|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เศรษฐกิจ การเมือง ในประเทศที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552 และต่อเนื่องมาตลอดกว่าครึ่งปีของปี 2553 ทำให้ธุรกิจทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบไปตามๆ กันและหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบคือธุรกิจเครือข่ายหรือธุรกิจแฟรนไชส์ที่อาศัยการเติบโตจากการขายแฟรนไชส์หรือขยายการลงทุนไปยังแฟรนไชซีและกลุ่มผู้บริโภคหรือลูกค้าที่ซื้อสินค้าและบริการ
ปัจจุบันแม้สถานการณ์คลี่คลาย แต่ด้วยสภาพการเมืองที่ไม่นิ่ง ความไม่ชัดเจนของนโยบายย่อมทำให้นักลงทุนชะลอการตัดสินใจลงทุนออกไป ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ได้พูดคุยกับ ณณัฏฐ์ เขมโสภต ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โกลเบิล อาร์ต แอน ครีเอทีฟ (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งโกลเบิล อาร์ต เป็นสถาบันสอนความคิดและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการเรียนศิลปะ ที่เขายอมรับว่าสถานการณ์ความไม่นิ่งทางการเมืองส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง ในช่วงของการชุมนุมบริเวณย่านราชประสงค์และสถานการณ์ลุกลามมายังอนุเสาวรีย์ชัยทำให้นักลงทุน 10 จังหวัดที่นัดหมายเพื่อเจรจาการลงทุนยกเลิกทั้งหมด
เขายอมรับว่าการเมืองอ่อนไหวกับนักลงทุนมากนั้น ทางฟากของเศรษฐกิจย่อมมีผลตามกันมานั้นคือไม่มั่นใจต่อการนำเงินมาลงทุน หรือมองให้ละเอียดถี่ถ้วนกับเงินที่ใช้ในการลงทุนมากขึ้น ทำให้บริษัทโกลเบิล อาร์ต ไทยแลนด์ ใช้สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 กับปี 2553 นี้ทบทวนแผนนโยบายของบริษัทกับการดำเนินธุรกิจต่อไป
"ธุรกิจต้องเจอกับเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการทำธุรกิจตั้งแต่ไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมา เริ่มเข้าไตรมาสสองสงกรานต์ก็เจอกับม็อบเสื้อแดงที่อนุสาวรีย์ชัยฯ ส่วนไตรมาสสามก็เจอกับไข้หวัดนกที่ธุรกิจการศึกษาเจอคำสั่งกระทรวงให้ปิดสถาบันในช่วงนั้นและปลายปีก็เข้าช่วงโลว์ ต่อเนื่องมาต้นปีนี้กับสถานการณ์การเมืองที่ยาวนานกระทบการตัดสินใจนักลงทุน แม้จบแล้วจะมีการเลือกตั้งแต่เรายังมองเป็นความเสี่ยงทำให้เราต้องทบทวนการดำเนินงานใหม่เพราะมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น"
นี่คือเหตุผลที่ทำให้ผู้บริหารโกลเบิล อาร์ต ได้ตัดสินใจดำเนินนโยบายการบริหารพื้นที่ภายใต้คอนเซ็ปต์ Economy of scale ซึ่งเป็นการย่อขนาดพื้นที่การลงทุนให้ลดลง เริ่มต้นจากพื้นที่ ทำให้เม็ดเงินการลงทุนและระยะเวลาการคืนทุนสั้นลงด้วย
หากมองถึง Economy of scale โกลเบิล อาร์ต ไทยแลนด์ ได้เคยนำคอนเซ็ปต์ดังกล่าวมาเป็นกลยุทธ์และนำมาใช้เมื่อช่วงปีที่ผ่านมาหรือก้าวขึ้นสู่ปีที่ 6 ของการบริหารงานของโกลเบิล อาร์ต ในประเทศ ซึ่งในครั้งนั้น ผู้บริหาร ให้ข้อมูลว่า เป็นการปรับโครงสร้างการลงทุนใหม่เพื่อถึงจุดคุ้มทุนเร็วขึ้น โดยลดขนาดพื้นที่จาก 100 ตารางเมตรปรับลดเป็น 70-80 ตารางเมตร และทำเลจากเดิมมุ่งที่ห้างสรรพสินค้าก็สามารถเปิดในทำเลอาคารพาณิชย์ได้ ซึ่งการลดขนาดพื้นที่ลงในครั้งนั้นทำให้ระยะเวลาการคืนทุนเร็วขึ้นจากเม็ดเงินการลงทุนที่ลดลง จากคืนทุน 3 ปีครึ่งถึง 4 ปีก็คืนทุนภายใน 2 ปีครึ่งถึง 3 ปีเท่านั้น
ซึ่งการปรับตัวของโกลเบิล อาร์ต ไทยแลนด์ ในครั้งนั้นเหตุผลมาจากสภาพเศรษฐกิจ ที่ทางผู้บริหารเล็งเห็นจากจำนวนผู้เรียนและผู้เข้ามาลงทุนที่ส่งผลกระทบในขณะนั้น 5-10%
การปรับตัวในระลอก 2 นี้ ณณัฏฐ์ บอกว่า ยังคงเล็งเห็นประเด็นใหญ่คือสภาพเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการศึกษาในภาพรวมกว่า 30% แม้ตัวธุรกิจมีโอกาสการเติบโตสูงแต่การลงทุนควรปรับให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจหรือปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น อย่างที่เขาบอกว่ามีความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น
เขาชี้ให้เห็นถึงความไม่แน่นอน ในแง่ของการเมืองที่ไม่นิ่ง ผู้ลงทุนชะลอการตัดสินใจออกไป สภาพเศรษฐกิจที่ยังคงต่อเนื่องแม้การศึกษาจะเป็นอันดับท้ายๆ ที่ผู้ปกครองจะตัดออกจากรายจ่าย แต่ต้องยอมรับว่าปัจจุบันการแข่งขันสูงใครจะเป็นผู้ที่ถูกเลือก
นอกจากนี้ยังพบว่าจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เจ้าของทำเลได้มีการปรับเพิ่มค่าเช่าขึ้นซึ่งเฉลี่ย 5-15% ซึ่งเป็นต้นทุนที่ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมได้ เท่ากับว่าผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระที่เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของการนำคอนเซ็ปต์ Economy of scale มาใช้ ในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้นักลงทุนจะพิจารณาตัดสินใจจากการมีรายรับที่เหมาะสมและระยะเวลาการคืนทุนที่สั้นลง
"บอกได้ว่าเราไม่มั่นใจกับสภาพเศรษฐกิจว่าจะดีขึ้นหรือไม่ ฉะนั้นการดาวน์ไซน์จะทำให้ผู้ลงทุนปลอดภัยในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้หรือมีความไม่นอนเกิดขึ้น การปรับโครงสร้างการลงทุนนี้จะทำให้ผู้ลงทุนลดต้นทุนในหลายๆ ด้านลงกว่า 30% และสามารถคืนทุนได้เร็วขึ้นหรือภายใน 2 ปีเท่านั้น" ณณัฏฐ์ กล่าว พร้อมบอกถึงรายละเอียดของการลงทุนใหม่ว่า จะเป็นการใช้พื้นที่เพียง 50 ตารางเมตร รองรับกลุ่มผุ้เรียนได้ 60-80 คน ลงทุน 4 แสนบาทและคืนทุนภายใน 2 ปี (อ่านตารางประกอบ)
ซึ่ง คอนเซ็ปต์ Economy of scale ได้สอดคล้องกับแผนงานของบริษัท ในปีนี้จะขยายการลงทุนไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ด้วยพื้นที่เล็กลงต่อ 1 ศูนย์หรือสาขาสามารถมีเจ้าของศูนย์และครู 1 ท่านเท่านั้นและเม็ดเงินที่ไม่สูงมาก
สำหรับเป้าหมายการขยายสาขาในปี 2554 นี้ เขาบอกว่า ปัจจุบันโกลเบิล อาร์ต มีสาขา 55 สาขา แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 40 สาขา ต่างจังหวัด 15 สาขา และในปี 2554 นี้จะขยายเพิ่ม 12 สาขา แบ่งเป็นต่างจังหวัด 10 สาขาและกรุงเทพฯ 2 สาขา สาขาในกรุงเทพฯอาจขยายได้มากขึ้นไม่ใช่เพราะตลาดอิ่มตัวแต่เป็นความยากในการหาทำเลที่ต้องมีราคาค่าเช่าที่ต้องสมเหตุสมเหตุ หรือต้องอยู่ในทำเลที่ใกล้เคียงกับสถาบันการสอนเสริมรายอื่นๆ เพราะพฤติกรรมผู้เรียนจะเรียนต่อเนื่องกัน
ต่อข้อคำถามที่ว่าการปรับขนาดการลงทุนลงและสามารถคืนทุนให้เร็วขึ้นนั้น จะทำให้โกลเบิล อาร์ สามารถขยายสาขาได้เร็วขึ้นและมีจำนวนสาขาเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ ณณัฏฐ์ บอกว่า เขาไม่ได้มองในจุดนี้แต่มองถึงความมั่นคงของธุรกิจที่เกิดขึ้นและรูปแบบการลงทุนใหม่นี้เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้ามาลงทุนหรือแฟรนไชซีมากว่า เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจเช่นนี้เชื่อว่าคนจะมองการลงทุนที่เหมาะสม
"เรามองว่าการปรับโครงสร้างการลงทุนสำคัญ ถ้ายังลงทุนขนาดใหญ่ รองรับเด็กจำนวนมากๆ แต่ดูแลไม่ทั่วถึง จะแตกต่างกับขนาดเล็กรับเด็กได้ปริมาณหนึ่งแต่สามารถดูแลได้ดีได้ทั่วถึง ซึ่ง Economy of scale นี้เป็นการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เรามีภูมิต้านทาน ซึ่งนักลงทุนในต่างจังหวัดก็แฮปปี้ ซึ่งอนาคตเรายังคิดร่วมกันว่าอาจมีวันหยุดเพิ่มขึ้น เป็นเป้าหมายที่อยากให้ศูนย์เปิดอาทิตย์ละ 4 วัน เพราะแวลูที่ได้ทางสังคม ครอบครัวได้มากกว่า"
แต่อย่างไรก็ตาม ณณัฏฐ์ ยังบอกอีกว่าการทำการตลาดใดๆ ก็ตามหรือมีกลยุทธ์ตั้งรับหรือรองรับ สิ่งที่ต้องสามารถบอกได้คือดีคือโปรดักส์หหลักสูตร ซึ่งจะสะท้อนการดำเนินธุรกิจได้อย่างดีที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาหลักสูตรของโกลเบิล อาร์ต ได้รับการตอบรับจาก 20 ประเทศที่เปิดสาขาอยู่ สำหรับในประเทศไทยพิสูจน์ในหลายๆ เรื่องทั้งการพัฒนาหลักสูตรจะเห็นว่าผู้เรียนสาขาในไทยสามารถคว้ารางวัลที่โกลเบิล อาร์ต จัดประกวดเป็นที่ 1 ใน 3 รองจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย หรือการทำตลาดในประเทศที่บริษัทแม่มาเลเซียให้การยอมรับและเป็นตัวอย่างให้กับอินโดนีเซีย ฟิลลิปปินส์เข้ามาศึกษาดูงาน และการบริหารจัดการที่ดี 50กว่าสาขาในประเทศไทยใช้ทีมงานเพียง 15 คนเท่านั้นเมื่อเทียบกับการบริหารของประเทศอื่นๆ จะใช้คนที่มากกว่า
ซึ่งปรากฏว่า output ออกมาดีมีความเป็นทีมเวิร์กสูงซึ่งสะท้อนให้เห็นการ implement ของคนไทยที่ทำได้ดีและสามารถต่อยอดความสำเร็จได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
บริษัทแม่มาเลเซีย
ชี้ตลาดเอเชียเติบโต
นโยบายการบริหารพื้นที่ภายใต้คอนเซ็ปต์ Economy of scaleนี้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทแม่ บริษัท โกลเบิล อาร์ต แอนด์ ครีเอทีฟ มาเลเซีย ที่ล่าสุดได้ใช้มาเลเซียและสิงคโปร์เป็นประเทศต้นแบบในการย่อขนาดพื้นที่การลงทุนลง ทั้งนี้เหตุผลของบริษัทแม่ที่มาเลเซียนั้นมองถึงความยั่งยืนของธุรกิจในธุรกิจจากการขยายรูปแบบขนาดเล็กใช้เงินลงทุนไม่มาก โดยต้นแบบธุรกิจจากประเทศญี่ปุ่นที่สามารถบริหารพื้นที่ขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด หรือเหตุผลของการขยายเข้าถึงแหล่งชุมชนได้มากขึ้น
จะเห็นว่าบริษัทแม่ที่มาเลเซียเริ่มของการก่อตั้งแบรนด์ดังกล่าวเมื่อปี 2542 นั้นโดย มิสเตอร์ มาแฮร์ โก้ ผู้ค้นพบวิธีการสอนศิลปะรูปแบบใหม่นี้กระตุ้นให้เด้กมีความสุขในการเรียน ได้เริ่มธุรกิจในมาเลเซียจากธุรกิจเล็กๆ สอนตามบ้านและเปิดสอนในอาคารพาณิชย์ที่มีแต่ละแบรนด์อยู่รวมกัน โดยโกลเบิลอาร์ต อาศัยชั้น 2 หรือ ชั้น 3 ที่ไม่มีหน้าร้าน จากนั้นการแข่งขันรุนแรงขึ้นมิสเตอร์ มาแฮร์ โก้ จึงย้ายลงมาเปิดที่บริเวณชั้น 1 มีหน้าร้านและเห็นแบรนด์อย่างชัดเจนแม้ราคาค่าเช่าที่จะแพงขึ้นถึง 2 เท่าตัว แต่คุ้มค่ากับการลงทุนเพราะมีปริมาณเด้กมาเรียนเพิ่มขึ้น
จากนั้นเมื่อแบรนด์โกเบิล อาร์ต เป็นที่รู้จักและติดตลาด และเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าเช่า ทำให้ปัจจุบันโกเบิล อาร์ต เริ่มให้ความสำคัญกับทำเลที่เป็นรอง เป็นการมองข้ามช๊อตที่อนาคตไม่ต้องอาศัยพื้นที่ทำเลที่เป็นแฟรชชิป ด้วยการสร้างแบรนด์ที่เข้มแข็งและเป็นที่รู้ของผู้บริโภคผู้เรียนหรือผู้ปกครอง
ปัจจุบัน โกลเบิล อาร์ มีสาขา 440 สาขา ใน 20 ประเทศ และประเทศในภูมิภาคเอเชีย เป็นประเทศเป้าหมายในการรุกตลาดของโกลเบิล อาร์ต ด้วยผู ้บริหารเล็งเห็นโอกาสการเติบโตของตลาดและธุรกิจการศึกษาในภูมิภาคเอเชียที่ยังมีคู่แข่งไม่มาก เมื่อเทียบกับยุโรป อเมริกา เพราประเทศเหล่านี้มีตัวเลือกจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นศิลปะวาดภาพ พับกระดาษ สอนทำอาหาร ต่อเลโก้ เป็นต้น ซึ่งมีนับ 100 แบรนดืในตลาด ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียพบว่าโกลเบิล อาร์ตเป็นตัวเลือกที่อยู่ 1 ใน 5 ที่ผู้ปกครองเลือกให้กับลูกหลานเข้ามาเรียน
|
|
|
|
|