|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การศึกษาในสหรัฐฯ เมื่อไม่นานมานี้ พบว่านับวันผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย หรือผู้ที่เกิดระหว่างปี 1977-1994 จะเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีจำนวนมากที่สุด ซึ่งทำให้นักการตลาดต้องหันมาให้ความสนใจพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้มากขึ้น เพื่อเตรียมปรับแผนการตลาดในอนาคต
ผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย คาดว่ามีสัดส่วนราว 25% ของประชากรในสหรัฐฯ หรือคิดเป็นจำนวนรวมกันราว 70-85 ล้านคน ซึ่งเป็นสัดส่วนผู้บริโภคที่มากกว่ากลุ่มคนยุคเบบี้บูม หรือยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว คาดว่าในปี 2017 ผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย จะมีอิทธิพลและอำนาจต่อรองทางการตลาดมากกว่ายุคเบบี้บูม และมียอดรวมของการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากราว 200,000 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
ผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย เป็นกลุ่มคนวัยก่อร่างสร้างตัว การใช้จ่ายจึงใช้เหตุผลและการตัดสินใจที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว
การสำรวจจากกลุ่มตัวแทนของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย พบว่าอายุเฉลี่ยของผู้สำรวจคือ 28.5 ปี 55% เป็นผู้หญิง และ 45% เป็นผู้ชาย ใช้ตัวแทนจากหลายเชื้อชาติ ประกอบด้วย สหรัฐฯ 68% อินเดีย 6% จีน 3% บราซิล 2% ฝรั่งเศส 2% แคนาดา 2% เม็กซิโก 1% อังกฤษ 1% และอิตาลี 1%
สินค้าที่ใช้ในแบบสอบถามมี 7 ประเภทอุตสาหกรรม คือ รถยนต์ ความงามและดูแลผิวพรรณ สุรา แฟชั่น โรงแรม นาฬิกา และอัญมณี
ผลที่ได้จากการศึกษา ให้ข้อมูลทางการตลาดที่น่าสนใจ ดังนี้ ประการแรก 65% ของผู้หญิง และ 61% ของผู้ชาย ให้ความสำคัญกับการใช้แบรนด์ประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้า เพราะเป็นกลุ่มคนที่เติบโตมาพร้อมกับการรับรู้เรื่องแบรนด์ของสินค้าในชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิด
ประการที่สอง แอปเปิลเป็นแบรนด์อันดับ 1 ในกลุ่มผู้ชายของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย และอันดับ 9 ในกลุ่มผู้หญิง และที่น่าสนใจคือ ต่อไปหากจะซื้อสินค้า แบรนด์ในดวงใจอันดับ 1 ของทั้งกลุ่มผู้หญิงและผู้ชายยังคงเป็นแบรนด์แอปเปิล
ประการที่สาม 7 ใน 10 ของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ให้คะแนนแบรนด์รถยนต์เป็นอันดับ 1 ในกลุ่มผู้ชาย โดยบีเอ็มดับบลิวนำมาอันดับแรก ซึ่งคงไม่ค่อยน่าแปลกใจ แต่ผลยังออกมาว่าผู้หญิงในผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ให้คะแนนสินค้าแบรนด์รถยนต์มากกว่าเครื่องสำอางและดูแลผิวพรรณ ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มใหม่ แต่ด้วยความเป็นผู้หญิง แบรนด์รถยนต์ยังคงตามหลังแบรนด์แฟชั่น
แบรนด์รถยนต์ที่ครองใจอันดับท็อป 10 ของทั้งผู้หญิงและผู้ชายคือ บีเอ็มดับบลิว เมอร์เซเดส-เบนซ์ และออดี้ ตามลำดับ
ส่วนแบรนด์ที่ผู้ชายในผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวายไม่ชอบคือ คาดิแลค จากัวร์ และแลนด์โรเวอร์ เช่นเดียวกับแบรนด์ที่เคยเป็นไอคอนของกลุ่มคนรุ่นเบบี้บูมอย่าง หลุยส์ วิตตอง หรือเบอร์เบอรี่กลับเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวายไม่ชอบมากนัก
ประการที่สี่ กลุ่มสินค้าแฟชั่นนั้น พบว่า 8 ใน 10 คนของผู้หญิงชอบแบรนด์ที่มาจากยุโรปมากที่สุด อย่าง ชาแนล ปราด้า แอร์แมส และกุซซี่ ส่วนแบรนด์แฟชั่นของอเมริกันที่ติดตาตรึงใจสาวๆ ของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย มีเพียงแบรนด์เดียวคือ มาร์ค จาคอบส์
ประการที่ห้า สินค้าที่ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่สนใจและออกนอกดวงใจของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวายอย่างชัดเจน คือ แบรนด์นาฬิกาดัง อัญมณี และแทบจะไม่สามารถระบุชื่อแบรนด์ของสินค้าในกลุ่มนี้ได้ด้วยซ้ำ แม้ว่าหลายคนจะยังนึกถึงชื่อของ คาร์เทียร์ ทิฟฟานี่ และโรเล็กซ์ได้ แต่ 50% ของผู้ตอบไม่ได้ให้เกรดแบรนด์เหล่านี้เป็นแบรนด์ในดวงใจ
ประการที่หก 1 ใน 5 ของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ชอบแบรนด์บนเฟซบุ๊ก และ 1 ใน 10 ตามกระแสของแบรนด์บน Twitter และราว 50% ของทั้งหมด เปิดรับอีเมลข้อมูลข่าวสารจากแบรนด์ที่ตนชอบบนสื่อสังคมออนไลน์ และนิยมการบอกต่อแบบปากต่อปากเกี่ยวกับแบรนด์ที่ชอบในสื่อสังคมออนไลน์ด้วย
ประการที่เจ็ด แม้ว่าช่องทางหลักของการซื้อจะเป็นห้างสรรพสินค้า แต่มากกว่า 50% ของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ที่เป็นผู้หญิงเริ่มซื้อสินค้าราคาแพงจากเว็บไซต์ที่ลดราคาอย่าง Gilt.com หรือเว็บไซต์ของร้านค้าปลีกต่างๆ และมีเพียง 1 ใน 3 ของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ที่ซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ของแบรนด์นั้นโดยตรง ซึ่งสะท้อนว่าหากแบรนด์หรูราคาแพงไม่พยายามที่จะเข้าให้ถึงกลุ่มผู้หญิงเจเนอเรชั่นวาย ผ่านอี-คอมเมิร์ซ ก็อาจจะตกรถไฟ และออกนอกกระแสความนิยมไปในที่สุด
ประการที่แปด สิ่งพิมพ์ที่ใช้โฆษณาสินค้าเป็นแหล่งข้อมูลหลักที่ผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวายใช้ในการแสวงหาข้อมูล โดยเป็นแหล่งข้อมูลอันดับ 1 ของกลุ่มผู้หญิงและอันดับ 2 ของกลุ่มผู้ชาย
อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลผ่านครอบครัวและเพื่อนฝูงก็มีบทบาทสำคัญสำหรับผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวายส่วนใหญ่ โดยครองอันดับ 1 ในกลุ่มผู้ชายและอันดับ 2 ในกลุ่มผู้หญิง
ประการสุดท้าย ผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่เกิดหลังปี 1980 ถือว่าตนเองอยู่ในยุคดิจิตอล และให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยง ติดต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลในลักษณะเปิดผ่านระบบออนไลน์ และไม่เลิกพฤติกรรมที่พึ่งพาออนไลน์แม้ว่าจะมีอายุมากขึ้นไปกว่านี้
ผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังมีความเชื่อว่าตนเป็นผู้นำให้สังคมก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเล่าเรื่อง เปิดเผยเรื่องส่วนตัว และแลกเปลี่ยนสังคมส่วนตัวในสังคมออนไลน์ และเชื่อว่าสังคมออนไลน์เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทำให้ได้เข้าถึงสังคมใหม่ๆ ได้รับความช่วยเหลือความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์จากกลุ่มวิชาชีพเดียวกันหรือต่างวิชาชีพ และเรียนรู้บทเรียนที่น่าสนใจจากประสบการณ์ชีวิตของคนอื่นในสื่อสังคมออนไลน์ และได้รู้จักโลกในมุมกว้างมากขึ้น
ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ เจเนอเรชั่นวาย ยอมรับว่าตนไม่มีเวลาที่จะเสียสละหรือทำกิจกรรมทางสังคมที่เป็นสาธารณประโยชน์มากนัก
โจทย์ที่เป็นพฤติกรรมแปลกแยกโดยเฉพาะของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในสหรัฐฯ คงจะทำให้นักการตลาดของแบรนด์ดัง ที่ได้รับผลกระทบจากความคิดความเห็นของคนกลุ่มนี้มีการบ้านที่ต้องเปลี่ยนแปลงงานการตลาดในอนาคตไม่น้อยทีเดียว
|
|
|
|
|