Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์2 สิงหาคม 2553
CSR เชิงรุก รีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม             
 


   
search resources

เต็ดตรา แพ็ค (ประเทศไทย), บจก.
Packaging




ไมเคิล อี พอร์เตอร์ ปรมาจารย์ด้านกลยุทธ์การแข่งขัน เคยกล่าวถึงแนวทางซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ (Strategie CSR) ซึ่งก็คือการปรับแผนยุทธศาสตร์ธุรกิจมาใช้ในมิติที่มีหลักการของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาความสามารถ หรือความ “เก่ง” ในกระบวนการทำธุรกิจ และด้วยจิตสำนึกที่ “ดี” ดังกล่าวก็เป็นการสร้างความแตกต่างอย่างโดดเด่น (Differentiation) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเป็นองค์ประกอบสำคัญของการจะเป็น “ผู้นำธุรกิจ”

ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ความจริงใจในการเลือกทำในเรื่องที่เป็น “คุณค่าร่วม” (Shared Value)ที่เป็นคุณกับธุรกิจ และมีค่าในสายตาของสังคม

กรณี เต็ดตรา แพ้ค บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เตรียมเปิดตัวกล่องยูเอชทีหรือบรรจุภัณฑ์แบบปลอดเชื้อ ที่ได้รับการรับรองติดฉลาก Forest Stewardship Council? (FSC)ที่ประเทศจีนในเดือนกรกฎาคม 2553

บรรจุภัณฑ์แบบปลอดเชื้อของเต็ดตรา แพ้ค ที่ติดฉลาก FSC จะจำหน่ายในประเทศจีนเป็นครั้งแรกและคาดว่าในปีนี้เฉพาะตลาดในประเทศจีนเพียงแห่งเดียว จะมีจำนวนสูงถึงสองพันล้านกล่อง และมีเป้าหมายที่จะเพิ่มยอดจำหน่ายกล่องชนิดนี้ในประเทศจีนให้ได้ถึง 14,000 ล้านกล่องในปี 2554

นี่เป็นอีกก้าวหนึ่งของ เต็ดตรา แพ้ค ในการสนับสนุนการจัดการป่าไม้อย่างมีความรับผิดชอบ และดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องโดยวัตถุดิบต้นทางต้องมั่นใจว่าเป็นวัตถุดิบที่ได้มาจากแหล่งต้องผ่านการรับรองมาตรฐานสูงสุดที่กำหนดโดย FSC

นับตั้งแต่การเปิดตัวบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเหลวที่ติดฉลาก FSC เป็นครั้งแรกในโลกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2550 เต็ดตรา แพ้ค ได้ทยอยเปิดตัวบรรจุภัณฑ์ที่ติดฉลาก FSC ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยมียอดรวมกว่าสองหมื่นสามพันล้านกล่องในปี 2552

สำหรับในประเทศไทย เต็ดตรา แพ้ค ก็ได้ดำเนินกลยุทธ์กิจกรรมเพื่อสังคมที่เชื่อมโยงถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ในเชิงบวก
เมื่อเร็วๆ นี้มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย ร่วมกับ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ได้เปิดตัวโครงการ “หลังคาเขียวเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก” เชิญชวนคนไทยทั่วประเทศร่วมกันเก็บกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วนำไปบริจาคที่จุดรับกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วที่บิ๊กซีทุกสาขาทั่วประเทศ

นับเป็นครั้งแรกของประเทศที่มีการนำกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วไปรีไซเคิลผลิตเป็น “แผ่นหลังคา” มอบให้กับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก นำไปช่วยเหลือสำหรับการสร้างที่อยู่อาศัยให้ผู้ที่ประสบอุทกภัย โดยมีผู้ร่วมสนับสนุน ได้แก่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และศูนย์รีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม ร่วมด้วย “อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม” ทูตประจำโครงการฯ เป็นแนวร่วมรณรงค์ให้เกิดการจัดเก็บคัดแยกกล่องเครื่องดื่มใช้แล้ว

รัสตี้ เคคูเอว่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “บทบาทของเต็ดตรา แพ้ค ครอบคลุมทั้งการดำเนินกิจกรรมทั้งการรณรงค์ให้ความรู้และเกิดการปฏิบัติจริงในการจัดเก็บกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วอย่างถูกต้อง จัดกิจกรรมเดินสายในสถาบันศึกษา และหน่วยงานต่างๆ การติดตามผลและรายงานการจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนกระบวนการผลิต “แผ่นหลังคา” เพื่อมอบให้กับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นระยะเวลา 3 ปี ระหว่างปี 2553 - 2555”



กล่องเครื่องดื่ม ใช้แล้วที่เก็บรวบรวมมาจะนำเข้ากระบวนการรีไซเคิล ผลิตแผ่นหลังคาโดยกล่องเครื่องดื่มใช้แล้ว 2,000 กล่อง สามารถนำไปผลิตเป็นแผ่นหลังคา 1 แผ่น ขนาด 2.40 x 0.90 เมตร โดยใช้เพียงกล่องเครื่องดื่มเท่านั้นเป็นวัตถุดิบ ไม่มีการใช้สารเคมีประกอบในกระบวนการผลิต ไม่แตกง่าย มีคุณสมบัติ ทนไฟ ไม่ดูดซับแสงแดด หรือความร้อน ช่วยประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ กล่องเครื่องดื่มรีไซเคิล 1 ตัน ยังช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 900 กิโลกรัม ช่วยประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บขยะประมาณ 4 ตารางเมตร”

ขณะที่ จริยา จิราธิวัฒน์ ผู้บริหารฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ บอกว่า “ปีนี้นับเป็นปีที่สามแล้ว ที่บิ๊กซีทำงานร่วมกับเต็ดตรา แพ้ค ในการรณรงค์การรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม จากการที่เป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เรามีความยินดีที่ได้ร่วมดำเนินโครงการหลังคาเขียวฯ ด้วยการสนับสนุนจุดรับกล่องเครื่องดื่มบริโภคแล้วในบิ๊กซีทั้ง 68 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งหลังจากการจัดเก็บจากผู้บริโภคทั่วประเทศ เราจะรวบรวมกล่องเครื่องดื่มทั้งหมดจัดส่งไปยังศูนย์กระจายสินค้าของบิ๊กซี ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดอยุธยา เพื่อให้ไฟเบอร์พัฒน์มารับไปรีไซเคิลต่อไป น่ายินดีที่ได้เห็นการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าของบิ๊กซี”

นอกจากนี้ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด ยังต่อยอดนำ “เครื่องอัดกล่องเครื่องดื่มเพื่อชุมชน” ไปทดลองใช้จริงในพื้นที่โรงเรียนและชุมชนนำร่องในสองจังหวัด คือ สมุทรปราการ และ กาญจนบุรี พร้อมจัดกิจกรรมขยายผลในแต่ละท้องถิ่นให้มีการคัดแยกกล่องเครื่องดื่มอย่างเป็นระบบ และใช้ประโยชน์จากเครื่องอัดกล่องเครื่องดื่ม เพื่อลดปัญหาพื้นที่จัดเก็บ เกิดความยั่งยืนในการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มใช้แล้ว

กลอยตา ณ ถลาง ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เป็นจากผลงานที่ได้จากโครงการประกวดเครื่องอัดกล่องเครื่องดี่มเพื่อชุมชนในระดับอุดมศึกษาซึ่งได้จัดขึ้นในปี 2552 เพื่อให้การนำกล่องเครื่องดื่มที่บริโภคเสร็จแล้วกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการลดปัญหาพื้นที่จัดเก็บ ลดต้นทุนในการจัดการ และประหยัดพลังงานในการขนส่ง

“โดยเฉลี่ยแล้วกล่องเครื่องดื่มที่บริโภคแล้วจำนวน 100 กล่อง จะมีน้ำหนักเพียงหนึ่งกิโลกรัม ซึ่งถ้าเราดื่มนมหรือ น้ำผลไม้ในกล่องเครื่องดื่มหมดแล้ว ไม่ได้บีบหรือพับแบน จะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บและขนส่งมากกว่าถึงห้าเท่าตัว เช่น รถบรรทุกหนึ่งคัน สามารถขนกล่องเปล่าที่ไม่มีการบีบหรือพับแบน ได้ในปริมาณสามตันต่อเที่ยว แต่หากมีการบีบอัด จะสามารถบรรทุกกล่องเครื่องดื่มได้ถึง 15 ตัน”

เต็ดตรา แพ้ค ได้ร่วมกับศูนย์รีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม บริษัทไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด นำเครื่องอัดกล่องเครื่องดื่มเพื่อชุมชนติดตั้งและทดสอบการทำงานของเครื่องให้พร้อมสำหรับการใช้งานจริง และให้เกิดการพัฒนากระบวนการจัดการกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วอย่างเป็นระบบในพื้นที่โรงเรียนและชุมชนนำร่องในจังหวัดสมุทรปราการ และกาญจนบุรี

นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีคณะทำงานรณรงค์ในพื้นที่ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน และดูแลรักษาเครื่อง ตลอดจนการตอกย้ำให้นักเรียนและประชาชนในพื้นที่จัดเก็บ และคัดแยกกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วให้เอื้อต่อการนำกล่องเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล

ข้อคิด...

เต็ดตรา แพ้ค (Tetra Pak) เป็นกิจการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับกระบวนและบรรจุอาหาร ระดับผู้นำของโลก กล่องบรรจุอาหารและเครื่องดื่มที่พิมพ์ตราอะไรก็ตาม ส่วนใหญ่ก็ผลิตจากแหล่งนี้แหละ

การประกาศจุดยืนด้านความรับผิดชอบการดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืนมีการใช้คำขวัญว่า “ปกป้องทุกคุณค่า” หรือ “Protects What's Good” ก็เพื่อยืนยันเป้าหมายการรักษาให้อาหารปลอดภัยและพร้อมสำหรับการบริโภคในทุกที่ ฐานะที่เป็นแหล่งใหญ่ในด้านบรรจุภัณฑ์ เมื่อมีความมุ่งมั่นในการแสวงหาและพัฒนาวัตถุดิบที่ปลอดเชื้อ เพื่อความปลอดภัยและสร้างประเพณีการรีไซเคิลแทนที่จะเป็นลดขยะแก่สังคม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us