รายงานข่าวจากบริษัท นีสเส็น ประเทศไทย ระบุว่า 10 อันดับแบรนด์ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า อันดับหนึ่ง-ได้แก่ ระบบโทรศัพท์มือถือของแฮปปี้ของดีแทคใช้งบรวม 451 ล้านบาท จากเดิมในช่วงเดียวกันในปีก่อนจำนวน 282 ล้านบาท อันดับสอง-รถปิกอัพอีซูซุ ใช้งบรวม 442ล้านบาท จากเดิมในช่วงเดียวกันในปีก่อนจำนวน 179 ล้านบาท อันดับสาม-เครื่องดื่มโค๊ก ใช้งบรวม 330ล้านบาท จากเดิมในช่วงเดียวกันในปีก่อนจำนวน 255ล้านบาท อันดับสี่-ผงซักฟองบรีส ใช้งบรวม319ล้านบาท จากเดิมในช่วงเดียวกันในปีก่อนจำนวน 210 ล้านบาท อันดับห้า-รถยนต์โตโยต้า ใช้งบรวม 318ล้านบาท จากเดิมในช่วงเดียวกันในปีก่อนจำนวน 249 ล้านบาท
อันดับหก- ออยล์ ออฟ อูเลย์ สกินแคร์ โปรดักส์ ใช้งบรวม 314ล้านบาท จากเดิมในช่วงเดียวกันในปีก่อนจำนวน 179 ล้านบาท อันดับเจ็ด-พอนด์ เฟเชียล สกินแคร์ โปรดักส์ ใช้งบรวม 307ล้านบาท จากเดิมในช่วงเดียวกันในปีก่อนจำนวน 205ล้านบาท อันดับแปด-กลุ่มปตท. ใช้งบรวม 265ล้านบาท จากเดิมในช่วงเดียวกันในปีก่อนจำนวน 5ล้านบาท อันดับเก้า- ยูเซอรีน เฟเชียล สกินแคร์ โปรดักส์ ใช้งบรวม 251 ล้านบาท จากเดิมในช่วงเดียวกันในปีก่อนจำนวน 141ล้านบาท และอันดับสิบ-เครื่องดื่มเป๊ปซี่ ใช้งบรวม 2547ล้านบาท จากเดิมในช่วงเดียวกันในปีก่อนจำนวน 225ล้านบาท
สื่อทีวีครองเบอร์ 1
โรงหนัง สื่อเติบโตแรง
สำหรับสื่อโฆษณาแต่ละประเภทที่มีการใช้งบโฆษณาที่โดดเด่นในครึ่งปีที่ผ่านมา โดยรวมมีมูลค่ากว่า 47,590 ล้านบาท โดยมีสื่อทีวี ครองอันดับหนึ่ง ใช้งบมากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 29,085 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนเพิ่มขึ้น 16.88 เปอร์เซ็นต์ หรือ คิดเป็นมูลค่า 24,885 ล้านบาท รองลงมาอันดับสองได้แก่ สื่อหนังสือพิมพ์ ใน 6เดือนที่ผ่านมา จัดว่าเนื้อหอมทีเดียว คิดเป็นมูลค่า 6,899 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน เพิ่มขึ้น8 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็นมูลค่าราว 6,388 ล้านบาท
สำหรับสื่อที่ไม่เติบโตเลย แต่กลับติดลบ ได้แก่ สื่อวิทยุ ในครึ่งปีที่ผ่านมา มูลค่าการใช้สื่อมีจำนวน 2,787 ล้านบาท ลดลง -1.8 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบในช่วงเดียวกันในปีก่อนซึ่งมีมูลค่าการใช้สื่อดังกล่าวมากกว่าเป็นจำนวน 2,838 ล้านบาท เช่นเดียวกับสื่อกลางแจ้ง มีอัตราติดลบ-7.17 เปอร์เซ็นต์ จากมูลค่าการใช้สื่อ 1,877 ล้านบาทเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการใช้สื่อจำนวน 2,022 ล้านบาท
สำหรับ สื่อแมกกาซีน มีมูลค่าการใช้สื่อประมาณ2,577 ล้าน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนเพียง 2.59 เปอร์เซ็นต์หรือคิดเป็นมูลค่าใช้สื่อเป็นจำนวน 2,512ล้านบาท ขณะที่สื่อโรงภาพยนตร์ มีอัตราเติบโตสูงถึง 33 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นมูลค่าใช้สื่อ 2,672 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,997 ล้านบาท
ทางด้านสื่อทรานสิท มีอัตราเติบโตสูงขึ้น 16.78 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็นมูลค่าการใช้สื่อดังกล่าวจำนวน 1,044ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนของมูลค่าการใช้สื่อดังกล่าวจำนวน 894 ล้านบาท ขณะที่สื่ออินสโตร์มีมูลค่าการใช้สื่อดังกล่าวจำนวน 514 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 26.60เปอร์เซ็นต์หรือคิดเป็นมูลค่าจำนวน 406 ล้านบาท ส่วนสื่ออินเตอร์เน็ตนั้น มูลค่าการใช้สื่อดังกล่าวใน 6 เดือนที่ผ่านมาถือว่าเติบโตสูงขึ้น 39.58เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นมูลค่า 134 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน ซึ่งสื่อดังกล่าวมีมูลค่าใช้สื่อคิด เป็น 96 ล้านบาท ทั้งนี้ในการสำรวจกลุ่มมีเดียดังกล่าว ไม่รวมการคิดคำนวนจากเซคชั่นคลาสซิฟายด์และโฆษณาภายในหรือ House Ad.
|