|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ระยะเวลากว่าปีเศษที่ “ผศ.ดร.พนิตนาฏ ชูฤกษ์” ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันภาษา (RELI) แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต นับเป็นการปรับโฉมครั้งแรกและครั้งใหญ่หลังจากที่สถาบันแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 3 ปีเศษที่ผ่านมาจากเดิมเป็นเพียงภาคภาษาอังกฤษในคณะศิลปศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อก้าวสู่วิชั่นของสถาบันการศึกษาแห่งนี้ในการก้าวสู่สถาบันชั้นนำในระดับอาเซียนและการเป็นอียูนิเวอร์ซิตี้ จึงเป็นการปรับตั้งแต่หลักสูตรการเรียนการสอนในทุกระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก
รวมถึงอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่ไฮเทคโนโลยี และสิ่งสำคัญการพัฒนายกระดับองค์ความรู้บุคลากรและการรีคูสอาจารย์ผู้สอนไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ชาวไทยหรือชาวต่างชาติที่เข้มข้น สามารถเรียกได้ว่าเป็นการปรับทั้งกระบวนการ 360 องศา
อันดับแรกนั้นในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ได้ดีไซน์หลักสูตรเน้นที่ทักษะและกระบวนการ หรือเป็นการสอนเทคนิค และเป็นการดีไซน์คอร์สที่มีความจำเป็นสำหรับผู้เรียน เช่น ทักษะการฟัง ทักษะการเขียน ทักษะการอ่านและการพรีเซนต์ เพราะในระดับการศึกษาดังกล่าวต้องเจอกับเนื้อหาที่หลากหลายและต้องอ่านงานวิจัยและเขียนงานวิจัย ทักษะดังกล่าวนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ไม่ว่าผู้เรียนจะเรียบนในศาสตร์หรือสาขาใดก็ตาม
เพราะจากสถิติของผู้เรียนโดยเฉพาะในระดับปริญญาโท เมื่อเรียนจบมักจะทำงานข้ามสาขา ฉะนั้นทักษะภาษาอังกฤษที่สถาบันสอนจึงสามารถนำไปปรับใช้กับเนื้อหาต่างๆ ได้ เพราะหากต้องมีการดีไซน์หลักสูตรเฉพาะคณะหรือสาขาวิชาจะเป็นการตีกรอบการเรียนเรียนรู้ที่เฉพาะจนเกินไป
ส่วนเนื้อหาการสอนในระดับปริญญาตรีนั้น ได้มีการปรับใหม่เช่นกัน โดยมุ่งเน้นที่การสื่อสารเพื่อเน้นทักษะ การฟัง การพูด ให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ผู้สอน ผ่านรูปแบบกิจการทั้งในชั้นเรียนและกิจกรรมนอกชั้นเรียนที่ได้มีการระบุในการสอน เช่นการใช้ห้องแล็ปของสถาบัน การเรียนผ่านสมาร์ทบอร์ด และการเรียนอีเลิร์นนิ่ง เป็นต้น
ทั้งนี้ ผศ.ดร.พนิตนาฏ มองว่านอกจากการปรับเนื้อหาหลักสูตร วิธีการเรียน การสอนใหม่แล้ว ได้ให้ความสำคัญกับสื่อการสอนใหม่ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งหมดจากเดิมมีไม่ถึง 20 เครื่องและเป็นเครื่องรุ่นเก่าได้เปลี่ยนใหม่ทั้งหมดและเพิ่มเป็น 80 เครื่องสำหรับห้องแล็ปทั้ง 2 ห้อง และการเรียนผ่านสื่อสมัยใหม่คือสมาร์ทบอร์ดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อให้การเรียนการสอนมีความสนุกและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน รวมถึงการเรียนภาษาอังกฤษผ่านภาพยนต์ที่มีห้องมูฟวี่เธียเตอร์สำหรับชมภาพยนต์ ซึ่งจะมีการกำหนดการชมเป็นรอบตามช่วงเวลาที่กำหนด
จะเห็นว่านอกจากการให้ความสำคัญกับอุปกรณ์และสื่อเทคโนโลยีแล้วการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงต้องมีเรื่องของ การสร้างสภาพแวดล้อม โดยพื้นที่ของอาคาร 11ชั้น 6 ที่เป็นที่ตั้งของสถาบันภาษาได้กำหนดให้เป็น English Speaking Zone หรือเป็นเขตการสื่อสารภาษาอังกฤษเท่านั้น และการบริการนอกห้องเรียนหรือ English Clinic ศูนย์รับให้คำปรึกษาภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาและบุคลากรในหน่วยงาน
ผศ.ดร.พนิตนาฏ ได้กล่าวว่า ยังได้เกิดการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ตามมา ล่าสุดอยู่ระหว่างการเตรียมคือ 1.โครงการฝึกฝนทักษะเพื่อการใช้จริง โดยให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการเป็นไกด์หรือผู้นำเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวให้กับชาวต่างชาติในมหาวิทยาลัย และ 2.โครงการจัดแคมป์ต่างประเทศซึ่งมี 2 รูปแบบคือเรียนภาษาและท่องเที่ยว และ3. อยู่ระหว่างการประสานสถาบันการศึกษาในต่างประเทศเพื่อให้นักศึกษาเทคคอร์สระยะสั้นและสามารถถ่ายโอนหน่วยกิตกับมหาวิทยาลัยได้และระบุในทรานสคริปส์
นอกจาก 3 โครงการที่อยู่ระหว่างการเตรียมการนั้น ขณะเดียวกันสถาบันภาษาแห่งนี้ได้ยกระดับ RSU-TEST เพื่อเป็นชุดข้อสอบที่สามารถได้รับการยอมรับในหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้ในการสมัครงาน โดยจะกำหนดผลการสอบภาษาอังกฤษหรือ RSU-TEST ในใบจบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยกำหนดระดับคะแนนตามระดับการศึกษา
ซึ่งปัจจุบันก่อนการศึกษาในระดับปริญญาโท ผู้สมัครสามารถเลือกสอบ RSU-TEST แทนการลงเรียนหน่วยกิตภาษาอังกฤษหากสอบผ่านตามคะแนนที่กำหนด หรือระดับปริญญาเอกให้แสดงผลสอบโทเฟล แต่ต่อไปก่อนจบการศึกษาจะให้สอบ RSU-TEST และเช่นเดียวกันในระดับปริญญาตรีนั้นเบื้องต้นจะเป็นการเชิญชวนให้นักศึกษาก่อนจบการศึกษาปีสุดท้ายให้สอบ RSU-TEST เพื่อระบุผลสอบในทรานสคิปต์เพื่อเป็นสิ่งการันตีถึงความรู้ด้านภาษาที่ได้รับการับรอง
นอกจากนี้จะขยายองค์ความรู้ของ RSU-TEST โดยประสานกับหน่วยงานรัฐ เอกชน สำหรับการสอบและคัดเลือกผู้เข้าสมัครงานในองค์กรนั้น หรือเป็นศูนย์สอบที่ใช้ข้อมสอบ RSU-TEST ซึ่งปัจจุบันได้ทำร่วมกับการประปานครหลวงที่ต้องสอบ RSU-TEST ด้วยเช่นกันเพื่อคัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน
สำหรับบุคลากรหรืออาจารย์ผู้สอนนั้น ผศ.ดร.พนิตนาฏ กล่าวว่า ปัจจุบันมีจำนวน 20 คนและต้องการรับเพิ่มอีก 5 คน ทั้งนี้ไม่ระบุว่าต้องเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ แต่ต้องสอบเพื่อวัดทักษะในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ เพื่อทราบถึงทักษะการพูดและทักษะการฟัง การสอบข้อเขียนวัดทักษะการเขียน การอ่าน และสอบทัศนคติต่อการสอนเป็นข้อสอบข้อเขียน และสอบการสอนจริงและการออกข้อสอบ ทั้งนี้เพื่อคัดอาจารย์ที่มีคุณภาพในงานวิชาการและมีหัวใจของความเป็นครู
ขณะเดียวกันยังได้ทำการพัฒนาอาจารย์เพื่อเป็นเทรนเนอร์ให้กับบุคลาการภายในมหาวิทยาลัย เพิ่มบทบาทของอาจารย์ในสถาบันภาษาที่สามารถเทรนนิ่งให้กับอาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัยและการช่วยเหลือชุมชนรอบมหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาจะเห็นว่าภายในสถาบันภาษาเองนั้นได้ฝึกอบรมการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งกันเอง และยังจะขยายความรู้ที่อาจารย์มีสู่ระดับครู อาจารย์ ในสถาบันต่างๆ ในรูปแบบการฝึกอบรมเป็นการสื่อสารระหว่างครูด้วยกัน เพราะกลุ่มเป้าหมายของหมาวิทยาลัยก็เป็นโรงเรียนต่างๆ เท่ากับเป็นการพัฒนาภาษาก่อนที่นักเรียนจะจบและเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัย
นอกจากการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนซึ่งเป็นภาระกิจหลัก ร่วมถึงพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยแล้ว การบริการสาธารณะในรูปแบบของการสร้างรายได้นั้นสถาบันภาษาได้จัดหลักสูตรจำนวน 10 หลักสูตรตามความสนใจของผู้เรียนขึ้นอีกด้วย และการรับงานแปลเอกสารต่างๆ สำหรับบุคคลลภายนอก
ซึ่งกิจกรรม และงานบริการ ได้สร้างการรับรู้และเห็นถึงศักยภาพความรู้ของสถาบันภาษาล่าสุดยังได้จัดอบรมภาษาอังกฤษให้กับผู้สื่อข่าวเพื่อใช้ในการทำงานและเสริมสร้างทักษะด้านภาษาเพิ่มเติมอีกด้วย
“วิชั่นของมหาวิทยาลัยกสอดคล้องกับแนวทางการทำงานของสถาบันภาษาที่ต้องการพัฒนาคุณภาพภาษาอังกฤษของนักศึกษา บุคลากรภายในและภายนอก และเกิดการปรับเปลี่ยนการสอนของอาจารย์ไม่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่ต้องสอนวิธีคิดให้กับผู้เรียนเพื่อให้นำมาใช้ในชีวิตและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามยุคสมัย เพราะปัจจุบันโลกของภาษาต้องควบคู่ไปกับไอที การคิดกิจกรรมเพื่อเสริม อย่างการจัดประกวดต่างๆ ทั้งการพูด ร้องเพลง เล่านิทาน เรายังมีช่องทางอีกมากในการพัฒนา แม้ปัจจุบันการแข่งขันสูง แต่เราไม่มองที่การแข่งขันเป็นตัวตั้งแต่มองที่คุณภาพที่จะเกิดขึ้นที่นักศึกษาจะได้รับ โดยเฉพาะ การพัฒนาบุคลากรการที่ครูเก่งไม่ใช่สอนแต่หนังสือ แต่ต้องรู้วิธีการ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์และนำพาองค์กรไปได้” ผศ.ดร.พนิตนาฏ กล่าวในตอนท้าย
อัพเดดล่าสุด 7/30/2010 12:08:48 PM โดย Chaotip Kleekhaew
หมายเหตุ เส้นแบ่งข่าว หมายถึง ข่าวถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ
keyword :
Close
|
|
|
|
|