Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์23 กรกฎาคม 2553
ยกเลิกสัมปทาน 2 จี ใครได้ใครเสีย             
 


   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
3G




ในขณะที่พรรคเพื่อไทย ยังมะงุมมะงาหรา งมหา สค. 1 ที่ดินเขาแพง บนเกาะสมุย เพื่อจับผิดพรรคประชาธิปัตย์ กระทรวงการคลังและกระทรวงไอซีที ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของพรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 2 กระทรวง ก็ปฏิบัติการสายฟ้าแลบ ล้างไพ่ จัดแถวอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ครั้งใหญ่ ล้มสัมปทานมือถือระบบ 2 จี ที่ยังเหลืออายุสัมปทานอีก 5-10 ปี เปลี่ยนไปใช้ระบบการให้ใบอนุญาตที่มีอายุ 15 ปีแทน

นับเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมครั้งสำคัญ ที่จะทำให้การแข่งขันของผู้ประกอบการทุกรายมีกฎเกณฑ์ กติกา เสมอภาค เท่ากันเป็นครั้งแรก เป็นการปกป้องสิทธิประโยชน์ของรัฐไม่ให้สูญเสียรายได้ และเป็นการปูทางไปสู่การแข่งขันที่เป็นธรรมสำหรับ 3G รวมทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้บริการ 2G หรือ 3G

ภายใต้สัมปทานมือถือ ของเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ ที่ทำกับทีโอที และ กสท. จำกัดผู้ให้บริการให้มีแค่ 3 รายนี้เท่านั้น แต่เมื่อมีการยกเลิกสัมปทาน เปลี่ยนไปใช้การขอใบอนุญาต จาก คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทช. แทน สิทธิผูกขาดนี้ถูกยกเลิกไป ผู้ประกอบการรายใหม่ สามารถขอใบอนุญาต เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบลบ 3 จี ได้ โดยเช่าโครงข่ายจาก ทีโอที และ กสท. ทำให้มีผู้ประกอบการมากรายขึ้นกว่าเดิมที่มีเพียง 3 ราย

ดูเผินๆแล้ว เหมือน เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟจะเสียประโยชน์ เพราะต้องมีคู่แข่งมากขึ้น แต่ ทั้ง 3รายนี้ อยู่ในอุตสาหกรรมนี้มาก่อน มีฐานตลาดที่มั่นคงมากแล้ว การแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหม่ ไม่น่าจะเป็นปัญหา

ภายใต้ระบบใบอนุญาต ผู้ให้บริการรายเดิม ได้มากกว่าเสีย เพราะแต่ละราย เหลืออายุสัมปทาน ไม่มาก เอไอเอส มีอายุสัมปทานอีกเพียง 5 ปี ต้องแบ่งผลประโยชน์ให้ ทีโอที ปีละ 25 % ของรายได้ ทรูมูฟ เหลือ 3 ปี ต้องจ่ายส่วนแบ่งให้กสท. ปีละ 30% ดีแทค เหลือ 8 ปี จ่ายส่วนแบ่งปีละ 30% ในขณะที่ใบอนุญาต มีอายุถึง 15 ปี เสียค่าธรรมเนียมปีละ 12.5% แม้ว่า จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้า และเสียค่าเช่าโครงข่าย แต่ต้นทุนการประกอบการก็น่าจะน้อยกว่า ระบบสัมปทาน

การยอมสละสิทธิตามสัมปทาน ก่อนที่จะหมอายุเพียงไม่กี่ปี จึงน่าจะได้มากว่าเสีย

สำหรับผู้บริโภค หากมีผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีคุณภาพ และราคาที่ดีกว่าผู้ประกอบการรายเดิม ประโยชน์ก็จะตกอยู่กับผู้บริโภค และเมื่อมีการให้บริการในระบบ 3 จี แล้ว ผู้บริโภคที่ไม่ต้องการใช้ระบบ 3 จี ก็ยังใช้บริการระบบ 2 จีต่อไปได้

ฝ่ายรัฐเอง คือ ทีโอที และ กสท. เจ้าของสัมปทาน เมื่อเปลี่ยนไปใช้ระบบใบอนุญาต ทำให้มีหลักประกันเรื่องรายได้ ที่แน่นอน เพราะในระบบสัมปทาน เมื่อหมดอายุสัมปทาน ส่วนแบ่งรายได้ ที่ได้จาก เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟก็จะหมดไป เสือนอนกิน อย่างทีโอที และ กสท. ก็จะอดตาย แต่ระบบใหม่ จะทำให้ ทั้งสองหน่วยงานนี้ เป็นเสือนอนกินต่อไป โดยมีรายได้จากค่าเช่าโครงข่าย จากผู้ประกอบการ 2 จี ต่อไป อย่างน้อยอีก 15 ปี แม้ว่าอาจจะน้อยกว่าส่วนแบ่งรายได้จาก สัมปทาน แต่ก็ยังดีกว่า ต้องหารายได้เอง

การอุ้มทีโอที และ กสท. ซึ่งเป็นของกระทรวงการคลัง อาจจะเป็นเป้าหมายสำคัญขอ งการจัดระเบียบธุรกิจมือถือครั้งนี้ก็ได้

เมื่อมีผู้ได้ ก็ต้องมีฝ่ายที่เสีย คือ กทช. คือ เสียหน้า ที่ถูกกระทรวงการคลัง และไอซีที แทรกแซงอำนาจ ในการกำกับดูแล แต่ก็ช่วยไม่ได้ เพราะที่ผ่านมา กทช.ก็ไม่สามารถทำให้ เกิดการแข่งขัน ในธุรกิจมือถือที่เท่าเทียมได้ เพราะมีเงื่อนไขสัมปทานที่ต่างกันผูกมัดอยู่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us