Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์23 กรกฎาคม 2553
8 วิธีบริหารเงินอย่างฉลาด             
 


   
search resources

Financing
Knowledge and Theory




Tips for men

เมื่อประเทศเราประสบอุบัติเหตุทางการเมือง เศรษฐกิจในหลายสาขาต่างพากันซบเซา ข้าวของต่างๆ กลับแพงขึ้น ทั้งๆ ที่เงินเดือนไม่ได้สูงขึ้นตามไปด้วย หลายๆ คนปรับตัว รัดเข็มขัดการใช้เงินอย่างแน่นหนา วันนี้ Tips for men จึงรวบรวมกลวิธีต่างๆ ให้คุณได้เตรียมสร้างเกราะป้องกันทางการเงินของคุณ ให้มั่นคงที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วกัน

1.วางแผนการใช้เงิน

ถือเป็นข้อพึงปฏิบัติแรกที่ทุกคนจะต้องทำ ทั้งวางแผนการเงินของตัวเองและครอบครัวให้เหมาะสม ประกอบด้วย การสำรวจตัวเองว่าปัจจุบันมีรายจ่ายอะไรที่มันออกจะฟุ่มเฟือยเกินไปซักนิด ไม่ว่าการดื่มหลังเลิกงานหรืออื่นๆ หากคิดว่าบ่อยเกินไปก็ลดลง หรือจะหยุดไปเลยก็ยังได้ ดีต่อสุขภาพอีกด้วย จากนั้นกำหนดเป้าหมายจัดสัดส่วนการใช้เงินในส่วนที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันจริงๆ เช่นค่าเดินทางไปทำงาน ค่าอาหาร ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องจ่ายจริงๆ โดยเลี่ยงไม่ได้ จากนั้นนำมาปฏิบัติ

2.จัดงบดุล คุมค่าใช้จ่ายส่วนตัว

ด้วยการรวมตัวเลขรายได้ของคุณทั้งหมดไม่ว่าจะงานหลัก หรืองานเสริม (ถ้ามี) จากนั้นรวบรวมและจดบันทึกรายจ่ายในแต่ละเดือน คุณจ่ายเงินไปกับเรื่องใดบ้าง ซึ่งอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าอะไรที่มันจำเป็นกับชีวิตคุณจริงๆ เพื่อนำมาคาดคะเนรายจ่ายในอนาคต เมื่อสรุปได้แล้ว คุณก็จะทราบแล้วว่า รายรับ รายจ่าย คือเท่าไหร่ ส่วนที่เหลืออาจจะไว้ฟุ่มเฟือยได้นิดหน่อย แต่อย่าลืมเก็บไว้เป็นเงินออมด้วยนะครับ เมื่อปฏิบัติจนเป็นนิสัยแล้ว ทุกอย่างมันจะค่อยๆ ง่ายขึ้น

3.ออมเงินให้เพลิน จะเมินความจน

การเก็บออมที่ถูกต้องนั้น ควรจะแยกบัญชีเงินฝากของคุณออกเป็น 3 บัญชี ได้แก่ บัญชีใช้จ่ายเผื่อฉุกเฉิน ซึ่งคุณจะสามารถเบิกเงินจากบัญชีนี้ออกมาใช้ได้ เช่นในกรณีรถเสีย หรือป่วย หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มันฉุกเฉิน ต่อมาเป็นบัญชีเงินออมซึ่งควรจะให้เป็นบัญชีเงินออมจริงๆ อาจจะบังคับตัวเองด้วยเงื่อนไขของการฝากประจำหรืออะไรก็ตามแต่ที่ทำให้คุณเอาเงินเข้าได้อย่างเดียว ห้ามออก และสุดท้ายบัญชีเพื่อการลงทุน คือคล้ายกับการออม แต่คุณสามารถมีผลกำไรในเงินออมนั้นด้วย อย่างเช่น กองทุนหุ้นรวมระยะยาว (LTF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งคุณสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ยังไงก็ตามคุณควรศึกษาข้อมูลให้ดีเท่านั้นเอง

4.หนี้ คือกับดักทางการเงิน

ทุกท่านทราบดีว่า การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ แต่บางทีอะไรหลายๆ อย่างทำให้เราอดใจไม่ไหวเหมือนกัน ซึ่งหนี้นั้น มีทั้ง "หนี้ดี" ในการซื้อของบางอย่างรูดบัตรแล้วผ่อนก็ดูจะคุ้มค่ามากกว่า และก็ "หนี้ฟุ่มเฟือย" ที่คุณต้องเผลอจ่ายดอกเบี้ยที่มากโขในการใช้บัตรรูดซื้อของบางอย่าง และนั่นก็ควรคำนวณการใช้บัตรเครดิตแต่ละครั้งให้ถี่ถ้วนซักนิด แต่วิธีการที่ดีที่สุดในการลดหนี้ คือ พยายามใส่เงินจำนวนมากที่สุดและไม่กระทบกับรายจ่ายประจำที่จำเป็นจริงๆ เพื่อชำระหนี้สินที่ถูกลง หาหนทางเสียดอกเบี้ยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

5.หนทางประหยัดภาษี

แต่ไม่ใช่การหลบเลี่ยงนะครับ การจ่ายภาษีเป็นหน้าที่ของคนในสังคมตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด แต่วิธีง่ายๆ ที่ทำได้ คือ สรรหาค่าลดหย่อนภาษีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน เงินบริจาค ทำประกันชีวิต และอื่นๆ อีกหลายอย่างที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ศึกษาข้อมูลให้ดี จะช่วยให้คุณลดค่าใช้จ่ายในด้านนี้ได้พอสมควร

6.หากคิดจะแต่งงาน

คุณและคู่สมรส ควรวางแผนอนาคตทางการเงินระยะยาวซักหน่อย หากจะให้ดี วางแผนไว้ซัก 10 ปี และให้จัดแยกเงินออกเป็นหลายๆ บัญชี ตามวัตถุประสงค์ของการใช้เงินแต่ละประเภทของครอบครัวคุณในอนาคต เช่น การซื้อรถยนต์ ค่าใช้จ่าย ไม่ควรเกินอัตรา 15% ของรายได้ครอบครัว เพื่อไม่ให้เกิดภาระผ่อนส่งเกินตัว หรือการซื้อบ้าน ควรเลือกโครงการที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด กู้เงินให้น้อยที่สุด และผ่อนชำระให้เร็วที่สุด เพราะที่ทราบกันดี ยิ่งผ่อนนาน ดอกก็ยิ่งท่วม

7.เงินเพื่อเจ้าตัวน้อย

จากการสำรวจค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการคลอดบุตร และค่าเลี้ยงดูบุตรต่อเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถจัดการได้คือ พอเริ่มตั้งครรภ์ก็เริ่มเก็บเงิน และบริหารเงินให้ดี รวมถึงเรื่องเงินที่ใช้ในการศึกษาลูก การคำนวณค่าเล่าเรียนต้องคิดจากค่าเงินในปัจจุบันและอนาคต โดยให้รวมอัตราการเพิ่มของค่าเทอมหรือเงินเฟ้อเฉลี่ยต่อปี (ประมาณ 5%) เข้าไปด้วย เพราะเรื่องการศึกษาของลูกคุณนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ที่คุณควรวางแผนระยะยาว เพราะหากผิดพลาด มันไม่ได้เกิดที่คุณเพียงคนเดียว แต่มันหมายถึงอนาคตของลูกคุณอีกด้วย

8.เตรียมแผนเกษียณ

หากคุณต้องการมีกินมีใช้แบบไม่จนตลอดปีและตลอดไป ให้คุณคำนวณเงินที่คุณควรมี เมื่อตอนเกษียณ โดยเอา 1 หาร 10 คูณอายุปัจจุบัน และคูณรายได้ทั้งปี หากคุณมีเงินออมน้อยกว่าที่คำนวณได้ คุณควรต้องเก็บเงินในสัดส่วนที่มากขึ้น จึงจะพอใช้จ่ายในอนาคต เรื่องนี้สำคัญนะครับ เพราะเมื่อถึงเวลาที่คุณอายุมากแล้ว อาจจะหาที่ทำงานที่อ้าแขนรับคุณด้วยฐานเงินเดือนที่สูงลิบลิ่วได้ยาก นั่นหมายความว่าคุณต้องดูแลตัวเองแล้ว

เชื่อเถอะครับว่า เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยให้คุณมีความมั่นคงทางการเงินได้อย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะยากไปซักนิด หากแต่ว่าถ้าคุณทำได้ ปัจจัยที่ 5 (เงิน) อันนี้จะเลิกสร้างปัญหาให้กับคุณชัวร์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us