้ในเวลาอันรวดเร็วที่สุด ด้วยเหตุผลดังกล่าวกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวปี 2552-2555
ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้จัดทำกรอบแนวคิดในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กู้วิกฤตและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว พ.ศ.2552-2555 ข้อแรก-การกระตุ้นและฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวของประเทศ ข้อสอง-ขอบเขตครอบคลุมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ข้อสาม-คำนึงถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นและฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวของประเทศ ข้อสี่-เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในกระบวนการร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ เพื่อให้เกิดการยอมรับและนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ
ทั้งนี้ ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องเร่งแก้ไข ประเดิมจาก การเพิ่มอัตราเข้าพักในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวทั้งในช่วงฤดูกาลและนอกฤดูกาลท่องเที่ยว ขยายตลาดนักท่องเที่ยวที่มาเยือนไทยเป็นครั้งแรกและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวซ้ำ (Repeaters) และตลาดนักท่องเที่ยวที่มีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งมีการเสริมสภาพคล่องและลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของธุรกิจท่องเที่ยว พร้อมทั้งสร้างโอกาสหรือรายได้ให้กับธุรกิจท่องเที่ยว ชะลอการเลิกจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตามด้วยการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
สำหรับการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ได้ตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพสูง มีการจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยว ไม่อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมหรือถูกทำลาย และสิ่งแวดล้อมปลอดมลพิษ รวมทั้งการเป็นเจ้าบ้านที่ดี นักท่องเที่ยวมีความรับผิดชอบต่อแหล่งท่องเที่ยว และครอบคลุมถึง Green Tourism มีการลงทุนด้านความรู้และสารสนเทศ ด้านการคมนาคม เน้นต่อเชื่อมโยงถึงกันได้ทุกระบบ มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสิ่งอำนวยความสะดวกในปริมาณที่เหมาะสม สะดวก และบริการที่มีคุณภาพพร้อมกับความปลอดภัยจากอาชญากรรม อุบัติเหตุและโรคภัยไข้เจ็บ อีกทั้งคงประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม ดำรงเอกลักษณ์ของไทยไว้ให้ลือชื่อไปทั่วโลก
|
|
 |
|
|