Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์2 สิงหาคม 2553
สถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้าน Q 3/2553             
 


   
search resources

Construction
ปทุมดีไซน์ ดีเวลอป, บจก.




ฝ่ายวิจัยและพัฒนาธุรกิจ บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลลอป จำกัด หรือพีดีเฮ้าส์ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นประชาชนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-มิถุนายน 2553) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,548 รายทั่วประเทศ ที่มีแนวโน้มต้องการสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยหลังใหม่บนที่ดินของตัวเองทั่วประเทศ ทั้งนี้ มีผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจำนวน 364 ราย ในหัวข้อ “ที่มาของเงินลงทุนสร้างบ้านหลังใหม่” มาจากแหล่งใดระหว่าง “เงินออม” กับ “เงินกู้ยืมธนาคาร”

สำหรับผลสำรวจความต้องการปลูกสร้างบ้านหลังใหม่ พบว่าพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีความต้องการมากเป็นอันดับ 1 หรือคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 31% รองลงมาได้แก่จังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสัดส่วนคิดเป็น 25% และจังหวัดในภาคกลางคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 19% จำนวนอีก 14%, 8% เป็นสัดส่วนในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ ในขณะที่ภาคตะวันออกพบว่ามีสัดส่วนน้อยที่สุด หรือเท่ากับ 3%

หากเปรียบเทียบพฤติกรรมของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะปลูกสร้างบ้านหลังใหม่ที่ต้องการว่าจ้างบริษัทรับสร้างบ้าน จากข้อมูลสำรวจเมื่อ 6-7 ปีก่อน พบว่า สัดส่วนผู้บริโภคที่เลือกใช้บริการบริษัทรับสร้างบ้าน 60-70% นิยมใช้ “เงินออม” สร้างบ้านหลังใหม่ สัดส่วนที่เหลือประมาณ 30% เท่านั้นที่เลือกใช้ “เงินกู้ยืมธนาคาร”

ส่วนจากผลการสำรวจความเห็นครั้งนี้ พบว่า กลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคที่ต้องการจะสร้างบ้านหลังใหม่ บนที่ดินของตัวเองในปีนี้และอีก 1-2 ปีข้างหน้า มีความต้องการ “กู้ยืมเงินธนาคาร” มีสัดส่วนสูงถึง 79% และมีสัดส่วนเพียง 20% เท่านั้นที่จะใช้ “เงินออมหรือเงินสด”

สถิติดังกล่าว สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนและมีนัยสำคัญ ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจของผู้ประกอบการที่แข่งขันอยู่ในตลาดรับสร้างบ้าน รวมทั้งสถาบันการเงินหรือธนาคารฯ ที่ปล่อยสินเชื่อปลูกสร้างบ้าน

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาธุรกิจฯ ระบุว่า ในสายตาผู้บริโภคมองว่าการกู้ยืมเงินธนาคารฯ เพื่อปลูกสร้างบ้านยังเป็นเรื่องยุ่งยาก และส่วนใหญ่ไม่ทราบมาก่อนว่าสามารถกู้ยืมได้ อาจเป็นเพราะขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีพอ จากฝ่ายผู้ประกอบการและสถาบันการเงิน รวมถึงที่ผ่านมาขาดการอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคที่ต้องการใช้บริการ

นอกจากนี้ผลสำรวจยังระบุ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 55% เห็นว่า เหตุผลสำคัญที่ต้องการใช้เงินกู้ยืมธนาคารเพื่อปลูกสร้างบ้านเพราะเห็นว่า “ทำให้มีบ้านเร็วขึ้น และคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยที่จ่าย” เหตุผลรองลงมากลุ่มตัวอย่างจำนวน 37% เห็นว่า “การออมเงินอาจไม่ทันกับราคาบ้านที่แพงขึ้นทุกปี”

หากพิจารณาจากสถิติดังกล่าวแล้ว อาจมองได้ว่า แนวโน้มสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยประเภทปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ถ้าสามารถทำให้ผู้บริโภคและประชาชนรับรู้และมีความเข้าใจมากขึ้น รวมถึงตลาดรับสร้างบ้านก็จะสามารถขยายตัวเพิ่มได้เช่นกัน จากในอดีตที่ผู้บริโภคเคยคิดและเข้าใจว่าจะต้อง “ออมเงินให้ครบก่อนจึงจะสร้างบ้านได้” ซึ่งนับเป็นข้อด้อยและเสียเปรียบธุรกิจที่อยู่อาศัยประเภทอื่น เช่น บ้านจัดสรร บ้านมือสอง เพราะผู้บริโภคมีความเข้าใจเป็นอย่างดีว่าสามารถกู้ยืมหรือขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยได้จากธนาคารโดยไม่ยุ่งยาก

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาธุรกิจฯ เห็นว่า การพัฒนาตลาดรับสร้างบ้านควบคู่ไปกับตลาดสินเชื่อเพื่อปลูกสร้างบ้านให้เติบโตนั้น ผู้ประกอบการควรหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงจัง โดยเฉพาะบริษัทรับสร้างบ้านต้องเร่งปรับตัวให้มีการบริหารจัดการที่ชัดเจน เพื่อสถาบันการเงินจะได้ไว้วางใจและสนับสนุนสินเชื่อปลูกสร้างบ้านแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ รวมถึงผู้ประกอบการเกิดใหม่หรือที่เข้ามาสู่ธุรกิจรับสร้างบ้านได้ไม่นานก็ตาม การมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและมีความเป็นมืออาชีพจริงคือสิ่งสำคัญ โดยอาจใช้วิธีเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับมืออาชีพตัวจริงที่มีประสบการณ์มานาน อย่างเช่น โมเดลธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์รับสร้างบ้าน ซึ่งในปัจจุบันสถาบันการเงินก็อำนวยความสะดวกและสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อให้เช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us