Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2528
ชฎา วัฒนศิริธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์             
 


   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ชฎา วัฒนศิริธรรม, คุณหญิง
Interest Rate




การประกาศลดดอกเบี้ยครั้งนี้ค่อนข้างกะทันหันเกินไปหรือเปล่า

เดิมทางเราก็มีแนวคิดกันอยู่ว่า จะต้องลดในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้ แล้วก็มีบางแบงก์ก็เตรียมตัวที่จะทำกัน และบังเอิญที่มีการพบปะกันระดับกรรมการบริหารของสมาคมธนาคารไทยกับแบงก์ชาติ ก็มีการคุยกันในเรื่องนี้ ถ้าจะพูดในแง่ของกะทันหันก็คงเป็นเรื่องจังหวะมากกว่า เพราะบังเอิญอาทิตย์ที่แล้วมีการประชุม กรอ. ซึ่งเวลาประชุม กรอ.ทุกฝ่ายก็อยากให้มีความสำเร็จด้านใดด้านหนึ่งออกมา

มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ภาครัฐบาลเขาก็อยากเห็น ภาคเอกชนก็ค่อนข้างคล้อยตาม ในเรื่องของการลดอัตราดอกเบี้ยกันอยู่แล้วก็ตกลงกัน ว่าจะมีการประกาศกันในที่ประชุมนั้น ก็คิดว่าไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นมากกว่านั้น เพราะก็ไม่ด้เป็นเรื่องที่ผิดแนวทางที่คิดกันไว้ แต่ว่าอาจจะเป็นไปได้ที่ทั้ง 16 แบงก์ไม่ได้คิดในแนวทางเดียวกัน อย่างที่พูดกันว่าลดดอกเบี้ยเงินกู้ 1 เปอร์เซ็นต์จะทำให้มีความต้องการให้กู้เพิ่มขึ้นเท่านั้นเท่านี้ล้านบาท

คืออย่างนี้ อาจจะเป็นเรื่องของการคิดโมเดลที่ใช้ว่า ผลกระทบที่มีต่อความต้องการเงินกู้เมื่อดูจากอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างนั้น แต่โมเดลแบบนี้บางทีมันต้องใช้ควบคู่ไปกับสภาพเศรษฐกิจในแต่ละขณะด้วย เท่าที่เรามองกันสำหรับไตรมาสที่ 3 โดยปกติมันจะเป็นไตรมาสที่ค่อนข้างเงียบอยู่แล้ว เงียบทั้งในแง่ของสินเชื่อและในแง่ของเงินฝาก ทุกคนเข้าพรรษากันหมด เพราะฉะนั้นความต้องการด้านสินเชื่อมักจะไม่ขยายตัวมากนัก

เราจึงคิดว่าอย่างน้อยในทันทีนี่เราคงไม่เห็นความต้องการด้านสินเชื่อมากนัก ประกอบกับในช่วงนี้เศรษฐกิจของโลก หรือของไทยมันก็ไม่ดีหรือน่าตื่นเต้นนักหนา โอกาสที่มันจะขยายหรือบูมคงไม่เกิดขึ้น และแม้แต่มีการลดดอกเบี้ยไปแล้วจนกระทั่ง 15.5 และ 17.5 เปอร์เซ็นต์ ว่าไปแล้วมันก็ยังสูง แต่เอาล่ะมันก็อยู่ในแนวทางที่ดีขึ้น

ดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดเหลือ 11 เปอร์เซ็นต์เมื่อคิดภาษาดอกเบี้ยแล้วไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์จะกระทบต่อโครงสร้างเงินออมหรือไม่

คือเราต้องมองในแนวทางที่ว่า ถ้าเผื่อไม่เอามาฝากแบงก์แล้วมันมีโอกาสที่จะออมเงินไว้ที่ไหนบ้าง ถ้าฝากกับแบงก์ได้ 11 เปอร์เซ็นต์ หักภาษีแล้วตกประมาณ 9.625 เปอร์เซ็นต์ อันนี้ก็ต้องมาเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น ที่เราอาจจะไปฝากได้ ถ้าเอาไปฝากกับพวกบริษัทเงินทุนช่วงนี้เขาก็มีหลายบริษัทที่ลดอัตราดอกเบี้ยของเขาลงมาแล้ว ก็ได้มากกว่าไม่เท่าไหร่

เมื่อดูพันธบัตรรัฐบาลเขาก็บอกว่าจะลดลงมาเหมือนกัน ถ้าลดเหลือประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์โดยที่ไม่ต้องเสียภาษีและมีอายุไถ่ถอน 5 ปี ก็แล้วแต่ว่าผู้ออมจะเลือกทางไหน คือจะเลือกการออมที่ผลตอบแทนเยอะหน่อยแต่ผูกพันระยะยาวกับประเภทสั้นๆ แต่ผลกตอบแทนต่ำกว่านิดหน่อย และสมมุติว่าไม่ฝากกับแบงก์แล้วจะไปลงทุนทำอะไร จะไปสร้างคอนโด บ้านหรือห้องแถวมันจะเหมาะไหมสำหรับในปัจจุบัน

อย่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากขนาดนี้เราก็คิดว่าอาจจะไม่สามารถทำให้เงินฝากเพิ่มถึง 25 เปอร์เซ็นต์ทั้งระบบจากปีที่แล้ว แต่น่าจะยังคงเป็นไปได้ตามการเติบโตของเศรษฐกิจของไทยเรา งวดต่อไปนี่น่าจะได้ 7-8 เปอร์เซ็นต์ น่าจะได้ ทำไมสมาคมธนาคารไทยทำเรื่องลดอัตราดอกเบี้ยเองไม่ได้ ในเมื่อธนาคารชาติได้มีการคุมเรื่องสินทรัพย์เสี่ยงต่อเงินกองทุนอยู่แล้ว แบงก์ไหนระดมเงินเข้าไปมากโดยที่ปล่อยกู้ไม่ได้น่าจะถูกแบงก์ชาติลงโทษ

ถ้าเป็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินฝากคงไม่เกี่ยวกัน เหตุผลก็เพราะทางด้านเงินฝากนั้นถ้าเผื่อว่ายังคงขยายสินเชื่อได้ ซึ่งเกือบจะทุกแบงก์ตอนนี้ขยายสินเชื่อได้มันจะมีบางแบงก์ที่ติดมานานแล้วอย่างกรุงเทพฯ พาณิชย์การหรือกรุงไทย มีอยู่ไม่กี่แบงก์ที่ติด แบงก์อื่นๆ ยังอยู่ในสภาพที่ขยายสินเชื่อได้ทั้งนั้น

สิ่งที่อาจจะเป็นห่วงกันก็คือผู้ฝากเงินค่อนข้างจะคุ้นเคยกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงมานาน และยังหวังที่จะได้อัตราดอกเบี้ยที่สูง ถ้าเผื่อมีแบงก์ใดแบงก์หนึ่งเกิดจะลดโดยพลการ โดยไม่ชวนแบงก์อื่นมาร่วมด้วยต้องดูซิว่าทนไหวไหม ขนาดแบงก์ที่ใหญ่ที่สุดของเราเอง ซึ่งมีมาร์เกตแชร์ 30 เปอร์เซ็นต์ก็ยังไม่ไหวถ้า 70 เปอร์เซ็นต์เขาไม่ลดด้วย

ดังนั้นต้องหาเพื่อนมาพอสมควร ที่สำคัญก็คือลูกค้าด้านเงินฝากนั้นเป็นลูกค้าที่กระจัดกระจายเป็นจำนวนมาก และจะไปพูดกับเขาแต่ละคนให้เข้าใจนี่ยาก เพราะฉะนั้นการปฏิบัติของเราจึงต้องค่อนข้างมีมาตรฐานมากกว่าด้านสินเชื่อ ซึ่งมีลักษณะเป็นรายต่อรายมากกว่า

แบงก์ชาติมีสิทธิประโยชน์อยู่ 2-3 เรื่องด้วยกันที่เขาสามารถให้ได้กับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยจะพิจารณาในเรื่องความดีความชอบของสาขานั้นๆ ที่มันพอจะเห็นเป็นรูปธรรมได้ก็มีข้อแรกวงเงินกู้ในลักษณะการรับช่วงซื้อลด เงินกู้ 7 เปอร์เซ็นต์ 8 เปอร์เซ็นต์ ตัวนี้มันเป็นตัวให้คุณให้โทษกับแบงก์ได้เยอะ เพราะแบงก์ใดที่สามารถได้เงินกู้ที่มีต้นทุนต่ำเช่นนั้นก็สามารถปล่อยกู้ต่อในอัตราต่ำเช่นเดียวกัน ตนก็จะได้ธุรกิจเพิ่มขึ้นในจำนวนเท่านั้น

ข้อที่ 2 ก็ในแง่ของการเปิดสาขาซึ่งรวมไปถึงความสามารถที่จะตั้งตู้เอทีเอ็มที่นั่นที่นี่ด้วย ทั้งหมดเป็นเรื่องของจุดในการให้บริการลูกค้า แบงก์ใดสามารถได้จุดบริการเพิ่มขึ้นก็ย่อมสามารถจะเป็นที่พออกพอใจของลูกค้ายิ่งขึ้น เท่าที่เห็นก็มีอยู่สองสามอย่างนี่แหละที่แบงก์ชาติพอจะให้คุณให้โทษแก่ชาวบ้านได้

อย่างอื่นมันไม่เป็นรูปธรรมเท่า เช่น มาพูดว่าแบงก์ใดแบงก์หนึ่งว่าแหมเขาปฏิบัติตามนโยบายของทางการอย่างเคร่งครัดอย่างนั้นอย่างนี้ พูดไปแล้วทุกแบงก์จำต้องปฏิบัติตามนโยบายของแบงก์ชาติถึงแม้ว่าจะอัดอั้นตันใจสักแค่ไหน จริงๆ แล้วก็ต้องทำ มันไม่มีใครแหกคอกได้มาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us